ตอนที่ ๖
๘๖. ข้อความต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์กี่แห่ง
ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ มีพรรณ
ภายนอกแดงดูฉัน ชาดบ้าย
ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน
ดุจดั่งคนใจร้าย นอกนั้นดูงาม
๑. ๑ แห่ง ๒. ๒ แห่ง
๓. ๓ แห่ง ๔. ๔ แห่ง
อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ ๘๗ - ๘๘
งานก็ต้องถูกงด น้ำตาท่วมรถที่ผ่อนมาหลายปี
มองปิ๊กอัพถูกยึด รถเครื่องถูกยึดบ๊ายบายเพื่อนซี้
วันหลังถ้ามีเวลา จะซื้อเอ็งกลับมาอีกที
๘๗. คำประพันธ์ข้างต้นใช้ภาพพจน์ตามข้อใด
๑. อติพจน์ และ บุคคลวัต
๒. สัญลักษณ์ และ อุปลักษณ์
๓. บุคคลวัต และ สัญลักษณ์
๔. อุปลักษณ์ และ อติพจน์
๘๘. คำประพันธ์ข้างต้นไม่สะท้อนปัญหาด้านใด
๑. สังคม
๒. แรงงาน
๓. ครอบครัว
๔. เศรษฐกิจ
๘๙. ข้อใดใช้อวัจนภาษา
๑. นาวาเอียงเสียงกุกลุกขึ้นร้อง มันดำล่องน้ำไปช่างไวเหลือ
๒. ตลิ่งเบื้องบูรพาศาลาลาน เรือขนานจอดโจษกันจอแจ
๓. ถึงวัดแจ้งแสงจันทร์จำรัสเรือง แลชำเลืองเหลียวหลังหลั่งน้ำตา
๔. พี่เร่งเตือนเพื่อนชายพายกระโชก ถึงสามโคกต้องแดดยิ่งแผดแสง
๙๐. ข้อใดไม่ใช่บทเจรจา
๑. เมื่อติดคุกทุกข์ถึงเจ้าทุกเช้าค่ำ ต้องกลืนกล้ำโศกเศร้านั้นเหลือแสน
ซ้ำขุนช้างคิดคดทำทดแทน มันดูแคลนว่าพี่นี้ยากยับ
๒. ถึงตัวไปใจยังนับอยู่ว่าผัว น้องนี้กลัวบาปทับเมื่อดับจิต
หญิงเดียวชายครองเป็นสองมิตร ถ้ามิปลิดเสียให้เปลื้องไม่ตามใจ
๓. แต่นิ่งดูกิริยาเป็นช้านาน หาว่าขานตอบโต้อย่างไรไม่
ทั้งรักทั้งแค้นแน่นฤทัย ความอาลัยปั่นป่วนยวนวิญญา
๔. ด้วยขุนช้างอ้างว่ารับสั่งให้ ใครจะขัดขืนไว้ก็กลัวผิด
จนใจจะมิไปก็สุดฤทธิ์ชีวิตอยู่ใต้พระบาทา
๙๑. จากคำประพันธ์ต่อไปนี้ ข้อใดไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นบุคลิกภาพของผู้พูด
พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุต ดมเอย
ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้
เชิญราชร่วมคชยุทธ์ เผยอเกียรติ ไว้แฮ
สืบกว่าสองเราไสร้ สุดสิ้นฤๅมี
๑. กล้าหาญ ๒. เจ้าโวหาร
๓. สุภาพ ๔. ถ่อมตน
๙๒. คำประพันธ์ต่อไปนี้มีจุดประสงค์ตามข้อใด
ถึงจนทนสู้กัด กินเกลือ
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ พวกพ้อง
อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง จับเนื้อกินเอง
๑. ให้รู้จักอดทน
๒. ให้รู้จักประมาณตน
๓. ให้รู้จักรักศักดิ์ศรี
๔. ให้รู้จักช่วยเหลือตนเอง
๙๓. ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงอาวุธในการต่อสู้
๑. พวกพลพาชีตีกระทบ รำทวนสวนประจบโถมแทง
๒. นายกองแกว่งดาบวาบวับ ต่างขับพลวิ่งเข้าชิงชัย
๓. โรมรุกบุกไปแต่ลำพัง ไล่หลังพวกพลเข้ารณรงค์
๔. บ้างเป่าชุดจุดยิงปืนใหญ่ ฉัตรชัยมณฑกนกสับ
อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม ข้อ ๙๔ - ๙๕
