เครื่องเทศที่ใช้ในอาหารไทยแต่ละจานก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งในเรื่องรสชาติที่เผ็ดร้อน สีสันที่สวยงาม และที่สำคัญคือกลิ่นหอมอบอวลของเครื่องเทศ ไม่เพียงแต่จะใช้ประกอบอาหารเท่านั้น เครื่องเทศยังมีสรรพคุณทางยารักษาโรคอีกด้วย
จากเส้นทางสายเครื่องเทศสู่ครัวไทย เครื่องเทศส่วนหนึ่งมีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้ แต่อีกส่วนหนึ่งเดินทางมาไกลจากต่างแดน อันเป็นที่มาของชื่อเครื่องเทศ ซึ่งคาดว่าเครื่องเทศเข้ามาสู่ครัวไทยตามการอพยพโยกย้ายของชาวอินเดียที่เข้ามาตั้งหลัก
แหล่งในเมืองไทย สำหรับเครื่องเทศที่นิยมใช้ในอาหารไทยแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ เครื่อง
เทศสด และเครื่องเทศแห้ง
เครื่องเทศสด ได้แก่ พืชสวนครัวที่มีน้ำมันหอมระเหยในขณะที่ยังสดอยู่ และจะค่อยๆ ระเหย
จางไปกับความแห้ง ซึ่งจะทำให้ความหอมลดลงหรือหมดไป เช่น ผักชีฝรั่ง โหระพา แมงลัก ขึ้นฉ่าย กะเพรา สะระแหน่ ขิง ข่า หอมแดง ใบมะกรูด ตะไคร้ เป็นต้น
เครื่องเทศแห้ง จะให้น้ำมันหอมระเหยเมื่อแห้ง และยิ่งหอมมากขึ้นเมื่อได้รับความร้อน ซึ่งจะ
กระตุ้นให้คายกลิ่นหอมออกมา ดังนั้นก่อนนำไปใช้ปรุงอาหารจึงนิยมนำไปคั่วก่อน ได้แก่
อบเชย จันทน์เทศ โป๊ยกั๊ก กระวาน พริกไทยดำ ดีปลี กานพลู ยี่หร่า เป็นต้น
10 เครื่องเทศแห้งยอดนิยมในเมืองไทย
ในเครื่องเทศบางชนิดมีสารที่เป็นตัวยาเป็นองค์ประกอบ ดังนั้น เมื่อเราได้รับประทานอาหาร
ที่ปรุงจากเครื่องเทศหลากหลายชนิดก็เท่ากับเราได้รับยารักษาโรคที่วิเศษจากการทานอาหารนั้นด้วย ว่าแล้วเรามาทำความรู้จักกับเครื่องเทศแต่ละชนิดพร้อมๆ กันค่ะ
1. กานพลู ใช้ดอกตูมแห้ง มีสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นหอม และรสเผ็ดร้อน คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อน
ยังนิยมเคี้ยวกานพลูร่วมกับหมากเพื่อให้มีกลิ่นหอม
สรรพคุณทางยา ช่วยย่อยอาหาร ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวดฟัน อีกทั้งดอกกานพลูยังมีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง วิธีใช้ในการประกอบอาหาร แกะเอาเกสรออกก่อนจึงคั่ว เพื่อให้มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ด ถ้าใส่ในพริกแกงต้องป่นก่อน เช่น แกงมัสมั่น แกงบุ่มไบ๋ เป็นต้น หรือจะใช้ทั้งดอกก็ได้ เช่น ใส่ในต้มเนื้อ
2. ลูกกระวาน มีการใช้กันมากทั้งในด้านการครัวและการแพทย์ กระวานมีลักษณะเป็นลูก
กลมรี ขนาดเล็ก เปลือกสีขาวไม่แข็ง ภายในมีเม็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก มีกลิ่นหอมฉุน มีรส
เผ็ดเล็กน้อย และมีรสขมปนหวาน
สรรพคุณทางยา ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ขับเสมหะ แก้อาการท้อง
เดินท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น และใช้เป็นส่วนผสมในยาถ่ายเพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร เวลาใช้ต้องคั่วก่อนแล้วบีบให้เปลือกแตก ใช้แต่เม็ดใน ไม่ต้อง
โขลกให้ละเอียด ใช้ดับกลิ่นคาว และทำให้แกงมีกลิ่นหอม นิยมใช้เป็นเครื่องเทศในน้ำพริก
แกง เช่น แกงเผ็ด มัสมั่น แกงกะหรี่ แกงพะแนง เป็นต้น และยังใช้แต่งกลิ่นและสีของอาหาร
หลายชนิด เช่น ขนมปัง อาหารหมักดอง และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ
3. ใบกระวาน ตามจริงแล้ว ใบตากแห้งซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ทำเครื่องเทศนั้น ไม่ใช่ใบของต้น
กระวานแต่เป็นใบของต้นเทพธาโร ซึ่งมีกลิ่นหอมฉุน และรสเผ็ดร้อน
สรรพคุณทางยา ขับลม บำรุงเลือด บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ วิธีใช้ในการประกอบอา
หารเวลาใช้ฉีกเอาก้านกลางออกแล้วใส่เป็นชิ้นๆ เพียงเล็กน้อย ใช้ดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ หรือ
นิยมใช้ลอยน้ำแกง เช่นแกงมัสมั่น
4. พริกไทย ผลแก่ตากแห้งทั้งเปลือก เรียกว่า พริกไทยดำ ส่วนผลแก่เอาเปลือกออก เหลือ
แต่เม็ด เรียกว่า พริกไทยขาวหรือพริกไทยล่อน มีกลิ่นหอมค่อนข้างฉุน รสเผ็ดร้อน
สรรพคุณทางยา ขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ปวดฟัน ช่วยเจริญอาหาร
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ใช้ทั้งเมล็ดหรือนำไปป่นละเอียด ใช้แต่งกลิ่นอาหาร ช่วยดับ
กลิ่นคาว ใช้ถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และเป็นส่วนประกอบของน้ำพริกแกง เช่น แกง
เผ็ด พะแนงแกงเขียวหวาน มัสมั่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมใช้พริกไทยขาวใส่ในแกงจืด
5. พริกแห้ง ใช้ผลตากแห้ง ผลสุกจะเป็นสีแดงหรือแดงปนน้ำตาล มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดร้อน ส่วนที่เผ็ดที่สุดของพริกอยู่ที่ในเมล็ดและไส้พริก ยังช่วยแต่งสีสันในอาหารให้ดูสวยงามอีก
ด้วย
สรรพคุณทางยา ขับเสมหะ ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร วิธีใช้ใน
การประกอบอาหาร ใช้ทำน้ำพริกแกงเผ็ด แกงคั่ว แกงส้ม พะแนง และฉู่ฉี่เพราะให้สีและไม่
เผ็ดมาก
6. จันทน์เทศ ลูกจันทน์เทศ เป็นผลของต้นจันทน์เทศ ส่วนที่ใช้เป็นเครื่องเทศคือ ส่วน
ในของเมล็ด เพราะเมล็ดมีเปลือกแข็งต้องทุบเปลือกออก ใช้เพียงส่วนเมล็ดภายในสีดำ กลิ่นหอมฉุน และรสฝาด ดอกจันทน์เทศ ส่วนที่เรียกกันว่าดอกจันทน์เทศนั้น ความจริง
ไม่ใช่ดอก แต่เป็นผิวที่หุ้มลูกจันทน์ หรือที่เรียกว่า เยื่อหุ้มเมล็ด (รก) ลักษณะเป็นเส้นใยแบน
สีแสด กลิ่นหอมฉุนมาก รสค่อนข้างเปรี้ยวอมฝาด
สรรพคุณทางยา ขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร และใส่เป็นส่วนผสม
ในยาหอม ช่วยแก้ลมกองละเอียด วิธีใช้ในการประกอบอาหาร การใช้ต้องคั่วแล้วป่นก่อนใส่
อาหาร ใช้ดับกลิ่นคาวและเพิ่มความหอมในแกง เช่น แกงมัสมั่น แกงบุ่มไบ๋ แกงจี๋จ๋วน เป็นต้น
รวมทั้งใช้ในการถนอมอาหาร ข้อควรระวัง ดอกจันทน์เทศมีสารไมริสติซิน (Myristicin) ถ้า
กินมาก ทำให้เกิดอาการเคลิ้มฝัน การกินลูกจันทน์เกินกว่า 5 กรัม จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน
มึนงง หัวใจเต้นผิดปกติ ปากแห้ง และอาจถึงตายได้
7. โป๊ยกั๊ก หรือ จันทน์แปดกลีบ เป็นเครื่องเทศจากจีน ส่วนที่ใช้คือ ผลแก่ตากแห้ง ลักษณะผลเป็นรูปดาวแปดแฉก สีน้ำตาลอมแดง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ รสเผ็ดหวาน
สรรพคุณทางยา ขับลม ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย วิธีใช้ในการประ
กอบอาหาร ก่อนใช้นิยมเผาไฟหรือต้มให้หอมก่อน ใส่อาหารประเภทต้ม ตุ๋นหรืออบ ทำให้มี
กลิ่นหอมน่ารับประทาน หรือนำไปป่นให้ละเอียดเป็นส่วนผสมสำคัญในการต้มพะโล้ ส่วน
ทางภาคเหนือใช้ใส่ในลาบ
