Advertisement
สตอเบอรี่,งุงิ,จุ๊บุ๊ๆ,จิงอ่ะ,ซับโบร๋,โออิชิ,จีว่า ,งานเข้า,เชรงจิต, เข้าจัยชิ๊มิ๊เค๊อะ!!!!??? ... (- -
ที่มา manager.co.th
หลาย คำ ผ่านหู สะดุดตา กระทบใจ แต่กลับทำให้สมองมึนงง สับสนกับสำนวนที่ได้ยิน คำไทย ที่ผิดแผกแปลกหูแปลกตากับที่เคยได้ร่ำเรียนมา คำพูดไม่คุ้นหูนี้ฟังดูแล้วเหมือนจะไร้ซึ่งความหมายเ มื่อเปิดไปยังหน้า พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถานก็หามีคำตอบไม่ แต่ผู้ฟังกลับเข้าใจความหมาย และไม่แม้แต่จะหันไปถามคู่สนทนา กลับโต้ตอบด้วยสีหน้าสนุกสนาน เพี้ยนและ "สแลง" อย่างออกรสชาติหนักขึ้นๆ
วัยรุ่นไทย...หัวใจสแลง
ศักดิ์พงศ์ : สวัสดีครับ ไม่เจอกันนานเลยนะครับคุณสมัยไหน เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีนะครับ
สมัยไหน : สบายดีค่ะคุณศักดิ์พงศ์ ดิฉันขอตัวไปเรียนก่อนนะคะ เสียงออดดังแล้ว เดี๋ยวอาจารย์จะทำโทษเอา
พูดกันด้วยคำปกติตรงตามหลักภาษาไทย วรรณยุกษ์ไม่มีผิดเพี้ยน แต่กลับได้อารมณ์ที่แตกต่างออกไป วัยรุ่นนักสแลงบอกว่า "แม่มเชย"
" เข้าใจว่าเวลาคุยกับเพื่อนคงไม่มีใครพูดว่า สวัสดียามเช้าครับเพื่อน หิวแล้วไปกินข้าวกันเถอะนะครับ คงไม่มีใครพูดในสมัยนี้ ผมกล้ายืนยันได้เลย เวลาจะพูดกันกับเพื่อนของผมก็จะประมาณ ดีมรึง กรูหิวแล้ว ไปแด๊กข้าวกาน มันได้อารมณ์ของเพื่อนที่สนิทกันมาก"
โดม -รดิศ สิทธิศาสน์ นร.ชั้น ม. 3 ยกตัวอย่างบทสนทนา ที่ใช้พูดคุยกับเพื่อนอย่างคุ้นชิน เป็นประจำและออกจะถือว่าการพูดตามหลักไวยากรณ์ ตามรูปแบบภาษาไทยโดยไม่ผิดเพิ้ยนนั้น ถือเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ไม่น่าให้อภัยของผู้ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นวัยรุ่นวัย สแลง
"ทุกที่นะผมว่า มันเกิดคำสแลงได้ทุกที่ แล้วแต่ความเข้าใจในกลุ่มด้วย อย่างกลุ่มผมก็จะมี หน้าด้วง เอาไว้เรียกผู้หญิงที่หน้าตาไม่ดี หรือส่วนมากก็มาจากกิจกรรมที่ชอบครับ อย่างเล่นเกม วินนิ่ง เป็นเกมฟุตบอลที่ฮิตมากในกลุ่มผู้ชาย เวลาชวนเพื่อนเล่นก็จะ ประมาณ วินนิ่งม่ะสราดดด คือ เล่นเกมวินนิ่งกันไหม มันจะมีสแลงมาจากพวกนี้เยอะนะผมว่า เทพ เทพ ก็คือเก่งมาก เวลาใช้ตัวเก่งๆ เล่น อย่างซีดาน โรนัลโด้ รัยงี้ฮะ"
เหล่า คำสแลงดูจะไม่ถูกหู กับผู้รักวัฒนธรรม รักรากเหง้าของความเป็นไทย และกลัวว่าภาษาไทยจะวิบัติ หากวัยรุ่นใช้ภาษาไทยไม่ถูก อาจจะเป็นการกลัวกันเกินเหตุ เพราะผู้ใช้ภาษา เข้าใจว่าต้องใช้ในลักษณะใด และกับใคร
"ผมไม่ได้ไปคุยกับพ่อกับแม่ หรือกับอาจารย์ จะมีไม๊ครับ คุยกับพ่อแม่แล้วความเห็นไม่ตรงกันและตอบไปว่า เดี๋ยวเหนี่ยวเลย พ่อพูดว่า ตั้งใจเรียนนะลูก อนาคตจะได้มีงานดีๆ ทำ แล้วบอก เจรงเด่ะ คงไม่มีใช่ไหมครับ เราพูดกันในหมู่เพื่อนฝูง แล้วก็ไม่เขียนคำสแลงลงในข้อสอบอัตนัยแน่นอน"
