กรอบที่ ๑
คำที่มีเสียงสระเดียวกัน เช่น
§ ใจ ไป ไกล ใกล้ ไหน ไม่ สัย นัย ขัย ฯลฯ
© จำ พร่ำ อัม ล้ำ ถลำ ทัม มัม ปั๊ม หนำ ฯลฯ
ª เสื้อ เรือ เหนือ เหลือ เชื้อ เพื่อ เอื้อเฟื้อ เมือ ฯลฯ
คำถาม
ให้นำคำที่กำหนดให้ต่อไปนี้ จัดเป็นกลุ่มที่มีเสียงสระเดียวกัน
“โต จำ แท้ เข้า โค ขำ อัม โธ่ เรา เหล่า แม่ แห”
เฉลยกรอบที่ ๑
โต โค โธ่
จำ ขำ อัม
แท้ แม่ แห
เข้า เรา เหล่า
กรอบที่ ๒
คำที่มีเสียงสระเดียวกัน เช่น
& จำ ต่ำ หม่ำ อั้ม ตั้ม ปล้ำ ค้ำ ช้ำ
( เชื่อ เมื่อ เหนือ เอื้อ เผื่อ เสื้อ เรื่อ
J เธอ เพ้อ เรอ เห่อ เก้อ เหม่อ เหลอ
@ ครู ตู้ สู้ หมู หนู ขู่ ถู ปู สบู่
คำถาม
ให้นำคำที่กำหนดให้ต่อไปนี้ จัดเป็นกลุ่มที่มีเสียงสระเดียวกัน
@ “มือ หมู่ เชื่อ ซื้อ สื่อ รู้ ฟู่ เหลือ หนู ลือ เกื้อ ดู เรือ”
เฉลยกรอบที่ ๒
มือ สื่อ ลือ ซื้อ
หมู่ รู้ ฟู่ หนู ดู
เชื่อ เหลือ เกื้อ เรือ
กรอบที่ ๓
คำที่มีเสียงสระเดียวกัน แม้จะมีวรรณยุกต์กำกับก็ถือว่าเป็นคำที่มีเสียงสระเดียวกัน เช่น
F ช้า ป้า นา ทา ม้า กล้า ล้า ย่า ท้า ฯลฯ
@ โก้ โม โบ้ โท โต โม้ โจ้ โต้ โข ฯลฯ
@ เห่า เม่า เต่า เข้า เถ้า เกา เทา เค้า ฯลฯ
คำถาม
ให้นำคำที่กำหนดให้ต่อไปนี้จัดเป็นกลุ่มที่มีเสียงสระเดียวกัน
“เขี่ย เตี้ย เปีย ใจ ไส้ ภัย ตัว มั่ว คั่ว เลีย นัย ขั้ว”
เฉลยกรอบที่ ๓
๑. เขี่ย เตี้ย เปีย เลีย
๒. ใจ ไส้ ภัย นัย
๓. ตัว มั่ว คั่ว ขั้ว
กรอบที่ ๔
“ไปไหนมา สามวาสองศอก”
คำที่มีเสียงสระเดียวกันคือคำว่า
ไป กับ ไหน, มา กับ วา
คำถาม
“รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา”
คำที่มีเสียงสระเดียวกันคือคำใด
เฉลยกรอบที่ ๔
จั่ว กับ ชั่ว
กรอบที่ ๕
“ช้าช้าได้พร้าเล่มงาม”
คำที่มีเสียงสระเดียวกันคือคำว่า
ช้า กับ พร้า
คำถาม
“แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร”
คำที่มีเสียงสระเดียวกันคือคำใด
เฉลยกรอบที่ ๕
พระ กับ ชนะ
ขอบคุณครับ...สวัสดี