"ศรีสะเกษแดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี
มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน
หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี"
@ ปราสาทเขาพระวิหาร (เขมร: , ปฺราสาทพฺระวิหาร อังกฤษ: Prasat Preah Vihear) เป็นปราสาทหิน อยู่บริวณเทือกเขาพนมดงรัก ในจังหวัดพระวิหาร ของกัมพูชา ติดชายแดนไทย ที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร นับเป็นปราสาทขอมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์การก่อสร้างเทวสถานของฮินดู ประวัติศาสตร์การเรียกร้องเขาพระวิหาร และยังเป็นแห่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งของไทยและกัมพูชาด้วย
เทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกในบริเวณนี้ สร้างขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ทั้งหมดสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ อย่างไรก็ตาม ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้นเมื่อนครหลวงของอาณาจักรขอมอยู่ใกล้ เมื่ออยู่ที่นครวัด นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบบางประการในรูปแบบศิลปะของปราสาทบันทายศรี แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ของปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และ สุริยวรมันที่ 2 ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 11 และศตวรรษที่ 12 ตามลำดับ
@ เดิมปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้น
อยู่กับบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
@ (ค.ศ.1899,ร.ศ.-118 เมื่อ พ.ศ. 2442) พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้ทรงค้นพบ พระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผา
เป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ
@ อันเนื่องมาจากสนธิสัญญาที่ประเทศไทยทำกับฝรั่งเศสเมื่อปี 2447 (ค.ศ.1904) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้เขียนแผนที่ขีดเส้นพรมแดนขึ้น และจากเส้นแบ่งพรมแดนนั้น ปราสาทเขาพระวิหารจะอยู่ในอาณาเขตของไทย แต่เมื่อมีการทำสนธิสัญญาเพิ่มเติมในปี 2450 ก็มีการกำหนดเขตแดนขึ้นใหม่อีก คราวนี้ทำให้ปราสาทเขาพระวิหารต้องตกไปอยู่ในอาณาเขตของกัมพูชา แต่ไทยก็ไม่ได้ทักท้วงแต่ประการใด เพราะจำเป็นต้องยอมทำตามมหาอำนาจฝรั่งเศสในขณะนั้น จึงเท่ากับเป็นการยอมรับไปโดยปริยาย
@ ต่อมา เกิดสงครามเรียกร้องดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในปี 2483 สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำให้ไทยได้ดินแดน 4 จังหวัด คือ ไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และพระตะบอง มาจากกัมพูชา
ปราสาทเขาพระวิหารก็อยู่ในเขตดินแดนที่ไทยได้มาในยุคปลุกกระแสชาตินิยมครั้งนั้นด้วย
@ แต่ภายหลังเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยจำเป็นต้องปรับสภาพตัวเองไม่ให้เป็นผู้แพ้สงครามตามญี่ปุ่น จึงต้องยอมยกดินแดนที่ได้มาทั้ง 4 จังหวัดนั้นให้กับฝรั่งเศสไป
@จนเมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในสงครามอินโดจีนเมื่อปี 2497 ไทยจึงได้ส่งทหารเข้าไปครอบครองพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศรองรับ
@ ปี 2502 เจ้านโรดม สีหนุ กษัตริย์กัมพูชา ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2502 ว่าประเทศไทยรุกล้ำอธิปไตยกัมพูชา
@ ซึ่งวันนั้นทำให้ คนไทยเริ่มรู้จักเขาพระวิหารเป็นครั้งแรก และยังช่วยกันบริจาคเงินคนละ 1 บาท เป็นค่าใช้จ่ายให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นำคณะทนายความไปต่อสู้ในศาลโลก
@ กระทั่งวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice)
ศาลโลกกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ไตร่สวน 73 ครั้ง ในระยะ 3 ปี
ก็ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา และท้ายที่สุดก็ตกเป็นของกัมพูชาด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง โดยใช้หลักการจากสนธิสัญญาปีค.ศ.1907ตรงกับสมัย ร.5 ที่ฝั่งเศสได้ขีดพรมแดนให้เขาพระวิหารอยู่อินโดจีน การกำหนดพรหมแดนดังกล่าว รัฐบาลสยามในสมัยนั้น ได้ยอมรับไปโดยปริยายโดยมิได้มีการท้วงติงดังนั้น การนิ่งเฉยก็เท่ากับเป็นการยอมรับ หรือ " กฏหมายปิดปาก "นั่นเอง
@ หลักฐานอย่างหนึ่งที่เขมรนำมาเป็นหลักฐานสำคัญ....
...ดังเช่น..เมื่อครั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพในสมัยที่ดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีในสมัย ร. 7 เมื่อปี พ.ศ.2472 ที่เสด็จตรวจโบราณวัตถุสถานมณฑลนครราชสีมา
(ลาวกลาง)ได้เสด็จไปยังเขาพระวิหารด้วยและก็ได้ทรงแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ข้าราชการอาณานิคมของฝรั่งเศส ซึ่งก็ได้มาถวายการต้อนรับอย่างเป็นทางการ มีการประดับธงทิวฝรั่งเศสเหนือปราสาทนั้น และมีการถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานพร้อมมีสมุดให้ลงนามว่าพระองค์ได้เสด็จขึ้นเขาฯ จริง หลักฐานทั้ง 2 อย่างนี้ก็ได้กลายเป็นหลักฐานอย่างดีที่เขมรจะนำมาใช้ในการต่อสู้กับไทยในปี 2505 ว่า.....
