ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เรื่องจริง....ของมัมมี่


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,139 ครั้ง
Advertisement

เรื่องจริง....ของมัมมี่

Advertisement

 

 

เรื่องจริงของมัมมี่

 

      ผู้เขียนเชื่อแน่ว่า คำว่าคงเป็นที่คุ้นหูหรือเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับท่านผู้อ่านเกือบทุกคน และเป็นศัพท์ที่พูดแล้วก็นึกภาพออกได้ทันทีว่ารูปร่างหน้าตาของมัมมี่เป็นอย่างไร เมื่อนึกถึงมัมมี่ก็มักจะนึกถึงปิรามิด สถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์ที่ตั้งสูงทมึนอยู่ท่ามกลางทะเลทรายอันเวิ้งว้างคู่ไปด้วย เพราะว่าสิ่งสองสิ่งนี้มันเป็น- “สิ่งมหัศจรรย์” ที่เป็นสมบัติแห่งความลึกลับของชนชาวอิยิปต์โบราณมัมมี่

        แม้จะมีการศึกษาเรื่องราวของมัมมี่มาเป็นเวลานานแล้ว  แต่จนถึงปัจจุบันนี้การศึกษาความลับของมัมมี่ก็ยังคงกระทำอยู่ เพราะวิทยาการที่สูงขื้น เครื่องไม้เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพขึ้น ยิ่งทำให้สามารถเจาะลึกเข้าไปสู่ความลับในประวัติศาสตร์นี้ได้มากขึ้น เราสามารถเห็นนักวิทยาศาสตร์ และนักโบราณคดีเป็นจำนวนมากก้มหน้าก้มตาศึกษา -เรื่องราวของมัมมี่อย่างจริงจัง เช่น ที่โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่พิพิธภัณฑ์ศูนย์วิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งโบราณคดี ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย หรือว่า ที่สถาบัน -ศิลปศาสตร์แห่งเมืองดิทรอยท์ เป็นต้น การศึกษานอกจากจะใช้วิธีผ่าศพมัมมี่โดยตรงก็ยังมีการนำเอาระบบการถ่ายภาพจากแสงเอกซเรย์ 3 มิติ ที่เรียกว่า “Computerized Axial Tomography (CAT)“ มาใช้ซึ่งนอกจากจะไม่ต้องทำลายมัมมี่ที่ใช้ศึกษาอยู่แล้ว ยังสามารถให้รายละเอียดได้อย่างชัดเจนด้วย

 

        จากความเชื่อของมนุษย์นับเป็นเวลาหลายร้อยหลายพันปีมาแล้ว เกี่ยวกับเรื่องของร่างกาย และวิญญาณ โดยที่เชื่อว่าการตายก็คือการที่วิญญาณได้หลุดลอยออกจากร่างที่เคยอาศัยอยู่ ความเชื่อถือของชาวอียิปต์โบราณ คิดว่าวิญญาณที่ได้หลุดลอยออกจากร่างเมื่อถึงเวลาหนึ่งได้เข้าไปสู่โลกอีกโลกหนึ่งซึ่งอาจจะเรียกว่า “โลกของพระเจ้า” และในวันหนึ่งข้างหน้าวิญญาณนั้นก็จะกลับมา ข้อสำคัญเมื่อวิญญาณกลับมาแล้วก็ต้องอาศัยร่างกายอยู่ และร่างกายที่จะอาศัยอยู่ได้ก็คงจะต้องเป็นร่างกายของตนเองซึ่งครั้งหนึ่งตนได้เคยอาศัยอยู่แล้ว จากความเชื่อถือนี้ การรักษาร่างกายให้คงสภาพไว้เพื่อรอการกลับมาของเจ้าของเดิมจึงเป็นสิ่งที่ชาวอียิปต์โบราณหาวิธีการทีจะทำให้ได้

