การสอนทักษะการฟัง
ความสำคัญ
๑. การฟังเป็นทักษะการรับทราบข่าวสารที่สำคัญและต้องใช้เกือบตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน
๒. การฟังทำให้เกิดความรอบรู้ เพิ่มพูนสติปัญญา ความคิดความอ่าน ช่วยไม่ให้ถูกหลอกได้ง่าย
๓. เป็นการฝึกการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์
ความมุ่งหมายของการสอนทักษะการฟัง
๑. เพื่อให้จับใจความสำคัญได้ดีและเร็ว
๒. เพื่อให้มีมารยาทในการฟัง
๓. เพื่อให้มีวิจารณญาณในการฟัง
๔. เพื่อสร้างนิสัยแสวงหาความรู้โดยการฟัง
๕. เพื่อนำสิ่งที่เป็นประโยชน์จากการฟังไปใช้ในการพูดและเขียนต่อไปได้
กลวิธีในการสอนฟัง
๑. ฝึกฟังหลาย ๆ ด้าน เช่น ฟังข่าวสาร นิทาน การบรรยายทางวิชาการ การอภิปราย ปาฐกถา โต้วาที บทความทางวิทยุ พระธรรมเทศนา ประกาศต่าง ๆ ฯลฯ
๒. ฝึกฟังทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
๓. การฝึกโดยใช้อุปกรณ์การสอนประกอบการฟัง เช่น ฟังอ่านทำนองเสนาะ ภาพยนตร์ วิทยุ ฯลฯ
๔. การฝึกฟังให้สัมพันธ์กับทักษะอื่น ๆ / วิชาอื่น ๆ
๕. การฝึกฟังเพื่อให้ได้ประโยชน์ตามความมุ่งหมายหลาย ๆ อย่าง
กิจกรรมประกอบการฟัง
การเขียนรายงาน การย่อความ การอภิปราย การวาดภาพ การสรุปใจความสำคัญ ฯลฯ
การวัดผลการฟัง
๑. ทดสอบแบบอัตนัย / ปรนัย ๓. ให้เล่า อภิปรายเรื่องที่ได้ฟัง
๒. สังเกตความคิดเห็น ความเข้าใจ มารยาทในการฟัง ๔. ตรวจสมุดงาน
การสอนทักษะการพูด
ปัญหา
๑. ไม่กล้าพูด ๒. พูดสียงไม่ชัดเจน ๓. พูดไม่ต่อเนื่อง
ความมุ่งหมายในการสอนพูด
๑. ให้รู้จักพูดได้เหมาะสมกับกาละ เทศะ บุคคล สถานที่ และสถานการณ์
๒. ฝึกให้กล้าพูด ๕. เพื่อให้พูดได้ต่อเนื่องพอสมควร
๓. ให้มีศิลปะในการพูด ๖. ให้รู้จักมารยาทในการพูด
๔. สามารถพูดเป็นทางการได้ ๗. ฝึกพูดให้ถูกต้องชัดเจน
วิธีส่งเสริมทักษะการพูด
๑. พูดแนะนำตัว ๔. พูดรายงาน
๒. เล่าประสบการณ์ ๕. การอภิปราย
๓. การโต้วาที ๖. การแสดงละคร
การวัดผลการพูด
สังเกตการณ์พูดทั้งในและนอกห้องเรียน
- การใช้คำสุภาพ - การออกเสียงตัวควบกล้ำ
- มารยาทในการพูด - การใช้สำนวนภาษาที่เหมาะสม
การวัดผลโดยการสังเกตต้องทำอย่างสม่ำเสมอ บันทึกผลเป็นรายคน เพื่อทราบพัฒนาการผู้เรียน
การสอนทักษะการอ่าน
ความสำคัญของการสอนอ่าน
๑. การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้แขนงต่าง ๆ
๒. การปรับปรุงทักษะการอ่านจะช่วยให้มีสมรรถภาพในการอ่านได้ดี
ความมุ่งหมายของการสอนอ่าน
๑. เพื่อให้เก็บใจความสำคัญจากการอ่านได้
๒. มุ่งปลูกฝังให้มีนิสัยรักการอ่าน
๓. ให้รู้จักเลือกหนังสือที่ดีมีคุณค่าอ่าน
๔. ให้สามารถแสดงความคิดเห็น วิจารณ์เรื่องที่อ่านได้
๕. ให้สามารถอ่านออกเสียงได้ถูกต้องชัดเจน
๖. ให้มีศิลปะในการอ่าน
๗. ให้มีประสบการณ์ในการอ่าน
วิธีการสอนอ่าน
๑. การสอนอ่านออกเสียง
๑.๑ ควรให้เตรียมตัวล่วงหน้า
๑.๒ ฝึกในห้อง เป็นรายคน รายกลุ่ม รายห้อง
๑.๓ ครูต้องเอาใจใสสังเกตอย่างใกล้ชิดเพื่อทราบข้อบกพร่องเพื่อหาทางแก้ไข
๑.๔ ฝึกให้มีประสบการณ์ตรงในการอ่านบทประพันธ์เป็นทำนองเสนาะ
