ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกัน
เรียนรู้ (STAD) สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม รายวิชาสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นายพรมดี สาลี
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านขามพิทยาคม อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1
ปีที่รายงาน พ.ศ. 2551
บทคัดย่อ
การศึกษาถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นคนดี มีความรู้
แต่ในการจัดการศึกษาของประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะในวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งที่นักเรียนมีปัญหาในการเรียน เพราะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนยังใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ยังขาดการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้ศึกษาต้องการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ
ร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) เข้ามาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านขามพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำนวน 33 คน
จาก 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน
แบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 แผนการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.76 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.75 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 (3)แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 1 ชุด จำนวน 18 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานใช้ ค่า t-test ( Dependent Samples ) ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ 86.36/86.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
โดยสรุปผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) ที่ได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อีกทั้งผู้เรียนยังมี ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ในระดับมาก ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ จึงสามารถนำ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้(STAD) ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้