บทที่หนึ่ง ชั้นบุคคลต่าง ๆ ของชาวสยาม
๑. การเป็นทาสตามจารีตของสยาม ในสยามทุกคนถ้าไม่เป็นไทก็เป็นทาสอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้เป็นมูลนายมีอำนาจทุกประการเหนือทาส เว้นแต่ฆ่าไม่ได้เท่านั้น แม้กระนั้นการเป็นทาสในเมืองสยามก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่ จนเกิดเป็นคำกล่าวว่า คนสยามนั้นยอมขายความเป็นไทของตนเพื่อบริโภคทุเรียนก็ยังได้ คนสยามพอใจที่จะเอาความเป็นไทของตน ลงเป็นเดิมพันในวงการพนัน คนสยามกลัวเป็นขอทานมากกว่ากลัวการตกเป็นทาส คนสยามได้ชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์มาก ถึงขนาดลงมือช่วยเมื่อพบมันเจ็บป่วย แต่ยากนักที่จะให้เอื้อเฟื้อจุนเจือแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
๒. เขาใช้ทาสทำงานอะไรบ้าง นายใช้ทาสทำนาทำสวนและทำการในบ้านเรือนบางประการ หรือไม่ก็อนุญาตให้ไปทำงานหาเลี้ยงตนเอง โดยกำหนดให้ส่งส่วยให้ตั้งแต่สี่บาทถึงแปดบาทต่อปี
๓. คนสยามตกเป็นทาสโดยกำเนิดหรือภายหลังก็ได้ การตกเป็นทาสภายหลังเนื่องจากทำหนี้สินไว้ (ทาสสินไถ่) หรือว่าถูกจับมาเป็นเชลยในงานสงคราม (ทาสเชลย) หรือถูกริบราชบาตรตามคำพิพากษาของศาลหลวง ผู้ที่เป็นทาสโดยหนี้สินอาจกลับเป็นไทได้ เมื่อส่งต้นเงินให้นายเงินครบแล้ว แต่ลูกที่เกิดมาในระหว่างที่ตนตกเป็นทาส (ทาสในเรือนเบี้ย) ก็ต้องตกเป็นทาส (ทาสลูกครอก)
๔. ทาสโดยกำเนิดเป็นอย่างไรและตกเป็นของผู้ใด คือผู้ที่เกิดจากแม่ที่เป็นทาสอยู่ การเป็นทาสแบ่งปันบุตรกันทำนองเดียวกับการหย่าร้างคือคนที่ ๑,๓,๕ และต่อ ๆ ไปในจำนวนคี่ตกเป็นของนายเงินของหญิงผู้เป็นแม่ ส่วนคนที่ ๒,๔ และต่อ ๆ ไป ในจำนวนคู่ตกเป็นของผู้เป็นพ่อในเมื่อเขาเป็นไท หรือไม่ก็ตกเป็นของนายเงินเ มื่อเขายังเป็นทาสอยู่ แต่เป็นได้เมื่อพ่อแม่อยู่กินกันด้วยความยินยอมของผู้เป็นนายเงิน ฝ่ายหญิงผู้เป็นแม่เท่านั้น มิฉะนั้นลูกทุกคนจะต้องตกเป็นลูกครอกของนายเงิน ฝ่ายหนึ่งผู้เป็นแม่ทั้งสิ้น
๕. ความแตกต่างระหว่างทาสไพร่หลวงของพระเจ้ากรุงสยามกับไพร่ฟ้าอื่น ๆ ทาสไพร่หลวงต้องเข้ารับราชการในพระองค์ ส่วนไพร่ฟ้าบรรดาที่เป็นไทแต่ตัวนั้น เพียงแต่ต้องเกณฑ์มาเข้าเดือนรับราชการ หกเดือนในหนึ่งปีและต้องหาเสื้อผ้า และเสบียงอาหารมาเลี้ยงตนเอง
๖. ทาสของเอกชนไม่ต้องเกณฑ์ให้เข้าเดือนรับราชการงานหลวง
๗. ชนชั้นผู้ดี ความจริงไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะในระหว่างผู้ที่เป็นไทยด้วยกันที่เรียกว่าชนชั้นผู้ดี หรือขุนนางนั้น ก็เพียงแต่ว่ามีตำแหน่งหน้าที่ราชการอยู่ในปัจจุบัน โดยที่คนในตระกูลนั้น ได้รับราชการสืบเนื่องกันมาช้านาน จนมียศศักดิ์และจำนวนมากขึ้น แต่ก็มีอยู่เป็นจำนวนน้อย และถ้าต้องสูญเสียตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อใด ก็จะกลายเป็นสามัญชนไป
