Advertisement
❝ คนเป็นครูที่ดี ❞
สู่ความเป็นครู
พระราชวรมุณี (พระยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้เขียนไว้ในหนังสือ ปรัชญาการศึกษาไทยหน้า 130-131. เกี่ยวกับหน้าที่ของครู ความตอนหนึ่งว่า
?ครูเป็นสื่อชักนำ หรือเหนี่ยวนำการศึกษาให้แก่ศิษย์ ศิษย์เป็นผู้ใช้ประโยชน์ จากสื่อนั้นในการ ปลูกฝังการศึกษาให้เกิดขึ้นแก่ตน...?
?...เราเรียกหน้าที่ของครูว่า เป็นสัปปทายก หรือ ศิลปทายก สัปปทายก คือ อะไร สัปปทายก คือผู้ให้ศิลปวิทยา หรือผู้ถ่ายทอดศิลปะวิทยา หมายความว่าครูอาจารย์นั้น ทำหน้าที่ถ่ายทอดศิลปวิทยาการแก่ศิษย์ เป็นผู้สืบต่อมรดกทางวัฒนธรรม และทางปัญญาของมนุษย์ชาติ มนุษย์เราค้นคว้าแสวงหาความรู้วิชาการต่างๆ ขึ้นมาแล้ว ก็มีบุคคลกลุ่มหนึ่งทำหน้าที่ช่วยกันรักษาสืบต่อไว้และแสวงหาค้นคว้าวิชาการนั้นๆ ให้กว้างขวาง ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ครูเป็นผู้นำหน้าที่อันนี้...?
หน้าที่ประการที่สอง เรียกว่าเป็นหน้าที่ของกัลยาณมิตร หน้าที่กัลยาณมิตร ก็คือการเป็นผู้ชี้แนะ เป็นผู้กระตุ้นเตือนในศิษย์รู้จักคิด รู้จักใช้ปัญญา ฝึกการใช้ปัญญาและรู้จักรับผิดชอบสร้างสมคุณธรรมให้เกิดมีขึ้นในตน ให้เป็นคนไม่มีทุกข์ ไม่มีปัญหาอันนี้เป็นสิ่งสำคัญ เป็นหน้าที่หลักของครู หรือหน้าที่ที่ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นครู
จะเห็นได้ว่าสาระที่พระเดชพระคุณพระราชวรมุนีกล่าวถึง หน้าที่ของครูไว้สองประการสำคัญ ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ สืบต่อมรดกทางวัฒนธรรมและ สร้างสรรค์ปัญญาให้กับศิษย์และการเป็นกัลยาณมิตร เป็นหลักสำคัญของผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครู จึงถือว่าครูเป็นผู้ให้ทางปัญญาแก่ศิษย์โดยแท้ ดังนั้น สู่ความเป็นครู หรือเส้นทางในความเป็นครูจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศิษย์ โดยพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ศิษย์เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
ครูทุกคนจึงตระหนักอยู่เสมอที่จะให้ศิษย์มีความก้าวหน้ามีชีวิตที่ดี โดยหวังว่าจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในวันข้างหน้า ครูจึงตั้งใจที่จะสั่งสอนศิษย์อย่างเต็มที่
เมื่อเป้าหมายของครูเป็นเช่นนั้น ครูจึงต้องหันมาดูตัวครูเป็นหลักก่อน ดังคำกล่าวที่ว่า ?การเป็น ตัวอย่างที่ดี คือการสอนที่ดี? เพราะศิษย์จะตามแบบอย่างครู ครูจึงต้องพัฒนาตนเองเริ่มตั้งแต่ใจรักเด็ก รักศิษย์ รักที่จะสั่งสอนหรือถ่ายทอดความรู้ให้กับคนอื่น มีความตั้งใจ เรื่องความรู้สึกหรือเจตคติต่อความ เป็นครูจึงเป็นเรื่องสำคัญ คือ เริ่มต้นที่จิตใจรักที่จะเป็นครู นั่นเอง เมื่อใจรักที่จะเป็นครู เพื่อประกอบอาชีพเป็นครู จึงต้องแสวงหาว่าการเป็นครูที่ดีเป็นอย่างไร เพื่อจะได้เป็นกรอบหรือแนวทางในการปฏิบัติตน
มีบทดอกสร้อยบทหนึ่ง กล่าวถึงครูดีไว้ช่วยให้จดจำได้ง่ายว่า ดังนี้
ครูเอ๋ยครูดี จำต้องมีหลักสี่สถาน
หนึ่ง ความรู้เก่งหล้าวิชาการ สอง เชี่ยวชาญการปกครอบต้องใจคน
สาม ชำนาญการอบรมสั่งสอนศิษย์ รู้จักคิดหาอุบายให้ได้ผล
สี่ ประพฤติชอบและอดทน ใครได้ผลชื่นชมนิยมเอย
คนเป็นครูต้องมีความรู้
เนื่องจากครูจะต้องทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้และความเป็นกัลยาณมิตร ครูจึงต้องมีความรู้อย่างน้อย 3 ด้าน คือ ความรู้ทั่วไป ในสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ความรู้ในสาขาที่สอนและความรู้ในการสอนหรือเทคนิคการสอน รวมถึงการวางแผนการสอน การเตรียมการสอน การดำเนินการสอน การประเมินผลการสอน การใช้สื่อการสอน เป็นต้น
คนเป็นครูต้องปกครองชั้นได้
หมายถึง ครูจะต้องทำงานร่วมกับนักเรียน เพื่อให้เป็นไปตามแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ ด้วยตนเอง เรียนรู้ร่วมกับเพื่อน และเรียนรู้ร่วมกับครู
