มี 2 เรื่อง
1)
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนคูเมืองวิทยาคม
ผู้ศึกษา นายประชุม พันธุ์พงศ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนคูเมืองวิทยาคม อำเภอคูเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีความจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนา และผลการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนคูเมืองวิทยาคม ในปีการศึกษา 2550-2551 ตามวงจร PDCA คือ การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ด้วยโครงการพัฒนา
4 ด้านหลัก คือ ด้านอาคารเรียนและอาคารประกอบ ด้านสถานที่ ด้านสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน และด้านน้ำดื่มและน้ำใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในปีการศึกษา 2550 รวม 642 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 4 ฉบับ คือ แบบสอบถามการจำนวน 3 ฉบับ ที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.56-0.81 ค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.88-0.94 และแบบรายงาน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
การทดสอบค่า t ผลการศึกษาพบว่า
1. ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน โดยภาพรวมและรายด้าน 2 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านปัจจัย
เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนอีก 2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เหมาะสม
อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ก่อนดำเนินงานพัฒนา ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อ
การดำเนินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินงานพัฒนา มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3. ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจหลังการดำเนินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน โดยภาพรวมและรายด้าน มากกว่าก่อนดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
4. ผลการดำเนินพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนคิดเป็นร้อยละ 84.39 ผ่านเกณฑ์ 80 รายด้านเรียงค่าร้อยละจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการพัฒนาอาคารเรียนและอาคารประกอบ
(ร้อยละ 85.65) ด้านการพัฒนาสถานที่ (ร้อยละ 84.66) ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน (ร้อยละ 84.52) และด้านการพัฒนาน้ำดื่มและน้ำใช้ (ร้อยละ 82.20)
5. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากดำเนินโครงการ เฉลี่ยรวม
ร้อยละ 81.72 ผ่านเกณฑ์จำนวนนักเรียนร้อยละ 80 เพิ่มขึ้นก่อนดำเนินโครงการ ร้อยละ 8.14
2)
ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนคูเมืองวิทยาคม โดยวิธี Backward Design
ผู้วิจัย นายประชุม พันธุ์พงศ์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนคูเมืองวิทยาคม อำเภอคูเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนคูเมืองวิทยาคม โดยวิธี Backward Design ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ ผลรอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลการจัดการเรียนรู้ และบริบทของโรงเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนคูเมืองวิทยาคม โดยวิธีBackward Design ซึ่งใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนาเป็นขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก การพัฒนาวิธีการและขั้นตอนในการจัดการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Backward Design ที่เหมาะสมกับ
โรงเรียนคูเมืองวิทยาคม ใช้การวิจัยเอกสารและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่สอง การพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโดยวิธี Backward Design ด้วยยุทธศาสตร์ในการพัฒนา คือ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 15 ชั่วโมง ตามหลักสูตรและกิจกรรมการอบรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 2) การให้ครูร่วมมือกันจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Backward Design ตามวิธีการและขั้นตอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 วงจร วงจรละ 8 สัปดาห์ ภาคเรียนละ 2 วงจร ในปีการศึกษา 2550 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า
1. วิธีการจัดการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Backward Design ใน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1
ขั้นเตรียมการ ด้วยการวิเคราะห์ผู้เรียน จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธี
Backward Design ขั้นที่ 2 ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นสรุปและประเมินผล และขั้นที่ 3 ขั้นพัฒนาการดำเนินงาน คือ การบันทึกอนุทิน การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำสัปดาห์ การประชุมสะท้อนการปฏิบัติเมื่อจบหน่วย การเรียนรู้ ที่ใช้เครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพการจัดการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Backward Design ของครู ประกอบด้วย คู่มือและหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือสะท้อนผลการพัฒนา ได้แก่ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการสอน เกณฑ์พิจารณาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยการจัดการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Backward Design ที่เหมาะสม คือ ช่วงชั้นที่ 3 ครูแต่ละระดับชั้นร่วมกันจัดทำหน่วยการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ร่วมกันจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ ช่วงชั้นที่ 4 ครูร่วมกันจัดทำหน่วย การเรียนรู้โดยบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ครูแต่ละคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่ตนเองสอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อประเมินและให้ข้อเสนอแนะ
2. การพัฒนาศักยภาพของครู หลังการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ครูร้อยละ 90
มีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดทำชิ้นงานมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ในวงจรที่ 1 เฉลี่ยอยู่ในระดับดี เมื่อสิ้นสุดการดำเนินการในวงจรที่ 4 อยู่ในระดับดีมาก ส่วนความสามารถในการจัดการเรียนการสอนในวงจรที่ 1 เฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้
และเมื่อสิ้นสุดการดำเนินการวงจรที่ 4 เฉลี่ยอยู่ในระดับดี
ผลการประเมินความสำเร็จในการพัฒนา พบว่า ผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอน ตามที่กำหนดไว้ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ 3) การมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร และ 4) การมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จากผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 2 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าภาคเรียนที่ 1
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 ทุกรายการ รวมทั้งส่งผลให้นักเรียนมีผลการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 2.70 และ 2.93 ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 2.50 ที่โรงเรียนกำหนดไว้
3. การศึกษาบริบทของโรงเรียนที่เอื้อต่อการจัดการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Backward Design สรุปได้ว่า 1) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการ โรงเรียนต้องพัฒนาและใช้
แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกให้เต็มศักยภาพ และมีบรรยากาศของสังคมแห่งการเรียนรู้
2) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ โรงเรียนมีการส่งเสริมให้ครูใช้และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ครูมีความรู้และใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสม มีระบบการนิเทศเพื่อการพัฒนาที่จริงจัง มีการจัด
การเรียนรู้โดยวิธี Backward Design ที่ครูทั้งโรงเรียนร่วมมือทำด้วยกัน 3) ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพนักเรียน เน้นกิจกรรมที่ต้องคิดสร้างสรรค์และทำเป็นทีม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและความเป็นไทยควบคู่กับการพัฒนาความรู้ 4) ด้านอื่น ๆ คือ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำเชิงวิชาการสูง รู้จักและเข้าใจการจัดการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Backward Design มีการบริหาร
แบบกระจายการตัดสินใจไปยังครูระดับต่างๆ มีการให้ครูประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลา
และมีระบบการบริหารงานบุคคลที่เข้มแข็ง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาครั้งนี้ นอกจากจะทำให้ครูมีศักยภาพในการจัด
การเรียนรู้โดยวิธี Backward Design ตามเป้าหมายแล้ว แสดงว่า กลยุทธ์ในการพัฒนาครั้งนี้
มีผลต่อการพัฒนาวิชาชีพของครูอย่างแท้จริง ผู้เกี่ยวข้องอาจนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม