Advertisement
เทคนิคการนั่งสมาธิ
เทคนิคนั่งสมาธิ ตอนที่ ๑.
เทคนิค หรือว่าแนวทางในการปฏิบัติกรรมฐาน นั้นมีหลากหลายถึง ๔๐ วิธี ตามจริตของแต่ละบุคคล และบุรพกรรม ที่จะได้พบเจอกับพ่อแม่ครูจารย์แบบไหน ทั้งเป็นไปตามบุญกรรมและเกิดจากความบากบั่นหมั่นเพียรพิจารณาและเสาะแสวงหาพ่อแม่ครูจารย์ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็จะมาหยุดอยู่ที่ตัวของเราเอง ที่เป็นทั้งห้องทดลองชั้นเลิศ และเป็นตู้พระไตรปิฎก ซึ่งรวบรวมทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์อยู่ตัวเองทั้งสิ้น
การปฏิบัติกรรมฐาน หรือว่าจะพูดให้แคบๆ แค่ท่ามาตรฐานคือ นั่งสมาธิ นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑). พิจารณาสถานที่ที่เหมาะสม สบายๆ และเป็นที่ๆ เราชอบ อากาศ โปร่งโล่ง สบาย เป็นต้น
๒). หาที่นั่งที่เหมาะสม พร้อมทั้งที่เดินจงกรม เพื่อเปลี่ยนอิริยาบท สำหรับผู้เริ่มต้น
๓). เมื่อได้ที่นั่งที่เหมาะสมแล้ว พึงพิจารณานั่ง โดยนำเบาะหนาประมาณ ๑ นิ้ว(หรือวัสดุอื่นใดก็ได้) มารองที่ก้นกบ แล้วนั่งโดยนำเท้าขวาทับเท้าซ้ายวางอย่างสบายๆ ผ่อนคลายอิริยาบท ไม่เกร็งกล้ามเนื้อขาและท่านล่างของร่างกายทั้งปวง
๔). หลังจากนั้น นำมือขวามาทับมือซ้าย วางอย่างแผ่นเบา สบายๆ โดยให้ปลายหัวแม่มือทั้งสองสัมผัสกันเบาๆ พร้อมทั้งผ่อนคลาย
๕). แล้วพิจารณาหลับตาอย่างแผ่วเบา สบายๆ หากว่าไม่คุ้นชิน ก็นั่งพิจารณาภาวนาโดยลืมตาก่อนก็ได้ แต่อยากที่จะให้หลับตา เพราะเป็นการหยุดอายตนะ คือ ตา ไม่ให้ปรุงแต่ง นั้นเอง
๖). เมื่อจัดอิริยาบทท่าทางได้อย่างเหมาะสม ตามแต่ละบุคคลถนัดแล้ว ก็ให้นึกภาวนา ตามลมหายใจเข้า-ออก ก่อนอื่นให้นึกระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คือ พุธโธ ธัมโม สังโฆ ๓ ครั้ง หรือมากกว่าก็ได้ แล้วปฏิบัติตามลมหายใจดังนี้ เมื่อหายใจเข้า ก็ให้ภาวนา พุธ และเมื่อหายใจออก ก็ให้ภาวนา โธ ทำเยี่ยงนี้ให้ถี่ๆ ที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยให้จิตผูกอยู่กับคำบริกรรมภาวนา พุธ-โธ, พุธ-โธ ไปเรื่อยๆ สบายๆ
๗). สิ่งที่สำคัญมากๆ คือท่าทางการนั่งที่เหมาะสม อย่างสบายๆ และตั้งตรง ถูกต้องตามหลักสรีระทางกายภาพของบุคคลนั้นๆ หากว่าสามารถจัดระเบียบท่าทางได้อย่างเหมาะสมแล้ว ก็จะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติกรรมฐานได้อย่างสบายมากขึ้น
๘). สิ่งที่สำคัญที่จะละเลยเสียไม่ได้ในตอนฝึกปฏิบัติใหม่ๆ คือ ให้นึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัย ไว้ให้มั่นคง และให้มีกำลังใจเสมอๆ หมั่นเพียรปฏิบัติอย่างไม่ลดละ เพราะเหนื่อยก็ปฏิบัติ ไม่เหนื่อยก็ปฏิบัติ
๙). หากว่าเหมื่อย ก็ทดลองเปลี่ยนอิริยาบท มาเดินจงกรมบ้างก็ได้ แต่อยากจะให้ฝืนปฏิบัติ โดยคิดว่า ไม่มีใครตาย กับการนั่งภาวนาหรอก หากต้องการความสุขสงบและบุญบารมี อย่างเต็มเปี่ยมนั้น แม้ตายก็ต้องยอมแลก ถึงจะสามารถพบกับธรรมะที่ละเอียดได้ และก็จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริงของตนเอง รวมถึงผู้อื่นได้ด้วย
อานิสงค์ของการปฏิบัติกรรมฐานมีมากมาย และสามารถเลื่อนชั้นภพภูมิของมนุษย์ตามอุดมคติได้ ลองพิจารณานึกดูซิว่า ทำไมหนอ พระพุทธเจ้า ถึงได้ยอมเสียสละความสุขต่างๆ ทางโลกหมดสิ้น ออกบวชบำเพ็ญกุศลนั่งภาวนา จนสามารถบรรลุอมฤตธรรม แล้วก็สามารถนำพาหมู่สัตว์ ให้พ้นทุกข์ประสบสุข มากมาย จวบจนถึงปัจจุบันนี้ และในอนาคต
แหล่งข้อมูล
http://learners.in.th/blog/forest-dhamma/212548
วันที่ 22 ก.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,410 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 10,066 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,131 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 28,469 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,019 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,296 ครั้ง |
เปิดอ่าน 256 ครั้ง |
เปิดอ่าน 95,548 ครั้ง |
|
|