Advertisement
❝ สวัสดีค่ะ ช่วงนี้เข้าสู่เดือนแปด ย่างเข้าใกล้เทศกาลออกพรรษกันไปทุกที วันนี้มีเรื่องราวดี ๆ มาฝากเพื่อนครูทุกท่าน คือการบูรณาการบทเรียนท้องถิ่น เรื่อง เทศฯมหาชาติ ของสายชั้น ม. 3 นำมาฝากให้เพื่อนได้ดู และวยติชมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
❞
เรื่อง การเทศน์มหาชาติพระเวสสันดรชาดก
ภาษาไทย สังคมศึกษา ฯ คณิตศาสตร์
การฟังเทศน์มหาชาติ ประวัติและความเชื่อ การสร้างกราฟ
เกี่ยวกับการเทศน์
มหาชาติ
ศิลปะ การเทศน์มหาชาติ การงานอาชีพฯ
การวาดรูปจากเรื่อง การทำ E – Book
มหาเวสสันดรชาดก
วิทยาศาสตร์
มหัศจรรย์เขาวงกต
กำหนดการสอนบทเรียนท้องถิ่น
เรื่อง การเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก
ชั่วโมงที่ 1 สาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
จุดประสงค์การเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล
1 ประวัติการเทศน์มหาชาติ สังคมศึกษา ฯ 1. นักเรียนบอกประวัติความเป็นมาของการเทศน์มหาชาติได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรียนบอกความเชื่อในท้องถิ่นของตนเกี่ยวกับการฟังเทศน์มหาชาติได้อย่างถูกต้อง 1. ใบความรู้ เรื่อง ประวัติ ประเพณี และความเชื่อ ของการเทศน์มหาชาติ เรื่องพระเวสสันดร
2. ใบงานประกอบการเรียนรู้เรื่องประวัติ ประเพณี และความเชื่อ ของการเทศน์มหาชาติ เรื่องพระเวสสันดร 1. การทดสอบ
2. การตรวจใบงาน
3. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
2. การสรุปใจความสำคัญของการฟังเทศน์มหาชาติ
กัณฑ์ที่ 11-13 ภาษาไทย 1. นักเรียนสรุปใจความสำคัญจากการฟังเทศน์มหาชาติกัณฑ์ที่ 11-13 ได้
ชั่วโมงที่ สาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง จุดประสงค์การเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล
2.นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหา ข้อคิด ที่ได้จากการฟังเทศน์มหาชาติกัณฑ์ที่ 11-13 ได้ 1. การฟังเทศน์มหาชาติจากพระสงฆ์
2. ใบงานประกอบการเรียนรู้ 1. แบบทดสอบ
2. แบบประเมินการสรุปใจความสำคัญ
3. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3. การทำ E-Book การงานพื้นฐานฯ นักเรียนสามารถสร้างE-Book ในการเสนอเนื้อหาสาระของการเทศน์มหาชาติ เรื่องพระเวสสันดร 1. หลักการสร้าง E-Book
2. ใบความรู้เรื่องพระเวสสันดรตอน กัณฑ์ฉกษัตริย์ 1. แบบทดสอบ
2. แบบประเมินการสร้างE-Book
3. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
4. ภาพในจินตนาการ ศิลปะ นักเรียนวาดภาพประกอบเนื้อหาที่ได้จากการฟังเทศน์มหาชาติ 1. ใบงานการวาดภาพจากจินตนา 1. แบบประเมินผลงานการวาดภาพ
2. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
5. การนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟหรือแผนภูมิ คณิตศาสตร์ นักเรียนสามารถสร้างแผนภูมิหรือกราฟเพื่อนำเสนอ
ชั่วโมงที่ สาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง จุดประสงค์การเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล
ข้อมูลเชิงปริมาณได้อย่างถูกต้อง 1. หลักการนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิและกราฟ 1. แบบประเมินผลงาน
2. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
6. มหัศจรรย์เขาวงกต วิทยาศาสตร์ 1.นักเรียนสามารถค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเขาวงกตได้
1.ใบงานประกอบการเรียนรู้
2. ใบความรู้เรื่องร่ายยาวพระเวสสันดรกัณฑ์ฉกษัตริย์ 1. การทดสอบ
2. การตรวจใบงาน
3. แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
7 ทดสอบ - - - -
ใบความรู้ที่ 1
ประวัติการเทศน์มหาชาติ ประเพณี และความเชื่อ
การเทศน์มหาชาติิ จัดเป็นพระราชพิธีประจำปี คือ ระหว่างเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ และเดือนอ้าย ถือกันว่าใครได้ฟังเทศน์มหาชาติจบครบทุกกัณฑ์ จะได้รับอานิสงส์ยิ่งใหญ่ แม้น้ำมนต์ที่ตั้งไว้ในพิธีเทศน์ก็เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ อาจชำระล้างอัปมงคลทั้งปวงได้ ธงไชย กล้วย อ้อย และสิ่งของที่เข้ามาพิธีเทศน์มหาชาติก็เชื่อว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์
ความนิยมเทศน์ นิยมกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา เดิมแต่งเป็นภาษามคธมีคาถาพันหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "พระคาถาพัน" ปัจจุบันแต่งเป็นร่ายยาว พิธีเทศน์ของราษฎรนิยมทำในวันออกพรรษา (เดือน ๑๑) นิยมฟังให้จบในวันเดียว แต่ปัจจุบันขึ้นอยู่กับความสะดวก มิใคร่ถือฤดูกาลเป็นเกณฑ์เช่นแต่ก่อนเครื่องกัณฑ์เทศน์ ประกอบด้วยส้มสูกลูกไม้ ขนม และกล้วย อ้อยเป็นพื้น และมีขัน เรียกว่า "ขันประจำกัณฑ์" สำหรับเจ้าภาพติดเครื่องกัณฑ์ และคนที่ไม่ใช่เจ้าภาพนำเงินมาใส่ขันนั้น เมื่อถึงกัณฑ์ของใครก็ไปประจำอยู่ในที่ใกล้พอสมควรกับพระเทศน์ สถานที่ที่จะเทศน์มักเอาต้นกล้วยอ้อยมาประดับตกแต่ง บางทีก็มีนกใส่กรง ปลาใส่อ่าง ทั้งนี้ เพื่อให้คล้ายกับท้องเรื่องที่เกี่ยวกับป่าและมีฉัตรธงปัก เพื่อแสดงว่าเป็นเรื่องของกษัตริย์ อนึ่ง เจ้าของกัณฑ์มักเตรียมเอาธูปเทียนเท่ากับคาถาประจำกัณฑ์เช่น กัณฑ์ทศพร มี ๑๙ คาถา ก็นำธูปเทียนมาอย่างละ ๑๙ ดอก เมื่อจบกัณฑ์จะประโคมเพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์รับ
มูลเหตุที่เกิดเทศน์มหาชาติ
มูลเหตุที่เกิดเทศน์มหาชาตินั้นมาจาก ฝนโบกขรพรรษ (เป็นฝนพิเศษ มีสีแดง เวลาตกลงมา ใครต้องการให้เปียกจึงเปียก ใครไม่ต้องการให้เปียกก็ไม่เปียก เมื่อตกลงมาแล้วไม่ขังอยู่ ไหลลงดินทันที) ฝนนี้ตกเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระราชบิดาและพระญาติวงศ์ที่เมืองกบิลพัสดุ์ แล้วทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ปราบพยศพระญาติวงศ์ผู้ใหญ่ที่แสดงความกระด้างกระเดื่องเกิดฝนโบกขรพรรษตกลงมาเลยทำให้พระญาติเหล่านั้นละทิฐิมานะ ถวายมนัสการแด่พระองค์โดยทั่วกัน พระสงฆ์สาวกเห็นอัศจรรย์จึงทูลถามขึ้น พระองค์ทรงตรัสว่าฝนนี้เคยตกมาก่อน เมื่อเราเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรโพธิสัตว์พระสงฆ์ทูลอาราธนาจึงตรัสเล่าเรื่องเวสสันดรชาดก
คุณค่า