        ทุกสิ่งมีวิวัฒนาการ มัมมี่ก็เช่นกันในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณร่างกายของคนตายได้ถูกห่อไว้ด้วยผ้าหรือเสื่ออย่างลวก ๆ และถูกฝังไว้ในหลุมแคบ ๆ ภายใต้พื้นทรายลึกลงไปไม่กี่ฟุต หลุมที่ฝังก็อาจจะขุดกันอย่างหยาบ ๆ อาจจะมีการก่ออิฐหรือปูด้วย ไม้กระดานบ้าง แต่ก็ไม่มีศิลปะอะไร การฝังศพแบบนี้ชาวอียิปต์ในยุคนั้นก็ได้พบ-ความจริงข้อหนึ่งว่า ภายใต้ความร้อนระอุของพื้นทรายที่ถูกแสงแดดอันแรงกล้าเผาอยู่ตลอดเวลาศพภายในหลุมหยาบ ๆ นั้นมีสภาพเหมือนถูกอบหรือตากแห้ง และมีผลทำให้ศพนั้น ยังคงสภาพอยู่ได้เป็นเวลานาน การที่ศพไม่เน่าเปื่อยและจากความคิดความเชื่อถือที่ว่าวันหนึ่งวิญญาณที่จากไปก็จะกลับคืนมาอีก ญาติพี่น้องก็เลยกลัวว่าถ้าศพฟื้นขึ้นมาเมี่อไรก็อาจจะกลายเป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอกไปก็ได้ ก็เลยฝังพวกหม้อข้าวหม้อแกง เพชรพลอยหรือแม้แต่เครื่องใช้เครื่องมือในการทำมาหากินเอาไว้ให้ด้วย

        เมื่อนานวันเข้า  ความตายเป็นสิ่งมนุษย์เริ่มพิถีพิถันกันกับมัน พิธีรีตองเกี่ยวกับคนตายก็ชักจะมีมากขึ้นหลุมฝังศพชนิดที่ว่าสักแต่ขุดให้มันเป็นรูปเป็นโพรงก็ชักจะไม่เข้าทีเสียแล้ว หลุมศพจึงเริ่มพัฒนาตัวมันเอง เริ่มจากการที่ต้องขุดอย่างมีศิลปะ มีการก่ออิฐทำผนังหลุม และก็พยายามจัดทำให้เหมือนกับเป็นห้องๆ หนึ่ง และเพื่อให้คนตายได้นอน
อย่างสบาย ๆ เหยียดแข้งเหยียดขาได้เต็มที่แทนที่จะต้องถูกมัดให้คุดคู้อยู่ในหลุมรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งผู้ตายพูดได้ก็คงจะบ่นว่าอึดอัดเหลือทน หลุมที่ฝังก็เลยแปรเปลี่ยนมาเป็นลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ศพเลยสามารถที่จะเหยียดร่างได้เต็มที่ ไม่จบเพียงแค่นั้น เพื่อให้คนตายมีความรู้สึกว่าอาศัยอยู่ในบ้านจริง เหนือหลุมฝังศพก็เลยต้องก่อสร้างให้รูป -ทรงคล้ายกับบ้าน มีหลังคามีฝาผนังทำนองนั้น ที่มีฐานะหน่อยก็อาจจะสร้างให้คล้ายๆ กับวังไปเลย เมื่อหลุมศพถูกวิวัฒนาการมาเป็นอย่างนั้น ศพที่เคยถูก “อบแห้ง” โดยธรรมชาติภายใต้ผิวทรายร้อน ๆ ก็เลยเป็นอันว่าจบกัน ปัญหาเรื่องศพเน่าเปื่อยก็เลยตามมา

        ในยุคของราชวงศ์อียิปต์แรก ๆ (ก็ราวๆ เกือบ 3000 ปีก่อนคริสตศักราช) ศพจะถูกห่อ และมัดอย่างแน่นหนาด้วยผ้าลินินซึ่งอาบน้ำยา ศพถูกห่อไว้ด้วยผ้าหนามากจนแลดูกลมกะลุกปุ๊ก ถ้าจะเรียกว่ามัมมี่ก็คงเป็นมัมมี่ตุ๊ต๊ะ

        ล่วงเลยมาจนถึงราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ (ประมาณ 2800 ปีก่อนคริสตศักราช) ความพยายามที่จะแต่งตัวให้มัมมี่ดูหล่อขึ้นก็เริ่มกันตอนนี้ มีการห่อศพด้วยผ้าลินินชุบน้ำยาอย่างพิถีพิถัน การห่อก็ไม่ใช่สักแต่ว่าห่อ ๆ ไป มีการพัวหัวพันขาแขน หรือพันรอบหน้าอก หน้าท้องเป็นส่วน ๆ พูดง่าย ๆ ก็คือพันให้เห็นเป็นรูปทรงของคนไม่ใช่พันแบบให้ต้องเดาว่าภายในห่อผ้านั้นเป็นหมูหรือเป็นคน แม้แต่นิ้วมือนิ้วเท้าก็พยายามพันเน้นให้เห็นนิ้วทั้ง 5 (จะได้ไม่เข้าใจผิดว่าก่อนตายอ้ายหมอนี่นิ้วด้วนหรือเปล่า)