๘. พระภิกษุสงฆ์หรือตละปวง การจำแนกราษฎรกับพระภิกษุสงฆ์เป็นแต่เพียงผิวเผิน เพราะจะบวชหรื อจะสึกเมื่อใดก็ได้
บทที่สอง ประชาชนพลเมืองชาวสยาม
๑. พลเมืองชาวสยามเป็นกองทหารรักษาดินแดน ทุกคนต้องขึ้นทะเบียนหางว่าวกรมสุรัสวดี เป็นทหาร และต้องเกณฑ์เข้าเดือนรับราชการปีละหกเดือน พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานสาตราวุธและช้างม้าให้สุดแต่จะให้เป็นทหารช้างหรือทหารม้า เครื่องนุ่งห่มและอาหาร ผู้ถูกเกณฑ์ต้องหาไปเอง เมื่อไม่มีสงครามก็ให้ทำงานตามแต่พระราชอัชฌาสัย
๒. มีการนับและแบ่งชั้นบุคคลเป็นฝ่ายขวา และฝ่ายซ้าย เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าทุกคนต้องขึ้นสังกัดหน่วยใด
๓. แบ่งเป็นกรมอีก แต่ละกรมมีหัวหน้าเรียกว่า นาย จนคำนี้กลายเป็นคำแสดงความเคารพยกย่อง ซึ่งใช้เรียกกัน
๔. ความแตกต่างระหว่างกรมกับกอง ผู้เป็นนายไม่ได้นำกองทัพสู่สนามรบเสมอไป มีหน้าที่เพียงชั่วเกณฑ์คนในกรมของตน ให้ได้มากเท่าที่ต้องการ เพื่อส่งไปราชการงานทัพ
๕. ผู้เป็นลูกเข้าประจำการในกรมเดียวกับพ่อแม่ของตน ถ้าพ่อแม่เป็นลูกหมู่ต่างกรมกัน ลูกในอันดับคี่เข้าประจำกรมข้างแม่ และลูกในอันดับคู่ขึ้นสังกัดกรมฝ่ายพ่อ ทั้งนี้ต้องบอกกล่าวให้นายรู้เห็นการอยู่กินกันก่อน มิฉะนั้นลูกทุกคนจะต้องไปเข้าสมทบกรมข้างฝ่ายแม่ทั้งสิ้น
๖. พระภิกษุสงฆ์กับผู้หญิงได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้าเดือนรับราชการ แต่ต้องขึ้นทะเบียนหางว่าวไว้ เพราะพระภิกษุสงฆ์อาจกลับเข้าสู่เพศฆราวาสได้ เมื่อลาสึกออกมา ส่วนผู้หญิงโดยที่บุตรของตน ต้องขึ้นสังกัดกรมเดียวกับตนทั้งหมด หรือเพียงบางส่วน
๗. ผลประโยชน์ของผู้เป็นมูลนาย เป็นอภิสิทธิ์ของมูลนายที่อาจให้ทหารในสังกัดของตนยืมเงินทองไปใช้ได้ก่อนคนอื่น และอาจเจรจาว่ากล่าวกับเจ้าหนี้ของทหารในสังกัดกรมของตนได้ เพื่อที่จะเอาทหารคนนั้นไปเป็นทาสของตนเสียเอง พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานเรือยาวลำหนึ่ง ให้ขุนนางผู้ใหญ่ แต่ละคนพร้อมด้วยผฝีพายจำนวนหนึ่ง ขุนนางแต่ละคนมีฝีพายที่คัดเอามาจากทหารในกรมของวตน ประทับตาเหล็กเผาไฟแดงที่ข้อมือด้านนอก แล้วลงหมึกสักทับ คนรับใช้จำนวนนี้เรียกว่า บ่าว บ่าวหรือเลกสม ฝีพายทำหน้าที่พายเรือให้อย่างเดียวปีละหกเดือน จึงมีการเปลี่ยนเวรทุกหกเดือนหรือเดือนเว้นเดือน
๘. ผู้ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ออกญา และอื่น ๆ ทำหน้าที่อะไร กรมไหนมีไพร่สังกัดอยู่เป็นจำนวนมากก็มีจำนวนมาก ตำแหน่งและหน้าที่ราชการในกรุงสยาม จะมีความสำคัญขึ้นอยู่กับบรรดาศักดิ์ พระยา ออกญา ออกพระ ออกหลวง ออกขุน ออกหมื่น และออกพัน คือบรรดาศักดิ์เจ็ดชั้นที่เป็นนาย ทุกวันนี้บรรดาศักดิ์ออกพันไม่ได้ใช้แล้ว เป็นที่เข้าใจว่าออกพันเป็นหัวหน้าของคนจำนวนหนึ่งพันคน ออกหมื่นเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาคนหมื่นคน
