ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สทศ......สพฐ.....ปะทะเดือดใครสอนเด็กท่อง


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,137 ครั้ง
Advertisement

สทศ......สพฐ.....ปะทะเดือดใครสอนเด็กท่อง

Advertisement

สทศ.-สพฐ.ปะทะเดือดใครสอนเด็กท่อง


  หัวหินเดือด!  สทศ.ฉะ  สพฐ.กลางที่ประชุมย้ำข้อสอบโอเน็ตออกตามหลักสูตร  สะท้อนเด็กคิดวิเคราะห์เป็นหรือไม่  ขณะที่ครูมุ่งสอนอัดเนื้อหาอย่างเดียวหวังแค่ให้เด็กพ้นรั้ว  รร. ด้าน  สพฐ.ระดมขุนพลโต้ทันควันหลักสูตรไม่ใช่ปัญหา  แต่เกิดจากหลายปัจจัยทั้งที่บ้านและการบริหารงานของ  ผอ.รร.  ขณะที่  "จุรินทร์"  สั่งทบทวนหลักสูตรเนื้อหาเยอะไปหรือไม่  พร้อมชี้ข้อสอบโอเน็ตต้องมีการทบทวนสัดส่วนเนื้อหาแบ่งเปอร์เซ็นต์คิดวิเคราะห์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

     เมื่อวันที่  11  ก.ย.  กระทรวงศึกษาธิการ  (ศธ.)  จัดประชุมเชิงนโยบายเพื่อระดมความคิด  เรื่องการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยระหว่างวันที่  11-12  ก.ย.โดยมีผู้บริหารองค์กรหลักของ  ศธ.และผู้เกี่ยวข้องในวงการศึกษาเข้าร่วมกว่า  300  คน

     โดยนายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  (ศธ.)  กล่าวเปิดการประชุมว่า  ตนอยากได้คำตอบในด้านนโยบายในหลายคำถามเพื่อขับเคลื่อนองคาพยพใน  6  ข้อ  คือ  1.การเรียนการสอนในปัจจุบันสอนให้เด็กท่องจำหรือคิดวิเคราะห์  2.การออกข้อสอบไม่ว่าจะเป็นการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต  การสอบความถนัดทั่วไปหรือ  GAT  และการสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ  หรือ  PAT  สอดคล้องกับการเรียนการสอนหรือไม่หากสอนอย่างหนึ่ง  สอบอีกอย่างหนึ่งในที่สุด  รร.กวดวิชาก็เฟื่องฟูเพราะเด็กไม่สามารถเรียนใน  รร.ได้รู้เรื่องจึงต้องหันหน้าไปพึ่ง  รร.กวดวิชาแทน  3.เด็กไทยเรียนในห้องเรียนมากเกินไปหรือไม่  4.ระบบการคัดเลือกเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบการเรียนการสอนและได้นักศึกษาที่ตรงตามความต้องการหรือไม่  5.สถาบันอุดมศึกษาสามารถผลิตบัณฑิตได้มีคุณภาพ  และตรงตามความต้องการของประเทศหรือไม่และ  6.ระบบการประเมินเป็นระบบที่มีความเหมาะสมถูกต้องเที่ยงตรงหรือยัง

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ในช่วงเช้าของการประชุมผู้ร่วมอภิปรายข้อมูลซ้ำไปซ้ำมาและไม่ตอบคำถามทั้ง  6  ข้อ  ทำให้ช่วงบ่ายนายจุรินทร์  ต้องขอความร่วมมือให้ผู้ร่วมประชุมให้ช่วยตอบคำถามข้อ  1-3  ที่ชัดเจน  โดยนายกสมาคม  รร.อาชีวศึกษาเอกชนได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการออกข้อสอบโอเน็ตของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ  (สทศ.)  ว่าทำไมจึงต้องให้ครู  รร.สาธิต  และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยออกข้อสอบเท่านั้น  ทำไมไม่เปิดโอกาสให้ครูทั่วไปได้ออกข้อสอบด้วย

