Advertisement
❝ เดือนตุลามาถึงอีกแล้ว สุขภาพหลังเกษียณเป็นสิ่งสำคัญ แต่ท่านมีความรู้เรื่องสุขภาพหลังเกษียณอายุมากแค่ไหน ถ้าท่านไม่มีความรู้เรื่องนี้ท่านอาจจะมีปัญหาปฎิบัติตัวไม่ถูก หรืออาจจะกลายเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อ เช่นโฆษณาขายยาอายุวัฒนะ ยาบำรุงสมอง ยานอนหลับ ยาสมุนไพร ฯลฯ ❞
ถ้าลองทดสอบข้อสอบข้างล่างนี้ดูท่านอาจจะมีความรู้ หรือสัมมาทิฐิเรื่องสุขภาพหลังเกษียณมากขึ้น ทำให้ดำเนินชีวิตที่ถูกต้องมากขึ้นก็เป็นได้
1. ถ้าร่างกายของท่านอยู่ในสภาพดี ท่านจะมีอายุยืน จริง หรือ ไม่
2. การที่น้ำหนักตัวลดลงเมื่ออายุสูงขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจทำเลย เป็นสิ่งที่ดี จริง หรือ ไม่
3. เมื่ออายุมากขึ้นท่านควรจะลดการออกกำลังกายลง เนื่องจากมันอาจจะทำให้ท่านบาดเจ็บมากขึ้น จริง หรือ ไม่
4. พันธุกรรมมีผลต่อสุขภาพของคุณมากกว่าการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร จริง หรือ ไม่
5. คนที่มีอายุมากขึ้นต้องการการหลับนอนน้อยลง จริง หรือ ไม่
6. เมื่อถึงวัยเกษียณ มันเป็นการสายเกินไปที่จะแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีเก่าๆ จริง หรือ ไม่
7. การอาสาทำงานเพื่อสาธารณะมีผลดีต่อตัวคุณเองและต่อผู้อื่น จริง หรือ ไม่
8. สมุนไพรเสริมสุขภาพ หรือยาอายุวัฒนะที่โฆษณาขายกันมีผลดี จริง หรือ ไม่
9. การงีบหลับตอนกลางวันเป็นสัญลักษณ์ของความชราและไม่ควรทำ จริง หรือ ไม่
10. ถ้าตอนหนุ่ม-สาวคุณไม่เคยมีปัญหาสุขภาพ ตอนชราคุณก็ไม่ต้องห่วงเรื่องสุขภาพ จริง หรือ ไม่
11. ถ้าท่านขี้ลืมชื่อคนหมายความว่าท่านเป็นโรคอัลไซเมอร์ จริง หรือ ไม่
อ่านคำถามทำข้อสอบแล้วลองดูเฉลยคำตอบและเหตุผลทางการแพทย์ซิว่าท่านมีความรู้หรือความไม่รู้มากแค่ไหน
ข้อ 1 ไม่จริง
เนื่อง จากการมีร่างกายในสภาพดีอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องมีสุขภาพจิตและอารมณ์ดีด้วย การมีร่างกายดีมันมีผลต่อสุขภาพแน่แต่ไม่ 100% คนเราจำเป็นต้องมีสุขภาพจิตดีโดยการเข้าสังคม ไม่ว่าจะสังคมในบ้าน ในหมู่บ้าน หรือในสังคมที่ใหญ่กว่านั้น คนเราต้องมีเพื่อนฝูง มีกัลยาณมิตรซึ่งจะคอยให้กำลังหรือห้ามใจเราในการประพฤติปฎิบัติให้อยู่ใน ศีลธรรม ไม่ออกนอกลู่นอกทางเที่ยวกินเหล้าเมายา หาเรื่องใส่ตัวตอนแก่ ออกกำลังกายเสมอ กินอาหารที่ถูกหลักอนามัย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อต่ออารมณ์ ลดความเครียด
ข้อ 2 ไม่จริง