๙. คำว่าออก คล้ายหมายความว่า หัวหน้า ด้วยว่ายังมีบรรดาศักดิ์อีกอย่างหนึ่งที่ไม่มีตำแหน่งหน้าที่คือออกเมือง ดูเหมือนจะแปลว่าหัวหน้าเมือง ต้องเป็นออกเมืองก่อนแล้วจึงบจะได้เป็นเจ้าเมือง
๑๐. คำนี้ไม่ใช้ภาษาสยาม คำว่าหัวหน้า เรียกว่า หัว เป็นที่มาของคำว่าหัวสิบ หัวหน้าคนสิบคน เป็นตำแหน่งนายช้าง ทำนองเดียวกับ หัวพัน คือ หัวหน้าคนพันคน ได้แก่ ผู้เชิญธงมหาราชในเรือพระที่นั่งทรง ผู้ที่มียศศักดิ์สูงกว่าจะไม่ใช้เรียก ผู้ที่เป็นผู้น้อยกว่าว่าออก เลย และผู้ที่กล่าวถึงบรรดาศักดิ์ของตนเอง จะงดกล่าวคำว่า ออก เป็นการถ่อมตัวโดยมรรยาท และก็มีประชาชนเป็นส่วนน้อยไม่ใช้คำว่า ออก เช่นเรียก หมื่นไวย แทนที่จะเรียก ออกหมื่นไวย
๑๑. คำว่า พระยา ชาวปอร์ตุเกศ แปลคำนี้ว่า เจ้า แต่คิดว่าเขาเข้าใจไม่ถูกต้อง
๑๒. หัวเมืองสยามหกชั้น ปัจจุบันเมืองสยาม มีหัวเมืองอยู่หกชั้น โดยถือจำนวนพลเมืองเป็นเกณฑ์ ถ้าหัวเมืองใดมีพลเมืองมากเจ้าเมือง ก็เป็นพระยา ถ้าพลเมืองน้อยลงมา เจ้าเมืองก็เป็นออกญา และลดหลั่นกันไปตามลำดับตามจำนวนพลเมืองที่มีอยู่ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป ชาวสยามเห่อยศกันมาก บรรดาศักดิ์ที่สูงมักจะได้แก่ เจ้าเมืองที่กินหัวเมืองใหญ่ เช่น เมืองตาก มีเจ้าเมืองเป็นพระยา เมืองพิษณุโลก ก็มีเจ้าเมืองเป็นพระยา เมืองตะนาวศรี นครศรีธรรมราช นครราชสีมา และอื่น ๆ ทุกวันนี้ยังมีเข้าเมืองที่เป็น ออกญา หัวเมืองที่ย่อมลงมาเช่น เพชรบุรี และบางกอก มีเจ้าเมืองเป็น ออกพระ หัวเมืองอื่น ๆ มีเจ้าเมืองเป็น ออกหลวง หรือออกขุน เมืองเล็กที่สุด มีเจ้าเมืองเป็น ออกหมื่น
ชาวปอร์ตุเกศ ให้ศักดิ์เมืองเป็นราชอาณาจักร ได้แก่ ตาก ตะนาวศรี พิษณุโลก และนคร (ศรีธรรมราช) และแม้กระทั่งเมืองเพชรบุรี เนื่องจากว่าเป็นเมืองที่สืบวงศ์ต่อ ๆ กันมา หรือเคยเป็นที่ประทับของพระเจ้ากรุงสยาม มาแต่ก่อนบ้าง และได้ถวายพระยศพระเจ้ากรุงสยามว่า พระจักรพรรดิ์ เพราะพระยศจักรพรรดิ์ หรือพระราชาธิราช ย่อมสมควรแก่ท้าวพระยามหากษัตริย์ ที่มีกษัตริย์อื่นเป็นเมืองขึ้น
๑๓. ยศศักดิ์ของชาวสยามมิได้มีเฉพาะด้านการปกครองหัวเมืองแต่ฝ่ายเดียว แต่ได้ให้แก่ขุนนางอื่น ๆ ด้วย
๑๔. ความคลุมเครือเรื่องบรรดาศักดิ์ในการเขียนเรื่องราวสัมพันธภาพต่างประเทศ เมื่อบุคคลหนึ่งมีสองตำแหน่ง ก็มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามต่างกันไปเป็นสองสถาน
บทที่สาม ขุนนางแห่งเมืองสยามโดยทั่ว ๆ ไป
๑. ความหมายของคำว่า มังดาแร็ง ชาวโปรตุเกศใช้เรียกบรรดาศักดิ์ขุนนางทั้งปวง ในซีกโลกด้านบุรพทิศ โดยทั่ว ๆ ไป ว่า มังดาแร็ง (Mandarin) มีเค้ามูลว่าได้ศัพท์นี้มาจากคำ มันดาร (Mandar) ในภาษาของตน ซึ่งหมายความว่า ผู้บังคับบัญชา
