Advertisement
|
ประเพณีไหลเรือไฟ ในวันออกพรรษา นับเป็นงานยิ่งใหญ่ที่คนไทยรู้จักกันดี โดยเฉพาะชาวนครพนม ดังนั้น จังหวัดนครพนม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดและเทศบาลเมืองนครพนม จึงร่วมกันจัดงานออกพรรษา "ประเพณีไหลเรือไฟ และงานกาชาด ประจำปี 2552" ระหว่างวันที่ 27 กันยายน - 5 ตุลาคม 2552 ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง ศาลากลางจังหวัดนครพนม และเขตเทศบาลเมืองนครพนม
โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การออกร้านและนิทรรศการของส่วนราชการ งานกาชาด การแสดงดนตรี คอนเสิร์ต หมอลำ สวนสนุกชุดใหญ่ คาราวานสินค้าราคาถูกจากโรงงาน สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จากอำเภอต่าง ๆ ทุกอำเภอ การแสดงผลิตภัณฑ์ สินค้าและศิลปวัฒนธรรม ไทย-ลาว-เวียดนาม ณ บริเวณศาลากลางจังหวัด และยังจะได้ชม มหกรรมไหลเรือไฟ อันตระการตา ท่ามกลางแสงจันทร์คืนเดือนเพ็ญในลำน้ำโขง คือ วันที่ 4 ตุลาคม 2552 คือ วันออกพรรษา 15 ค่ำ เดือน 11 การประกวดธิดาเรือไฟ การแสดงเรือไฟ 3 ชาติ และการแสดงผลิตภัณฑ์สินค้า ศิลปวัฒนธรรมไทย-ลาว-เวียดนาม การแข่งขันเรือยาวระหว่างประเทศมิตรภาพ ไทย-ลาว และมหกรรมสายน้ำ (โขงมหาธารา..มนตรานครพนม) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา
นอกจากนี้ยังจะได้ลิ้มรสอาหารพื้นเมืองที่แสนอร่อย งานข้าวพาแลง ถนนอาหารและถนนคนเดิน การรำบูชาองค์พระธาตุพนม ณ ลานหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม (วันที่ 4 ตุลาคม 2552) การตักบาตรเทโว ณ บริเวณหน้าตลาดอินโดจีน ถนนสุนทรวิจิตร เขตเทศบาลเมืองนครพนม (วันที่ 5 ตุลาคม 2552) การประกวดขบวนแห่ปราสาทผึ้งของ 24 ชุมชน
นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า งานประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ปีนี้จัดยิ่งใหญ่กว่าทุก ๆ ปี โดยรวมเอางานกาชาดประจำปี 2552 เข้ามาด้วย มีการจำหน่ายสลากกาชาด การล้วงไหกาชาด มีรางวัลมากมาย ผู้มาเที่ยวงานจะได้ทั้งบุญ กุศล และความสนุกสนาน ขณะเดียวกัน ได้คัดสรรดนตรีและนักร้องชื่อดัง มากมาย เช่น ปู-พงษ์สิทธิ์ เดวิด อินธี พี สะเดิด แคลช เสียงอิสาณ โปเตโต้ วงเฟรม มาให้ความสุขแก่ผู้มาเที่ยวงาน
ทางด้าน นายนิวัต เจียวิริยบุญญา นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครพนม กล่าวว่า เทศบาล เมืองนครพนม จัดการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 2-4 ตุลาคม 2552 โดยมีเรือยาวจาก สปป.ลาว และจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมแข่งขันกว่า 50 ลำ
ขณะที่ นายวิชุกร กุหลาบศรี ผอ.ททท. สำนักงานนครพนม กล่าวว่า ททท.ได้ให้การสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์อย่างเต็มที่ด้วยการพิมพ์โปสเตอร์แจกจ่ายไปยัง สำนักงาน ททท.ทุกแห่ง และต่างประเทศ มอบเงินจำนวนหนึ่งสนับสนุนงาน ให้งานยิ่งใหญ่ สมกับงานประเพณีประจำปี