๑.๕ ฝึกให้มีส่วนร่วมในการวัดผล
๒. การสอนอ่านในใจ
๒.๑ ฝึกอ่านเร็ว
๒.๒ ฝึกจับใจความสำคัญ
- ขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญของเรื่องที่อ่าน
- ทำเครื่องหมายเพื่อเป็นที่สังเกต
- เขียนสรุปเพิ่มเติมไว้ข้าง ๆ ของหน้าหนังสือ
การสอนทักษะการเขียน
ความมุ่งหมายในการสอนเขียน
๑. เพื่อให้สามารถเขียนได้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา
๒. เพื่อฝึกการเขียนหนังสือได้รวดเร็ว
๓. เพื่อให้บันทึกย่อได้ถูกต้อง
๔. เพื่อให้เขียนสรุปความคิด ขยายความคิดได้
๕. ให้สามารถใช้การเขียนเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารได้
๖. ให้สามารถแต่งคำประพันธ์ได้
หลักทั่วไปในการสอนการเขียน
๑. ให้นักเรียนมีการฝึกฝนบ่อย ๆ ๔. หมั่นตรวจผลงานการเขียนสม่ำเสมอ
๒. แนะนำให้ศึกษาค้นคว้าก่อนลงมือเขียน ๕. ควรมีกิจกรรมแปลก ๆ ใหม่ ๆ
๓. ฝึกทักษะการเขียนย่อความให้มาก ๗. ฝึกให้สัมพันธ์กับทักษะอื่น ๆ วิชาอื่น ๆ สม่ำเสมอ
การสอนแต่งความ
ความมุ่งหมายของการสอนแต่งความ
๑. ให้สามารถบรรยายเรื่องตามความรู้สึกนึกคิดของตนได้
๒. ให้ลำดับความคิดได้ดี
๓. ให้รู้จักใช้ภาษาเขียนได้ดีและถูกต้องรัดกุม
๔. ให้สามารถใช้สำนวนโวหารได้ถูกต้องเหมาะสม สละสลวย
๕. ให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีจินตนาการ
วิธีฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
๑. ฝึกเรื่องใกล้ตัวไปหาไกลตัว
๒. ฝึกสร้างเค้าโครงเรื่องที่จะเขียนโดยครูแนะนำก่อนแล้วจึงฝึกให้วางโครงเรื่องเอง
๓. ให้มีอิสระในการเลือกเรื่องตามความรู้ความสามารถและความสนใจของตนเอง
๔. ครูต้องหมั่นตรวจ แนะนำข้อบกพร่อง ข้อดี และวิธีปรับปรุงให้งานเขียนดียิ่งขึ้น
การสอนหลักภาษา
ความมุ่งหมายของการสอนหลักภาษา
๑. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักภาษาไทย
๒. ให้สามารถนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ในการพูด อ่าน เขียน อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. ให้รู้เอกลักษณ์ของภาษาไทย ภูมิใจในภาษาของตน
เนื้อหาวิชาของหลักภาษาไทย
๑. กำเนิดภาษา ๗. ตัวอักษรแทนเสียง อักษรไทย
๒. การจำแนกคำ ๘. คำ หน้าที่คำ หน้าที่ประโยค การสร้างคำ การยืมคำ
๓. การเขียนตัวสะกด ๙. การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
๔. การอ่านให้ถูกต้อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง
๕. คำราชาศัพท์ ๑๐. การใช้พจนานุกรม
๖. การใช้ภาษาในการสื่อสาร
หลักการสอนหลักภาษา
๑. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน
๒. สอนให้สัมพันธ์กับทักษะอื่น ๆ เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน และวรรณคดี
๓. จัดกิจกรรมเสริม ใช้สื่อที่ทันสมัย น่าสนใจ สนุกสนาน
๔. ใช้วิธีสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา เรื่องที่สอน บรรยากาศ สถานการณ์
๕. ฝึกให้นักเรียนมีโอกาสใช้ความคิด วิจารณญาณของตนเองให้มากที่สุด
หลักการวัดผลการสอนสาระหลักภาษา
๑. ทดสอบ