๒. พระเจ้ากรุงสยาม พระราชทานราชทินนามแก่ขุนนางผู้ใหญ่ เป็นธรรมเนียมเดียวกับในกรุงจีน และเมืองต่าง ๆ ในบุรพทิศ แต่ละนามมีข้อความยืดยาวมาก เป็นคำที่นำมาจากภาษาบาลีเกือบทั้งสิ้น
๓. ตำแหน่งทุกตำแหน่งสืบตระกูล การซื้อตำแหน่งหน้าที่ราชการนั้น ไม่อนุญาตให้ทำได้ และอาจถอดถอนตำแหน่งหน้าที่จากตระกูลนั้น ๆ เสียได้
๔. ผลประโยชน์หรือรายได้ประจำตำแหน่ง ไม่มีขุนนางคนใดได้ค่าจ้างแรงงานเลย พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานที่อยู่อาศัยให้ รวมทั้งเครื่องอุปโภคบางอย่างให้ เช่น หีบทองคำ หรือหีบเงิน สำหรับใส่หมากพลู สาตราวุธ เรือยาวลำหนึ่ง สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า และควาย เลกสมกำลัง และเลกทาส สำหรับใช้สอย และที่ดิน สำหรับทำเรือกสวนไร่นา แต่ของเหล่านี้เมื่อต้องออกจากราชการก็ต้องคืนหลวงทั้งสิ้น รายได้สำคัญอันเกิดจากตำแหน่งหน้าที่ราชการอยู่ที่การฉ้อราษฎรบังหลวง การให้ของกำนัลทำกันโดยไม่ปิดบัง ขุนนางผู้น้อยให้ของกำนัลแก่ขุนนางผู้ใหญ่ ในฐานะเป็นที่เคารพนับถือ ผู้พิพากษาตุลาการก็มิได้รับโทษ ในการได้รับของกำนัลจากคู่ความ
๕. การสาบานถวายความจงรักภักดี ใช้การดื่มน้ำ (พระพิพัฒน์สัตยา) ซึ่งพระสงฆ์สวดมนต์สาปแช่งผู้ที่ดื่มน้ำไว้ ในกรณีที่ผู้นั้นขาดความสามิภักดิ์ต่อพระเจ้าแผ่นดิน ให้มีอันตรายไปต่าง ๆ พระเจ้าแผ่นดินมิได้ยกเว้นการดื่มน้ำดังกล่าวแก่ขุนนางคนใด ไม่ว่าจะเป็นคนในศาสนาใดและสัญชาติใด
๖. กฎหมายสยามเขียนลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นสมุดสามเล่ม เล่มแรกชื่อ พระตำรา ระบุนามและหน้าที่ราชการของขุนนางทุกกรมกอง เล่มสอง ชื่อพระธรรมนูญ รวบรวมกฎหมาย และพระราชกฤษฎีกาของพระเจ้าแผ่นดิน ในอดีตไว้ เล่มที่สามชื่อ พระราชกำหนด รวบรวมกฎหมาย และพระราชกฤษฎีกา ครั้งแผ่นดินพระชนก กับพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลปัจจุบันไว้
๗. ความยากที่จะได้สมุดกฎหมาย ได้มาเป็นฉบับแปล เพราะหาฉบับที่เป็นภาษาสยามไม่ได้
บทที่สี่ ตำแหน่งตุลาการ
๑. การแบ่งราชอาณาจักรสยามออกเป็นมณฑล ราชอาณาจักรสยาม แบ่งออกเป็น สองภาค คือ ปากใต้กับฝ่ายเหนือ ฝ่ายเหนืออยู่ทางทิศเหนือ มีหัวเมือง เจ็ดมณฑล เรียกชื่อตามเมืองใหญ่ ในมณฑลนั้น ๆ คือ พิษณุโลกสวรรคโลกนครไทย กำแพงเพชร นครราชสีมาเพชรบูรณ์ และพิชัย
พิษณุโลก มีเมืองขึ้นสิบเมือง สวรรคโลก แปดเมือง นครไทย เจ็ดเมือง กำแพงเพชรสิบเมือง นครราชสีมา ห้าเมือง เพชรบูรณ์สองเมือง และพิชัยเจ็ดเมือง นอกจากนี้ยังมีเมืองหัวเมืองอื่นอีก ๒๑ เมือง ไม่ขึ้นแก่ใคร แต่ขึ้นต่อราชสำนักเป็นมณฑลย่อย ๆ
ส่วนทางปากใต้ คือ ทางทิศใต้ของราชอาณาจักรมีมณฑล ยะโฮร์ ปัตตานี นคร (นครศรีธรรมราช) เทนนัสเซริม (ตะนาวศรี) จันทบูร พัทลุง และไชยา
ยะโฮร์ มีเมืองขึ้น ๗ เมือง ปัตตานี ๘ คร ๑๐ เทนนัสเซริม ๑๒ จันทบูร ๗ พัทลุง ๘ และไชยา ๒ นอกจากนั้นยังมีหัวเมืองย่อม ๆ อีก ๑๓ เมือง ขึ้นตรงต่อราชสำนัก ตัวพระมหานครนั้นเป็นหัวเมือง ชั้นมณฑลของตนเองต่างหาก ตั้งอยู่ใจกลางพระราชอาณาจักร ระหว่างปากใต้ กับฝ่ายเหนือ