     รศ.ดร.อุทุมพร  จามรมาน  ผอ.สทศ.กล่าวว่า  การออกข้อสอบโอเน็ตจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีเวลาและออกข้อเป็นมาช่วยออก  อีกทั้งยังต้องสามารถเก็บความลับได้ส่วนหาก  ศธ.อยากย้อนกลับไปดูว่าเด็กสามารถคิดวิเคราะห์ได้หรือไม่นั้น  สทศ.สามารถช่วยได้โดยวิเคราะห์ผลสอบ  GAT  ของเด็กเพื่อสะท้อนการคิดวิเคราะห์ของเด็ก  ส่วนข้อสอบโอเน็ตสอดคล้องกับการเรียนการสอนหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ  แต่ขอย้ำว่าการออกข้อสอบของ  สทศ.  ออกตามหลักสูตรของ  สพฐ.ซึ่งสะท้อนการเรียนการสอนใน  รร.ส่วนเด็กเรียนในห้องเรียนมากเกินไปหรือไม่นั้น  ตนคิดว่าทุกวันนี้ครูมุ่งสอนและหวังให้เด็กจบออกไปอย่างเดียวทำให้เด็กทุกวันนี้เรียนมากเกินไป

     คุณหญิงกษมา  วรวรรณ  ณ  อยุธยา  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (กพฐ.)  กล่าวว่า  ตนคิดว่าหลักสูตรไม่ได้ขวางกั้นการคิดวิเคราะห์  ตรงกันข้ามหลักสูตรของ สพฐ.เน้นการคิดวิเคราะห์ด้วยซ้ำ  อีกทั้งความพร้อมของการสอนเชิงคิดวิเคราะห์  แต่ล่ะ  รร.ก็มีความแตกต่างกัน  บางครอบครัวพ่อแม่สอนให้ลูกรู้จักคิดวิเคราะห์เด็กก็จะรู้จักคิดวิเคราะห์  นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่ที่ตัวผู้บริหาร  รร.ซึ่ง  ผอ.บาง  รร.ก็สั่งอย่างเดียว  ทำให้ครูชินกับการรับคำสั่งจึงไม่สามารถไปสอนให้เด็กคิดได้  ดังนั้นจึงคิดว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่หลักสูตร  ต้องแก้ที่พื้นฐานครอบครัว  ผู้บริหาร  และ  ครู  เป็นหลัก

     นายสมเกียรติ  ชอบผล  รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (รอง  กพฐ.)  กล่าวว่า  ปัจจุบันการเรียนการสอนที่ฝึกให้เด็กคิดเป็นนั้นมี  แต่ยังไม่มีความเข้มข้นจึงไม่เห็นภาพของความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน  ส่วนเรื่องข้อสอบโอเน็ตในปัจจุบันสอดคล้องกับการเรียนการสอนหรือไม่นั้นตนมองว่าข้อสอบปัจจุบันยังไม่สามารถวัดศักยภาพของผู้เรียนได้  ซึ่ง  สพฐ.ได้วิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ตพบข้อจำกัดอยู่หลายเรื่อง  เช่น  ความบกพร่องของข้อสอบ  ซึ่งมีสัดส่วนความจำและการคิดวิเคราะห์ในแต่ละรายวิชาที่ไม่ชัดเจน  ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญว่าเราจะให้ความสำคัญกับความจำหรือการคิดวิเคราะห์ 

     คุณหญิงสุชาดา  กีระนันท์  อดีตอธิการบดีจุฬาฯ  กล่าวว่า  ตัวหลักสูตรปัจจุบันเขียนได้ดีแต่ตนมีความกังวลเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่มากเกินไป  แต่หากถามว่ามีการเรียนการสอนปัจจุบันทำให้เด็กคิดวิเคราะห์ได้หรือไม่นั้นคงไม่สามารถตอบได้  เพราะปัจจุบันมี  รร.หลายรูปแบบ  และยังคงมุ่งเรียนในห้องมาก  และก็เรียนกวดวิชามากเช่นกัน  เพราะพ่อแม่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าทำอย่างไรให้รู้เข้ามหาวิทยาลัย     นายจุรินทร์  กล่าวสรุปการอภิปรายว่าเรื่องที่ต้องทำ  2  ส่วน  คือ  เนื้อหาที่เด็กต้องท่องจำก็ต้องจำ  ขณะที่ภารกิจข้างหน้าก็ต้องเพิ่มให้เด็กคิดวิเคราะห์ด้วย  ดังนั้นจึงต้องอบรมพัฒนาครูเพื่อสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น  ซึ่งขณะนี้  สพฐ.ได้ประสานกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย  (ทปอ.) ในการอบรมพัฒนาครูทั้ง  500,000  คน  ให้เกิดผลทางปฏิบัติจริงๆ

