ตอนที่ ๕
๗๒. ข้อใดเป็นประเด็นโต้แย้งของข้อความต่อไปนี้
เด็กเก่งเรียนดีมีความประพฤติเรียบร้อย ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อพฤติกรรม
การเลียนแบบเกมคอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน เพราะมีไอคิวสูงแต่อาจมีอีคิวต่ำ
ควบคุมตนเองไม่ได้ รับรู้อารมณ์ตนเองและอารมณ์ผู้อื่นได้ไม่ดีนัก
จึงปรับตัวอยู่ในโลกความเป็นจริงได้ยาก
๑. เด็กฉลาดจะไม่มีปัญหาจากความรุนแรงในเกมคอมพิวเตอร์
๒. พฤติกรรมการเลียนแบบเกมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาสำคัญของสังคม
๓. ปัญหาจากเกมคอมพิวเตอร์เกิดกับเด็กที่ควบคุมตนเองไม่ได้
๔. เด็กที่ปรับตัวอยู่ในโลกความเป็นจริงได้จะไม่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรม
การเลียนแบบ
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม ข้อ ๗๓ - ๗๔
ประเทศผู้นำเข้าทั่วโลกสนใจขั้นตอนการผลิตสินค้ามากขึ้น โดยใช้มาตรการที่
ไม่ใช่ภาษีเป็นข้อกีดกันทางการค้าด้วย เช่น มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
และการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ผู้นำเข้าอาจนำประเด็นการเผาตอซัง
หรือฟางข้าวซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมมาเป็นข้อกีดกันทางการค้าได้ เกษตรกรจึงควร
ปรับตัว และพัฒนาวิธีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจุดแข็งให้สินค้า
ข้าวไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
๗๓. ข้อความข้างต้นเป็นทรรศนะประเภทใด
๑. ข้อเท็จจริง
๒. คุณค่า
๓. ข้อเท็จจริงและนโยบาย
๔. คุณค่าและนโยบาย
๗๔. ข้อใดเป็นโครงสร้างการแสดงทรรศนะตามลำดับ
๑. ที่มา ข้อสนับสนุน ข้อสรุป
๒. ข้อสนับสนุน ข้อสรุป ที่มา
๓. ที่มา ข้อสรุป ข้อสนับสนุน
๔. ข้อสนับสนุน ที่มา ข้อสรุป
๗๕. ข้อใดมีการโน้มน้าวใจน้อยที่สุด
๑. ห้องพักสไตล์ส่วนตัว พร้อมสระว่ายน้ำ และโฮมเธียเตอร์ทันสมัยในห้องนั่งเล่น
๒. ห้องพักแบบเดอลุกซ์ในโรงแรมที่ชายหาดสวยที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
๓. ห้องพักกว้างขวางในบรรยากาศที่คุณจะประทับใจตลอดไป
๔. ห้องพักในโอกาสวันหยุดสุดสัปดาห์ของคุณและสมาชิกในครอบครัว
๗๖. ข้อใดไม่ใช่บทโฆษณาที่มีสารโน้มน้าวใจ
๑. โรงเรียนอนุบาลนำสมัย ดูแลบุตรหลานของท่านให้มีสุขภาพดี อบอุ่นใจ
ไร้กังวล
๒. การบริหารกายเป็นกิจกรรมที่มีลีลาเชื่องช้า แต่ช่วยการไหลเวียนของโลหิตและ
ทำให้จิตแจ่มใส
๓. รถยกรถขุดปิศาจทรงพลัง กร้าวแกร่งทุกพื้นที่ ทนทาน ไม่มีวันตายตลอดการ
ใช้งาน
๔. ละครเรื่องใหม่โดยนักแสดงมืออาชีพ เนื้อหาสนุกสนานได้สาระ ยกระดับจิตใจ
๗๗. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับประเด็นความคิดที่เหมาะสมสำหรับเรียงความเรื่อง
“การแต่งกายของงิ้ว”
ก. ลวดลายที่ปักบนเสื้อผ้าสื่อความหมายถึงความเป็นมงคลและความถูกต้อง
ดีงาม เช่น นกกระสา หมายถึงการมีอายุมั่นขวัญยืน
ข. สิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่งของการแสดงงิ้วก็คือ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ที่มี
รายละเอียดบ่งบอกสถานะของตัวละคร
ค. เสื้อผ้าสีเหลืองอ่อนเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ สีแดงเป็นของเสนาบดีหรือ