ด้วยมีความเชื่ออันเป็นพื้นฐานดั้งเดิม ว่ามหาชาติเวสสันดรชาดกนี้ เป็นคัมภีร์แห่งมงคล เป็นคัมภีร์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง เพราะเนื้อความเนื้อหาในท้องเรื่องนั้น มีกระแสแห่งความเมตตา การเสียสละ ความช่วยเหลือเจือจุนอยู่ในนี้ สอนให้รู้จักโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มิเห็นแก่ตัว อันจะเป็นเหตุบันดาลให้สังคมสงบสุข เพราะฉะนั้น จึงถือว่าผู้ได้สดับศึกษามหาชาติย่อมจะเป็นแนวทางอันจะโน้มไปสู่ความสุขความเจริญ ถึงกับมีความเลื่อมใสยึดมั่นว่า แม้จะฟังไม่รู้เรื่อง เช่นฟังคาถาพันก็ย่อมจะเกิดสิริมงคลมากหลาย และนิยมเอาน้ำมนต์น้ำพรจากคาถาที่พระเทศน์มาอาบและประพรมอาคารสถานบ้านเรือน เพื่อหวังให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่สมาชิกในครอบครัวของตน นอกจากนี้ท่านยังพรรณนาอานิสงส์ไว้อีก ๖ ประการดังนี้
๑. เป็นวรรณกรรมชั้นสูง ที่รัตนกวีของชาติและของโลกได้รจนาขึ้น
๒. เป็นแม่แบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
๓. เป็นคัมภีร์ที่สอนให้รู้ถึงการแก้ปัญหาแบบประชาธิปไตย (ฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน) ดุจในกัณฑ์หิมพานต์ ทานกัณฑ์
๔. สอนการผ่อนหนักให้เป็นเบา โดยใช้หลักนิติศาสตร์ควบกับรัฐศาสตร์ รู้จักประนีประนอม ผ่อนปรน ยามบ้านเมืองเข้าที่คับขัน เช่น เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๑๗-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกปฏิบัติเยี่ยงเดียวกับพระเจ้ากรุงสญชัย จนกระทั่งเหตุการณ์คืนสู่ปกติ
๕. สอนการดำเนินนโยบายต่างประเทศอันนุ่มนวล มุ่งผูกมิตรทำลายความเป็นศัตรู
๖. สอนการอยู่ร่วมกันด้วยความรัก สามัคคี มีน้ำใจ เสียสละ ให้อภัย และให้เกียรติกัน
ฉะนั้น ควรจะรับฟังเรื่องมหาชาตินี้ด้วยความกตัญญูรู้คุณด้วยการประพฤติปฏิบัติตนจำเริญรอยตามปฏิปทาของพระโพธิสัตว์เวสสันดร นั่นคือบูชาคารวะท่านด้วยการเสียสละ กำจัดความเห็นแก่ตัวให้ลดลงทีละน้อยๆ ก็จักได้ชื่อว่า เป็นผู้มีส่วนช่วยให้โลกสันนิวาส คือสังคมมนุษย์น่าอยู่อาศัยขึ้น อบอุ่นขึ้น ดังพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญให้ดูเป็นตัวอย่างมาแล้ว
ความหมายและชื่อกัณฑ์ต่าง ๆ
๑. ทศพร แปลว่า พรสิบประการ (ที่พระอินทร์ประสาท ให้แก่พระนางผุสดี)
๒. หิมพานต์ แปลว่า ป่าที่มีหิมะปกคลุม (อากาศหนาวเย็น บริเวณเทือกเขาหิมาลัย)
๓. ทานกัณฑ์ แปลว่า ตอนว่าด้วยการบริจาคมหาทาน (สัตตสดกมหาทาน)
๔. วนประเวศน์ แปลว่า ตอนว่าด้วยการประพาสป่า
๕. ชูชก แปลว่า ตอนว่าด้วยเฒ่าชราตาชูชก (ตัวโกงของเรื่องมีอาชีพขอทาน)
๖. จุลพน แปลว่า ป่าเล็กหรือป่าโปร่ง
๗. มหาพน แปลว่า ป่าใหญ่หรือไพรกว้าง
๘. กุมาร แปลว่า ตอนว่าด้วยชูชกเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมารกัณหาชาลี
๙. มัทรี แปลว่า ตอนว่าด้วยมัทรีเข้าป่าหาผลไม้กลับมาไม่พบชาลีกัณหา เข้าไปทูลถามพระภัสดา ถูกตัดพ้อต่อว่าจนสลบ
๑๐. สักกบรรพ แปลว่า ตอนว่าด้วยพระอินทร์แปลงเป็นพราหมณ์แม่มาขอมัทรี
๑๑. มหาราช แปลว่า พระราชาผู้ใหญ่...ตอนว่าด้วยชูชกพาชาลีกัณหาหลงทางเข้าไปในเมืองสีพี และได้รับการไถ่ถอนจนเป็นไท...