     "ส่วนเรื่องเนื้อหาหลักสูตร  ก็ต้องกลับไปดูว่าอะไรที่เกินก็ต้องปรับ  ขอฝากให้ผู้เกี่ยวข้องกลับไปคิดหาแนวทางปฏิบัติที่สามารถทำได้จริง  ยังมีเรื่องข้อสอบโอเน็ตผมอยากให้  สทศ.กลับไปทบทวนว่ามีความจำเป็นต้องแบ่งสัดส่วนระหว่างการคิดวิเคราะห์และการท่องจำหรือไม่  นอกจากนั้น  ยังอยากให้ไปดูเรื่องผู้ออกข้อสอบที่มีการวิจารณ์ด้วยว่า  ต่อไปควรมีระบบการคัดเลือกผู้ออกข้อสอบหรือไม่  ซึ่งผมคิดจากตรรกะ  ว่าข้อสอบที่ออกโดยอาจารย์สาธิตเด็กสาธิตก็สามารถทำได้ดี"  นายจุรินทร์กล่าว

ที่มา ไทยโพสต์


โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3183 วันที่ 13 ก.ย. 2552


สทศ......สพฐ.....ปะทะเดือดใครสอนเด็กท่อง สทศ......สพฐ.....ปะทะเดือดใครสอนเด็กท่อง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

สามัญสำนึกและมารยาท1

สามัญสำนึกและมารยาท1


เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
หัวล้าน 7 ประเภท ? ตามตำรา

หัวล้าน 7 ประเภท ? ตามตำรา


เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ลายมือ คนไม่เอาถ่าน

ลายมือ คนไม่เอาถ่าน

เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
นิทานสอนคน
นิทานสอนคน
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

คำถามน่ารู้
คำถามน่ารู้
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

สอนคิดคณิตศาสตร์ (  Thinking  Method  :  Math )
สอนคิดคณิตศาสตร์ ( Thinking Method : Math )
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมมุสลิมจึงเล่นสาดน้ำสงกรานต์ไม่ได้
ทำไมมุสลิมจึงเล่นสาดน้ำสงกรานต์ไม่ได้
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย

10 วิธีพิชิตเดทออนไลน์ครั้งแรก"
10 วิธีพิชิตเดทออนไลน์ครั้งแรก"
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย

ชีวิตคู่ก็เหมือนกับการเต้นแทงโก้
ชีวิตคู่ก็เหมือนกับการเต้นแทงโก้
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สพฐ. (ฉบับปรับปรุงแก้ไข)
คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สพฐ. (ฉบับปรับปรุงแก้ไข)
เปิดอ่าน 45,969 ครั้ง

ลายมือคนที่บั้นปลายของชีวิตมีเงินทอง มีหลักฐานมั่นคง
ลายมือคนที่บั้นปลายของชีวิตมีเงินทอง มีหลักฐานมั่นคง
เปิดอ่าน 25,687 ครั้ง

คู่มือการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
คู่มือการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
เปิดอ่าน 24,302 ครั้ง

ศัพท์จากข่าวประท้วง
ศัพท์จากข่าวประท้วง
เปิดอ่าน 13,879 ครั้ง

โรคความดันโลหิตสูง รักษาได้ แค่หลีกให้ไกลจากโซเดียม
โรคความดันโลหิตสูง รักษาได้ แค่หลีกให้ไกลจากโซเดียม
เปิดอ่าน 13,644 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