จอมทัพ ส่วนสีเขียวเป็นชุดสำหรับขุนนางฝ่ายบุ๋น
ง. เครื่องประดับที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งก็คือศิราภรณ์ซึ่งประดับด้วยหมวก
ประเภทต่างๆ มงกุฎและเครื่องตกแต่งอื่นๆ
๑. ข - ค - ก - ง
๒. ค - ก - ข - ง
๓. ง - ข - ก - ค
๔. ก - ข - ค - ง
๗๘. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดควรเป็นลำดับที่ ๔
ก. ธุรกิจส่วนมากใช้โสตทัศนูปกรณ์ แสดงให้เห็นถึงผลกระทบร่วมกันของ
เสียงและสายตา
ข. โสตทัศนูปกรณ์เป็นเครื่องช่วยในการมองเห็นของผู้ฟัง
ค. อันตรายอย่างยิ่งถ้าคุณจะลดบทบาทตัวเอง แล้วมอบบทพระเอกให้แก่
โสตทัศนูปกรณ์
ง. ทำให้เกิดความเข้าใจหรือความเชื่อในจุดที่คุณต้องการทำให้เห็น
๑. ข้อ ก
๒. ข้อ ข
๓. ข้อ ค
๔. ข้อ ง
๗๙. ข้อความต่อไปนี้เหมาะจะเป็นส่วนใดของเรียงความเรื่อง “อุดมการณ์ของชาวจีน
ในเมืองไทย”
ในบรรดากลุ่มชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองไทยดังกล่าว ชาวจีน
แต้จิ๋วนับเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน รองลงมาอีก
คือชาวจีนไหหลำและชาวจีนกวางตุ้ง ส่วนชาวจีนแคะนั้นมีจำนวนน้อยที่สุด
๑. ส่วนนำเรื่อง
๒. ประเด็นสำคัญของเรื่อง
๓. ส่วนขยายความ
๔. ส่วนสรุปเรื่อง
๘๐. ถ้าเรียงลำดับคำอธิบายวิธีทำอาหารต่อไปนี้จนครบถ้วน ข้อใดเป็นขั้นตอนที่
ต่อจากข้อ ๕ ตามโจทย์
๑. ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟกลาง แล้วใส่ตะไคร้ใบมะกรูด
๒. ล้างหอยแมลงภู่ ปูม้า กุ้ง และปลาหมึกให้สะอาด
๓. ปรุงรสด้วยน้ำปลา มะนาว พริกขี้หนู แล้วเสิร์ฟร้อนๆ
๔. แล้วจึงใส่กุ้ง ปลาหมึก และเห็ดฟาง
๕. เมื่อน้ำเดือดจัดใส่หอยแมลงภู่และปูม้า
๑. ข้อ ๑ ๒. ข้อ ๒
๓. ข้อ ๓ ๔. ข้อ ๔
๘๑. ข้อใดมีคำเลียนเสียง
๑. บ้างแออัดจัดการประสานเสียง
๒. ตื่นสะดุ้งเขาประดังระฆังก้อง
๓. บ้างกอบปรายเบี้ยโปรยอยู่โกรยกราว
๔. ชาวบ้านนอกตกใจร้องไห้ดัง
๘๒. ข้อใดไม่มีจินตภาพทางการเคลื่อนไหว
๑. มีหมีพีดำขลับ ขึ้นไม้ผับฉับไวถึง
๒. กระจงกระจิดเตี้ย วิ่งเรี่ยเรี่ยน่าเอ็นดู
๓. กระรอกหางพัวพู่ โพรงไม้อยู่คู่ไล่ตาม
๔. เลียงผาอยู่ภูเขา หนวดพรายเพราเขาแปล้ปลาย
๘๓. คำประพันธ์ต่อไปนี้มีวรรณศิลป์เด่นตามข้อใด
แอกงอนอ่อนงามโอฬาร ธงฉานทานชูเฉลิมปลาย
บัลลังก์บดเหลี่ยมเป็นเรือนเก็จ กระจกพื้นกระจังเพชรบัวหงาย
๑. การเล่นคำ การเล่นเสียงวรรณยุกต์
๒. การสรรคำ การใช้ภาพพจน์
๓. สัมผัสพยัญชนะ การเล่นจังหวะ
๔. การใช้ไวพจน์ การใช้คำอัพภาส
๘๔. คำประพันธ์ต่อไปนี้ไม่ใช้กลวิธีใดในการแต่ง
อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
ใครใครเห็นไม่เป็นที่จำเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย
๑. ความเปรียบ
๒. สัมผัสพยัญชนะ
๓. การซ้ำคำ
๔. การเล่นคำ
๘๕. ข้อใดใช้ภาพพจน์
๑. จะแวะหาถ้าท่านเหมือนเมื่อเป็นไวย ก็จะได้รับนิมนต์ขึ้นบนจวน
๒. อายุยืนหมื่นเท่าเสาศิลา อยู่คู่ฟ้าดินได้ดังใจปอง
๓. โอ้เช่นนี้สีกาได้มาเห็น จะลงเล่นกลางทุ่งเหมือนมุ่งหมาย
๔. จนดึกดาวพราวพร่างกลางอัมพร กระเรียนร่อนร้องก้องเมื่อสองยาม
๘๖. ข้อความต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์กี่แห่ง
<span lang="TH" style=&qu