Advertisement
❝ สนับสนุนโดย ชมรมพระจันทร์ยิ้ม โทรติดต่อ 0864113996 ❞
ทำบุญเดือนสิบ
|
|
ทำบุญเดือนสิบ เป็นประเพณีที่สำคัยญอย่างหนึ่ง ที่ชาวภาคใต้ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา แต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากความเชื่อทางพุทธศาสนาว่าในปลายเดือนสิบ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องซึ่งล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีบาปตกนรกอยู่ ซึ่งเรียกว่า "เปรต" จะได้รับการปล่อยตัวจากพญายม ให้ขึ้นมาพบลูกหลานและญาติพี่น้องของตนในเมืองมนุษย์ ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และให้กลับไปอยู่เมืองนรกดังเดิมในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบ้าน จึงจัดให้มีการทำบุญเป็นประเพณีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ครั้งหนึ่งกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อีกครั้งหนึ่ง (บางท้องถิ่นทำในวันแรม 14 ค่ำ) เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง ตลอดจนบุคคลอื่น ๆ ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นสำคัญเพียงแต่ว่าการทำบุญใน 2 วาระหลังเพราะถือว่ามีความสำคัญกว่าในวาระแรก
การทำบุญสารทเดือนสิบ เป็นการแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางด้านจิตใจของผู้ปฏิบัติที่มี ต่อบุรพชน อันเป็นค่านิยมที่สำคัญยิ่งของชาวใต้ และของคนไทยทั่วไป ชาวภาคใต้จึงรู้สึกว่า งานบุญนี้มีความสำคัญมาก เมื่อใกล้ถึงวันทำบุญเดือนสิบ ทุกครอบครัวต่างก็เตรียมข้าวของให้ พร้อมเพื่อการทำบุญ ผู้ที่จากภูมิลำเนาไปอยู่ที่อื่นทั้งใกล้และไกลก็จะเริ่มกลับสู่ถิ่นใต้บ้านเกิดเมือง นอนของตนเพื่อมาร่วมงานประเพณีโดยทั่วหน้ากัน การทำบุญเดือนสิบ จึงเป็นงานประเพณีที่ก่อ ให้เกิดการชุมนุมของเครือญาติได้อีกทางหนึ่งด้วย ชาวภาคใต้บางคนบางพวกที่ไม่อาจกลับสู่ ภูมิลำเนาของตนได้ด้วยความจำเป็นบางประการ ก็พยายามหาโอกาสทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ บุรพชนในวาระทำบุญวันสารท และถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้ก็จะจัดประเพณีทำบุญนี้ขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งในแหล่งที่ไปอาศัยอยู่นั้น
ชื่อประเพณี
ประเพณีทำบุญนี้มีชื่อเรียกต่างกันออกไปเป็นหลายชื่อ โดยทั่วไปแล้วจะมีการกำหนดเรียก 4 ลักษณะ คือ
1. กำหนดเรียกตามเดือนที่ทำบุญประเพณี เนื่องจากประเพณีทำบุญนี้จัดให้มีขึ้นในเดือน 10 ตามคติความเชื่อดังกล่าวแล้ว ชาวบ้านจึงเรียกกันอย่างง่าย ๆ ว่า "ประเพณีทำบุญเดือนสิบ"
2. กำหนดเรียกตามประเพณี "สารท" ของอินเดียที่รับอิทธิพลเข้ามา คำว่า "สารท"พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่า "เกี่ยวกับหรือเกิดในฤดู ใบไม้ร่วง, เทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ" ในอินเดียคำว่า "สารท" เป็นชื่อที่ใช้เรียกฤดูใบไม้ร่วง และมีประเพณีอันเกี่ยวเนื่องด้วยฤดูสารทนี้ คือ เมื่อถึงฤดูสารทพืชพันธุ์ธัญญาหารที่ปลูกไว้ ให้ดอกผล ก็จะมีการเก็บเกี่ยวไปทำขนม เซ่น พลีบูชาผีปู่ย่า ตายายหรือเทพเจ้าที่ตนนับถือ และแสดงความยินดีกัน ในสมัยพุทธกาลพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าการทำบุญในลักษณะเช่นนี้ เป็นการดี จึงทรงอนุญาตให้พุทธศาสนิกชนคงคถือปฏิบัติเรื่อยมา จึงเป็นที่เชื่อกันว่า เราได้รับประเพณีนี้มาจากอินเดีย และบางคนยังคงเรียกประเพณีนี้ว่า "สารท" ด้วย และในบางครั้งก็มีการเรียกควบคู่กับ "เดือนสิบ" ด้วย เช่น "ประเพณีทำบุญวันสารท" หรือ "ประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบ"
