ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมทฤษฎีทางการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การจัดการศึกษาในโรงเรียนแบบเชิญชวน


ทฤษฎีทางการศึกษา เปิดอ่าน : 41,453 ครั้ง
Advertisement

การจัดการศึกษาในโรงเรียนแบบเชิญชวน

Advertisement

การจัดโรงเรียนแบบเชิญชวน เป็นการจัดโรงเรียนให้เป็นสถานที่ที่น่าเข้าไปเยือนมากที่สุดในบรรดาสถานที่ต่างๆ ในชุมชน และเป็นสถานที่ที่นักเรียนมีความรู้สึกว่าน่าเข้าไปเรียนและเรียนอย่างมีความสุข เนื่องจากโรงเรียนมีจุดเน้นที่คำนึงถึงศักยภาพของนักเรียนเป็นสำคัญ คำนึงถึงว่านักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัว พร้อมที่จะพัฒนา และคำนึงถึงว่าบุคลาการทุกฝ่ายในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีพลังที่กระตุ้นให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ซึ่งจะทำสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายในโรงเรียนร่วมมือกันและทำงานร่วมกัน โดยประยุกต์แนวคิดการจัดการศึกษาแบบเชิญชวนเข้ามาใช้ในโรงเรียน

แนวคิดการจัดการศึกษาแบบเชิญชวน

 

การจัดการศึกษาแบบเชิญชวนเน้นหลักการพื้นฐาน

ทุกคนมีความสามารถ มีคุณค่า และมีความรับผิดชอบ ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติต่อเขาเช่นนี้ และควรช่วยให้เขาประพฤติเช่นนี้ ผู้บริหาร ครู และทุกคนในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการที่ทำให้นักเรียน ตระหนักถึงความเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของเขา และหาวิธีการที่หลากหลายสำหรับช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในโรงเรียน

การจัดการศกึษาเป็นกิจกรรมที่เป็นความร่วมมือกัน และร่วมคิดร่วมทำ ครูและนักเรียนจะดำเนินกิจกรรมร่วมกันบุคลากรทุกคนในโรงเรียนทำงานร่วมกัน

กระบวนการมีความสำคัญเท่ากับผลผลิตต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนประสบความสำเร็จ

คนทุกคนมีศักยภาพที่มีคุณค่าที่ซ่อนอยู่ภายในตัว และยังใช้ศักยภาพของตัวเองเพียงส่วนเล็กน้อยของศักยภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวเอง การจัดหลักสูตร นโยบาย โปรแกรม และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนสามารถช่วยให้นักเรียนค้นพบศักยภาพของตัวเองและเชิญชวนให้ปรากฏออกมาได้เต็มที่

ศักยภาพของคนทุกคนสามารถดึงออกมาได้ดีที่สุด โดยบุคคล มีจุดหมายและเจตนาเชิญชวน มีการออกแบบจัดสถานที่ นโยบาย โปรแกรม และกระบวนการ อย่างเจาะจงเชิญชวนให้เกิดการพัฒนา (อ้างใน นิรมล ศตวุฒิ, 2549 : 141-142)

องค์ประกอบ 5 ด้าน หรือ ของการจัดการศึกษาแบบเชิญชวน คือ บุคคล สถานที่ นโยบาย โปรแกรม และกระบวนการต้องได้รับการพัฒนา ดังนี้ การยอมรับนับถือ

บุคคล ได้แก่ บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนมีเจตคติและแสดงพฤติกรรมที่อาทรและเอาใจใส่กัน ให้การยอมรับนับถือกัน มีความเชื่อถือและไว้วางใจกัน มองกันในแง่ดี และมีจุดหมายและเจตนา ในการกระทำทุกอย่าง

สถานที่ ได้แก่ อาคารและสภาพแวดล้อมทั้งหมดของสถานศึกษา ได้รับการดูแลให้มีความสะอาด สวยงาม เห็นแล้วน่าพึงพอใจ ผู้ใช้สถานที่หรือผู้อยู่รู้สึกอบอุ่นมั่นคง

นโยบาย ได้แก่ กฎระเบียบ ข้อตกลง กระบวนการปฏิบัติงานสำหรับให้บุคคลและโรงเรียนทำหน้าที่อย่างเป็นระเบียบ เน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์และคำนึงถึงความสามารถ คุณค่าและความรับผิดชอบของทุกคน

โปรแกรม ได้แก่ หลักสูตร และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่ครอบคลุมความต้องการของมนุษย์อย่างกว้างขวาง เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมและจัดการอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้

  1.  
  2.  

    กระบวนการ ได้แก่ วิธีการปฏิบัติที่จะทำให้บุคคล สถานที่ นโยบายและโปรแกรม ทำหน้าที่ไปได้จะส่งเสริมจิตวิญญาณ การร่วมมือกัน ความพยายามร่วมคิด ร่วมทำ อุดมการณ์ทางประชาธิปไตย และจริยธรรม เสริมสร้างวิธีการดำรงชีวิตตามความสนใจ ความสามารถ โอกาสที่จะก้าวหน้าของแต่ละบุคคล การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง และกิจกรรมส่งเสริมมนุษยธรรม
ในการจัดการศึกษาแบบเชิญชวน เจตคติและพฤติกรรมของบุคคลจะพัฒนาในขอบเขตของข้อตกลง 5 ประการ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในองค์ประกอบด้านบุคคล คือ

  1. ความอาทรและเอาใจใส่ดูแล เป็นการช่วยให้บุคคลเชื่อมโยงจุดหมายส่วนตัวเข้ากับเป้าหมายปลายทางที่มีคุณค่าของสังคม ช่วยให้แต่ละคนมีความพอใจและประสบผลสำเร็จในการกระทำสิ่งที่มีคุณค่า โดยการนำไปสู่สิ่งที่เป็นไปได้ในด้านบวก

  2. การยอมรับนับถือ ว่าทุกคนมีความสามารถ มีคุณค่า และมีความรับผิดชอบ และปฏิบัติต่อเขาเช่นนั้น ก่อให้เกิดการมีความรับผิดชอบร่วมกัน มีความร่วมมือกันอย่างเท่าเทียมและเฉลี่ยอำนาจกันโดยคาดหวังผลลัพธ์ในด้านบวก

  3. การให้ความเชื่อถือและไว้วางใจ เป็นการแสดงความเชื่อมั่นในความสามารถ ความมีคุณค่า และมีความรับผิดชอบของทุกคน และปฏิบัติต่อเขาเช่นนั้น มีการพึ่งพาอาศัยกันและร่วมมือกัน บนพื้นฐานของปฏิสัมพันธ์ที่มีความเชื่อถือและไว้วางใจกัน

  4. การมองในแง่ดี คือ การมีความเชื่อเป็นพื้นฐานว่าทุกคนมีศักยภาพหลายด้านที่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ และสามารถพัฒนาได้ ทุกคนมีความดีอยู่ในตัวและต้องนำออกมาใช้ เมื่อทำผิดก็พยายามแก้ไขเองรวมทั้งชื่นชมพัฒนาการและความก้าวหน้าของทุกคน

  5. การมีจุดหมายและเจตนา เป็นการกระทำอย่างตั้งใจที่จะทำให้ศักยภาพของทุกคนปรากฏเป็นจริงได้อย่างคงเส้นคงวา โดยจัดการสถานที่ นโยบาย โปรแกรม และกระบวนการที่ออกแบบเฉพาะเพื่อพัฒนาการเชิญชวนโดยบุคคลที่เชิญชวนตัวเองและผู้อื่นทั้งด้านส่วนตัวและด้านอาชีพ
ลักษณะของโรงเรียนแบบเชิญชวน

การจัดโรงเรียนโดยการนำแนวคิดของการจัดการศึกษาแบบเชิญชวนมาประยุกต์ใช้นั้น ทำให้โรงเรียนที่จัดมีลักษณะดังนี้

  1. การยอมรับนับถือลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล : หลักสูตร นโยบาย โปรแกรม การพิจารณาเรื่องต่างๆ และการประเมินผลตั้งอยู่บนพื้นฐานของนักเรียนแต่ละคนเป็นสำคัญ ในการให้คะแนนจะให้นักเรียนมีส่วนร่วม ถ้าได้คะแนนต่ำ นักเรียนจะได้รับการดูแลอย่างจริงจัง นักเรียนจะได้รับการสนับสนุนให้ทดสอบตัวเอง ตัดสินผลงานและความก้าวหน้าของตัวเอง ให้นักเรียนมองความผิดพลาดเป็นแหล่งข้อมูลมากกว่าจะเป็นสัญญาณของความล้มเหลว นักเรียนทุกคนจะได้รับการสนับสนุนให้มีความมั่นใจว่า ตัวเองมีความสามารถที่จะเรียนรู้ เชื่อถือความรู้สึกของตัวเอง และชื่นชมลักษณะเฉพาะของตัวเอง