สำหรับ การไหลเรือไฟ ถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ดาวดึงส์พิภพ เพื่อแสดงพระสัทธรรมเทศนา อภิธรรม 7 คัมภีร์ (บทที่ใช้สวดในงานศพ) เพื่อโปรดพระพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ โดยบันไดทิพย์ทั้ง 3 คือ บันไดทองอยู่เบื้องขวาเป็นที่ลงแห่งหมู่เทพยดา บันไดเงินเป็นที่ลงแห่งหมู่พรหม ส่วนบันไดแก้วเป็นทางเสด็จของพระพุทธเจ้า หัวบันไดอยู่ยอดเขาพระสิเนรุราช ทรงแสดง "โลกวรณ์ปาฏิหาริย์" คือ เปิดโลกโดยทอดพระเนตรไปเบื้องบนถึงพรหมโลกเบื้องต่ำสุดถึงอเวจีนรกและทิศต่าง ๆ ทั้งแปดทิศโลกธาตุแห่งหมื่นเดียวกัน ทำให้สวรรค์มนุษย์นรกแลเห็นกันและกันจึงเรียกวันนี้ว่า"วันพระเจ้าโปรดโลก" พระองค์เสด็จมา ณ เมืองสังกัสสะสถานที่นั้น เรียกว่า "อจลเจดีย์" ทวยเทพทั้งหลายส่งเสด็จ มนุษย์ทั้งหลายรับเสด็จด้วยเครื่องสักการบูชามโหฬาร การไหลเรือไฟ ก็คือ เป็นการสักการบูชามโหฬาร การไหลเรือไฟก็คือ เป็นการสักการบูชาอย่างหนึ่งในวันนั้น และได้ทำเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้
นอกจากนี้ยังมีตำนานการไหลเรือไฟที่กล่าวมาถึงที่มาของการไหลเรือไฟแตกต่างออกไปอีก ซึ่งแต่ละตำนานล้วนมีเหตุผลที่แตกต่างกัน ไป มีการอ้างอิงพระพุทธประวัติเมื่อสมัยสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว อย่างไรก็ตาม วิธีการทำเรือไฟ แต่เดิมถึงวันออกพรรษาชาวคุ้มต่าง ๆ จะพากันหาท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่มาต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5-6 วา ทำหัวท้ายเหมือนเรือธรรมดา แคมเรือยกขึ้นสูงหนึ่งเมตร ทำราวไว้ทั้งสองข้าง เพื่อวางขี้ไต้ ตะเกียงหรือโคมไฟ จัดหาข้าวปลาอาหาร ฝ้ายใน ไหมหลอด เสื่อผืน แพรวา ไว้ข้างใน พอเวลาเย็นประมาณ 5 โมง จะเริ่มทำพิธีไหลเรือไฟ โดยนิมนต์พระสงฆ์สวดมนต์ไหว้พระรับศีล และฟังเทศน์ เมื่อเสร็จแล้วจะให้ญาติโยมประดับตกแต่งเรือด้วยดอกไม้ธูปเทียนที่ถือไปประกอบพิธีทางศาสนา พอเวลาย่ำค่ำก็จุดไฟในเรือแล้วปล่อยไปตามแม่น้ำ ปัจจุบันการทำเรือไฟได้พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น สามารถออกแบบรูปต่าง ๆ ประดับดวงไฟนับหมื่นดวง สว่างไสวตามลำแม่น้ำโขง งานตระการตายิ่งนัก นักท่องเที่ยวจึงไม่ควรพลาดกับประเพณีอันโด่งดังของชาวอีสาน.
ข้อมูลจาก เดลินิวส์
|
วันที่ 19 ก.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,297 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 12,804 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,889 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,664 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,473 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,477 ครั้ง |
|
|