        ความพยายามของการศึกษาของนักแต่งศพชาวอียิปต์ ค้นพบว่าสาเหตุของการเน่าเปื่อยของศพ อวัยวะภายในมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาก ดังนั้นการทำความสะอาดภายใน จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ศพถูกรักษาให้คงทนได้ยาวนานขึ้น ดังนั้นในปลายราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์โบราณ (ราว 2600 ปีก่อนคริสตศักราช) การล้วงตับล้วงไส้ ของศพ-ออกมาจึงเป็นกรรมวิธีสำคัญของนักแต่งศพชาวอียิปต์

        ในหลุมฝังศพของราชินีที่สี่แห่งราชวงศ์อียิปต์โบราณ พระนาม “ราชินีเฮเตเฟเรส” (Hetepheres) ซึ่งเป็นพระชายาแห่งสเนฟรู (Snefru) หรือว่าเป็นพระชนนีของกษัตริย์คืออปส์ ได้มีการค้นพบภาชนะหินปูน ซึ่งภายในบรรจุอวัยวะภายในของราชินี แช่ไว้ด้วยของเหลวที่เรียกว่าเนตรอน (Natron) ซึ่งเป็นสารละลายของโซดาชนิดหนึ่ง เป็นที่น่าทึ่งที่ว่าภาชนะนี้มีการปิดผนึกอย่างดีจนของเหลวดังกล่าว อยู่ในนั้นได้เป็นเวลา 4000 ปี “ดอง” เครื่องในของพระราชินีให้คงสภาพไว้ได้อย่างนานแสนนาน

        ในช่วงประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 4-5 (2570-2450 ปีก่อนคริสตศักราช) เทคนิคของการทำมัมมี่ได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ อย่างมัมมี่ของเพตริค (Peric) ซึ่งค้นพบโดยนักอียิปต์วิทยาชาวอังกฤษชื่อ วิลเลี่ยม เอ็ม เอฟ เพตริค (William M.F.Petric) แสดงให้เห็นถึงเทคนิคของการทำมัมมี่ในยุคของราชวงศ์ที่ 5 ศพจะถูกพันมัดด้วยแถบผ้าลินินอย่างประณีต มีการแสดงถึงรูปลักษณะภายนอกด้วยยางสนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความคงทนถาวรมาก ขนาดคิ้ว หรือหนวดของผู้ตายก็ยังแสดงออกให้เห็น สภาพมัมมี่อยู่ในลักษณะเหยียดตรงเต็มส่วนสูง อวัยวะภายในถูกคว้านออก มีการทำความสะอาดแล้วอัดให้แน่นด้วยก้อนผ้าลินินอาบน้ำยา เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ก็มีผลในการรักษาอวัยวะทุกส่วนในร่างกายให้คงสภาพอยู่ได้อย่างถาวร แม้แต่รูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอกก็พยายามจัดทำให้คงสภาพไว้ (มัมมี่ของเพตริคนี้ได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่วิทยาลัยศัลกรรมหลวงในกรุงลอนดอน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าถูกทำลายไปในสงครามโลกคราวที่กรุงลอนดอนถูกโจมตีทางอากาศในปี ค.ศ. 1941)

        หลักฐานมัมมี่มีอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงถึงความเจริญของวิชาการด้านนี้ในยุคราชวงศ์ที่ 5 ค้นพบโดยนักอียิปต์วิทยาชาวอเมริกันชื่อ ยอร์ช เอ ไรส์เนอร์ ซึ่งขุดเจอที่ปิรามิดแห่งกิซา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่ามัมมี่ที่พบนี้เป็นศพของเยนตี้ (Yenty) อัครมหาเสนาบดีในยุคนั้น มัมมี่ได้ถูกประจุไว้ในโลงศพที่ทำด้วยหินแกรนิต ถึงแม้ว่าสภาพของมัมมี่จะถูกทำลายไปโดยฝีมือของคนร้ายที่ทำมาหากินกับการขุดสมบัติในสุสานของอียิปต์โบราณ แต่ก็ยังทิ้งร่องรอยของเทคนิคชั้นสูงในการทำมัมมี่ให้เห็นอยู่ โดยเฉพาะเค้าหน้าของมัมมี่ถูกรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพเดิมได้อย่างน่าทึ่ง