๒. เจ้าเมืองเป็นตุลาการ คณะผู้พิพากษาตุลาการ ผู้ชำระและวินิจฉัยอรรถคดี ในกระบวนการยุติธรรม รวมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานเพียงคนเดียว มีแต่หัวหน้าศาล หรือผู้ทำการเป็นประธานเท่านั้น ที่มีเสียงให้แก้ชนะได้ บรรดาเจ้าพนักงานชั้นรองคนอื่น ๆ มีหน้าที่เพียงสนองคำหารือเท่านั้น เจ้าเมืองมีอำนาจสิทธิขาดไม่มีอุทธรณ์ฎีกา และมีอำนาจบัญชาการทหารในเขตปกครองของตน และตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งสืบตระกูล จึงสามารถปลีกตนออกได้
๓. เมืองยะโฮร์ จึงไม่ขึ้นกับราชอาณาจักรสยามอีกต่อไป เมืองยะโฮร์ตั้งอยู่ทางใต้ต่ำสุด บนแม่น้ำสายหนึ่ง มีปากน้ำออกสู่ แหลมสิงคโปร์ มีทำเลเป็นท่าเรืออย่างดี ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น เจ้าเมืองยะโฮร์จึงไม่ยอมอ่อนน้อม ต่อกรุงสยามอีก และชาวปอร์ตุเกศขนานยศให้เจ้าเมืองเป็นราชา
๔. เมืองปัตตานีก็เช่นเดียวกัน พลเมืองเมืองปัตตานี ก็เช่นเดียวกับพลเมืองอาแจ (Achem) ในเกาะสุมาตรา อยู่ในปกครองของนางพญาองค์หนึ่ง ชาวปอร์ตุเกศก็ขนานยศให้เป็นราชินี ราชบรรณาการที่นางพญา ส่งมาถวายพระเจ้ากรุงสยามทุกสามปีคือ ต้นไม้เล็ก ๆ สองต้น ต้นหนึ่งเป็นทองคำ อีกต้นเป็น เงิน นางพญาไม่ต้องสนองงานพระราชสงครามแต่ประการใด
๕. เจ้าเมืองนั้นเป็นเจ้า คนสยามเรียกผู้ว่าราชการเมืองที่สืบสกุลว่า เจ้าเมือง พระเจ้ากรุงสยามทุกรัชกาลได้ทรงทำลายเจ้าเมืองผู้ทรงอำนาจลงเสียเป็นอันมาก แล้วโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งข้าหลวงต่างพระองค์ ไปเป็นผู้ว่าราชการเมืองอยู่สามปี เรียกว่า ผู้รั้ง
๖. ผลประโยชน์หรือสิทธิอันชอบธรรมของเจ้าเมือง ประการที่หนึ่ง ได้รับแบ่งค่าเช่าที่ทำกสิกรรมที่เรียกว่า นา กึ่งหนึ่ง คือ ครึ่งต่อครึ่งกับพระเจ้าแผ่นดิน และตามกฎหมายเก่า ค่าเช่านาคิดเป็นเงิน ๑ มะยน หรือ ๑ ใน ๔ ของบาท (Tical) ต่อพื้นที่ ๔๐ ตารางวา
ประการที่สอง เจ้าเมืองได้รับผลประโยชน์จากการริบทรัพย์ทุกประเภท กับค่าปรับไหมเป็นพินัยเกี่ยวกับการรัษฎากรทั้งปวง ทั้งยังได้ริบลดเงินสินไหมในการพิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ อีกด้วย การริบทรัพย์มีกำหนดไว้ในกฎหมาย บางครั้งก็ขยายไปถึงการริบร่างกายด้วย และยังเอื้อมไปถึงบรรดาลูกของผู้ต้องโทษด้วย
ประการที่สาม พระเจ้ากรุงสยามพระราชทานเลกสมกำลัง ให้แก่เจ้าเมืองไว้ใช้สอย ชาวสยามเรียกพวกนี้ว่า แขนลาย คือ แขนทาสีด้วยเขาสักแขนแล้วเอาดินปืนโรยที่แผล ทำให้ตรงนั้นกลายเป็นสีน้ำเงินหม่น ๆ พวกแขนลายยังมีใช้ในประเทศลาว
ประการที่สี่ ในหัวเมืองชายทะเล บางครั้งเจ้าเมืองก็มีสิทธิชักภาษีเรือพาณิชย์ ที่เมืองตะนาวศรีเรียกเก็บร้อยละ ๘ ของราคาสินค้าทุกชนิด