๑๒. ฉกษัตริย์ แปลว่า ตอนว่าด้วยกษัตริย์หกพระองค์คือ พระเจ้ากรุงสญชัย, พระนางผุสดี, พระเวสสันดร, พระนางมัทรี, พระชาลี, พระกัณหา พบกันที่เขาคีรีวงกตแล้ววิสัญญีภาพ บันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาจนหกกษัตริย์ฟื้น
๑๓. นครกัณฑ์ แปลว่า ตอนว่าด้วยการเสด็จกลับเข้าเมือง
ศรัทธาและค่านิยม
เรื่องมหาชาติ หรือเวสสันดรชาดก มีความดีงามหลายอย่าง แต่หนักไปในทางเสียสละไม่เห็นแก่ตัว เป็นเรื่องเร้าใจให้ผู้ฟังปลูกฝังนิสัยเมตตาการุณย์ และแสวงหาโอกาสสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ตกยากแม้ตนจะลำบากก็ยินดี ดังพระเวสสันดรเป็นอุทาหรณ์ คนส่วนใหญ่ได้ฟังเทศน์มหาชาติ ก็จะเกิดอุปนิสัยโน้มเอียงตามเยี่ยงจรรยาของพระเวสสันดร นั่นคือความเห็นแก่ตัวจะค่อยเบาบางลง หากเป็นไปได้ว่าทั้งโลกไม่มีคนเห็นแก่ตัวเลยแล้วโลกสมัยพระศรีอริยเมตไตรยก็จะผ่านเข้ามาหาเอง ความทุกข์ร้อนยุ่งยากไม่มี มีแต่สมบูรณ์พูนสุข โดยมิต้องรอให้ตายเสียก่อนแล้วจึงไปเกิดประสบพบพานพระศรีอาริย์ในชาติหน้า ความเห็นแก่ตัวนี่แหละที่ทำให้โลกสมบูรณ์ขึ้นมาไม่ได้ เพราะถ้ามัวแต่ก้มมองตัว, เห็นแก่ตัว, ไอ้ตัวของตัวมันปิดบังมิให้มองแลเห็นผู้อื่น เมื่อไม่มีการมองผู้อื่น ความเมตตากรุณาก็ไม่เกิด โลกที่ไร้เมตตาเป็นโลกที่คับแคบ ต้องเบียดเบียนกระทบกระทั่งกัน เหมือนคนมากๆ มารวมกันอยู่ในห้องแคบๆ โลกก็พินาศถึงยุคมิคสัญญีแน่ๆ
การที่ชาวพุทธชาวไทย นิยมฟังมหาชาติกันอย่างมิเบื่อหน่ายนอกจากจะเพลิดเพลินในการฟังเพราะมีท่วงทีลีลาทำนองที่แตกต่างกันไปแล้ว ก็เห็นจะเป็นอานิสงส์ของมหาชาติ ท่านกล่าวว่าผู้ใดได้ฟังมหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ ๑,๐๐๐ พระคาถาจบในวันเดียว จะมีอานิสงส์ถึง ๕ ประการ คือ
๑. จะได้เกิดในศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งจะมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
๒. จะได้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติอันโอฬาร
๓. จะไม่ไปเกิดในอบายเมื่อตายแล้ว
๔. จะเป็นผู้มีลาภ ไมตรี มีความสุข
๕. จะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
ใบความรู้
คำศัพท์น่ารู้จากการเทศน์มหาชาติ
ชาดก : [ชาดก] น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในชาติก่อน ๆ ตามที่ กล่าวไว้ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป. ชาตก).
