Advertisement
รายการเครื่องเรือน อาวุธ และเครื่องนุ่งห่มกับตัวไม้ประกอบเรือน
เครื่องมือเครื่องใช้สามัญ พร้า มีดขนาดใหญ่ต่างขวานได้ สิ่วของช่างไม้ เลื่อย กบ บิดหล่า จอบ เรือน
ส่วนต่าง ๆ ของเรือน เสา ลำไม้ไผ่ที่รับตัวเรือน มีอยู่สี่หรือหกต้น ปักเป็นสองแถวในระยะห่างเท่า ๆ กัน สูงจากพื้นดิน ๑๒ - ๑๓ ฟุต
รอด ลำไม้ไผ่ที่สองท่อนวางอยู่บนหัวเสา ดังเช่นคาน ตามความยาวของหน้าเรือนกับหลังเรือน
ระแนง ลำไม่ไผ่อื่น ๆ ที่ทอดอยู่บนหัวเสา จำนวน ๒ - ๓ ลำ ตามแนวยาวของตัวเรือนด้านข้าง และบนหัวเสาคู่กลาง ถ้าเรือนหลังนั้นพักอยู่บนเสาหกต้น
พรึง ไม้ขัดแตะ ใช้เป็นรองพื้นหรือพื้นชั้นแรก
ฟาก ไม้ไผ่ที่สับให้แบนและผูกเข้าด้วยกัน ใช้วางบนพื้นต่างกระเบื้องพื้นห้อง และใช้ขนาบเท่ากับฝาห้องที่ขัดแตะด้วยเหมือนกันแทนฝาไม้กระดาน
แม่ฝา ไม้ไผ่ขัดแตะหรือไม้กระดานที่ทำเป็นฝาเรือนด้านนอก
ฝา ขัดแตะอันเป็นเครื่องกั้นตัววเรือนทั่ว ๆ ไป
ลูกฝา คือฝาเล็กฝาน้อย
ปากตู คือประตูเรือน
หน้าต่าง เป็นคล้ายแผงกันลม ซึ่งยกขึ้นแล้วค้ำไว้ด้วยท่อนไม้ แล้วปล่อยให้ตกลงมาเมื่อต้องการปิดหน้าต่าง ไม่มีชนิดบานกระจกเลย
ขื่อ แผนขัดแตะที่ใช้ดาดเป็นเพดานห้อง
ดั้ง เสาสองต้นที่ตั้งรับแป
อกไก่ ลำไม้ไผ่ที่วางพาดบนหัวเสาทั้งสองต้น เป็นสันหลังคา
กลอน ไม้ที่พาดบนแป วางลาดลงตามอกไก่ทั้งสองด้าน
จาก ใบไม้ที่ใช้มุงหลังคา
กระเบื้อง เรือนของคฤหัสถ์ ไม่ใช้มุงด้วยกระเบื้อง นอกจากเป็นตึกก่ออิฐถือปูนของชาวยุโรป ชาวจีนและแขกมัวร์เท่านั้น
แป ห้องกะได ขึ้นกระได
ตง ไม้ไผ่สองลำที่ประกอบเป็นกระไดทั้งสองด้าน
เครื่องเรือน เสื่อกก ที่นอน ตำแหน่งที่ปูเสื่อเพื่อนอนเมื่อไม่มีเตียงไม้
เตียงนอน เป็นเตียงไม้ ไม่มีกงพัด และไม่มีพนักหัวเตียง มีแต่ขาตั้งสี่หรือหกขา ไม่มีรอดตรึงในส่วนลึกของเตียงมีโครงตาข่ายสานด้วยกกเส้นใหญ่ที่ใช้บุเก้าอี้
แคร่ เป็นเตียงไม้ แต่ไม่มีขาตั้ง แคบมาก ใช้นอนคนเดียว มีแต่ราษฎรสามัญเท่านั้นที่นอนเตียงเดียวกันกับภรรยา และไม่ค่อยมีเตียงนอนกันมากนัก
ฟูกรองนอน คือที่นอนยัดนุ่นจำพวกสำลี ไม่มีการทำที่นอนนวมเลย
ผ้าปูที่นอน ไม่ใช้ผ้าผืนที่สองซึ่งใช้เป็นผ้าห่มเลย
ผ้าห่มนอน เป็นผ้าฝ้ายธรรมดา
หมอน ค่อนข้างยาว หมายถึงหมอนพิงด้วย จะไม่นั่งทับหมอนพิงเป็นอันขาด
ม่านกับที่นอน เป็นม่านหรือพรมประดับผนัง ใช้กั้นหน้าที่นอน เพราะห้องไม่ปิดประตูกันเลย
ม่านกั้นฟากเรือน เป็นผ้าม่านทำด้วยฝ้าย ฟากคือไม้แบน ๆ ผูกติดขนานขนาบใช้ต่างฝากระดาน
พรม ปูพื้นรองเท้า
เจียม เป็นของอย่างเดียวกับพรม
ตะลุ่ม โต๊ะไม่มีขอบเชิงและไม่มีขาตั้ง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บาตร และพ่อค้าเราเรียกว่า ถาด เมื่อชาวสยามบริโภคอาหารร่วมกัน ต่างคนต่างก็มีโต๊ะของตนเอง ไม่ใช้ผ้าปูโต๊ะหรือผ้าเช็ดปาก แต่ใช้ไม้ขัดมันประกอบเป็นตัว
