Advertisement
❝ การออกกำลังกายสามารถเสริมสุขภาพจิตใจให้ดีขึ้นได้ โดยช่วยให้สมองสามารถจัดการกับความเครียดได้ดีขึ้น ตามรายงานการศึกษาวิจัยเรื่องการออกกำลังกายกับสารเคมีในสมองในการตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย ❞
หลักฐานในขั้นต้นชี้ว่า คนที่มีร่างกายกระฉับกระเฉงมีความวิตกกังวลและอารมณ์เศร้า ต่ำกว่าคนที่ชอบอยู่เฉยๆ
แต่ในงานวิจัยบางงานให้ความสำคัญกับเหตุผลที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้นมากกว่า ดังนั้น เพื่อจะบอกว่า
การออกกำลังกาย ส่งผลให้คนมีสุขภาพจิตดีขึ้นได้อย่างไรนั้น
นักวิจัยหลายท่านพยายามหาความเชื่อมโยงระหว่างการออกกำลังกาย
กับระบบสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์เศร้า
ที่ผ่านมามีหลักฐานสนับสนุนแนวคิดเดิม ที่ว่าการออกกำลังกายทำให้เกิดสารเอนโดรฟิน (Endorphins)
แต่มีงานวิจัยบางส่วนที่ชี้ไปยังสารสื่อประสาทอีกชนิด ที่ชื่อไม่ค่อยคุ้นหูนัก ซึ่งก็คือ นอร์อิพิเนพรีน
(norepinephrine) ที่สามารถช่วยให้สมองสามารถจัดการกับความเครียดได้ดียิ่งขึ้น
การศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองตั้งแต่ปลายยุค 80 พบว่าการออกกำลังกาย เพิ่มความเข้มข้นของ นอร์อิพิเนพรีน
(norepinephrine) ในสมอง โดยเฉพาะในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับปฏิกริยาตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย
นอร์อิพิเนพรีน (norepinephrine) เป็นที่สนใจแก่นักวิจัยเป็นพิเศษ เนื่องจาก ร้อยละห้าสิบของอาหารสมอง
ถูกผลิตใน บริเวณ โลคัสคอรึลัส (locus coeruleus) ซึ่งเป็นบริเวณเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องกับ
การตอบสนองทางอารมณ์และ ความเครียด
สารสื่อประสาทนอร์อิพิเนพรีน ได้รับพิจารณา ว่ามีบทบาทสำคัญในการทำให้ปฏิกริยาของ
สารสื่อประสาทอื่นเบาบางลง โดยเฉพาะ สารสื่อประสาทอื่นที่พบได้บ่อยๆในการตอบสนองต่อความเครียด
และถึงแม้นักวิจัยจะยังไม่แน่ใจอย่างชัดเจน ว่ายาต้านอารมณ์เศร้า(antidepressant) ทำงานอย่างไร
แต่เหล่านักวิจัยเหล่านั้นก็ทราบว่าบางส่วนของมันเพิ่มความเข้มข้น ของ นอร์อิพิเนพรีน ในสมอง
อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาบางท่าน ไม่คิดว่ามันจะเป็นสมการง่ายๆ ว่า การที่ระดับของ นอร์อิพิเนพรีน เพิ่มขึ้น
จะเท่ากับความเครียดและอารมณ์เศร้าลดลง
โดยนักจิตวิทยากลับคิดว่า การออกกำลังกายสามารถยับยั้งอารมณ์เศร้า และความวิตกกังวลได้โดยการ
เพิ่มความสามารถของร่างกายในการตอบสนองต่อความเครียด
ตามหลักทางด้านชีววิทยาแล้ว การออกกำลังกายดูจะให้โอกาสร่างกายในการฝึกต่อกรกับความเครียด
โดยช่วยให้ระบบร่างกาย (ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อความเครียด) สื่อสารกับระบบกล้ามเนื้อ
ซึ่งทั้งหมดนี้ควบคุมโดยระบบสมองส่วนกลางและระบบประสาทอัตโนมัติ ที่ทำงานประสานกัน
ผลที่ได้รับจากการทำงานประสานกันด้วยดีของร่างกาย
อาจเป็นคุณค่าที่แท้จริงที่ได้จากการออกกำลังกายก็เป็นได้
ยิ่งร่างกายเฉื่อยชาเท่าใด ร่างกายยิ่งสนองตอบความเครียดได้ด้อยประสิทธิภาพลงเท่านั้น
(Thanks to Rod K. Dishman, PhD., University of Georgia, and Mark Sothmann, PhD., Indianna
University's School of Medicine and School of Allied Health Sciences)
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 13,441 ครั้ง เปิดอ่าน 11,684 ครั้ง เปิดอ่าน 17,073 ครั้ง เปิดอ่าน 18,150 ครั้ง เปิดอ่าน 17,551 ครั้ง เปิดอ่าน 11,075 ครั้ง เปิดอ่าน 8,672 ครั้ง เปิดอ่าน 1,380 ครั้ง เปิดอ่าน 8,490 ครั้ง เปิดอ่าน 3,758 ครั้ง เปิดอ่าน 10,962 ครั้ง เปิดอ่าน 11,545 ครั้ง เปิดอ่าน 12,443 ครั้ง เปิดอ่าน 29,870 ครั้ง เปิดอ่าน 15,141 ครั้ง เปิดอ่าน 12,867 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 10,334 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,527 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 42,684 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,167 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,221 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,934 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,418 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 28,163 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,966 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,899 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,851 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,886 ครั้ง |
|
|