Advertisement
|
ลึกไม่ลับ...ประเด็นร้อน 'มรดกโลก' เป็น..แล้ว 'ได้อะไร?'
กรณี “ปราสาทพระวิหาร” หรือปราสาทเขาพระวิหาร ที่อยู่ในเขตประเทศกัมพูชา และทางกัมพูชาได้ดำเนินการเพื่อจะให้ได้รับการจดทะเบียนเป็น “มรดกโลก” ไม่เพียงเป็น “ประเด็นอ่อนไหว” ระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา แต่ในไทยเองยังเป็น “ประเด็นร้อน” ที่ถูกหยิบยกมาใช้เขย่ารัฐบาล สมัคร สุนทรเวช ด้วย
ประเด็นการเมือง...ก็ต้องตามดู-รอดูกันไปว่าจะอย่างไร ?
แต่ “เป็นมรดกโลกแล้วได้อะไร ?” มีคำตอบที่ไม่ต้องรอ...
เริ่มที่ประเด็น “มรดกโลกคืออะไร ?” ทั้งนี้ ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า... “มรดกโลกคือสถานที่” ซึ่งอาจจะเป็นป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรือเมือง ก็ได้ทั้งนั้น ขอเพียงได้รับคัดเลือกให้เป็น ตามเกณฑ์พิจารณาที่กำหนดไว้ตายตัว โดยมรดกโลกหลัก ๆ มี 2 ประเภท คือ “มรดกโลกทางวัฒนธรรม” และ “มรดกโลกทางธรรมชาติ” แต่บางแห่งก็เป็นแบบผสมทั้งสองอย่าง
สำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม เกณฑ์พิจารณาคือ... เป็นตัวแทนผลงานชิ้นเอกจากการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์, เป็นสิ่งที่ มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน ภูมิทัศน์ การพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม, เป็นสิ่งยืนยันถึงหลักฐานวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือที่สาบสูญไปแล้ว, เป็นตัวอย่างโดดเด่นของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนการพัฒนาด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ, เป็นตัวอย่างโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีก่อสร้าง การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามเวลา, มีความคิด ความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ มีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติ เกณฑ์คือ... เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง, เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรขั้นบันได, เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา, เป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ รวมถึงระบบนิเวศที่รวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกสนใจ
สถานที่ที่เป็นมรดกโลก จะถูกประเมินทุก 3 ปี ซึ่งได้เป็นแล้วก็อาจถูกถอดถอนได้ หากเสื่อมโทรม-แปรเปลี่ยนไปจากเกณฑ์ ซึ่ง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ในไทย ที่ ได้เป็นมรดกโลก ที่ผ่านมาก็มีข่าวว่าน่าเป็นห่วง หวั่น ๆ กันว่าอาจจะเจอถอด โดยในไทยนั้นมีมรดกโลกแล้ว 5 แห่ง อีก 4 แห่งคือ... อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร, แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง, อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ป่าดงพญาเย็น
ขณะที่ปัจจุบันทั่วโลกมีมรดกโลก 830 แห่ง อยู่ใน 138 ประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 644 แห่ง เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ 162 แห่ง และอีก 24 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท
ทั้งนี้ องค์กรสำคัญที่เกี่ยวกับ “มรดกโลก” คือ “องค์การยูเนสโก” ภายใต้ “อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก” โดยมี “คณะกรรมการมรดกโลก” เป็นตัวจักรในการพิจารณาการเสนอสถานที่ต่าง ๆ จากประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกภาคี และมี “กองทุนมรดกโลก” เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ ในเรื่องนี้ โดยกองทุนนี้รายได้มาจากค่าบำรุงประจำปีของสมาชิกรัฐภาคี เงินบริจาคจากประเทศต่าง ๆ องค์กร ตลอดจนบุคคลทั่วไป
กับประเด็น “เป็นมรดกโลกแล้วได้อะไร ?” ก็กองทุนมรดกโลกนี่แหละสำมะคัญ !! ทั้งนี้ จากข้อมูลในบทความในอินเทอร์เน็ต โดย ดร.ชวิศ จิตรวิจารณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระบุว่า... สิ่งที่กองทุนมรดกโลกมีให้แก่ประเทศหรือรัฐภาคี กับสถานที่ “มรดกโลก” ได้แก่.....
ให้คำปรึกษา ให้อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ อุดหนุนทางการเงิน ในการดำเนินการรักษาในชั้นต้น, การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญ ช่างเทคนิค แรงงานฝีมือ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการ ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อดำเนินการอนุรักษ์, ช่วยเหลือเร่งด่วนในการจัดการกับภัยที่ร้ายแรงต่อมรดกโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อุทกภัย, ช่วยกำหนดสถานที่ที่มีคุณลักษณะของมรดกโลก การคุ้มครองรักษา และการฟื้นฟูสภาพมรดกโลก, จัดประชุมในระดับนานาชาติและภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์มรดกโลก ตลอดจนการประชุมระดับชาติ การจัดตั้งสมาคม และการประชาสัมพันธ์เพื่อการปกป้องอนุรักษ์สถานที่อันทรงคุณค่า
กรณีเงินอุดหนุน-เงินกู้ กับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาในไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ทำโครงการเสนอขอเพื่อใช้พัฒนาอุทยานฯ วงเงินกว่า 2,000 ล้านบาท แต่เพิ่งได้มาแค่บางส่วนเมื่อปีที่แล้ว
นอกจากนี้ ความภูมิใจของคนในประเทศที่มี “มรดกโลก” สถานที่ที่เป็นมรดกโลกก็จะเป็นตัวช่วยเสริมที่สำคัญให้ประเทศที่มี “มีโอกาสสร้างรายได้เข้าประเทศจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น”
นี่แหละ...สิ่งที่จะได้ตามกติกาจากการมี-การเป็น “มรดกโลก”
ส่วนใครจะได้อะไรทับซ้อนด้วยหรือไม่...ก็เป็นอีกเรื่อง ?!?!?.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ติดตามข่าวข่าวอื่นๆได้ที่ : http://www.openmm.com/lifestyle/index.html
|
วันที่ 22 ก.ย. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 9,908 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,182 ครั้ง เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,207 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,488 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,178 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 507,690 ครั้ง |
เปิดอ่าน 227,955 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,558 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,425 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,364 ครั้ง |
|
|