การที่น้ำหนักลดไปเฉยๆ โดยท่านไม่ได้ตั้งใจทำเป็นเรื่องที่ต้องระวัง ควรจะหาสาเหตุ ถ้าท่านกินอาหารปกติและออกกำลังกายเท่าเดิมก็ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดู ว่ามีเหตุผลทางการแพทย์หรือไม่ การผอมลงไม่จำเป็นต้องผอมมาก เช่น สูญเสียน้ำหนักตัวไปสัก 5% ก็ควรจะต้องปรึกษาแพทย์แล้วเพื่อดูว่ามีปัญหาอะไรหรือเปล่า เช่น เป็นมะเร็งภายใน ปัญหาทางเดินอาหาร การกินหรือการกลืนอาหารผิดปกติ ปัญหาเรื่องฟันทำให้เคี้ยวไม่ได้ดี หรือปัญหาทางจิตใจ เช่น เป็นโรคซึมเศร้าเป็นต้น
ข้อ 3 ไม่จริง
การออกกำลังกายทุกวันหรือเกือบทุกวัน เป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้อายุยืนขึ้น ทำให้ลดความซึมเศร้า ลดการพรุนของกระดูกทำให้กระดูกหักลดลง ลดมะเร็งบางชนิด สมองเสื่อมช้าลง ลดอัมพาตอัมพฤกษ์ เบาหวานน้อยลง การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของขาทำให้หกล้มน้อยลง การหกล้มของคนชราอาจมีความเสียหายต่อสุขภาพมาก ถ้าคุณไม่เคยออกกำลังกายเลยก็ควรจะเริ่มทำได้แล้ว เริ่มตั้งแต่การเดิน แล้วเพิ่มมากขึ้น ถ้าท่านไม่แน่ใจเพราะมีโรคประจำตัว เช่น เป็นโรคหัวใจก็ควรจะปรึกษาแพทย์ดูว่าท่านควรจะออกกำลังแบบไหนที่จะเหมาะสม กับท่าน
ข้อ 4 ไม่จริง
พันธุกรรมมีผลต่อความชราของท่านแค่ 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 3 เท่านั้น ที่เหลือเป็นผลมาจากการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม (เช่น อยู่ในที่อากาศดี) หรือ ความบังเอิญ (เช่น อยู่ในสังคมที่นิยมกินอาหารต้านโรคหัวใจ) เช่น ถ้ามีพันธุกรรมโรคหัวใจขาดเลือดในพ่อ ท่านก็อาจจะคิดว่าท่านจะเป็นด้วย แต่ท่านสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดได้โดยการควบคุมสิ่งอื่น เช่น การออกกำลังกาย การกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ งดสูบบุหรี่ เอาใจใส่ควบคุมความดันโลหิต ควบคุมเบาหวานให้ดี
ข้อ 5 ไม่จริง
ความต้องการการนอนของคนเราค่อนข้างจะมี เท่ากันตลอดอายุขัย ไม่ว่าจะแก่จะอ่อนวัยก็ต้องการเท่ากัน ส่วนมากต้องการราว 7 ถึง 9 ชั่วโมงต่อวัน แต่ความชราอาจจะทำให้ท่านนอนหลับตื้นลง คนอายุระหว่าง 50 ถึง 60 จะเริ่มมีการนอนหลับยากขึ้น จะเริ่มง่วงตอนหัวค่ำมากขึ้น และตื่นเช้าขึ้น
ข้อ 6 ไม่จริง
เรื่องสายเกินไปไม่มี ท่านสามารถเริ่มต้นสุขนิสัยดีๆ ได้ทุกเมื่อ เช่น การเลิกสูบบุหรี่จะได้โภชน์ผลอานิสงส์ทันที การไหลเวียนเลือดจะดีขึ้น ความดันเลือดลดลง ปอดของท่านก็ทำงานดีขึ้น ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น สมองแจ่มใส ผิวพรรณสดใสมากขึ้น หลังจากที่หยุดสูบบุหรี่ได้ 1 ปีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ อัมพาตอัมพฤกษ์ โรคปอด และมะเร็งลดลง และถ้าคุณน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักสัก 5-10% ของน้ำหนักตัวก็สามารถช่วยให้ลดความดันเลือด และ ลดเบาหวานได้