นิบาตชาดก : น. คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น เอกกนิบาตชาดก ทุกนิบาตชาดก.
กระพอก ๑ : น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอก จานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).
กัณฑ์ : [กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคําเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคําเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).
กากี ๒ : น. หญิงมากชู้หลายผัว. (เป็นคําด่า มีเค้าเรื่องมาจาก กากาติชาดก).
กุมาร : [-มาน] น. เด็กชาย. (ป., ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง); ชื่อกัณฑ์ที่ ๘ แห่งมหาเวสสันดรชาดก.
ขุทกนิกาย : น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมี ธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.
คาถาพัน : น. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถา ภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็น คาถาล้วน ๆ อย่างนี้ว่า เทศน์คาถาพัน.
คุณบท : [คุนนะ-] น. กลบทโบราณชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ``เดชกุศลผล ตนข้าแปล แก้คัมภีร์ ที่ชาดก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์ คัดประจง''. (ศิริวิบุลกิตติ).
โคมเวียน : น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพ ลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้ว ที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ; ชื่อเพลงโยนกลองในบทปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง.
จิตรจุล : [จิดตฺระ-] (ราชา) น. เต่า. (ชื่อเต่าในภูริทัตชาดกว่า จิตฺตจูฬ).
ทศชาติ : น. ๑๐ ชาติ, ชื่อคัมภีร์ชาดกว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าครั้ง ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ๑๐ ชาติ.
นวังคสัตถุศาสน์ : [นะวังคะสัดถุสาด] น. คําสอนของพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้ามีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. (ป.).
นิทาน : น. เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป; เหตุ เช่น โรคนิทาน; เรื่องเดิม เช่นวัตถุนิทาน. (ป.).
นิบาต : [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่ รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็น หมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวด หรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรม ที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือ ข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจ เป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจาก ข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
มหาชาติ : น. เรียกเวสสันดรชาดกว่า มหาชาติ มี ๑๓ กัณฑ์, การมีเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก เรียกว่า มีเทศน์มหาชาติ. (ป.).
วงกต : น. ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออก วกวนอาจทําให้หลงทางได้, เรียกสั้น ๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี, เรียกสิ่งที่ ทําคล้ายคลึงเช่นนั้นในงานเทศน์มหาชาติหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อ ความสนุกว่าเขาวงกต, โดยปริยายหมายถึงวกวนหาทางออกไม่ได้. (ป.).
หิมพานต์ : [หิมมะ-] น. ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ชื่อกัณฑ์ที่ ๒ แห่งเวสสันดรชาดก.