  2. จิตวิญญาณของการร่วมมือกัน : ทุกคนในโรงเรียนมีความรับผิดชอบในการร่วมมือกัน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทุกคนมีส่วนในการบริหารโรงเรียน การแข่งขันกันมีน้อยที่สุด นักเรียนที่ไม่สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์จะได้รับการช่วยเหลือพิเศษด้วยความอาทรและเอาใจใส่ตลอดจนการยอมรับนับถือการสอนที่ให้เพื่อนช่วยเพื่อนจะได้รับการสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกัน และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

  3. ความรู้สึกเป็นเจ้าของ : บรรยากาศในโรงเรียนมีความอบอุ่นและผูกพันกัน ครูและนักเรียนคิดถึงโรงเรียนของเรา งานของเรา และพวกเราทุกคนอยู่ร่วมกัน ให้นักเรียนอยู่ร่วมกันให้มากที่สุด กระตุ้นความรู้สึกภาคภูมิใจต่อโรงเรียน ความรู้สึกว่าเป็นสมาชิกของโรงเรียน อาทรและเอาใจใส่โรงเรียนจัดบรรยากาศที่ทำให้นักเรียนรู้สึกถึงความเมตตากรุณาที่โรงเรียนมีต่อเขา

  4. สภาพแวดล้อมที่น่ารื่นรมย์ : ภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมทั่วไปได้รับการเอาใจใส่อย่างดี ครูบุคลากรทุกฝ่ายและนักเรียนแบ่งความรับผิดชอบร่วมกับนักการภารโรงในการช่วยกันสร้างสรรค์และรักษาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่สวยงามและน่าอยู่ น่าเรียน ไม่ว่าโรงเรียนจะเก่าแค่ไหน ทุกคนจะช่วยกันทำให้น่าประทับใจให้มากที่สุด ห้องเรียนทุกห้องมีแสงสว่างพอ ระบบเสียงและอุณหภูมิอยู่ในระดับน่าพอใจ การออกแบบตกแต่งในห้อง บริเวณหน้าต่าง ที่ว่าง การจัดเฟอร์นิเจอร์ และการใช้สี จะทำในลักษณะที่เสริมสร้างบรรยากาศที่ดึงดูดความสนใจและสร้างความอบอุ่น สะดวกสบาย

  5. การคาดหวังผลในทางบวก : นักเรียนได้รับการกระตุ้นให้มองตัวเองในทางบวก และรับรู้ว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพที่ดีอยู่ในตัวที่จะเรียนรู้ได้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนยินยอมที่จะเรียนรู้และมีส่วนร่วม ไม่ใช่เรียนรู้เพราะครูป้อนให้ นักเรียนจึงต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะเรียนอะไร เรียนแค่ไหน ใช้เวลาเรียนเท่าใด และจะประเมินผลความก้าวหน้าของตัวเองอย่างไร ครูจะช่วยกระตุ้นนักเรียนแต่ละคน โดยการสื่อสารความคาดหวังหรือผลลัพธ์ด้านบวกแก่นักเรียน

  6. ความสัมพันธ์กับสังคม/ชุมชน : สมาชิกในโรงเรียนได้รับการกระตุ้นให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและปฏิสัมพันธ์กับชุมชน นักเรียนรุ่นพี่ทำงานร่วมกับนักเรียนรุ่นน้อง บุคลากรในโรงเรียนที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านกีฬาช่วยเป็นผู้ฝึกซ้อมกีฬาประเภทนั้นๆ ให้นักเรียนสมาชิกในชุมชนเข้ามาช่วยและร่วมกิจกรรมของโรงเรียน ผู้ปกครองอาสาสมัครร่วมทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จ นักเรียนออกไปร่วมกิจกรรมของชุมชน ความสัมพันธ์เหล่านี้ อาจดำเนินการกว้างไกลออกไปสู่สังคมระดับประเทศและโลก โดยโรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนประยุกต์การเรียนรู้จากในโรงเรียนไปปฏิบัติในประเด็นที่เกี่ยวกับสังคมระดับประเทศ และระดับโลกด้วย