ข้อ 7 จริง
ถ้าท่านว่างงาน การอาสาช่วยงานสาธารณะในวัยเกษียณเป็นสิ่งดี ทำให้ได้สังคมกับมนุษย์คนอื่น ทำให้ชีวิตวันๆ ของท่านมีจุดมุ่งหมายไม่เคว้งคว้าง ในทางกลับกันสังคมจะได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น จากการศึกษาคนวัยเกษียณพบว่าคนที่มีใจให้คนอื่นเป็นคนที่มีสุขภาพดีกว่า ปรับตัวได้ดีกว่า มีความเหงาน้อยกว่าคนที่ไม่ยุ่งกับสังคม
ข้อ 8 ไม่จริง
ไม่มียาวิเศษที่ช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้น อย่าทำตัวเป็นเหยื่อโฆษณายาอายุวัฒนะ สุขภาพดีอายุยืนมาจากการลงทุนทำตัวให้ดี มีสุขนิสัยที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินผักผลไม้เป็นประจำ ระวังคำโฆษณาที่ว่า “สมุนไพร” “ธรรมชาติ” ซึ่งไม่ได้หมายความว่า “ดีต่อสุขภาพ” เสมอไป สารธรรมชาติบางอย่างมีสารอันตรายปนอยู่ด้วย สมุนไพรบางตัวอาจจะมีสารที่ต้านฤทธิ์ของยาสำคัญที่ท่านกินอยู่เป็นประจำ ต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านเสียก่อน สำหรับสารต้านอนุมูลอิสระยังไม่มีที่เขาทำมาเป็นเม็ดขายแล้วได้ผลดี เคยมีแต่ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ
ข้อ 9 ไม่จริง
การนอนที่เพียงพอมีความสำคัญต่อสุขภาพ ร่างกายของคนเราต้องการการนอนเพื่อฟื้นความสดชื่น การงีบหลับตอนกลางวันจะช่วยเติมเต็มความขาดตกบกพร่องของการนอนหลับที่ไม่ลึก ในตอนกลางคืนสำหรับคนสูงอายุ คนสูงวัยมักจะง่วงในตอนกลางวันเนื่องจากขาดการนอนดังกล่าว แต่ไม่ควรงีบหลับตอนกลางวันมากเกินไปจะมีผลเสียต่อการนอนหลับในตอนกลางคืน แต่คนที่ง่วงมากๆ ในตอนกลางวันต้องระวัง ถ้าง่วงมากจนผล็อยหลับคาพวงมาลัย หรือนั่งรอรถเมล์แล้วหลับคาป้าย แบบนี้อาจจะเป็นเพราะมีความผิดปกติในการนอนในตอนกลางคืน เช่น เป็นโรคหยุดหายใจตอนนอนหลับ (sleep apnea) มีการหลับๆ ตื่นๆ เป็นพักๆ ตลอดคืน โรคแบบนี้ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อเยียวยารักษา อย่าคิดว่าเป็นเรื่องปกติ
ข้อ 10 ไม่จริง
ส่วนมากความเสี่ยงต่อโรคของท่านขึ้น อยู่กับสุขนิสัยของท่าน แต่โดยทั่วไปเมื่อเราอายุมากขึ้นความต้านทานโรคของเราจะลดลงทำให้ติดเชื้อ ได้ง่ายขึ้น แม้ว่าท่านจะไม่ค่อยเป็นโรคอะไรในชีวิตแต่ก็ไม่ควรประมาท คนแก่บางคนมาบอกหมอด้วยความภูมิใจว่าไม่เคยเป็นอะไรมาก่อน ไม่เคยตรวจโรคเลย พอหมอทำการตรวจก็พบโรคต่างๆ มากมาย เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ปอดเป็นจุดวัณโรค มะเร็งผิวหนัง ฯลฯ ซึ่งในระยะเริ่มแรกอาจจะไม่มีอาการ ท่านผู้สูงวัยควรจะไปให้หมอตรวจเช็คสุขภาพประจำปี เหมือนเจ้าของรถต้องเช็ครถเป็นประจำ โรคหลายอย่างสามารถป้องกันไม่ให้เกิดหรือไม่ให้เป็นมากขึ้นได้ถ้าตรวจพบใน ระยะเริ่มต้นและรักษาได้ง่าย ทำให้อายุยืนขึ้นอย่างมีคุณภาพ