...สยามยอมรับว่าเขาพระวิหารขึ้นอยู่กับอธิปไตยของอีกฟากหนึ่งของพรมแดน...
@ ผลการตัดสินของศาลโลก มีข้อกำหนด 3 ประการ คือ
1. ให้คืนเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่
2. ให้คืนวัตถุโบราณจำนวน 50 ชิ้น
3. ให้ถอนทหารและตำรวจออกจากพื้นที่
@ แต่หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเป็นช่วงสั้นๆ ในปี พ.ศ. 2535 แต่ปีต่อมาก็ถูกเขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2541 และเมื่อ พ.ศ. 2546 กัมพูชาก็ได้ตัดถนนเข้าไปจนสำเร็จสมบูรณ์หลังจากรอคอยเป็นเวลาช้านาน แต่ก็มีการงดอนุญาตให้เข้าเป็นระยะโดยมิได้กำหนดล่วงหน้า
@ หนังสือพิมพ์ของเยอรมันยุคนั้นบางฉบับเขียนไว้ว่า..รัฐบาลฝรั่งเศสหาผลงานให้รัฐบาลเพื่อหาเสียง จึงหาเรื่องโยงใยฟ้องเขาพระวิหารของประเทศไทย...เพื่อเป็นผลงานของรัฐบาล...เขาว่าอย่างนั้น...
เสียค่าเข้าอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร คนไทย 20บาทค่ารถยนต์ส่วนบุคคล30บาทฝรั่งน่าจะ 400 บาท
ผามออีแดง ลงไปดูภาพสลักนูนต่ำ
ภาพสลักนูนต่ำ1500ปี คาดว่าช่างฝึกฝีมือก่อนไปสลักจริงที่เขาพระวิหาร
เดินเท้าไปอีก 1.5กม.
ตรงนี้แหละที่ฝ่ายไทยว่าเป็นเขตแบ่งชายแดน
(ห่างจากประตูเหล็กประมาณ 100 - 200 เมตร)
@ ปราสาทเขาพระวิหารมีความยาวประมาณ 800 เมตร ตามแนวเหนือใต้
และส่วนใหญ่เป็นทางเข้ายาว และบันไดสูงถึงยอดเขา จนถึงส่วนปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาทางใต้สุดของปราสาท (สูง 120 เมตรจากปลายตอนเหนือสุดของปราสาท และ 525 จากพื้นราบของกัมพูชา) แต่โครงสร้างปราสาทแห่งนี้ก็ยังแตกต่างอย่างมากจาก สถาปัตยกรรมปราสาทหินของหินโดยทั่วไปที่พบในพระนคร เพื่อจำลองเขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ตามคติความเชื่อของฮินดู
@ ทางเข้าสู่ปราสาทประธานนั้น มีโคปะรุคั่นอยู่ 5 ชั้น
(ปกติจะนับจากชั้นในออกมา ดังนั้นโคปุระชั้นที่ 5
จึงเป็นส่วนที่ผู้เข้าชมจะพบเป็นส่วนแรก)
โคปุระแต่ละชั้นก่อนถึงลานด้านหน้า จะผ่านบันไดหลายขั้น โคปุระแต่ละชั้นจึงเปลี่ยนระดับความสูงทีละช่วง นอกจากนี้โคปะรุยังบังมิให้ผู้ชมเห็นส่วนถัดไปของปราสาท จนกว่าจะผ่านทะลุแต่ละช่วงไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแลเห็นโครงสร้างปราสาททั้งหมดจากมุมใดมุมหนึ่งได้
มุมมองจากข้างบนมองลงข้างล่าง
@ โคปุระชั้นที่ 5 เดินเท้าขึ้นทางบันได 1 เป็นบันไดหินมีลักษณะค่อน
ข้างชัน เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าการที่จะเข้าเฝ้าเทพนั้น จะไปด้วยอาการ
เคารพนพนอบในลักษณะหมอบคลานเข้าไป เป็นศิลปะแบบเกาะแกร์ ยังมีร่องรอยสีแดงที่เคยประดับตกแต่งตัวปราสาทเอาไว้ แต่ส่วนหลังคากระเบื้องนั้นหายไปหมดแล้ว
บริเวณหน้าผาที่มองเห็นเขมรเมืองต่ำอยู่ด้านล่าง
มุมมองลงไปจากหน้าผา (เป้ยตาดี )
@ เป้ยตาดี เป้ยเป็นภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า ชะง่อนผา หรือโพงผา ตรงยอด
เป้ยตาดีสูงกว่าระดับน้ำทะเล 657 เมตร ถ้าวัดจากพื้นที่เชิงเขาพื้นราบฝั่งประ-
เทศกัมพูชาสูงประมาณ 447 เมตร ตรงชะง่อนผาเป้ยตาดี จะมีรอยสักพระ
หัตย์ของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
ว่า 118-สรรพสิทธิ เมื่อปี 2442
แต่ก่อนมีธงไตรรงค์ของไทยอยุ่ที่ บริเวณผาเป้ยตาดี
แผนผังเขาพระวิหาร
ภาพสลักพระศิวะและพระอุมาทรงโคนนทิ(อุมามเหศวร)
http://www.oknation.net/blog/kontummadha/2007/08/06/entry-1
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=yamara-tee&month=09-2007&date=23&group=1&gblog=23
เพลง..เขาพระวิหาร...- อินโดจีน
เพลงนี้ แต่งโดยน้าทวีศักดิ์ สุทาวัน (น้าวี อินโดจีน)
ชาว อ. ราษีไศล จ. ศรีสะเกษ