        ที่นี้ก็มาถึงยุคราชวงศ์ที่ 6 บ้าง (ราวปี 2340 ก่อนคริสตศักราช) เริ่มมีการใช้ปูนปลาสเตอร์ฉาบหน้าหรือศีรษะบางทีก็พอกมัมมี่ทั้งตัว ใบหน้าที่พอกฉาบด้วยปลาสเตอร์มีการรเขียนและตกแต่งเป็นรูปใบหน้าอย่างสวยงาม หลังจากพอกหนัก ๆ เข้า สัปเหร่อปัญญาชนก็เลยมองเห็นลู่ทางอื่นในการตกแต่งใบหน้าของมัมมี่ ด้วยการทำเป็นหน้ากากสวม หน้ากากที่ว่านี้ทำด้วยสารคาร์ตันเนจ (Cartonnege) ซึ่งเป็นส่วนผสมของกระดาษปาปีรับ (Papyrus) ผ้า และปลาสเตอร์รวมกัน หน้ากากที่ทำนี้มีน้ำหนัก แข็งแรง และความคงทนมากกว่า รวมทั้งสามารถตกแต่งให้สวยงามได้ ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าสมัยนั้นจะมีการทำหน้ากากคาร์ตันเนจออกขายหรือเปล่า ใครตายแล้วอยากจะสวมหน้ากากแบบไหนจะได้หาซื้อไว้ ภายหลังไม่ใช่แต่เฉพาะศีรษะหรือใบหน้าเท่านั้นที่ปกปิดไว้ด้วยหน้ากากคาร์ตันเนจ เทคนิคนี้ลามลงไปจนถึงปิดไปทั่วตัวและนี่คือที่มาของโลงศพรูปคน เทคนิคของมัมมี่ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในช่วงราว 2050-1990 ก่อนคริสตศักราช หรือที่เรียกว่าเป็นช่วงอาณาจักรยุคกลางของอียิปต์โบราณ

        จวบจนถึงยุคอาณาจักรของพระเจ้าทีบส์ (Thebes) ในราว 1550 ปีก่อนคริสตศักราช เทคนิคของมัมมี่พุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุด นอกจากอวัยวะการภายในจะถูกนำออกมาแล้ว จัดกลับเข้าไปด้วยผ้าอาบน้ำยายังมีการดูดมันสมองออกจากกะโหลกอีกด้วย เทคนิคของการใช้สารเคมีต่าง ๆ มีมากขึ้น สารเคมีบางอย่างถูกฉีดเข้าไปใต้ผิวหนัง เพื่อที่จะรักษาสภาพของผิวหนังให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลอยู่ได้นาน ๆ

        จากการฝังศพลงไปในหลุมที่ขุดอย่างหยาบ ๆ ภายใต้พื้นทรายอันร้อนระอุค่อยเปลี่ยนแปลงมาเป็นหลุมที่มีการตกแต่งผนังให้ดูเรียบร้อยเหนือหลุมฝังศพก็มีการก่อสร้างจำลองเป็นรูปบ้าน ลักษณะของหลุมศพในยุคอียิปต์ต้น ๆ ค่อนข้างเล็ก ซึ่งคิดว่าศพคงต้องนอนคุดคู้อยู่ภายใน ต่อมาก็จึงเปลี่ยนมาเป็นหลุมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งกว้างยาวพอที่ศพจะนอนเหยียดได้อย่างเต็มที่ ต่อมาศพก็ค่อยเลื่อนขั้นขึ้น มีการบรรจุลงในหีบศพซึ่งมีทั้งหีบไม้ หินปูน จนถึงหินแข็งอย่างหินแกรนิต

        ความคิดของชาวอียิปต์ ไม่ได้หยุดอยู่กับที่ จากหีบศพที่เรียบ ๆ  เริ่มมีการตกแต่งจัดทำรอบ ๆ หีบศพให้ดูมีลักษณะเหมือนพระราชวัง บวกกับความเชื่อถือทางศาสนา หีบศพบางอันจึงมีการเขียนรูปดวงดาวคู่หนึ่งไว้ด้วย ด้วยเกรงว่าเจ้าของหีบศพไม่สามารถทัศนาโลกภายนอกอันสดใสได้ ภายหลังหีบศพไม่เพียงแต่แกะสลักหรือวาดรูปแต่เฉพาะภายนอก แม้แต่ภายในก็มีการตกแต่งประดับประดาด้วยคงจะคิดว่าบ้านจะน่าอยู่ไม่ใช่แต่จะแต่งเฉพาะภายนอก ภายในก็ต้องหรูด้วย และสิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ คำจารึกเหนือ -หีบศพ เป็นคำสวดอ้อนวอนขอให้พระเจ้าได้ช่วยปกป้องคุ้มครองผู้ที่อยู่ในหลุมนั้นด้วย