๗. มนุษยธรรมของชาวสยามแก่พวกเรืออัปปาง มีผู้ยืนยันว่า ชาวสยามจะไม่ยึดครองบรรดาสิ่งของที่พายุ และคลื่นซัดพาเข้ามาติดอยู่บนฝั่งมาเป็นของตน แต่ชาวปอร์ตุเกสผู้หนึ่งที่นำเรือไปติดตื้นที่ฝั่งสยามใกล้เมืองปัตตานี นายภาษี ณ ตำบลที่ชื่อว่า ชาตีร์ ไม่เพียงแต่จะริบเรือ และสินค้าที่บรรทุกมาเท่านั้น ยังริบเอาทั้งตัวเขากับพวกเด็ก ๆ อีก ๒ - ๓ คน ด้วย โดยอ้างว่าเป็นธรรมเนียมของราชอาณาจักรอันมีมาแต่โบราณว่า ทุกสิ่งที่คลื่นซัดเข้ามาติดชายฝั่งนั้น ต้องตกเป็นผลประโยชน์ของโรงภาษีทั้งสิ้น แต่พระเจ้ากรุงสยามเมื่อทรงทราบเรื่องจากชาวปอร์ตุเกศที่รับราชการอยู่ในราชสำนัก พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ปล่อยตัวคน และคืนทรัพย์สินที่ยึดไว้
๘. สิทธิอันชอบธรรมหรือผลประโยชน์ของเจ้าเมือง (ต่อ) ประการที่ห้า ในบริเวณชายพระราชเขตนั้น บรรดาเจ้าเมืองใช้สิทธิของตนได้ทุกประการ ก็ตั้งด่านเรียกเก็บภาษีพิเศษตามใจชอบ
ประการที่หก เจ้าเมืองทั้งหลายดำเนินการค้าทุกหนแห่ง แต่ทำในนามทนายหน้าหอของตน
ประการที่เจ็ด ในที่บางแห่งมีห้วยหนองคลอง บึง หรือบ่อปลา เมื่อมีการวิดกันขึ้น เจ้าเมืองก็จะได้ปลาตัวแรกที่วิดได้
ประการที่แปด การล่าสัตว์กับการค้าเกลือทำได้เสรี และพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด เกลือมีราคาถูกมาก
๙. สิทธิประโยชน์ของผู้รั้ง ผลประโยชน์ไม่เหมือนเจ้าเมือง ประการแรกผู้รั้งมีผลประโยชน์เฉพาะที่พระเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดให้เมื่อแต่งตั้งเท่านั้น ในกรณีหลังผู้รั้งได้ผลประโยชน์ของเจ้าเมืองกึ่งหนึ่ง อีกกึ่งหนึ่งยังตกเป็นของเจ้าเมืองอยู่
๑๐. นามกรมการและตำแหน่งหน้าที่ขุนนางในขบวนการศาล บางเมืองมีไม่ครบทุกตำแหน่ง
ออกญาเจ้าเมือง เจ้าเมืองไม่ได้เป็นออกญาเสมอไป กรมการรอง ๆ ก็มีบรรดาศักดิ์ลดหลั่นลงมา
ออกพระปลัด ปลัด หมายถึง ที่สอง แต่มิได้เป็นประธานในราชการเมื่อเจ้าเมืองไม่อยู่
ออกพระยายกกระบัตร เป็นทำนองอัยการแผ่นดิน และมีหน้าที่สอดแนมความเคลื่อนไหวของเจ้าเมือง
ออกพระพล บังคับการทหาร แต่ต้องฟังบังคับบัญชาของเจ้าเมือง มีอำนาจลงโทษทหารในกองของตนได้ เมื่อเวลาออกสนามรบเท่านั้น
ออกพระมหาดไทย เป็นคล้ายหัวหน้าประชาชน พระมหาดไทยเป็นผู้เกณฑ์ทหาร ส่งเสบียงให้กองทัพ ตรวจตราทะเบียนหางว่าวปัญชีพลเมือง
ออกพระสัสดี เป็นผู้ทำและเก็บรักษาทะเบียนหางว่าวยัญชีพลเมือง เป็นตำแหน่งที่รับสินบลได้มาก พระสัสดีเริ่มขึ้นทะเบียนลูกหมู่ ในบัญชีหางว่าว ตั้งแต่ลูกหมู่อายุได้ ๓ - ๔ ขวบ
ออกหลวงเมือง เป็นคล้ายนครบาล ทำหน้าที่เป็นนายกองตำรวจและกองตระเวณ บริเวณรอบที่พักของคณะผู้แทนพิเศษ ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสมีสายตรวจกองตระเวณ มาให้ความอารักขาตลอดคืน เช่นเดียวกับที่ทำโดยรอบวังหลวง
