มาตรฐานการศึกษา ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์พิจารณา
เพื่อการประเมินคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเฉพาะทางความพิการทางสติปัญญา
โดย นายสุวิทย์ สุทาลา
รหัสประจำตัว 508914124
สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
โรงเรียนศึกษาพิเศษหรือโรงเรียนเฉพาะทางความพิการทางสติปัญญา เป็นสถานศึกษาหนึ่งที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กไทย ซึ่งเด็กไทยกลุ่มนี้อาจมีความแตกต่างจากเด็กไทยคนอื่น ตรงที่ว่า เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ก็จะต้องได้รับสิทธิทางการศึกษาเช่นเดียวกับเด็กไทยคนอื่นๆ เช่นกัน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 มาตรา 10 ได้กล่าวว่า การจัดการศึกษาให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับบริการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแล ด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงมีอุดมณ์การในการจัดการศึกษาว่า เป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน โดยรัฐต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้ฐาน เพื่อพัฒนาเยวชนไทยทุกคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก เพื่อเป็นรากฐานที่พอเพียงสำหรับการใฝ่รู้ ใฝ่เรียนตลอดชีวิต รวมทั้งเพื่อการพัฒนาหน้าที่การงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนตนและครอบครัว และเพื่อสร้างความเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคต และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นได้ยึดหลักที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ดังนี้
1. หลักการพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม เป็นผู้มีจริยธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ไฝ่รู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ที่พอเพียงต่อการพัฒนางานอาชีพและคุณภาพชีวิตส่วนตน สามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่าทันและชาญฉลาด และมีความเป็นประชาธิปไตย
2. หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทย ให้มีความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นและประเทศชาติ มีความรู้และทักษะพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพสุจริต มีความมุ่งมั่น ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน มีลักษณะนิสัยและทัศนคติที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมไทยและสังคมโลก
3. หลักแห่งความเสมอภาค คนไทยทั้งปวงต้องมีสิทธิ์เสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงเท่าเทียม ควบคู่ไปกับความมีคุณภาพ โดยไม่แบ่งชนชั้นหรือความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม
4. หลักการมีส่วนร่วม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษาร่วมกับคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างเอกลักษณ์ศักดิ์ศรีและตอบสนองความต้องการท้องถิ่น ตามนัยของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ
5. หลักแห่งความสอดคล้อง อุดมการณ์ หลักการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องสอดคล้องระหว่างสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 นโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐบาล สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติและสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมาตรฐานการศึกษาอาชีวศึกษา และมาตรฐานการอุดมศึกษา
เพื่อให้การศึกษาเป็นไปตามอุดมการณ์ หลักการ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 มาตรา 47 โรงเรียนจึงจะต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก ซึ่งการประกันคุณภาพการศึกษามีความสำคัญดังนี้
1. ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
2. ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
3. ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนศึกษาพิเศษนั้นจะมีวิธีการ กระบวนการคล้ายกับโรงเรียนอื่นๆ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่มาตรฐานการศึกษา ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์พิจารณา อาจแตกต่างเนื่องจากไม่สามารถนำมาประเมินกับสถานศึกษาที่จัดการศึกษาเฉพาะทางได้ ซึ่งมาตรฐานเพื่อการประเมินโรงเรียนเฉพาะความพิการทางสติปัญญามีดังต่อไปนี้
ด้านผู้เรียน
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวบ่งชี้ 1.1 ผู้เรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบ
ตัวบ่งชี้ 1.2 ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์ สุจริต
ตัวบ่งชี้ 1.3 ผู้เรียนมีความกตัญญูกตเวที
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีสุขนิสัยสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวบ่งชี้ 2.1 ผู้เรียนรู้จักดูแลสุขภาพ สุขนิสัย และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ตัวบ่งชี้ 2.2 ผู้เรียนมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย ตามความบกพร่องแต่ละระดับและประเภทความพิการ