        แน่นอน ถ้าหีบศพเปรียบเสมือนบ้านก็คงจะมีแต่ตัวบ้านเฉย ๆ ไม่ได้ ก็มีการวาดภาพเครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องมือ เฟอร์นิเจอร์ ตลอดจนอาวุธที่ใช้ป้องกันตัวบนแผ่นหินข้างหีบศพด้วย ทั้งนี้เพื่อเอาไว้ให้ผู้ตายได้ใช้สอย

        จะเห็นว่าความคิดทีจะจัดเตรียมของใช้ต่าง ๆ ไว้ให้สำหรับคนตาย ยังมีอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ในพิธีกงเต๊กของคนจีน บรรดาเครื่องใช้ไม้สอยที่ทำด้วยกระดาษถูกเผาในพิธีเพื่อจัดส่งให้คนตายนำไปใช้ในภพหน้า และก้าวหน้าจนถึงขั้นในปัจจุบันนี้สิ่งที่เผาส่งไปให้นอกจากบ้านพร้อมที่ดิน แล้วยังมีรถคันใหญ่ ๆ (บางทีก็ระบุยี่ห้อเบนซ์หรือวอลโว่ลงไปด้วย) ที.วี. สีตลอดจนตู้เย็น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า คิดว่าในอนาคตข้างหน้าโรงไฟฟ้าในเมืองผีมีหวังต้องขยายโรงงานแน่ และน้ำมันก็คงจะต้องขึ้นราคาเพราะใช้รถกันเยอะ

        ต่อมาหีบศพก็เริ่มเปลี่ยนแปลงมาทำจำลองเป็นรูปคน มีการแกะสลักหน้าตาอวัยวะต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักจะทำเป็นรูปคนยืนเหยียดตรง มือทั้งสองผสานไว้ที่หน้าอก หีบศพรูปคนเหล่านี้เก็บไว้ภายในหลุมฝังศพที่ก่อสร้างเป็นรูปอาคารอีกทีหนึ่งบางทีอาจมีหลาย ๆ หีบรวมอยู่ในหลุมเดียวกันก็ได้

        ภายหลังเมื่อมีการคว้านเอาอวัยวะภายในของศพก่อนจะทำเป็นมัมมี่ อวัยวะเหล่านี้ก็ต้องถูกเก็บรักษาด้วย จึงจะต้องมีการจัดทำภาชนะเพื่อที่จะเก็บอวัยวะเครื่องในเหล่านี้ ภาชนะพวกนี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่า คาโนปิค (Canopic) มาจากชื่อของคาโนปัส (Canopus) นักรบแห่งเมนาเลียส (Menaleus) ซึ่งศพของเขาถูกเก็บไว้ในภาชนะรูปทรงคล้ายตุ่ม (คือป่องกลาง) มีฝาครอบทำเป็นรูปหัวคน ด้วยเหตุนี้คาโนปิคจึงมีลักษณะคล้ายตุ่มมีฝาครอบ แต่มีทั้งหมด 4 ฝาด้วยกัน เนื่องจากตัวภาชนะบรรจุเครื่องในเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วนก็บรรจุอวัยวะสำคัญ 4 อย่าง ด้วยกันคือ ตับ กระเพาะ ปอดและลำไส้ใหญ่ (ถ้าเป็นเครื่องในหมูฟังแล้วชวนให้หิวข้าว) และ แต่ละช่วงที่บรรจุ -เครื่องในเหล่านี้ มีน้ำยาที่เรียกว่าเนตรอน (Natron) อยู่ด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่าอวัยวะดังกล่าว 4 อย่างนี้ไม่มีหัวใจอยู่ด้วย เนื่องจากนักแต่ศพชาวอียิปต์ถือว่า ห้ามควักหัวใจ-ออกจากตัวศพ

