Advertisement
"โลกร้อนขึ้น พื้นที่ของน้ำทะเลอุ่นขึ้น พายุในวันข้างหน้าจะรุนแรงมากขึ้น” “จากสถิติพายุหมุนที่เข้าประเทศไทยรอบ 55 ปี มีพายุประมาณ 177 ลูก จะเกิดช่วง ส.ค., ก.ย., ต.ค., พ.ย. ซึ่งพายุรุนแรงแค่ 120-130 กม./ชม. เราก็แย่แล้ว” “ช่วงเดือน ส.ค.- ต.ค.นี้ จะมีพายุขนาดใหญ่พัดถล่มประเทศไทยด้านอ่าวไทย”
...เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งจาก “คำเตือน” เกี่ยวกับ “ภัยธรรมชาติ” ของ สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผ่านทาง “เดลินิวส์” ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่นักเตือนภัยธรรมชาติรายนี้เน้นย้ำ
เป็นคำเตือนที่ทุก ๆ ฝ่าย “ไม่ควรละเลย-มองข้าม”
เพราะเรื่องนี้เมื่อเกิดขึ้นมันหมายถึง “ความสูญเสีย”
ทั้งนี้ บางคนบางฝ่ายอาจมองคำเตือนของ สมิทธ ธรรมสโรช เป็นเรื่องไกลตัว เป็นการตื่นกลัวเกินเหตุ แต่จริง ๆ แล้วคำเตือนลักษณะนี้สอดคล้องทั้งกับการเตือนของส่วนงานอื่น และกับข้อเท็จจริงที่เริ่มเกิดแล้ว...
กับข้อเท็จจริง ว่ากันเฉพาะช่วง 10 พ.ค. - 11 ก.ค. 2551 ที่ผ่านมา ในส่วนของภัยที่เกิดจากฝน จากข้อมูลของศูนย์อำนวยการสาธารณภัย (กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า... เริ่มส่อแววมาตั้งแต่เดือน พ.ค. เป็นต้นมา เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ประเทศไทยก็มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ แต่ที่ไม่ธรรมดาก็คือบางพื้นที่มีฝนตกชุกหนาแน่นติดต่อกันนานหลายวัน...
เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เป็นเหตุให้ประชาชนประสบความเดือดร้อน สิ่งสาธารณประโยชน์ พื้นที่การเกษตร และทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย
ถามว่าเสียหายไปแล้วแค่ไหน ? ช่วง 10 พ.ค. - 11 ก.ค. 2551 ที่ผ่านมา ก็มีพื้นที่ประสบภัยแล้ว 79 อำเภอ 469 ตำบล 3,201 หมู่บ้าน ใน 14 จังหวัด ได้แก่... น่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี จันทบุรี นครราชสีมา หนองคาย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา
และกับ 14 จังหวัด แค่ช่วง 2 เดือน ความเสียหายด้านทรัพย์สิน มีบ้านเรือนเสียหายบางส่วน 55 หลัง ถนน 1,412 สาย สะพาน 32 แห่ง ฝาย 38 แห่ง ท่อระบายน้ำ 96 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ทำนบกั้นน้ำ 15 แห่ง ยานยนต์ 1 คัน บ่อปลา 504 บ่อ ปศุสัตว์ 327 ตัว สัตว์ปีก 498 ตัว พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 445,209 ไร่
แค่ช่วง 2 เดือนที่ว่ามา ความเสียหายเบื้องต้นตีเป็นมูลค่าประมาณ 315,270,806 บาท และแค่ช่วง 2 เดือนที่ว่านี้มีราษฎรเดือดร้อนแล้ว 220,945 ครัวเรือน จำนวน 912,982 คน !!
ถามต่อว่าปีนี้มีคน “เสียชีวิตเพราะภัยธรรมชาติ” บ้างแล้วหรือยัง ? คำตอบคือมี !! เช่นรายที่เพิ่งเป็นข่าวคือ นายถัน พันพาแก้ว อายุ 69 ปี ถูก “น้ำป่า” ถาโถมใส่จนเสียชีวิต ในพื้นที่หมู่ที่ 6 ต.บ้านกลาง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เมื่อ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา นี่ยังไม่รวมที่ไม่เป็นข่าว ที่เจ็บป่วยจากภัยธรรมชาติซึ่งตัวเลขยังไม่ชัดเจน
“ขอให้ประชาชนในพื้นที่ภูเขาสูง หุบเขา และหมู่บ้านเสี่ยงภัย ดินถล่ม บริเวณ จ.เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน และเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณเขตเทือกเขาผีปันน้ำ และเทือกเขาหลวงพระบาง อ.อมก๋อย แม่แจ่ม ฝาง แม่อาย ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ อ.แม่จัน แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย อ.จุน ปง จ.พะเยา อ.เชียงกลาง ท่าวังผา เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน อ.หล่มเก่า หล่มสัก น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ตรวจเฝ้าระวังภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องหลายวันในหลายพื้นที่”
...นี่ก็เป็นการประกาศเตือนภัยเมื่อ 21 ก.ค. 2551 โดยกรมทรัพยากรธรณี เกี่ยวกับภัยน้ำป่าไหลหลาก และภัยดินถล่ม ซึ่งทุก ๆ ฝ่ายก็ควรต้อง “ตื่นตัว” กันไว้ดีกว่าแก้...