การปกครองชั้นในการเรียนการสอนแบบใหม่ จะเน้นบทบาทของนักเรียนที่มีความกระตือรือร้นตามความต้องการหรือความสนใจของนักเรียนมากกว่าการบังคับขู่เข็ญ หรือการลงโทษที่เข้มงวด ครูจึงต้องมี จิตวิทยาในการปกครองชั้นว่า จะทำอย่างไรให้นักเรียนเรียนได้อย่างมีความสุข เข้าเรียนสม่ำเสมอ และให้ความร่วมมือกับครูในการเรียนการสอนและรักการเรียน
คนเป็นครูจะต้องสอนดี
การสอนให้ได้ดีต้องมีหลักการสอน เช่น
1. ต้องมีการเตรียมการสอนทุกครั้ง
2. สอนโดยคำนึงถึงหลักจิตวิทยา เช่น จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา เป็นต้น
3. สอนจากง่ายไปหายาก
4. สอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม
5. สอนอย่างมีขั้นตอน เช่นการนำเข้าสู่การเรียน การสอนประเมินผล และสรุป 6. สอนโดยใช้สื่อเสริมเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจ
7. สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
8. สอนโดยให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมเป็นรายบุคคล และกลุ่ม
9. ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนการเรียนรู้เป็นสำคัญ
10. สอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ
11. สอนให้นักเรียนได้รู้จักคิดสร้างสรรค์และคิดวิเคราะห์
12. สอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
13. สอนแบบสหสัมพันธ์หรือองค์รวม ฯลฯ
นอกจากการสอนแล้วครูยังต้องทำหน้าที่อบรมจริยธรรมและคุณธรรมให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงการทำความดีอยู่ในศีลธรรมอันดี
คนเป็นครูต้องมีความประพฤติดี
ความประพฤติของครูเริ่มตั้งแต่การแต่งกายเหมาะสมเป็นตัวอย่างในการทำความดีให้กับนักเรียนได้ มีจรรยามารยาท การพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ เป็นผู้นำทางความคิดและการกระทำที่ซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม ตรงต่อเวลา เป็นต้น
คนเป็นครูต้องมีความมานะอดทน
ครูต้องเกี่ยวข้องกับนักเรียนที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม ครู จึงต้องใช้ความใจเย็น สุขุม รอบคอบในการสอนในการทำงานร่วมกับนักเรียน
นอกจากนั้น ครูยังต้องเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเพื่อน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ปัญหาต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับบุคคลต่างๆ จึงเป็นเรื่องปกติ ครูจึงต้องมีความมั่นใจในตนเอง และมีมุ่งมั่นในการทำงานไม่ย่อท้อ
ครูจะต้องเป็นผู้ให้หรือผู้เสียสละ ดังที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ท่านเรียกว่า เป็นการเปิดประตูวิญญาณถือว่าเป็นหน้าที่สูงสุดของมนุษย์ใครทำได้ คนนั้นถือว่าเป็นครู ครูจึงต้องพระเมตตาและปัญญา ปัญญาและเมตตา คือความรู้ที่เพียงพอสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของครูแล้วก็เมตตาที่เพียงพอสำหรับอดกลั้น อดทน ในเมื่อมันมีสิ่งชนิดนั้นเกิดขึ้น แล้วก็อยู่ด้วยความพอใจว่า เรามีโชคดีที่ได้มาทำหน้าที่ครู หรือแม้มีอาชีพครู ซึ่งมีกุศล มีการบำเพ็ญการกุศล หรือได้บุญอยู่ในอาชีพนั้น
?...ให้ถือว่าครูมีหน้าที่พัฒนามนุษย์ แล้วพัฒนามนุษย์นั้นมุ่งหมายให้ถึงที่สุดอย่าหยุดเสียครึ่งๆ กลางๆ ให้เต็มไปด้วยความเป็นมนุษย์แล้วเราก็มีสิทธิที่จะพอใจในความเป็นปูชนียบุคคลของตนเอง...?
วันที่ 22 ก.ย. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,209 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,184 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 27,440 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,980 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,822 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,872 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,664 ครั้ง |
|
|