ยิ่งเพี้ยน...ยิ่งมันส์
"สะใจ" คงเป็นนิยามความรู้สึกของการสแลงคำ หากแต่ผู้รักภาษาไทยหัวอนุรักษ์นิยม ไม่ได้สะใจไปกับการสร้างสรรค์อันไร้ประโยชน์สำหรับพว กเขา แต่สำหรับอีกหลายคนคำสแลง คือการลื่นไหลที่เต็มไปด้วยสีสันแห่งการสนทนา
" ข้อเสียของสแลงคือทำให้คนไม่รู้จักคำที่ถูกต้องว่ามั นเป็นยังไง พูดกันจนบางครั้ง ไม่รู้จักกาละเทศะ ผู้ใหญ่ที่เขาเป็นนักอนุรักษ์เนี่ยเค้าไม่ชอบนะ แต่มันก็ไม่ได้เสียหาย แต่ความเห็นส่วนตัวสำหรับคนทำงานสอนภาษาไทย อย่างคุณครูมองว่ามันไม่ได้เสียหาย ไม่ดีคนจะพูดกันทำไม เสียดายปาก มันก็ต้องเก๋เป็นที่ยอมรับสำหรับผู้ส่งสารและรับสาร"
ครูลิลลี่ อาจารย์สอนภาษาไทยคนดัง อธิบายถึงเหตุของคำสแลงอย่างเข้าใจวัยรุ่นผู้ไม่ชอบค วามซ้ำซากจำเจ ท่ามกลางสังคมอันเต็มไปด้วยความหลากหลายทางความคิดสแ ลงอาจเป็นจุดเล็กที่ไม่ ทันสังเกตุ อันสะท้อนถึงความกบฐของมนุษย์ที่แฝงอยู่โดยถูกแสดงออ กอย่างแยบยลทางการสื่อ สาร
" มันสะใจไง ยิ่งเพี้ยน ยิ่งแปลก ยิ่งกิ๊บ(มาจากกิ๊บเก๋ อะไรอย่างเงี๊ยะ) อย่างคำว่าใช่ไหมก็เป็น ใช่ม่ะ อีกคนก็ ชิมิ เกทับเข้าไปอีก ฉันเก๋กว่า หาคำได้เลิศ กว่าเปรี้ยวกว่าเธอ หัวเราะก็มี คิกๆ และก็เป็น คริ๊ๆ ใช่ม่ะหล่ะ คิกๆ นี่ถือว่ายังธรรมดา แต่ถ้าเป็น คริ๊ๆ มันก็จะยิ่งสนุก ดิ้นได้ ตัวอักษรมันทำให้ภาษามีวิญญาณเกิดขึ้นให้อารมณ์ แค่ใช่ไหมกับชิ๊มิ๊ นี่ก็ต่างกันแหระ ใช่ไหมนี่เครียด ชิ๊มิ๊ ขี้เล่น สนุก อารมณ์ดี นี่คือจุดต่างของมัน"
ที่ มาของสแลงมากมาย อีกทั้งยังมีแบบสากลและไม่สากล บางครั้งการสร้างสรค์ประดิษฐ์คำขึ้นมา อาจจะได้รับการยอมรับและถูกใช้เป็นสากลขึ้นมา ผ่านการนำเสนอของสื่อ
"ถ้าจะด่า เดี๋ยวนี้ก็มี สตอเบอรี่ แต่ตอนี่มันยังดูเล็กๆ มันต้องซุง เพราะซุงนี่มันใหญ่กว่าไง(หัวเราะ) คำว่า ซุงนี่ไม่สากล เฉพาะกลุ่ม ถ้าเป็นคำที่สื่อมีบทบาททำให้มันเป็นสากลเอามานำเสนอ เช่น โจ๋ หื่น คำว่าหื่น เนี่ยก็รู้กันแระว่า กระเ่ยนกระหือรือจะข่มขืน อึ้บ เนี่ยก็รู้แล้วว่าแปลว่าข่มขืน มันก็กลายเป็นสากลแล้ว อะไรอย่างนี้"
คำ สแลงมากมายเสียจนต้องถูกบัญญัติในราชบัณฑิตยสถานให้เ ป็นพจนานุกรมคำสแลง ถูกยอมรับและจัดทำให้เป็นหมวดเป็นหมู่จะได้ไม่เละเทะ แสดงถึงความมีอิทธิพลของมันที่ทำให้ผู้ใหญ่ต้องออกมา ซึ่งบางคนก็ไม่ยอมรับว่าทำไมต้องบัญญัติ ไม่ได้บัญญัติเขาแค่รวบรวม แล้วก็อยู่ในส่วนที่ไม่เป็นทางการ
"คำที่ใช้กันอยู่ไม่แน่อาจจะใช้ไป อีก สิบปีข้างหน้าก็ได้ใครจะไปรู้ ก็มันวนกันได้ บางคำนะก็ไม่เสมอไป แต่ปัจจุบันนี่มันไว ไอ้ที่นิยมมันสั้นไง คนมันคิดทำอะไรมากมาย มันก็เลยเปลี่ยนไปเรื่อย แต่คำว่างานเข้าเนี่ย ใช้มาเกือบสิบปีแล้วนะ"