ตัวบ่งชี้ 2.3 ผู้เรียนไม่เสพหรือแสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติด และสิ่งมอมเมา หลีกเหลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย และอุบัติเหตุ รวมทั้ง ปัญหาทางเพศ
ตัวบ่งชี้ 2.4 ผู้เรียนมีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมและให้เกียรติผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ 2.5 ผู้เรียนร่าเริง แจ่มใส่ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา
ตัวบ่งชี้ 3.1 ผู้เรียนมีความชื่นชมและชอบกิจกรรมหรือด้านศิลปะ / นาฏศิลป์หรือ ด้านกีฬา นันทนาการหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์
ตัวบ่งชี้ 4.1 ผู้เรียนมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ 4.2 ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ 4.3 ผู้เรียนมีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
มาตรฐานที่ 5.1 – 5.8 ตามสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระวิชา
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ 6.1 ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว อย่างเหมาะสม
ตัวบ่งชี้ 6.2 ผู้เรียนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สนุกกับการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ตัวบ่งชี้ 7.1 ผู้เรียนสามารถทำงานตามลำดับขั้นตอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวบ่งชี้ 7.2 ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันและมีทักษะชีวิต / ทักษะ การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น
ด้านครู
มาตรฐานที่ 8 ครูมีคุณวุฒิ / ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบและมีครุพอเพียง
ตัวบ่งชี้ 8.1 ครูมีลักษณะที่เหมาะสม
ตัวบ่งชี้ 8.2 ครูที่จบปริญญาตรีขึ้นไป
ตัวบ่งชี้ 8.3 ครูที่สอนตรงตามวิชาเอก / โท หรือความถนัด
ตัวบ่งชี้ 8.4 ครูได้รับการพัฒนาในวิชาชีพที่สอนหรือวิชาครูตามที่คุรุสภากำหนด
ตัวบ่งชี้ 8.5 สถานศึกษามีจำนวนครูตามเกณฑ์
มาตรฐานที่ 9 ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ 9.1 ครูสามารถสอนบูรณาการทุกกลุ่มสาระอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ด้านผู้บริหาร
มาตรฐานที่ 10 ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ 10.1 ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม มีความมุ่งมั่น และอุทิศตนในการทำงาน
ตัวบ่งชี้ที่ 10.2 ผู้บริหารมีความคิดริเริ่มและมีวิสัยทัศน์
ตัวบ่งชี้ที่ 10.3 ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารวิชาการและเป็นผู้นำทางวิชาการ
ตัวบ่งชี้ที่ 10.4 ผู้บริหารมีการบริหารที่มีประสิทธิผลและผู้เกี่ยวข้องพึงพอใจในการ บริหาร
มาตรฐานที่ 11 สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ครบ วงจร ให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา
ตัวบ่งชี้ 11.1 สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้างการบริหารและระบบการบริหารที่ มีความคล่องตัวสูง ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
ตัวบ่งชี้ 11.2 สถานศึกษามีการบริหารเชิงกลยุทธ์
ตัวบ่งชี้ 11.3 สถานศึกษามีการบริหารโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมและมีการตรวจสอบ ถ่วงดุล
ตัวบ่งชี้ 11.4 สถานศึกษามีระบบและดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นไปตามกฎ กระทรวง
มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ 12.1 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน พัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ
ตัวบ่งชี้ 12.2 สถานศึกษามีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสอดคล้อง กับศักยภาพของผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ 12.3 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่ เอื้อต่อการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ 13.1 สถานศึกษามีหลักสูตรและเนื้อหาสาระการเรียนรู้ สอดคล้องกับหลักสูตร แกนกลางและความต้องการของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และท้องถิ่น
ตัวบ่งชี้ 13.2 สถานศึกษามีสิ่งอำนวยความสะดวกและสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม และเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
มาตรฐานที่ 14 สถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนา การศึกษา
ตัวบ่งชี้ 14.1 สถานศึกษามีระบบและกลไกในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความ ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
ตัวบ่งชี้ 14.2 สถานศึกษามีสิ่งอำนวยความสะดวกและสื่อการเรียนการสอน กิจกรรมที่ ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนา สถานศึกษา