หีบลิ้น หีบไม่มีลิ้นชัก
ถาด จานทองแดง ตามปกติมักใช้ใส่ปลา (กับข้าว)
แม่ขัน ขันสำหรับใส่น้ำ กาทองแดงสำหรับต้มน้ำร้อนชงชา
ขันน้ำน้อย เป็นถ้วยก้นกลมเกลี้ยง ไม่มีขา
คนโท หม้อน้ำ
คนที ป้านดินเผาสำหรับใช้ชงชา
จอกน้อย ถ้วยชาใบเล็ก ๆ
จอกใหญ่ ถ้วยชาใบใหญ่ขึ้นมา
ตะบวยทองกินน้ำ ช้อนทองแดงเพื่อตักน้ำ นำเอากระโหลกมาใช้ทำเป็นตะบวยเหมือนกันโดยเจาะกระโหลกมะพร้าวให้เป็นรู
ตรงกันแล้วเอาไม้สอดเข้าไปในรูทั้งสองนั้น ใช้ถือเป็นด้าม
ตะหวัก ช้อนสำหรับหม้อ เป็นคำด่าที่รุนแรงมาก เสมอด้วยประณามว่าเป็นคนตะกละตะกลาม เอามือลงล้วงควักลงในหม้อ
ทีเดียวโดยไม่ต้องรอให้ตักข้าวนั้นลงจาน มีแต่พวกทาสเท่านั้นที่ทำและจับต้องตะหวัก
ถ้วย ชามหรือจานกระเบื้อง
ชาม อ่างกระเบื้องสำหรับใส่ข้าว ชาวสยามใช้เครื่องกระเบื้องกันมาก เพราะมีอย่างชนิดหยาบ ๆ และราคาถูก
จาน ภาชนะใบเล็ก ๆ ใช้รองใต้ถ้วยชา
หม้อข้าว หม้อขนาดย่อมสำหรับใช้หุงข้าว
ช้อน ใช้สำหรับตักขนมกวนที่ใส่มาในจานรองกระเบื้องใบเล็ก ๆ เพื่อกินกับน้ำชา ไม่มีส้อม ชาวสยามไม่ใช้เกลือในโต๊ะอาหารเลย
มีด ชาวสยามมีมีดเล่มเล็ก ๆ กันคนละเล่ม สำหรับใช้ผ่าหมาก เขาใช้หัวแม่มือกดสันมีดและนำทางคมของมีดด้วยนิ้วชี้มือขวาซึ่งชี้ยื่นออกไปนั้น
มีดโกน ทำด้วยทองแดง
ตีนเทียน ใช้เทียนขี้ผึ้งสีเหลือง ไม่รู้จักทำขี้ผึ้งให้เป็นสีขาว เขามีขี้ผึ้งอยู่อุดมสมบูรณ์และโดยที่ไม่มีโรงฆ่าสัตว์จึงไม่มีไขใช้
มีดเหน็บ เป็นมีดชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่า ใช้พกติดตัวสำหรับทำธุระ และอาจใช้เป็นอาวุธได้
มีดตอก มีดสำหรับจักไม้ (ตอก) ที่ใช้ผูกใบไม้ (จาก) มุงหลังคา
ครอบ หีบทองคำหรือเงินใช้ใส่หมากกับพลู พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานหีบหมากให้แก่ขุนนางผู้ใหญ่บางคน หีบนี้ใหญ่มีฝาปิด และเบามาก ผู้ได้รับพระราชทานจะต้องนำติดตัวไปวางไว้ตรงหน้าของตนในเวลาเข้าเฝ้าและในงานพระราชพิธีต่าง ๆ
เตียบ หีบอีกชนิดหนึ่ง ใช้ประโยชน์อย่างเดียวกัน แต่ไม่มีฝา และใช้อยู่กับบ้าน เป็นคล้ายจอกขนาดใหญ่ บางทีทำด้วยไม้ขัดมัน เชิงตีนสูงมากเท่าใด แสดงว่ามีเกียรติมากขึ้นเท่านั้น ปกติใช้เป็นที่วางถุงเงิน หมากพลู เต้าปูนแดงกับมีด (เจียนหมาก)
กะโถน ทุกคนจำเป็นต้องใช้ เพราะต้องบ้วน (น้ำหมาก) คราวละมาก ๆ อยู่เสมอ
เรือ เรือแคบและยาว สำหรับขุนนางนั่งแต่ผู้เดียว
ครัว เรือที่อยู่กันได้ทั้งครอบครัว
มุ้ง มีผ้าชิ้นหนึ่งเป็นเพดานกับผ้าขาวบางอีกชิ้นหนึ่งอ้อมรอบเตียง ภิกษุมักใช้เพื่อมิให้ยุงรบกวน คฤหัสถ์ไม่ได้ใช้มุ้งกันเลย
เก้าอี้ มีแต่พระเจ้าแผ่นดินกับพระภิกษุเท่านั้น ที่ใช้เก้าอี้