๑. อย่าโศกนักพักตรน์ ้องจะหมองศรี เจ้าผันหน้ามานี่จะบอกให้
๒. ทรงพระชรานักหนาแล้ว ทูลกระหม่อมเมียแก้วจงหักใจ
๓. ลูกเอ๋ยมีกรรมก็จำไป เงินเฟื้องเบี้ยไพก็ไม่มี
๔. รู้ตัวชั่วแล้วแก้วกลอยใจ โมโหมืดไปไม่ทันคิด
๙๔. ข้อใดมีน้ำเสียงของผู้พูดต่างกับข้ออื่น
๑. ข้อ ๑ ๒. ข้อ ๒
๓. ข้อ ๓ ๔. ข้อ ๔
๙๕. ข้อใดสะท้อนความเชื่อ
๑. ข้อ ๑ ๒. ข้อ ๒
๓. ข้อ ๓ ๔. ข้อ ๔
๙๖. คำสอนต่อไปนี้ ข้อใดเป็นการกระทำหรือลักษณะที่ควรละเว้น
๑. ใครเกะกะระราน อดกลั้น
๒. เท็จและจริงจานเจือ คละเคล้า
๓. รอบคอบชอบแลผิด ก่อนพร้อง
๔. เหินห่างโมหะร้อน ริษยา
๙๗. ข้อใดไม่ใช่คำสอนเฉพาะผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น
๑. ความลับอย่าให้ทาส จับที
ปกปิดมิดจงดี อย่าแผร้
๒. ดูข้าดูเมื่อใช้ งานหนัก
ดูมิตรพงศารัก เมื่อไร้
๓. ซ่อนเงื่อนงำน้ำขุ่น ขังใน
ภายนอกทำแจ่มใส สดหน้า
๔. จัดทำโทษแก่ผู้ ผิด ฉกรรจ์ นั้นนา
ใจจุ่งเมตตามัน มากไว้
๙๘. ข้อใดแสดงความเชื่อที่ยังปรากฏในปัจจุบัน
๑. เครื่องอาวุธสุดห้ามอย่าข้ามกราย อย่านอนซ้ายสตรีมักมีภัย
๒. อนึ่งเขฬะอย่าถ่มเมื่อลมพัด ไปถูกสัตว์เสื่อมมนต์ดลคาถา
๓. ว่าเช้าตรู่สุริโยอโณทัย ตื่นนอนให้ห้ามโมโหอย่าโกรธา
๔. ทั้งไม้ลำค้ำเรือนแลเขื่อนคอก ใครลอดออกอัปลักษณ์เสียศักดิ์ศรี
๙๙. ข้อใดแสดงบทบาทสำคัญของชาวนาได้ชัดเจน
๑. เขาเป็นสุขเรียบเรียบเงียบสงัด มีปวัตน์เป็นไปไม่วิตถาร
๒. เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวใคร ใครเล่าไถคราดฟื้นพื้นแผ่นดิน
๓. เช้าก็ขับโคกระบือถือคันไถ สำราญใจตามเขตประเทศถิ่น
๔. ยึดหางยามยักไปตามใจจินต์ หางยามผินตามใจเพราะใครเอย
๑๐๐. คำสอนในข้อใดไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน
๑. อย่าชิงสุกก่อนห่ามไม่งามดี เมื่อบุญมีคงจะมาอย่างปรารมภ์
๒. อย่าเกียจคร้านการสตรีจงนิยม จะอุดมสินทรัพย์ไม่อับจน
๓. ยามสิ้นแสงสุริยาอย่าไปไหน จุดไต้ไฟเข้าไปส่องในห้องก่อน
๔. จะผัดหน้าทาแป้งแต่งอินทรีย์ ดูฉวีผิวเนื้ออย่าเหลือเกิน
*********************
เฉลยข้อสอบวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา 01 Onet 52
1. 1 2. 4 3. 2 4. 2 5. 1 6. 3 7. 3 8. 2 9. 3 10. 4
11. 2 12. 4 13. 4 14. 2 15. 4 16. 1 17. 1 18. 4 19. 1 20. 2
21. 1 22. 3 23. 3 24. 3 25. 4 26. 3 27. 2 28. 2 29. 3 30. 3
31. 4 32. 1 33. 1 34. 1 35. 2 36. 4 37. 2 38. 2 39. 2 40. 3
41. 3 42. 3 43. 3 44. 4 45. 1 46. 2 47. 3 48. 3 49. 1 50. 3
51. 4 52. 2 53. 4 54. 2 55. 4 56. 1 57. 3 58. 1 59. 4 60. 1
61. 4 62. 4 63. 2 64. 2 65. 4 66. 1 67. 3 68. 1 69. 2 70. 3
71. 4 72. 1 73. 4 74. 1 75. 4 76. 2 77. 1 78. 3 79. 3 80. 4
81. 3 82. 4 83. 3 84. 4 85. 2 86. 2 87. 1 88. 3 89. 3 90. 3
91. 4 92. 3 93. 3 94. 4 95. 3 96. 2 97. 3 98. 3 99. 2 100. 3