ข้อ 11 ไม่จริง
การลืมชื่อคนชื่อของนั้นเกิดขึ้นได้ใน ทุกคน เกิดมากในคนสูงอายุที่ไม่ได้ใส่ใจที่จะจำ ตัวอย่างเช่น อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนหนึ่ง หรือเช่น ผัวเมียคู่หนึ่งซึ่งอายุมากแล้ว และขี้หลงขี้ลืม
วันหนึ่งฝ่ายเมียจะออกไปซื้อของนอกบ้านจึงถามสามีว่าจะฝากซื้ออะไรหรือเปล่า
สามีก็บอกว่าช่วยแวะซื้อไอศกรีมมาให้สักอันหนึ่ง แล้วสำทับว่าเอากระดาษจดไว้ด้วยซีเดี๋ยวจะลืม
ฝ่ายเมียก็บอกว่าไม่ลืมหรอก ของกล้วยๆ อย่างนั้น
เมื่อหายไปพักหนึ่งฝ่ายเมียก็กลับมาพร้อมกับถือถุงกระดาษยื่นให้สามี
สามีเปิดดูเห็นของแล้วจึงต่อว่า “อะไรนี่ ฝากให้ซื้อขนมครกทำไมซื้อกล้วยแขกมาให้”
การ ลืมแบบนี้ยังไม่เรียกว่าโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ สำหรับโรคอัลไซเมอร์มันร้ายกว่านั้น คนเป็นจะช่วยตัวเองไม่ได้ เช่น ไปซื้อของแล้วกลับบ้านไม่ถูก จ่ายเงินแล้วจ่ายอีก กลับบ้านเอากุญแจออกมาแล้วไม่รู้จะใช้อย่างไร เป็นต้น ท่านที่อ่านมาได้ถึงตรงนี้คงจะยังไม่เป็นอัลไซเมอร์ครับ
โดย :: พล ต.ต.นพ.นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์
Advertisement
เปิดอ่าน 11,554 ครั้ง เปิดอ่าน 41,835 ครั้ง เปิดอ่าน 14,020 ครั้ง เปิดอ่าน 10,873 ครั้ง เปิดอ่าน 12,559 ครั้ง เปิดอ่าน 14,615 ครั้ง เปิดอ่าน 78,204 ครั้ง เปิดอ่าน 20,639 ครั้ง เปิดอ่าน 24,841 ครั้ง เปิดอ่าน 19,781 ครั้ง เปิดอ่าน 11,747 ครั้ง เปิดอ่าน 2,852 ครั้ง เปิดอ่าน 32,890 ครั้ง เปิดอ่าน 3,835 ครั้ง เปิดอ่าน 11,872 ครั้ง เปิดอ่าน 10,515 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 12,825 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 23,258 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,558 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,767 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 796 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 4,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,203 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 4,398 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,474 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,747 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,202 ครั้ง |
เปิดอ่าน 51,129 ครั้ง |
|
|