3. กำหนดเรียกตามขั้นตอนปฏิบัติที่สำคัญของประเพณี ประเพณีนี้มีวิถีปฏิบัติหลายขั้นตอน ที่สำคัญ คือ การจัดหมรับ การยกหมรับ และการชิงเปรต บางคนจึงเรียกว่า "ประเพณียกหมรับ" หรือประเพณีชิงเปรต"
4. กำหนดเรียกตามความมุ่งหมายหลักของประเพณี ประเพณีนี้มีความมุ่งหมายหลักอยู่ที่ การอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเชื่อว่าไปเป็น "เปรต" อยู่ในนรกและได้รับ การปล่อยตัวให้ขึ้นมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และกลับสู่นรกในวันแรม 15 เดือน 10 ลูกหลานจึงต้องทำบุญในวันเวลาดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นการ "รับ" และ "ส่ง" ตายาย ดังนั้นบางท้องถิ่นจึงเรียกประเพณีนี้ว่า "ประเพณีทำบุญตายาย" หรือ ประเพณี รับส่งตายาย
ความมุ่งหมายของการทำบุญสารทเดือนสิบ
ประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบ มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ตลอดจนญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ด้วยช่วงเวลาปฏิบัติและวิถี ปฏิบัติของผู้ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชน จึงทำให้ประเพณีนี้มีความมุ่งหมายอื่น ๆ เข้าประกอบด้วย ดังต่อไปนี้
1. เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่น ที่ล่วงลับไปแล้ว
2. เป็นการทำบุญ แสดงความชื่นชมยินดี ในโอกาสที่ได้รับผลิตผลทางการเกษตร ในช่วงปลาย เดือน 10 ซึ่งตรงกับประเพณีสารท เป็นระยะที่พืชพันธุ์ต่าง ๆ กำลังให้ผลชาวบ้านจะนำพืชผล ทั้งในลักษณะที่ไม่แปรสภาพและแปรสภาพเป็นอาหารต่าง ๆ แล้วไปถวายพระสงฆ์ เพื่อความ เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
3. เพื่อเป็นการอำนวยประโยชน์ ในด้านปัจจัยอาหารแด่ภิกษุสงฆ์ ในช่วงฤดูฝนโดยนำพืชผลไม้ และอาหารแห้งไปถวายพระสงฆ์เพื่อเก็บไว้เป็นเสบียงในฤดูฝน ซึ่งจะเริ่มในตอนปลายเดือน 10 การจัดเสบียงอาหารนี้ จะจัดเป็นสำรับที่ชาวใต้เรียกว่า "หมรับ" แล้วถวายโดยวิธีให้พระภิกษุ จัดสลากเรียกว่า "สลากภัต" พระภิกษุจะให้ศิษย์เก็บหมรับรับไว้ เพื่อนำมาประเคนถวายเป็นมื้อๆ
4. เพื่อเป็นการแสดงความสนุกสนานรื่นเริงประจำปีร่วมกัน เพราะญาติมิตรที่อยู่ใกล้ไกลจะกลับ สู่ภูมิลำเนาค่อนข้างพร้อมหน้าพร้อมตากัน จึงมักมีการจัดงานรื่นเริงเฉลิมฉลองกันในลักษณะ ต่างๆ จังหวัดนครศรีธรรมราชมีการจัดงานรื่นเริงควบคู่กับประเพณีทำบุญเดือน 10 เป็นงาน ใหญ่โต เรียกว่า "งานเดือนสิบ" ซึ่งยังคงจัดมาจนถึงปัจจุบัน
วิธีปฏิบัติและพิธีกรรม
ประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบ มี 2 ครั้ง คือ ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ครั้งหนึ่งกับ วันแรม 15 ค่ำ อีกครั้งหนึ่ง
ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ชาวบ้านโดยทั่วไปยังไม่ถือว่าเป็นวันสำคัญนัก การประกอบพิธี จึงเป็นอย่างง่าย ๆ เพียงจัดภัตตาหารไปทำบุญที่วัดเรียกวันนี้ว่า "วันรับตายาย" หรือ "วันหมรับเล็ก" ในวันแรม 13 ค่ำ แรม 14 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ถือเป็นช่วงสำคัญมาก เรียกว่า "วันหมรับใหญ่" มีขั้นตอนการปฏิบัติตนและประกอบพิธีกรรมโดยทั่วไป ดังนี้
1. การเตรียมการ มีการจัดข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ไว้ให้ครบ ถ้วนเพื่อการจัดหมรับ ดังนั้นในวันแรม 13 ค่ำเดือน 10 จึงมีการซื้อขายกันมากเรียกว่า "วันจ่าย"
2. การจัดหมรับ ส่วนใหญ่จัดกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 แต่เดิมนิยมใช้กระบุงทรงเตี้ย ๆ สานด้วยตอกไม้ไผ่ขนาดเล็กใหญ่ตามต้องการ แต่มาระยะหลังใช้ภาชนะจัดตามสะดวก ของที่ใช้ ในการจัดหมรับ ได้แก่เครื่องปรุงรสอาหารที่จำเป็น, อาหารแห้ง, ของใช้ในชีวิตประจำวัน,ยาสามัญ ประจำบ้าน, ธูป, เทียน และหัวใจคือสำคัญของหมรับ คือ ขนม 5 อย่าง ซึ่งมีความหมายต่อการ อุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ และถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของงานบุญสารท เดือน 10
ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพตามคติ ทางพุทธศาสนา
ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
ขนมกง (ขนมไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย
ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับญาติผู้ตายจะได้ใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
ผู้สูงอายุบางคนกล่าวว่า ขนมที่เป็นหัวใจของการจัดหมรับมี 6 อย่าง โดยเพิ่มลาลอยมัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนฟูกหมอนเข้าไปด้วยขนมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นขนมที่สามารถเก็บไว้ได้นานไม่บูด เสียง่าย เหมาะที่จะเป็นเสบียงเลี้ยงสงฆ์ไปได้ตลอดฤดูฝน นอกจากนั้นยังมีเครื่องเล่นต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นของพื้นเมือง ซึ่งต้องพิจารณาให้ถูกกับนิสัยบุรพชนที่อุทิศให้ เช่น บุรพชนชอบดู ละคร, ชอบกัดปลา, ชอบเล่นไก่ชน ฯลฯ ก็จัดทำเป็นรูปตุ๊กตานั้น ๆ เชื่อว่าผู้จัดจะได้อานิสงส์มาก ยิ่งขึ้น การจัดหมรับอาจจะจัดกันเฉพาะครอบครัว หรือจัดกันในหมู่ญาติพี่น้อง หรือรวมกัน เป็นกลุ่มระหว่างเพื่อนฝูงก็ได้
ในจังหวัดยะลาไม่นิยมจัดหมรับ แต่จะมีบ้างในบางราย ซึ่งจัดเป็นหมรับขนาดเล็ก ดังนั้น ในวันแรม 14 ค่า หรือ แรม 15 ค่ำ จะเห็นพ่อค้า แม่ค้านำ "ขนม 5 อย่างมาวางขายอยู่ทั่วไป ซึ่งขนมเหล่านี้ ก็สั่งซื้อมาจากจังหวัดอื่น เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา และเพื่อความสะดวกเขา จะใส่ถุงรวมกันเป็นชุด ๆ ชาวบ้านจะซื้อหา เตรียมไว้สำหรับเอาไปวัดในวันรุ่งขึ้น หรือซื้อหากัน ในช่วงเช้าวันแรม 15 ค่ำ ก็ได้ เมื่อถึงวัดชาวบ้านจะนำขนมเหล่านี้ไปวางรวมกันในภาชนะที่ ทางวัดเตรียมไว้เพื่อประกอบพิธีร่วมกัน
ในการยกหมรับไปวัด จะมีการจัดภัตตาหารไปถวายพระด้วย จึงมักจะไปวัดกันในช่วงเช้า ก่อนพระฉันเพล ผู้ยกหมรับไปวัดจะแต่งกายสะอาด สวยงามเพราะถือว่าเป็นการทำบุญ ครั้งสำคัญ โดยเลือกวัดที่อยู่ใกล้บ้าน หรือวัดที่เคยเผาบรรพบุรุษหรือวัดที่บรรพบุรุษเคยนิยม ยกหมรับไปวัด อาจต่างครอบครัวต่างไป หรือจัดเป็นขบวนแห่ก็ได้ ถ้าเป็นหมรับใหญ่และมีการ ประกวดหมรับกันด้วย จะมีขบวนแห่ใหญ่โตเอิกเกริก ผู้ร่วมขบวนแห่แต่งตัวสวยงามตามลักษณะ ขบวน อาจมีการแต่งเป็นเปรตหรืออื่น ๆ ตามแต่ความคิดของผู้ร่วมขบวน