        ในตอนต้น ๆ ฝาครอบหรือฝาปิดของคาโนปิคทำเหมือนๆ กันหมด ต่อต่อมาฝาครอบเหล่านี้เริ่มมีการแกะสลักเป็นรูปของ “ผู้คุ้มครองทั้ง 4” ซึ่งได้แก่อิมเซตี้ (Imsety) แกะสลักเป็นรูปหัวคน เดวาอุเตฟ (Dewau-mautef) แกะสลักเป็นรูปหัวหมา ฮาปิ (Hapy) แกะสลักเป็นรูปหัวลิงและสุดท้ายเคเบห์สเนเวท (Kebehsnewet) แกะสลักเป็นรูปหัวเหยี่ยว (แต่ละห่านล้วนแต่ออกชื่อยาก ๆ ทั้งนั้น ขออภัยด้วย) ผู้ปกป้องทั้งสี่ก็ดูแลอวัยวะสำคัญแต่ละอย่างไป สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่คนเป็นทำให้คนตายในความเชื่อถือของอียิปต์โบราณก็คือ “คนใช้” เพราะคิดว่าถึงแม้คนตายจะมีเครื่องใช้ไม้สอยที่จัดทำไว้ให้แล้วมากมาย แต่ถ้าขาดคนรับใช้ชีวิตก็คงไม่สุขสบายเท่าที่ควร ดังนั้นในพิธีศพสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือจัดหาคนใช้ให้กับผู้จากไปด้วย ในตอนแรก ๆ ก็ใช้วิธีการวาดภาพเอาต่อมาก็จัดทำเป็นรูปปั้นซึ่งอาจจะทำด้วยดินเหนียว สีผึ้ง หรือแกะสลักด้วยไม้ ต่อมาในราวยุคราชวงศ์ที่ 12 แห่งอียิปต์โบราณ ตัวแทนที่จะส่งไปเป็นคนรับใช้ของผู้ตาย ก็ทำเป็นรูปมัมมี่ด้วย มีการพันด้วยผ้าลินินและบรรจุไว้ในหีบศพจำลองขนาดเล็ก ๆ รูปลักษณ์เหล่านี้มีชื่อเรียกว่า “ชาวับติ” (Chawabti) ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ขานรับ” เพื่อที่ว่ายามใดที่ต้องการใช้เมื่อเรียกขึ้นมาแล้ว ผู้รับใช้นี้ก็จะขานรับคำสั่ง ชาววับติมักทำเป็นรูปมัมมี่บางทีมือทั้ง 2 ข้างประสานไว้ที่อกหรือบางทีก็ทำเป็นรูปเครื่องมือต่าง ๆ เช่น จอบ เสียม ตะกร้า ให้ถือเอาไว้และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือคำจารึกคำสวดที่พอจะแปลได้ตามความหมายว่า

“โอ..ชาวับติเจ้าเอ๋ย ถ้านาย..(ออกชื่อคนตาย) เรียกใช้เจ้าเมื่อไรไม่ว่าจะให้ทำไร่ไถนา ทดน้ำขนส่งทราย เพื่อเห็นแก่พระเจ้าก็ขอให้เจ้าขานรับว่า..ข้าพร้อมที่จะทำแล้วขอรับ”

        จากความเชื่อของชนชาวอียิปต์โบราณในเรื่องของชีวิตหลังความตายว่าวันหนึ่งชีวิตนั้นจะกลับคืนมา เป็นแรงบันดาลใจให้ชาวอียิปต์โบราณคิดค้นหาวิธีจะรักษาร่างกายเอาไว้เพื่อรอการกลับมาชีวิตอีกครั้งหนึ่ง และชาวอียิปต์โบราณทำได้ด้วยวิทยาการสมัยโบราณ ที่แม้คนสมัยนี้ซึ่งเวลาได้ล่วงเลยมาแล้วสี่พันปีก็ยังต้องทึ่ง และจากการศึกษาเราทราบว่า กว่ามัมมี่จะวิวัฒนาการจนถึงสูงสุดของมัน มันก็ต้องใช้เวลาในการทำเหมือนกัน และถึงแม้จนถึงขีดสูงสุดของมันก็ต้องใช้เวลาในการพัฒนาเหมือนกัน และถึงแม้จนถึงปัจจุบันนี้มัมมี่จากหลุมตลอดจนจากปิรามิดต่างๆในอียิปต์ไม่มีสักร่างเดียวที่จะฟื้นขึ้นมาเพื่อบอกความลับในยุคนี้กับนักวิทยาศาสตร์ของเรา จากเรือนร่างที่คงทนต่อสู้กับ -ความเน่าเปื่อยมาจนถึงเดี๋ยวนี้ก็พอเพียงแล้ว นักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีของเราพยายามอ่าน ถึงประวัติศาสตร์ในยุคและเดี๋ยวนี้วิทยาการทางด้านการวิเคราะห์ด้วยแสงเอกซเรย์ ทั้งแบบธรรมดา และ axial tomography ถูกนำมาใช้ด้วย ก็ยิ่งทำให้เราศึกษาและรู้เรื่องราว ของชนชาติอียิปต์โบราณได้มากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านโบราณคดีหรือ -นิเวศน์วิทยา เช่น จากการศึกษามัมมี่ของเซเคเนนเรที่ 2 ของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ (Erhard Metnel) โดยการใช้แสงเอกซเรย์พบว่า สมองของเซเคเนเรที่ 2 ได้รับบาดเจ็บจากรอยแผลที่เกิดขวาน ซึ่งตามประวัติศาสตร์ระบุว่าเขาบาดเจ็บจากสนามรบและพบต่อไปว่าแขนข้างหนึ่งของเขาเป็นอัมพาตไปซึ่งก็คงเนื่องจากบาดแผลที่สมอง แต่จากการวิเคราะห์ที่ละเอียดพบว่ามีบาดแผลที่เกิดจากหอกปรากฏอยู่ที่หลังใบหูซ้าย จึงช่วยสงสัยว่าเซเคเนนเรที่ 2 อาจถูกลอบสังหารทางข้างหลังก็ได้