ออกหลวงวัง เป็นใหญ่ในจวนเจ้าเมือง เป็นธุระซ่อมแซมจวน และบังคับบัญชาบรรดาบโทนของเจ้าเมือง
ออกหลวงแพ่ง เป็นผู้รักษาสมุดพระราชกำหนดกฎหมาย หรือราชประเพณีที่พิพากษาอรรถคดี
ออกหลวงคลัง เป็นผู้รักษาพระคลัง เป็นผู้รับเงินรายได้อันเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์บางประการ
ออกหลวงโกษา เป็นผู้ตรวจตราควบคุมคนต่างด้าว ช่วยคุ้มครองป้องกัน หรือฟ้องร้องชาวต่างประเทศต่อเจ้าเมือง
ออกหลวงหรือออกขุนแขวง เป็นนายกองตำรวจถือดาบติดมืออยู่เสมอ มีพวกแขนลายเป็นนายขมังธนู เป็นลูกน้อง
กออกขุนพยาบาท เป็นนายตะรางหรือเรือนจำ นายคุก เป็นพัสดีเรือนจำ ไม่มีเรือนจำไหนจะร้ายกาจเท่าเรือนจำในประเทศสยาม ซึ่งเป็นคอก หรือกรงสร้างด้วยไม้ไผ่ ถูกฝนถูกลมอยู่ตลอดเวลา
ออกขุนนรินทร์ บังคับบัญชาคนเลี้ยงช้างหลวง ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวมีอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ มีแยกกันเลี้ยงอยู่หลายตำบลด้วยกัน
ออกขุนนายโรง เป็นเจ้าพนักงานจัดอาหารเลี้ยงช้าง
ในคณะกรมการเมือง แต่ละชุดมีเจ้าพนักงานผู้หนึ่งประจำสำหรับอ่านตรา คือ กระแสพระบรมราชโองการจากพระเจ้าแผ่นดิน และมีหอหนึ่งตั้งอยู่ในที่สูง สำหรับเชิญท้องตราไปเก็บรักษาไว้ ดังเช่นในวังหลวงก็มีหอหลวงตั้งอยู่ในที่สำคัญ เป็นที่สำหรับใช้เก็บพระราชสาร ที่พระเจ้ากรุงสยามทรงได้รับจากพระราชาบางประเทศ
๑๑. ความแตกต่างกันอย่างสำคัญระหว่างเจ้าพนักงานภายในกับภายนอก ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นกรมการภายใน (ในกรุง) ยังมีเจ้าพนักงานกรมการภายนอก (นอกกรุง) ตามหัวเมืองต่าง ๆ สุดแท้แต่เจ้าเมืองจะแต่งตั้งขึ้น แม้กรมการเหล่านี้จะได้รับบรรดาศักดิ์เช่นเดียวกันก็ตาม แต่ก็ยังด้อยกว่ากรมการภายในมาก กรมการภายในทุกตำแหน่งมีผู้ช่วยคนหนึ่ง เรียกว่า ปลัด และจ่าศาล อีกคนเรียก เสมียน ในบ้านขุนนางจึงเป็นบ้านพระราชทาน จะมีหอนั่งหลังหนึ่งสำหรับออกว่าราชการด้วย
บทที่ห้า แบบแผนการตุลาการ
๑. ไม่มีการแบ่งคดีออกเป็นสองประเภท คดีทั้งปวงมีอยู่แบบเดียวไม่แบ่งออกเป็นคดีแพ่งกับคดีอาญา
๒. กระบวนการพิจารณาในศาลทำเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเดียวและต้องวางเงินประกันตัวด้วย
๓. หน้าที่ของเจ้าหมู่มูลนายในศาล บรรดามูลนายของคนเหล่านั้นเป็นเจ้าพนักงานในคณะตุลาการด้วย เรียกกันสามัญว่า กรมการที่ปรึกษา ในเบื้องต้นโจทก์ต้องไปกรมการที่ปรึกษาอันเป็นมูลนายของตนก่อน เพื่อยื่นคำฟ้อง กรมการที่ปรึกษาก็นำไปยื่นต่อเจ้าเมือง ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าควรจะให้รับฟ้อง หรือยกฟ้อง ถ้ายกฟ้องก็อาจสั่งลงทัณฑ์แก่โจทก์ เพื่อมิให้ผู้ใดเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