สรุป

การสร้างสรรค์บรรยากาศเชิญชวนในโรงเรียนเป็นหัวใจของการพัฒนานักเรียน นักเรียนจะได้รับการเชิญชวนให้เรียน ได้รับการเชิญชวนให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ทำให้นักเรียนรู้สึกอบอุ่นและรู้สึกว่าได้รับการยอมรับนับถือ และได้รับการสนับสนุน ส่งผลให้นักเรียนยอมรับว่าผู้อื่นมีคุณค่าและให้การยอมรับนับถือและสนับสนุนผู้อื่นด้วย องค์ประกอบด้านบุคคล สถานที่ นโยบาย โปรแกรม และกระบวนการของโรงเรียน มีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมที่เชิญชวนให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ และเชิญชวนให้เกิดการเรียนรู้ ในขณะเดียวกันที่โรงเรียนสร้างบรรยากาศแบบเปิดเผย ไว้วางใจกัน ยอมรับนับถือกัน อาทรและเอาใจใส่กัน มองกันในแง่ดี และมีจุดหมายและเจตนาร่วมกัน จะทำให้บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น เอาชนะอุปสรรคร่วมกัน จัดการข้อโต้แย้งและความคิดที่แตกต่างกันได้โดยปราศจากความแตกแยกในการทำงานและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในโรงเรียน



โดย : รศ.ดร.นิรมล ศตวุฒิ


ที่มาข้อมูล : วารสารวิชาการ ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2550
 
ที่มาเว็บ : https://www.myfirstbrain.com


การจัดการศึกษาในโรงเรียนแบบเชิญชวน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้


เปิดอ่าน 56,199 ครั้ง
พฤติกรรมมนุษย์ Human Behavior

พฤติกรรมมนุษย์ Human Behavior


เปิดอ่าน 161,240 ครั้ง
รูปแบบจำลอง S M C R Model

รูปแบบจำลอง S M C R Model


เปิดอ่าน 226,966 ครั้ง
เชาวน์อารมณ์ E.Q. (Emotional Quotient)

เชาวน์อารมณ์ E.Q. (Emotional Quotient)


เปิดอ่าน 67,323 ครั้ง
จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา

จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา


เปิดอ่าน 56,529 ครั้ง
ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้


เปิดอ่าน 424,749 ครั้ง
ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism


เปิดอ่าน 157,913 ครั้ง
ระบบการสอนของเคมพ์ (Jerrold/Kemp)

ระบบการสอนของเคมพ์ (Jerrold/Kemp)


เปิดอ่าน 58,568 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เชาวน์อารมณ์ E.Q. (Emotional Quotient)

เชาวน์อารมณ์ E.Q. (Emotional Quotient)

เปิดอ่าน 67,323 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ระบบการเรียนการสอนของบริกส์ (Briggs Model)
ระบบการเรียนการสอนของบริกส์ (Briggs Model)
เปิดอ่าน 37,910 ☕ คลิกอ่านเลย

ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม
ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม
เปิดอ่าน 109,833 ☕ คลิกอ่านเลย

ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดน์
ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดน์
เปิดอ่าน 71,995 ☕ คลิกอ่านเลย

ทฤษฎีพัฒนาการเชาน์ปัญญาของเพียเจต์
ทฤษฎีพัฒนาการเชาน์ปัญญาของเพียเจต์
เปิดอ่าน 98,522 ☕ คลิกอ่านเลย

วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)
วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)
เปิดอ่าน 22,592 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การประคบร้อน และ ประคบเย็น ที่ถูกต้อง
การประคบร้อน และ ประคบเย็น ที่ถูกต้อง
เปิดอ่าน 15,823 ครั้ง

ทำความเข้าใจ เกณฑ์ย้ายครู ว16/2558 เริ่มใช้เดือนมกราคม 2559
ทำความเข้าใจ เกณฑ์ย้ายครู ว16/2558 เริ่มใช้เดือนมกราคม 2559
เปิดอ่าน 28,681 ครั้ง

"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"
"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"
เปิดอ่าน 7,713 ครั้ง

4 เกาะที่น่าไป หลังเกษียณอายุ
4 เกาะที่น่าไป หลังเกษียณอายุ
เปิดอ่าน 17,304 ครั้ง

"ละครซิทคอม" คืออะไร
"ละครซิทคอม" คืออะไร
เปิดอ่าน 66,962 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