8. ลูกผักชี ใช้ผลแก่ตากแห้ง ลักษณะลูกกลมเล็ก สีขาวหม่นหรือน้ำตาลซีด มีกลิ่นหอม ความหอมจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความแก่ของเมล็ด รสของลูกผักชีจะมีรสซ่าอ่อนๆ คล้ายชะเอม
สรรพคุณทางยา ช่วยเจริญอาหาร แก้อาการปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม และขับ
ปัสสาวะ วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ก่อนนำไปประกอบอาหารต้องคั่วเสียก่อน คั่วแล้วโขลก
ขณะร้อนๆให้ละเอียด ใช้เป็นเครื่องแกงของแกงเผ็ด พะแนง แกงเขียวหวาน มัสมั่น นิยม
ใช้ร่วมกับเมล็ดยี่หร่า
9. ยี่หร่า หรือ เทียนขาว ใช้ผลแก่ตากแห้ง ลักษณะผลรูปรียาวแบน สีเหลืองอมน้ำตาล มีกลิ่นหอมมาก รสเผ็ดร้อนและขม ยี่หร่าเม็ดเล็กๆ จะหอมกว่าเมล็ดใหญ่
สรรพคุณทางยา ช่วยย่อย ขับระดูขาว ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และเป็นส่วนผสมในยา
หอม วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ก่อนใช้ต้องทุบก่อนจึงจะหอม ใช้หมักเนื้อสัตว์ดับกลิ่นคาว
นิยมใช้ร่วมกับเมล็ดผักชี นำมาคั่วไฟอ่อนๆ ให้กลิ่นหอม นำไปป่นละเอียดผสมในเครื่องแกง
เช่น แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน พะแนง หรือใช้แต่งกลิ่นอาหารประเภทขนมปัง ขนมเค้ก
10. อบเชย ส่วนที่ใช้คือ เปลือกของต้นอบเชย สีน้ำตาลปนแดง มีกลิ่นหอมนุ่มนวล รสขม
หวานฝาด
สรรพคุณทางยา ขับเหงื่อ แก้อ่อนเพลีย แก้จุกแน่น ขับลม ใช้เป็นส่วนผสมของยานัตถุ์ น้ำมัน
อบเชยเทศมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์ วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ก่อนใช้ต้องคั่วหรือ
เผาก่อน จึงจะมีกลิ่นหอม ใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ใส่ทั้งชิ้นหรือป่นละเอียดผสมในเครื่อง
แกง เช่น แกงมัสมั่น พะโล้ เนื้อตุ๋น เป็นต้น
กินเครื่องเทศปรับสมดุลธาตุเจ้าเรือน
ตามตำราการแพทย์แผนไทยถือว่า การกินอาหารต้องเลือกให้ถูกกับธาตุเจ้าเรือน ถ้าหากเลือกได้เหมาะก็จะช่วยปรับสมดุลของร่างกายให้ปกติ ซึ่งการกินเครื่องเทศเพื่อบำรุงสุขภาพ หรือป้องกันโรคนั้นมีความสัมพันธ์กับการกินตามธาตุเจ้าเรือน ดังนี้
ธาตุ ผู้ที่เกิดธาตุลมมักมีปัญหาเกี่ยวกับโรคข้อ โรคกระดูก โรคกระเพาะในระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องอืดเฟ้อ ท้องผูก มีลมแน่น จุกเสียด ผู้ที่มีธาตุลมจึงควรปรับสมดุลธาตุตนเองด้วย การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน จำพวกเครื่องเทศ เช่น กะเพรา พริกไทย ยี่หร่า เป็นต้น
วัยหรืออายุ ปัจฉิมวัยหรือวัยชรา (อายุ 32 ปีจนถึงสิ้นอายุขัย) มักจะเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรค
ทางธาตุลม เป็นเหตุจึงต้องใช้เครื่องเทศหรืออาหารที่มีรสร้อนช่วยปรับสมดุลร่างกาย ฤดูกาล ฤดูที่เหมาะกับการใช้เครื่องเทศที่มีรสร้อนคือ ฤดูฝน เพราะมักเจ็บป่วยด้วยธาตุลม ซึ่งมีความ
เย็นที่มีมากเกินไป ทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ครั่นเนื้อ ครั่นตัว เป็นไข้หวัดได้ เวลา
ช่วงบ่าย 14.00 น. -18.00 น. เป็นช่วงที่ธาตุลมกระทำโทษ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้มี
อาการวิงเวียน ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย และเป็นลมในยามบ่ายได้