4. การตั้งเปรต เมื่อยกหมรับและนำภัตตาหารไปถึงวัดแล้ว ก็เตรียมจัดสำรับ การจัดสำรับ ในวันสารททั้ง 2 ครั้ง (แรม 1 ค่ำ เดือน 10, แรม 15 ค่ำ เดือน 10) ก็มีข้าวปลาอาหาร และขนมเดือน 10 จัดเป็น 3 ชุด คือ
ชุดที่ 1 สำหรับถวายพระ เพื่อจะได้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปไห้บุรพชนหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ชุดที่ 2 สำหรับตั้งให้เปรตกันในวัด เป็นเปรตชั้นดี ที่สามารถเข้าวัดเข้าวาได้โดยสร้างร้าน ขึ้นสูงพอสมควรเรียกว่า "หลาเปรต" (หลา เป็นภาษาถิ่นใต้หมายถึงศาลา ดังนั้น "หลาเปรต" จึงหมายถึงศาลาที่ใช้สำหรับตั้งเปรต) แล้วนำอาหารไปไว้บนหลาเปรตนั้น ชุดที่ 3 สำหรับตั้งให้เปรตกินนอกวัด เป็นเปรตที่มีบาปหนัก เข้าวัดเข้าวาไม่ได้โดยจะเอา ไปวางไว้นอกบริเวณวัดตามกำแพงหรือโคนต้นไม้ในการตั้งเปรตทั้งในวัดและนอกวัด จะต้องกล่าวคำเชิญเปรตและอธิษฐานให้เปรตได้ หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ถ้าไม่เชิญเปรต เปรตจะไม่กล้ากินเหมือนหนึ่งเราจัดอาหารให้แขกหรือ ญาติที่มาเยี่ยม จัดวางไว้แล้วเราไม่เชิญแขกก็ไม่กล้ากิน เมื่อเชิญเสร็จแล้วควรจะยืนดูสักระยะหนึ่ง พอให้เปรตกินเสร็จ เปรตจะได้ชื่นใจว่าเรายื่นให้ด้วยความเต็มใจ และคอยเฝ้าปรนนิบัติไม่ละทิ้ง
5. การชิงเปรต เมื่อจัดสำรับไปวางไว้บนหลาเปรตแล้ว บนหลาเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อม ไว้รอบ และต่อยาวไปจนถึงพระสงฆ์ ซึ่งนั่งอยู่ในวิหารเป็นที่ทำพิธีกรรม โดยสวดบังสุกุลอัฐิหรือ กระดาษเขียนชื่อของผู้ตาย ซึ่งบุตรหลานนำมารวมกันในพิธีต่อหน้าพระสงฆ์บุตรหลานจะ กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปยังเปรตชนที่เป็นบรรพบุรุษ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว เก็บสายสินจน์ ก็มีการชิงเปรต คือแย่งของที่ตั้งให้เปรตกินนั้น เชื่อว่า การแย่งขนมเปรตที่ผ่านการทำพิธีแล้วนี้จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวยิ่งนัก และยังเชื่อกันต่อไปว่าขนมเหล่านี้ถ้านำไปหว่าน ในสวน ในนา จะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ เพิ่มผลผลิตสูง
การชิงเปรตหรือแย่งของที่ตั้งให้เปรตกิน ถ้าไม่ชิงเปรตท่านว่าไม่ดี เพราะการชิงเปรตนั้นคือ การชิงกันกินของที่เปรตกินเหลือแล้ว เปรตจะสุขใจอย่างมากที่เห็นลูกหลานไม่คิดรังเกียจ กล้ากินเดนอาหารที่ท่านกินเหลือ และเปรตจะช่วยหาทางคุ้มครอง บางคนที่บุตรหลานเจ็บป่วย บนเปรตให้หายป่วย จะให้บุตรหลานได้ชิงเปรตในรอบปีนั้นก็มี บางท่านอธิบายว่า การชิงเปรต นั้นจะทำให้เปรตสนุกสนานด้วย เพราะนาน ๆ จะได้มาแย่งชิงเล่นสนุกกับลูกหลาน ดังนั้นหาก ใครไม่ร่วมชิงเปรตก็คล้ายกับว่ายังทำพิธีนี้ไม่สมบูรณ์ การชิงเปรตนี้ ชาวบ้านในชนบทยังคงปฏิบัติ กันอยู่แต่วัดที่อยู่ในตัวเมือง ส่วนใหญ่มีแต่เด็ก ๆ ที่เข้าแย่งชิงกันและมักจะรื้อค้นหาเงินที่ชาวบ้าน วางไว้ในสำรับเพื่อมอบให้เปรตไว้ใช้จ่าย ส่วนผู้ใหญ่ที่ไม่เข้าแย่งชิงนั้นอาจจะคิดว่าเป็นการแย่ง กันกิน เป็นเรื่องน่าเกลียด จึงควรที่จะศึกษาและแปลเจตนาให้ถูกต้อง มิฉะนั้นประเพณีนี้ อาจจะต้องเลิกลาไปในที่สุด
|
มีคำบรรยายใต้ภาพว่า : ผลักดัน- ดร.โรแลนด์ ซิลวา ประธานองค์กรอีโคโมสสากล ที่ปรึกษา "ยูเนสโก" เข้าเยี่ยมชมพระบรมธาตุเจดีย์ จ.นครศรีธรรมราช โดยรับปากว่าจะช่วยผลักดันให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา
ด้านในมีรายละเอียดข่าวเป็นล้อมกรอบ เกี่ยวกับ ดร.โรแลนด์ ซิลวา และนายเขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากร เดินทางไปนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และเข้าร่วมประชุมการนำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ที่จะมีการประชุมกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในกลางปี พ.ศ.2553
ปัจจุบัน ดร.โรแลนด์ ซิลวา เป็นประธานกิตติมศักดิ์อีโคโมสสากล (คณะกรรมการมรดกโลก) องค์การยูเนสโก เป็นชาวศรีลังกา ซึ่งเขาผู้นี้เองที่คนเป็นนำเสนอ "เมืองแคนดี้ (Kandy)" ของประเทศศรีลังกา สู่การพิจารณาเป็นมรดกโลกสำเร็จมาแล้ว โดยเหตุผลสำคัญที่ ดร.โรแลนด์ ให้ไว้ในการสนับสนุนพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และถือเป็นหลักและแนวทางในการนำสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกนั้นคือ "เป็นโบราณสถานที่ยังมีชีวิตอยู่ เชื่อมโยงกับจิตวิญญาณของพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง ไม่แตกต่างจากพระเขี้ยวแก้ว และเมืองแคนดี้"
แม้จะไม่เก่าแก่เท่า แต่สิ่งที่ดำรงอยู่เหมือนกันของ "เมืองแคนดี้" กับ "เมืองคอน" คือความเคลื่อนไหลของชีวิตที่ดำรงอยู่ตลอด
เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เป็นเรื่องธรรมดาของสิ่งที่เรียกว่า "วัฒนธรรม" เพียงแค่หลังจากหากได้เป็น "มรดกโลก" แล้ว อย่าตัดผู้คนออกจากวัตถุสถานเท่านั้นเป็นพอ
"เมืองคอน" หรือ "นครศรีธรรมราช" เป็นชุมชนโบราณ พัฒนาสืบเนื่องมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังพบหลักฐาน เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต เช่น เครื่องมือหิน จนเมื่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ชุมชนแห่งนี้ได้กลายเป็นชุมชนการค้าทางทะเลที่สำคัญ รับเอาอิทธิพลทางศาสนาและวิทยาการจากอินเดีย ทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ยังความความเจริญรุ่งเรืองให้เมืองแห่งนี้เป็นอย่างมาก ดังพบหลักฐานทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น เทวสถาน พระพุทธรูป ศิวลึงค์ พระพิฆเนศ ฯลฯ
นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า ที่แห่งนี้เป็น "ศูนย์กลางวัฒนธรรมอินเดียในคาบสมุทรภาคใต้"
โดยเฉพาะที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตามตำนานการสร้างกล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็กๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ เป็นพระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร
เกี่ยวกับประวัติการสร้างยังเป็นข้อถกเถียง
เกี่ยวกับรูปทรงของเจดีย์ว่าสร้างครอบเจดีย์องค์เดิม หรือสร้างเป็นเจดีย์ทรงลังกาอยู่แล้วก็ยังไม่เป็นข้อสรุป