ใบความรู้
ตำนานเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์
กัณฑ์ที่ 1 ทศพร
เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร ภาคสวรรค์ พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญท้าวสักกะเทวราช สวามีทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร 10 ประการ คือให้ได้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ ขอให้มีคิ้วดำสนิท ขอให้พระนามว่าผุสดี ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริย์ทังหลายและมีใจบุญ ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือแบนราบในเวลาทรงครรภ์ ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน ขอให้มีเกศาดำสนิท ขอให้มีผิวงาม และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้
กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์
เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต พระนางเทพผุสดีได้จุติลงมาเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช เมื่อเจริญชนม์ได้ 16 ชันษา จึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งสีวิรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า "เวสสันดร" ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมี ให้นามว่า "ปัจจัยนาค" เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ 16 พรรษา ราชบิดาก็ยกราชสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี พระราชบิดาราชวงศ์มัททราช มีพระโอรส 1 องค์ชื่อ ชาลี ราชธิดาชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ ต่อมาพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พระเจ้ากาลิงคะ ชาวกรุงสัญชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร
กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์
เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสา สรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ 700
กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศ
เป็นกัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายพระพักตร์สู่เขาวงกต เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาพระนคร กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง แต่พระเวสสันดรทรงปฎิเสธ และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรมซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา
กัณฑ์ที่ 5 ชูชก
เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พำนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานตามเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง 100 กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชก ได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตี นางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรามเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
กัณฑ์ที่ 6 จุลพน
เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางสู่อาศรมจุตดาบส ชูชกได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสญชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี
กัณฑ์ที่ 7มหาพน
เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกล่ออจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับอจุตฤๅษี ชูชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤๅษีจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร
กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร
เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก รุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ พระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก
กัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี
เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึก จนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทาง จนค่ำเมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบสจึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อพระนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษ พระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบ นางจึงได้ทรงอนุโมทนา
กัณฑ์ที่ 10 สักกบรรพ
เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์จำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี แล้วถวายคืนพร้อมถวายพระพร 8 ประการ
ท้าวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรี พระเวสสันดรจึงพระราชทานให้ พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน ท้าวสักกะเทวราชในร่างพราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร 8 ประการ
กัณฑ์ที่ 11 มหาราช
เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึง
มหานครสีพี เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้ เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึงกรุงสีพี พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสององค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์
เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า ณ อาศรมดาบสที่เขาวงกต
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา 1 เดือน กับ 23 วันจึงเดินทางถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนครสีพี จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืนท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และทวยหาญได้หายเศร้าโศก
กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์
เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนคร พระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาพระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี และเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชน ท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว 7 ประการ ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาไปตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง ในกาลต่อมาพระ
ใบงาน
ประกอบการเรียนรู้บทเรียนท้องถิ่น การเทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก
เรื่อง ประวัติการเทศน์ มหาชาติ ประเพณี ความเชื่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสั่ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. ประเพณีการเทศน์มหาชาติจัดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด นิยมจัดในช่วงเวลาใด
2. อานิสงส์ของการฟังเทศน์มหาชาติมีกี่ประการ อะไรบ้าง
3. ขันกัณฑ์เทศน์มหาชาติ นิยมใส่สิ่งใดบ้าง
4. ปฐมเหตุของการเทศน์มหาชาติเกิดจากอะไร จงอธิบาย
5. จงอธิบายความหมายของกัณฑ์เทศน์มหาชาติต่อไปนี้
๑. ทศพร
๒. หิมพานต์
๓. ทานกัณฑ์
๔. วนประเวศน์
๕. ชูชก
๖. จุลพน
๗. มหาพน
๘. กุมาร
๙. มัทรี
๑๐. สักกบรรพ
๑๑. มหาราช
๑๒. ฉกษัตริย์
๑๓. นครกัณฑ์
ใบงาน
ประกอบการเรียนรู้บทเรียนท้องถิ่น การเทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก
เรื่อง สรุปใจความสำคัญของการฟังเทศน์มหาชาติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสั่ง ให้นักเรียนสรุปใจความสำคัญของการฟังเทศน์มหาชาติกัณฑ์ต่อไปนี้ และบอกข้อคิดที่ได้จากการฟัง
๑. มหาราช
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ข้อคิด
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ๒. ฉกษัตริย์
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ข้อคิด
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................