เช่นเดียวกับการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ช่วงฤดูฝนตั้งแต่กลางเดือน พ.ค. - กลางเดือน ต.ค. ที่ว่า... คาดว่าจะมี “พายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชัน-โซนร้อน-ไต้ฝุ่น)” เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 2-3 ลูก ผ่านเวียดนามเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน หรือผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีแนวโน้มสูงสุดที่จะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนในเดือน ส.ค. และ ก.ย. และเคลื่อนผ่านภาคใต้ในเดือน ต.ค. และ พ.ย.
ข้อควรระวังคือ... 1.ช่วงที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันหลายวันอาจเกิดน้ำป่าไหลหลาก “น้ำท่วมฉับพลัน-อุทกภัย”, 2.ช่วงที่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าใกล้หรือเคลื่อนผ่านประเทศไทย จะมี “พายุลมแรง” ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก อุทกภัย บริเวณชายฝั่งจะมี “คลื่นพายุซัดฝั่ง” “ทะเลมีคลื่นจัดถึงจัดมาก” ความสูงของคลื่น 3-5 เมตร
ทั้งนี้ กับภัยคลื่นนี้ สมิทธ ธรรมสโรช ก็เตือนไว้ว่าให้ระวังปรากฏการณ์ “สตอร์ม เสิร์ช (Storm Search) - น้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น” จนน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล และอาจมีผลต่อการผลิตน้ำประปา
ในยุคที่มีการเตือนว่า “ภัยธรรมชาติจะมีระดับที่รุนแรงยิ่งขึ้น” ในช่วงนี้ในไทยก็มีการเตือนทั้ง “น้ำป่า-น้ำท่วม-ดินถล่ม-ลมพายุ-คลื่นใหญ่” และอาจแถม “แผ่นดินไหว” ด้วย ซึ่งประชาชนก็ไม่ควรแตกตื่นเกินเหตุ...แต่ก็ “ต้องกลัว...เพื่อระมัดระวัง !!” ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น ส่วนที่ตื่นตัวป้องกันภัยให้ประชาชนแล้วก็ต้องชื่นชม แต่ถ้ายังเรื่อยเฉื่อยอยู่ก็ต้องวอนให้แอ๊คทีฟเสียที และที่สำคัญ...กับระดับรัฐบาลก็หวังว่าจะแบ่งแยกจากเรื่องวุ่นทางการเมืองเพื่อสนับสนุนการป้องกันภัยให้ประชาชนได้เต็มที่
ระยะยาวจะทำอย่างไรกับ “ภัยธรรมชาติ” นั่นก็ว่ากันไป
แต่เฉพาะหน้า “อย่ารอแต่ล้อมคอก” หลังสูญเสีย !!!!!.
ที่มา เดลินิวส์
Advertisement
เปิดอ่าน 16,941 ครั้ง เปิดอ่าน 21,695 ครั้ง เปิดอ่าน 64,706 ครั้ง เปิดอ่าน 21,625 ครั้ง เปิดอ่าน 10,472 ครั้ง เปิดอ่าน 11,287 ครั้ง เปิดอ่าน 11,801 ครั้ง เปิดอ่าน 9,583 ครั้ง เปิดอ่าน 7,954 ครั้ง เปิดอ่าน 13,310 ครั้ง เปิดอ่าน 1,895 ครั้ง เปิดอ่าน 19,253 ครั้ง เปิดอ่าน 10,726 ครั้ง เปิดอ่าน 12,553 ครั้ง เปิดอ่าน 17,961 ครั้ง เปิดอ่าน 1,469 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 32,529 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,490 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,565 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 3,995 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 42,389 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,072 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 41,629 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,276 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,477 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,301 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,118 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,056 ครั้ง |
|
|