หม้อน้ำมูตร หม้อประจำห้องนอน มีแต่พระภิกษุสงฆ์เท่านั้นที่ใช้ เพราะมีข้อห้ามไม่ให้ถ่ายน้ำมูตรลงบนพื้นดิน ในน้ำ หรือในไฟ
เครื่องแต่งกาย ลอมพอก หมวกทรงกรวยใช้ในงานพิธี ปกติใช้สีขาว แต่เวลาออกล่าสัตว์ หรือสงครามใช้สีแดง
ผ้านุ่ง คือ ผ้าที่ใช้พันรอบเอว และต้นขา พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานอย่างเนื้อดี เรียกว่า ผ้าสมปัก ผู้ใดจะใช้ผ้าอย่างนี้ไม่ได้ ถ้ามิใช่ของพระราชทาน
เสื้อขาว เป็นเสื้อชั้นในผ้ามัสลิน อันเป็นเครื่องสวมห่มแท้ ๆ ของชาวสยาม
เช็ดหน้า เจ้านายขุนนางผู้ใหญ่ให้ทาสเชิญตามหลังไป และจะนำมาไว้กับตัว ก็ต่อเมื่อเข้าในวังหลวง แต่ก็ไม่กล้าที่จะใช้ต่อหน้าพระที่นั่ง
ผ้าห่ม ใช้กันต่างเสื้อคลุมป้องกันความหนาว หรือใช้ผ้าคลุมไหล่กับท่อนแขน
รัดสายยู เข็มขัดที่เหน็บมีดเหน็บ ใช้คาดทับเสื้อชั้นนอกทรงรัดรูป ยามออกสงคราม
ผ้าสไบ ผ้าคล้องคอของสตรี
เสื้อเครื่อง เสื้อชั้นนอกสวมใส่ภายใต้ เสื้อชั้นในผ้ามัสลิน
หมวก ชาวสยามชอบหมวกสีต่าง ๆ ที่ทรงสูง ปลายแหลม ปีกหมวกกว้าง ๑ นิ้ว
อาวุธ
ปืนนกสับ ปืนกล้องใหญ่
ทวน หอกแบบสยาม
หอก หรือหอกแบบมัวร์ คล้ายใบดาบติดด้ามยาว
กริช มีดเหน็บที่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชทานแด่ขุนนาง ใช้เหน็บไว้ที่เข็มขัดเบื้องซ้าย แต่คล้อยมาข้างหน้ามาก
เกาทัณฑ์ โล่ หน้าไม้
แหลน เป็นด้ามไม้ไผ่ปลายติดเหล็กแหลม
หลาว แหลนไม้ไผ่ลนไฟให้แข็ง ไม่ติดเหล็กแหลม
ไม้ตะบอง คธา
ไม้เท้า
Advertisement
เปิดอ่าน 15,736 ครั้ง เปิดอ่าน 17,071 ครั้ง เปิดอ่าน 16,736 ครั้ง เปิดอ่าน 13,975 ครั้ง เปิดอ่าน 30,525 ครั้ง เปิดอ่าน 19,952 ครั้ง เปิดอ่าน 30,134 ครั้ง เปิดอ่าน 22,927 ครั้ง เปิดอ่าน 48,775 ครั้ง เปิดอ่าน 14,319 ครั้ง เปิดอ่าน 60,660 ครั้ง เปิดอ่าน 21,413 ครั้ง เปิดอ่าน 44,857 ครั้ง เปิดอ่าน 44,888 ครั้ง เปิดอ่าน 44,666 ครั้ง เปิดอ่าน 21,777 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 30,525 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,995 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 44,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,658 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 55,457 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 37,889 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,188 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,238 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,998 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,263 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,146 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,635 ครั้ง |
|
|