        นอกจากนี้การศึกษาด้วยแสงเอกซเรย์ทำให้เรารู้ว่าฟาโรห์แต่ละคนในอดีตมีสุขภาพเป็นอย่างไรบ้าง เช่น เราสามารถนึกถึงภาพว่าฟาโรห์ซิบตาห์ (Siphtah) คงจะไม่สามารถเสด็จไปไหนมาไหนด้วย ลำพังพระองค์เองหรือไม่ก็อาจจะต้องมีไม้เท้ายัน เพราะจากแสดงเอ็กเรย์พบว่าฟาโรห์ซิปตาห์เป็นโรคโปลิโอ หรือนึกถึงภาพของฟาโรห์ราเมเสสที่ 2 (Ramessesll) พระองค์ต้องเป็นคนที่แข็งแรงกระฉับกระเฉงเพราะตรวจพบว่าพระองค์มีเส้นโลหิตที่แข็งแรงมาก แถมฟันก็คงทนถาวร รับกับประวัติศาสตร์ที่ระบุว่าฟาโรห์ราเมเสสที่ 2 มีชีวิตยืนยาวถึง 90 ปีโดยสิ้นพระชนม์ในปี 1216 ก่อนคริสตศักราช

        หรือจากการวิเคราะห์ซากมัมมี่นิรนามที่เรียกว่า PUM ll (มัมมี่ตัวที่ 2 ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย) พบว่ามัมมี่ตัวนี้เป็นโรคปอดซึ่งเกิดจากสารคาร์บอนและซิลิกาที่เกาะแน่นสะสมอยู่ ซึ่งก็พอจะเชื่อได้ว่าชาวอียิปต์โบราณคงจะเป็นโรคปอดกันมากอันเนื่องมาจากต้องสูดหายใจเอาละอองทรายและเศษผงของหินเข้าปอดเป็นประจำส่วนคาร์บอนที่ค้นพบในปอด ก็สันนิษฐานว่ามาจากควันของการก่อกองไฟ และจากควันของตะเกียงน้ำมัน

        ใน PUM ll ยังค้นพบไข่ของพยาธิตัวกลมอีกด้วย (บางท่านอาจจะสงสัยว่าไข่ของพยาธิทำไมถึงอยู่อึดนักทนอยู่ได้เป็นเวลาตั้งหลายพันปี ทั้งนี้เนื่องมาจากยางที่สัปเหร่อปัญญาชนใช้ในการรักษาศพมัมมี่มีผลทำให้ไข่ของพยาธิเหล่านี้ถูกรักษาเอาไว้ได้ด้วย) ซึ่งพยาธิตัวกลมนี้เป็นพยาธิที่พบได้ทั่วไปในประเทศร้อนซึ่งมีลักษณะดินชื้น และไข่ของมันแพร่หลายได้ดีโดยติดไปกับอุจจาระ แสดงว่าสุขาภิบาลในยุคของอียิปต์โบราณก็ยังไม่ดีนัก

