Advertisement
สุเมธ เผย ในหลวง รับสั่งตลอด
เกษตรกรอย่าขายที่ดิน
สุเมธ เผย ในหลวง รับสั่งตลอด เกษตรกรอย่าขายที่ดิน (คมชัดลึก)
เมื่อวันที่ 16 กันยายน นายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิข้าวไทย เปิดเผยในงานปาฐกถาพิเศษ
เรื่องภูมิใจข้าวไทย รักษ์ผืนนาไทย ว่า ปัจจุบันเกษตรกรไทยมีศักยภาพในการผลิตข้าวอยู่แล้ว และมีความพร้อมที่จะพัฒนา
ต่อไปได้อีก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้สูงขึ้น ซึ่งการพัฒนาการผลิตข้าวทั้งระบบจะต้องคำนึงปัจจัย 4 ด้าน
ได้แก่..
1. การบริหารจัดการน้ำ
2. ดิน
3. พันธุ์
4. เพิ่มช่องทางในการจำหน่าย
ทั้งนี้ ในส่วนของการบริหารจัดการน้ำ แต่ละปีน้ำในประเทศมีจำนวนมาก แต่ยังขาดที่จัดเก็บ ส่วนอ่างเก็บน้ำ
คลอง หนอง บึง ที่มีอยู่สามารถเก็บได้เพียง 8% ของที่จะเก็บเท่านั้น รัฐควรหาทางเพิ่มให้สูงขึ้นเป็น 16% หรือเท่าตัว
จะส่งผลให้ไทยมีพื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้นอีกมาก
"การรักษ์น้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำให้ยกระดับชลประทาน โดยขุดสระเป็นธนาคารน้ำในชุมชน
เพื่อเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้ง ไม่ต้องรอน้ำฝนหรือชลประทานของรัฐบาล แค่นี้ทำได้หรือไม่ ต่อไปเราก็ไม่กลัวแล้งแล้ว สำหรับ
ปัจจัยดิน ปัจจุบันเกษตรกรควรเก็บรักษาไว้สุดชีวิต เพราะไม่มีดินก็ไม่มีประเทศ ดังนั้น เกษตรกรอย่าคิดขายที่ดิน ควรเก็บ
ให้อยู่กับตัวตลอดแม้สภาพดินจะไม่ดีก็ตาม เมื่อมีน้ำดินเหล่านี้จะใช้ประโยชน์ได้ ปัจจุบันที่มีต่างชาติในประเทศที่มี
เงินมากเข้ามาซื้อในชื่อคนไทย เพื่อถือครองสิทธิ์แทนในที่ดินของคนไทย ซึ่งไม่แปลกเพราะเขามีเงิน เมื่อคิด
จะซื้ออะไรก็ได้ แต่สำคัญคนไทยคิดขายทำไม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งตลอดว่าพระองค์รักษ์ข้าว
รักษ์เกษตรกร ขอให้เกษตรกรอย่าขายที่ดิน
ส่วนพันธุ์ข้าวไทยมีพันธุ์ที่ดีจำนวนมากและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ จึงควรเก็บรักษา เพราะถือว่าเป็นสมบัติ
ของไทยที่มีคุณค่า และพัฒนายกระดับให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งด้านการตลาดควรเปิดช่องทางเจรจากับต่างชาติให้มากขึ้น
เพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปสอดคล้องกับความต้องการของตลาด สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการใช้ประโยชน์จากข้าว"
นายสุเมธ กล่าว
นายสุเมธ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งต้องการให้มียุ้งฉางชุมชน เพื่อเก็บรักษาข้าวให้ได้มาตรฐาน
เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้มากขึ้น การบริหารจัดการข้าวให้เป็นประสิทธิภาพทั้งขบวนการ ขณะนี้แม้จะมีการรับประกัน
ข้าว แต่ก็ต้องเป็นข้าวที่มีคุณภาพเท่านั้น มีการกำหนดเปอร์เซ็นต์ความชื้น การมียุ้งฉางจะทำให้แห้งและมีคุณภาพมากขึ้นราคา
