2. งานวิจัยต่างประเทศ
วอลช์ (Walsh. 1999 : 1896-A) ได้ศึกษาการใช้หนังสือการ์ตูนประกอบการจัด การเรียนการสอน นำมาทดลองใช้กับกลุ่มนักศึกษาชาวญี่ปุ่นที่เรียนอยู่ในชั้นปีที่ 1 ได้แบ่ง กลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยการบรรยายใน ชั้นเรียนในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือการ์ตูน ผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มที่ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือการ์ตูน มีค่าคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่ใช้วิธีการจัด การเรียนการสอนโดยบรรยายในชั้นเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
โบเดน, อาร์ชแวมทิ และแม็คฟาร์แลนด์ (Boden, Archwamety and McFarland.
2000 : Web Site) ได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบหลากหลายเพื่อทำการรวบรวมผลการวิจัยจาก
รายงานการค้นคว้าอิสระ 30 เล่ม ซึ่งได้เปรียบเทียบวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียน
สำเร็จรูปกับการสอนแบบปกติในระดับชั้นมัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า วิธีการจัดการเรียน การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการสอนแบบปกติ (ค่าเฉลี่ย ES = .40) นอกจากนี้ยังพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญระหว่างขนาดของชั้นเรียนกับขนาดของผลกระทบ (ค่าเฉลี่ย r = .097 , p = .05) และสิ่งสำคัญที่สุดที่พบในการวิจัยครั้งนี้คือ พบว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปมีประสิทธิภาพเหนือกว่าวิธีการสอนแบบปกติ โดยไม่เกี่ยวกับปัจจัยด้านขนาดของ ชั้นเรียนแต่อย่างใด
ลาทสซ์ (Laatsch-Lybeck. 2001 : 3877-A) ได้ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลของ
การเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนแบบรายบุคคลที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติต่อ การทำงานกลุ่มของนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรีรวม 8 คณะ เข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 216 คน แบ่งเป็นการเรียนแบบรายบุคคล 107 คน และการเรียน แบบร่วมมือจำนวน 109 คน ผู้สอนใช้การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือในช่วงเวลา 1 ภาคเรียน และใช้การเรียนแบบรายบุคคลในช่วงเวลาของภาคเรียนต่างกัน ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบก่อนเริ่ม โครงการของนักศึกษาเพื่อจัดข้อมูลพื้นฐานโดยใช้แบบทดสอบที่สร้างขึ้นและแบบทดสอบชุดนี้นำไปทดสอบอีกครั้งหลังสิ้นสุดโครงการเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับการวัดทัศนคติของนักศึกษาต่อการทำงานแบบกลุ่มและต่อวิชาเรียนดังกล่าวได้ทำการประเมินโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ในการสอนวิชา Hematology เมื่อนำผลการเรียนของนักศึกษา จาก 2 คณะรวมกันปรากฏว่าผลการเรียนแบบร่วมมือสูงกว่าผลการเรียนแบบรายบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลการวัดทัศนคติของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มที่มีต่อการทำงานแบบกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่าง เมื่อวัดทัศนคติที่มีต่อวิชาที่เรียนพบว่า นักศึกษาทั้งสองกลุ่มในแต่ละคณะมีทัศนคติแตกต่างกันแต่เมื่อพิจารณานักศึกษาทั้งสองกลุ่มโดยรวมทุกคณะพบว่า ไม่มีความแตกต่าง
ฟราซี (Frazee. 2004 : 1746-A) ได้ทำการวิจัยยุทธศาสตร์การเรียนรู้แบบโยงใย
กรณีศึกษาการวัดผลกระทบของเทคนิคจิ๊กซอว์บนพื้นฐานของความเชื่อ การทำงาน และการเรียนรู้วิธีการเรียนรู้แบบโยงใยกำลังได้รับการยอมรับจากครูทั่วโลก นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญการสอนได้สนับสนุนวิธีการเรียนรู้นี้ว่าทำให้นักเรียนมีความสามารถในด้านองค์ความรู้และการคิดในขั้นสูง นอกจากนี้นักเรียนยังมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกันในขณะที่เรียนรู้แบบโยงใย ส่งผลต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นควรออกแบบให้มีความท้าทาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำตามความเชื่อของตน และสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาในเชิงลึกและคิดอย่างมีวิจารณญาณ การวิจัยนี้ได้เปรียบเทียบ การเรียนรู้ที่นำเอาเทคนิคจิ๊กซอว์มาประยุกต์ใช้ควบคู่กับการเรียนรู้แบบโยงใย และอีกกลุ่มไม่ใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ จากกลุ่มตัวอย่าง 89 คน แบ่งเป็น 2 ห้อง พบว่าทั้ง 2 ห้องนี้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกัน ห้องที่ไม่ได้นำเอาเทคนิคจิ๊กซอว์ใช้ร่วมกับการเรียนรู้แบบโยงใยนักเรียนมีความสามารถในด้านการใช้ถ้อยคำบรรยายอยู่ในระดับต่ำกว่าห้องที่นำเอาเทคนิคจิ๊กซอว์ใช้ร่วมกับการเรียนรู้แบบโยงใย นอกจากนี้นักเรียนที่เรียนรู้แบบโยงใยและใช้เทคนิคจิ๊กซอว์มีการสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนที่เรียนอ่อน ทำให้นักเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังพบว่า ถ้ามีการกำหนดขอบเขตของการทำงานนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโยงใยมีความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์ และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่านักเรียนที่ไม่ใช้ การเรียนรู้เทคนิคจิ๊กซอว์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีที่สามารถนำไปใช้ในการทำงานภายหลังจากการเรียนรู้แล้ว
เซเรอร์ (Scherer. 2003 : 1974-A) ได้ศึกษาผลการเสริมแรงและการลงโทษ ในระหว่างการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการให้แรงเสริมและการลงโทษในการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับวิทยาลัย จำนวน 4 คน วิธีดำเนินการทดลอง คือ การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปกับการให้เงินแก่นักเรียนที่ปฏิบัติกิจกรรมได้ดี และลงโทษนักเรียนโดยไม่จ่ายเงินเมื่อทำผิดหรือ ไม่ทำตามกติกา ผลการศึกษาพบว่า การให้การเสริมแรงและการลงโทษที่เหมาะสมช่วยให้ การเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประสบความสำเร็จมากขึ้น เพราะการลงโทษทำให้ผู้เรียนเพิ่มความสนใจในการเรียนมากขึ้น
บรรณานุกรม
Boden Andrea, Archwamety Teara and McFarland Max. “Programmed Instruction in
Secondary Education : A Meta Analysis of the Impact of Class Size on Its
Effectiveness,” Educational Resources International Center. April 1, 2000.
<http://www.od.arc.nrru.ac.th2eric/detail.nsp> April 23, 2006.
Frazee, James Phillip. “Web Quest Design Strategies : A Case Study Measuring the Effect
of the Jigsaw Method Students’ Personal Agency Belief’s, Engagement, and
Learning,” Dissertation Abstracts International. 65(05) : 1746-A ; September,
2002.
Latsch-Lybeck, Linda Jean. “Effects of Cooperative Learning on Achievement and
Attitudes Toward Teamwork in Medical Technology Students,”
Dissertation Abstracts International. 61(10) : 3877-A ; April, 2001.
Scherer, Stephen C. “Reinforcement and Punishment During Programmed Instruction,”
Dissertation Abstracts International. 64(6) : 1974 – A ; December, 2003.
Walsh, Susan F. “Modifying Risk Perceptions of Japanese University Students using
a Culturally Compatible of Instruction,” Dissertation Abstracts International.
60(6) : 1896 ; December, 1999.