        นอกจากนี้การใช้เทคนิคของแสงเอกซเรย์ ยังเป็นการช่วยลำดับญาติโกโหติกาของฟาโรห์ในประวัติศาสตร์อีกด้วย อย่างเช่นจากการวิเคราะห์ของอาจารย์เจมส์ อี. แฮร์ริส (James E. Harris) แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนด้วยการใช้เทคนิคการฉายแสงเอกซเรย์เพื่อถ่ายภาพของกะโหลกศีรษะในรูปของ 3 มิติพบว่ามัมมี่ตัวหนึ่งที่ขุดพบในหลุมฝังศพของฟาโรห์อมุนโฮเตปที่ 2 (Amunhotep ll ) ซึ่งเดิมทีไม่ทราบว่าเป็นมัมมี่ของใคร จากการวิเคราะห์นี้เขาลงความเห็นว่ามัมมี่นี้คือราชินีไทย (Tiye) ก็คือพระชายาของฟาโรห์อมุนโฮเตปที่ 2 เนื่องจากมีการเปรียบเทียบโครงสร้างของกะโหลกศีรษะของพระนางกับพ่อแม่ และเมื่อยิ่งมีการวิเคราะห์สารเคมี ในเส้นผมเปรียบเทียบกับเส้นผมที่เก็บไว้ในล็อคเกตซึ่งฝังไว้ในหลุมศพของตุตันคามัน (Tutankhamun) พระญาติของเธอด้วยแล้ว ยิ่งแน่ใจเข้าไปใหญ่

        มัมมี่ในสุสานแห่งอียิปต์โบราณไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับนักโบราณคดีเท่านั้น แต่ยังเป็นยอดสนใจของเหล่ามิจฉาชีพที่ต้องการจะค้นหาสมบัติจากมัมมี่และสุสานที่ฝังอีกด้วย พูดง่าย ๆ ก็คือพวกเหล่านี้หากินกับผีทั้ง ๆ ที่สถานที่เหล่านั้นวังเวง ลึกลับ น่าสะพรึงกลัว แต่ความโลภซะอย่างสามารถทำอะไรต่อมิอะไรก็ได้ แม้แต่จะเลื่อยเศียรพระพุทธรูปแบบที่เราเคยเห็นมาแล้วหลายรายโดยไม่เกรงกลัวต่อบาปต่อกรรม

 

 

ขอบคุณที่มา  http://school.obec.go.th/nkwy/tiplearn/old/indexpage2.htm

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 7254 วันที่ 13 ก.ย. 2552


เรื่องจริง....ของมัมมี่ เรื่องจริง....ของมัมมี่

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เลขเด็ด 16 ธันวาคม 2552

เลขเด็ด 16 ธันวาคม 2552


เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง
คำทำนายจากจีน.....แม่นมาก

คำทำนายจากจีน.....แม่นมาก


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
คุณรู้หรือไม่ว่า...

คุณรู้หรือไม่ว่า...


เปิดอ่าน 7,132 ครั้ง
ส่งความสุข 2553

ส่งความสุข 2553


เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง
ปีใหม่...อย่าแค่ใหม่ปี...

ปีใหม่...อย่าแค่ใหม่ปี...


เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ดูแลผมสวยด้วยน้ำส้มสายชู

ดูแลผมสวยด้วยน้ำส้มสายชู

เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ระวัง..ต้อหินจากคอมพิวเตอร์ เรื่องจริงที่ไม่มีใครอยากเจอ
ระวัง..ต้อหินจากคอมพิวเตอร์ เรื่องจริงที่ไม่มีใครอยากเจอ
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย

ความจริงของผ้หญิงที่ผู้ชายควรอ่าน
ความจริงของผ้หญิงที่ผู้ชายควรอ่าน
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย

10 รายการตรวจสุขภาพ.....ที่จำเป็นของผู้หญิง
10 รายการตรวจสุขภาพ.....ที่จำเป็นของผู้หญิง
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย

E-Learning
E-Learning
เปิดอ่าน 7,402 ☕ คลิกอ่านเลย

การใช้คน
การใช้คน
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย

ราชบัณฑิต....เตือนนักท่องเว็บ
ราชบัณฑิต....เตือนนักท่องเว็บ
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ชมเลย! เพลงจับดินสอ เพื่อให้เด็กได้ฝึกการจับดินสอที่ถูกวิธี
ชมเลย! เพลงจับดินสอ เพื่อให้เด็กได้ฝึกการจับดินสอที่ถูกวิธี
เปิดอ่าน 41,300 ครั้ง

ทำไมต้องจ้างทำการบ้าน (ชมคลิป)
ทำไมต้องจ้างทำการบ้าน (ชมคลิป)
เปิดอ่าน 14,815 ครั้ง

กลั้นปัสสาวะ เรื่องธรรมดาที่น่ากลัว
กลั้นปัสสาวะ เรื่องธรรมดาที่น่ากลัว
เปิดอ่าน 11,059 ครั้ง

ประวัติ แคลคูลัส
ประวัติ แคลคูลัส
เปิดอ่าน 25,040 ครั้ง

4 เกาะที่น่าไป หลังเกษียณอายุ
4 เกาะที่น่าไป หลังเกษียณอายุ
เปิดอ่าน 17,293 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