ก็จะสูงตาม
"ขณะนี้ตลาดข้าวเป็นของเถ้าแก่ไม่ได้อยู่ในมือเกษตรกร ดังนั้นรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการบริหารจัดการ
ทั้งน้ำ พันธุ์ การทำตลาด การแปรรูปข้าว เพราะอนาคตราคาข้าวจะไม่หยุดอยู่แค่นี้แต่จะสูงขึ้นตามปริมาณประชากรโลก
ปัจจุบันประชากรโลกทั้งหมด 6,700 ล้านคน อาหารมีเพียง 40% เท่านั้น" นายสุเมธ กล่าว
ขณะที่ นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย กล่าวในการเสวนาเรื่อง อนาคตข้าวไทยและอนาคต
ชาวนาไทยว่า ไทยถือว่าเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก แต่คุณภาพชีวิตชาวนายังไม่ดีขึ้น มีหนี้สิน
เพื่อเป็นการยกระดับให้ชีวิตชาวนาให้ดีขึ้นและการพัฒนาข้าวทั้งระบบ รัฐบาลต้องทำยุทธศาสตร์ข้าว
พร้อมอุดหนุนงบประมาณปีละ 1.5 หมื่นล้านบาทต่อเนื่องกัน 5 ปี
"การพัฒนาด้านการผลิตข้าวขณะนี้ยังขาดเรื่องพันธุ์ข้าวยังไม่เพียงพอ ทำให้เกษตรกรบางส่วนใช้พันธุ์ข้าวไม่ดี
เพาะปลูก มีการปลอมปน กลายเป็นข้าวไม่มีคุณภาพ หากสถานการณ์การผลิตข้าวยังเป็นแบบนี้อนาคตข้าวไทยก็จะไป
ไม่รอด อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2547 ที่ผ่านมาสมาคมชาวนาไทยได้ตรวจสอบการถือครองที่ดินของ เกษตรกร พบว่า
มีการกว้านซื้อจากนายทุนและต่างชาติ และมีความชัดเจนมากขึ้นประมาณกลางปี 2551 เมื่อมีคนไทยนำคนต่างชาติ
สนใจซื้อชัดเจนในรูปของบริษัท เบื้องต้นจะจ้างเกษตรกรเป็นผู้ผลิต หลังจากนั้นจะนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาข้าว
อย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูก แปรสภาพ จนถึงการส่งออก ซึ่งทำให้ไทยสูญเสียอาชีพนี้ ดังนั้นรัฐบาลควรให้ความสนใจ
และมีการติดตามตรวจสอบ
การถือครองของคนต่างชาติจะมาในทางอ้อม เช่น การแต่งงานกับคนไทย ส่วนใหญ่จะอยู่ภาคอีสาน
และภาคกลาง พื้นที่รวม 1 แสนไร่ ดังนั้น ปัญหาเหล่านี้จึงน่าห่วง และไม่ควรวางใจ หากปล่อยทิ้งไว้ทั้งชาวนา
โรงสี และผู้ส่งออกจะหายไปหมด" นายประสิทธิ์ กล่าว
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า นโยบายประกันราคาข้าวของรัฐบาลขณะนี้ยังไม่มีความพร้อมและไม่มีความชัดเจน
การขึ้นทะเบียนยังไม่แล้วเสร็จ เงื่อนไขการประกันราคาไม่มีความเหมาะสม ซึ่งควรเพิ่มปริมาณการรับประกันราคา
รายละ 40 ตัน เพิ่มขึ้นจากเงื่อนไขเดิมที่กำหนดไว้ 20 ตัน
เรื่องนี้สมาคมจะเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ (กขช.)
พิจารณาอีกครั้งวันที่ 25 กันยายนนี้อีกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยรัฐ
วันที่ 18 ก.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,703 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,076 ครั้ง |
เปิดอ่าน 60,279 ครั้ง |
เปิดอ่าน 41,001 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,535 ครั้ง |
|
|