แต่ที่แน่ๆ ในความทรงคุณค่าของพระบรมธาตุเจดีย์ และวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อันเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมอินเดีย (โดยเฉพาะเมื่อพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง) นั้นไม่อาจปฏิเสธได้ เป็นมรดกที่แม้ใครจะไม่ให้เป็นมรดกโลก เราในฐานะบรรพชนลูกหลานก็ล้วนภาคภูมิใจ โดยเฉพาะในความมีชีวิตของ "ประเพณี-วัฒนธรรม" ที่สืบเนื่องมายาวนาน
นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ ดร.โรแลนด์ จะผลักดันให้พระบรมธาตุเจดีย์ และโบราณสถานเกี่ยวเนื่องอีก 7 แห่งเป็นมรดกโลก
ตามข่าว นายเขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกซึ่งกำลังจะมีขึ้นที่เมืองปารีสในปีหน้า ดร.โรแลนด์บอกว่า จะเป็นผู้เสนอรายละเอียดให้คณะกรรมการมรดกโลกยูเนสโกเอง โดยยึดหลักและแนวทางเดียวกับที่เคยเสนอเมืองแคนดี้ของศรีลังกาเป็นมรดกโลกมาแล้ว เนื่องจากพบข้อมูลว่าพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเชื่อมโยงและมีอิทธิพลต่อจิตวิญญาณของมนุษย์มากกว่าเมืองแคนดี้ สะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระบรมธาตุเจดีย์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เช่น ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ สมโภชพระบรมธาตุ สารทเดือนสิบ
ขณะที่เมืองแคนดี้จะมีประเพณีสมโภชและสักการะพระเขี้ยวแก้วปีละครั้งเท่านั้น ดังนั้น พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชมีโอกาสสูงที่จะผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการยูเนสโกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ไม่ยาก นอกจากนี้ องค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชยังเชื่อมโยงกับประเทศลังกาหรือศรีลังกามาตั้งแต่โบราณ
ประเพณีชักพระหรือ ลากพระ, ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ, กีฬาชนวัว, ตักบาตรธูปเทียน, พิธีกวนข้าวมธุปายาส (ยาคู) ในช่วงงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ, แห่พระพุทธสิหิงค์, ประเพณีให้ทานไฟ, ชิงเปรต, ประเพณีสงกรานต์เมืองนคร, งานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ, ประเพณีแห่นางดาน ฯลฯ
เหล่านี้คือสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมธาตุเจดีย์ เกี่ยวเนื่องกับวัดมหาธาตุมหาวิหาร เกี่ยวเนื่องกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชน (เมือง) แห่งนี้
หากได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจริง
อย่าได้ตัดสิ่งเกี่ยวเนื่องเหล่านี้ออกจากกันเลย
หน้า 20
วันที่ 21 ก.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,126 ครั้ง เปิดอ่าน 7,127 ครั้ง เปิดอ่าน 7,392 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,132 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,128 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,131 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,240 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,128 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,131 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 56,381 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,955 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,183 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,388 ครั้ง |
เปิดอ่าน 131,075 ครั้ง |
|
|