อาจ จะดูเป็นเรื่องที่ยากจะยอมรับสำหรับกลุ่มอนุรักษ์นิย มภาษาไทย แต่หากมองอีกมุมหนึ่งสแลงเองก็มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแ ปลงและสร้างทิศทางภาษา และพัฒนารูปแบบของภาษาให้เปลี่ยนไป มิเช่นนั้นภาษาไทยคงจะย้ำอยูกับที่ เหมือนสมัยแรกของการใช้ภาษาสมัยพ่อขุนราม
"ความสำคัญของสแลงมีมาก ขึ้น ผู้ใหญ่ให้การยอมรับ และมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม บางครั้งก็มีปรากฏในข้อสอบเอนทรานซ์ ความแตกต่างระหว่างภาษาเขียนกับภาษาปาก พาดหัวข่าว อย่าง โย๊ แล้ว ถ้าใช้ดารา ก. ตั้งครรภ์ แล้วใครจะซื้อคะเป็นต้น"
สื่อ...สร้างสแลงอย่างเป็นทางการ
ยุค อินเตอร์เนต มีบทบาทให้เกิดสแลงมากขึ้นอีกทั้งยังง่ายต่อการแพร่ก ระจาย จดจำ และนำไปใช้ประยุกส์ หรือใส่อารมณ์เพิ่มเพื่อเน้นให้เกิดสแลงที่แหวกแนวเข ้าไปอีก รัสนาภรณ์ ดำรัสธรรม ผอ. ฝ่ายการตลาด นิตยสาร S'club หนึ่งเดียวที่ใช้ภาษาวัยรุ่นในการสแลงในการทำนิตยสาร เล่าถึงที่มาของวัยของ สแลงที่ต่างกัน และแน่นอน ว่า วัยรุ่นไม่ต้องการอยู่ คลับเดียวกับผู้ใหญ่
"10-15 16-21 22-24 ปีความต้องการต่างกัน อารมณ์ของแต่ละกลุ่มก็ต่างกัน 10-15 จัดงานที่มีสีสัน มีรูปพวกเค้า แต่งานที่ทำออกมาเราก็ทำมาเป็นกลางๆ ทำให้เลือกเยอะมาก แต่ละช่วงความคิดต่างกัน การสื่อสารการเล่น hi5 ก็มีส่วนให้เกิด ภาษาสแลง ยุคเก่ากับกับยุคใหม่ก็แตกต่างกันสมัยนั้นไม่มีเกาหล ี มีแต่จีนเข้ามา เวลาพูดกันก็จะเป็น ข้าพเจ้า อย่างนี้ใช้แทนตัวเอง บางคำก็ใช้เฉพาะกลุ่มกับกลุ่มเพศที่สามก็จะเยอะมากอี กเช่นกัน"
เมื่อต่างวัยก็ต้องใช้ภาษาเดียวกันในการสื่อสารเพื่อ เข้าให้ถึงกลุ่มวัยรุ่น
"กลุ่มอายุ 13-18 ปีเป็นกลุ่มที่ต้องให้ภาษาวัยรุ่นในการสื่อสารกับพวก เขาถึงจะเข้าใจกัน"
เบื่อ ก็เปลี่ยนใหม่ สร้างสรรค์ได้หลากหลาย ลืมเลือนก็เผลอเลอหยิบมาใช้ใหม่ คือนิยามของคำสแลง สุดท้ายคำสแลงคงไม่ต่างไปจากการมาการไปของกระแสแฟชั่ นต่างๆ มันอาจสร้างและเป็นสัญลักษณ์ของความสนิทสนมในหมู่เพื ่อน ความสะใจ ที่แม่มโครต... ได้อารมณ์ แต่คงไม่เหมาะที่จะพูดกับพ่อกับแม่ หรือผู้อาวุโส สแลงได้ต้องถูกกาละเทศะคือความสร้างสรรค์ที่ไม่ วิบัต ิ
วันที่ 21 ก.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,284 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 115,391 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,342 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,096 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,317 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,571 ครั้ง |
|
|