๓. นครกัณฑ์
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ข้อคิด
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ใบงาน
ประกอบการเรียนรู้บทเรียนท้องถิ่น การเทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก
เรื่อง สรุปเนื้อเรื่องพระเวสสันดรชาดก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสั่ง ให้นักเรียนบอกชื่อกัณฑ์เทศน์หาชาติที่มีเนื้อหาตรงกับรูปภาพที่กำหนด และเรียงลำดับความตามเนื้อเรื่องให้ถูกต้อง
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ใบงาน
ประกอบการเรียนรู้บทเรียนท้องถิ่น การเทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก
เรื่อง วาดภาพจากจินตนาการจากเรื่องพระเวสสันดรชาดก กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ให้นักเรียนวาดภาพเหตุการณ์จากเรื่องพระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่นักเรียนประทับใจ
ใบงาน
ประกอบการเรียนรู้บทเรียนท้องถิ่น การเทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก
เรื่อง การสร้างแผนภูมิและกราฟแสดงผลการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสั่ง ให้นักเรียนอ่านข้อความต่อไปนี้แล้ว เขียนแผนภูมิหรือกราฟแสดงการบำเพ็ญของพระพุทธเจ้า
ทั้ง 10 ชาติ
การบำเพ็ญบารมีนั้น แบ่งออกเป็น 3 ชั้น หรือ 3 ระดับคือ ระดับธรรมดาชั้นต้นๆ เรียกว่า "บารมี" ระดับสูงคือระดับที่ทำได้ค่อนข้างยาก เรียกว่า "อุปบารมี" และระดับสูงสุดคือระดับที่บุคคลซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ไม่สามารถจะทำได้ เรียกว่า "ปรมัตถบารมี" พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 3 ระดับทุกชาติ ดังนั้น รวมสิบชาติจึงเป็น 30 ระดับ เรียกว่า "บารมี 30 ทัศน์" ชาติทั้งสิบนั้น เรียงตามลำดับ ดังนี้
1. พระเตมีย์ใบ้ บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี คือ การออกบวช
2. พระชนก บำเพ็ญวิริยะบารมี คือ ความเพียร
3. พระสุวรรณสยาม บำเพ็ญเมตตาบารมี คือ ประสงค์ให้คนอื่นมีความสุข
4. พระเนมิราช บำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือ มีความตั้งใจแน่วแน่
5. พระมโหสถ บำเพ็ญปัญญาบารมี คือ มีความรับผิดชอบ
6. พระภูริทัตต์ บำเพ็ญศีลบารมี คือ รักษาศีลอย่างเคร่งครัด
7. พระจันทกุมาร บำเพ็ญขันติบารมี คือ ความอดทนอดกลั้น
8. พระนารท บำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือ ความวางเฉย ไม่หวั่นไหว
9. พระวิธูร บำเพ็ญสัจจะบารมี คือ ความจริงความเที่ยงตรง
10. พระเวสสันดร บำเพ็ญทานบารมี คือ ความเสียสละ เพื่อความสุขของคนอื่น
ใบงาน
ประกอบการเรียนรู้บทเรียนท้องถิ่น การเทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก
เรื่อง มหัศจรรย์เขาวงกต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสั่ง ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับเขาวงกตจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ พร้อมทั้งสรุปใจความและที่มาของเรื่องลงในตาราง
ชื่อเรื่อง ที่มา / แหล่งเรียนรู้ สรุป / สาระสำคัญ
ตัวอย่าง
มหัศจรรย์เขาวงกต http://www.tourtooktee.com มหัศจรรย์ เขาวงกต เป็นทุ่งหญ้าในพื้นที่ของ กองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนาช่องเขาขาด หมู่ที่ 11 ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี โดยได้ดำเนินการจัดทำแปลงปลูกข้าวโพด และแปลงปลูกพันธุ์ไม้ดอกในรูปแบบแปลงที่มีความคดเคี้ยว สลับซับซ้อน สร้างจุดดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยวที่สนใจแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้เลือกศึกษา หรือชมทัศนีภาพที่สวยงามอย่างสนุกสนาน และเพลิดเพลินใจตลอดเส้นทาง ภายในงานยังมีจุดจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรหลากหลายชนิด.
ชื่อเรื่อง ที่มา / แหล่งเรียนรู้ สรุป / สาระสำคัญ
วันที่ 6 ก.ย. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,200 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,709 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,608 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,175 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,932 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,519 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,458 ครั้ง |
เปิดอ่าน 44,764 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,187 ครั้ง |
|
|