๔. ลักษณะพิจารณาคดีในสยาม เมื่อเจ้าเมืองสั่งให้ฟ้อง ก็ส่งสำนวนไปให้กรมการที่ปรึกษา ถ้ากรมการที่ปรึกษาเป็นมูลนายทั้งโจทก์และจำเลย เมื่อประทับตราประจำตำแหน่งลงแล้ว ก็จะนับจำนวนบรรทัดที่เขียน และคำอักษรที่ขีดฆ่าในฟ้องไว้ เพื่อมิให้แก้ไขเพิ่มเติมได้ กรมการที่ปรึกษาก็ส่งฟ้องกันให้ปลัดกับเสมียนของตน ให้ตัดกระทงแถลงขึ้นอ่านเสนอ ณ หอนั่งที่บ้านของตนเสร็จแล้ว กรมการที่ปรึกษาก็พาเสมียนของตน นำต้นฟ้องไปรายงานหรืออ่านต้นฟ้องนั้น ณ หอนั่งที่จวนเจ้าเมืองให้คณะกรมการที่ปรึกษาทั้งปวงฟัง แต่โดยที่เจ้าเมืองมิได้ออกมานั้งฟังด้วยในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ครั้นแล้วก็ให้นำคู่ความเข้ามาเพื่อศาลจะได้เจรจาประนีประนอม อยู่สามนัด ถ้าไม่มีผล ถ้ามีพยานศาลก็จะสั่งให้เบิกตัวเข้ามาให้การต่อหน้าเสมียนผู้นั้น ครั้งถึงการประชุมพิจารณาคดีคราวหน้า ซึ่งเจ้าเมืองก็มิได้มาเป็นประธานอีก เสมียนก็อ่านต้นฟ้อง และคำให้การของพยานให้ที่ประชุมฟังตลอดแล้ว ก็ช่วยกันออกความเห็นด้วยวิธีปรึกษาหารือกันแล้ว และบันทึกความเห็นเหล่านั้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เริ่มแต่ความเห็นของเจ้าพนักงานผู้น้อยขึ้นมาหาผู้ใหญ่
๕. วิธีพิพากษา เมื่อเตรียมสำนวนคดีพร้อม และกรมการที่ปรึกษามาชุมนุมพร้อมกันต่อหน้าเจ้าเมืองแล้ว จ่าศาลหรือเสมียนของเจ้าเมืองก็อ่านสำนวน คำให้การโจทก์จำเลยกับความเห็นของคณะกรมการที่ปรึกษาให้ฟัง เจ้าเมืองได้ประมวลสรุปความเห็นทั้งมวลแล้ว สอบถามกรมการแล้ว พิจารณาทุกกระบวนแล้วจึงประกาศคำตัดสิน
๖. มีการอ่านตัวบทกฎหมายและขนบธรรมเนียม เป็นหน้าที่ของออกหลวงแพ่ง ที่จะอ่านตัวบทกฎหมาย ที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในคดีนั้นด้วยเสียงอันดัง มีการถกเถียงกันด้วยเรื่องการตีความบทกฎหทายเหมือนกับ ที่พยายามใช้การเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดความเป็นธรมแก่คู่ความ เจ้าเมืองเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและประกาศคำพิพากษา แล้วให้บันทึกลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หากคำพิพากษาไม่เป็นไปตามทางยุติธรรม ก็เป็นหน้าที่ของยกกระบัตร หรืออัยการแผ่นดิน จะบอกกล่าวเตือนให้ศาลทราบไว้ แต่คัดค้านคำพิพากษาไม่ได้
๗. การชำระความกว่าจะแล้วก็ช้ามาก ไม่ว่าคดีเรื่องใด ความจะแล้วได้ภายใน ๓ วัน แต่บางเรื่องถึง ๓ ปี ก็มี
๘. ไม่มีทนายความหรืออัยการโจทก์ โจทก์จำเลยให้การต่อหน้าเสมียน เสมียนก็เขียนไปตามคำให้การ จะให้การด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นให้การแทนก็ได้
๙. ต้องกระทำต่อหน้าใคร เสมียนเป็นผู้รับเอกสารที่เป็นเครื่องประกัน แต่ต้องรับต่อหน้าศาล
๑๐. การพิสูจน์ตามจารีตนครบาล ค่อนข้างสาหัสและใช้กระทำกันอย่างรุนแรง มีวิธีนานาประการ หรือมิฉะนั้นก็ใช้พิสูจน์กันด้วยน้ำ และด้วยไฟ หรือใช้วิธีทางไสยศาสตร์อื่น ๆ อีก
๑๑. การพิสูจน์ด้วยไฟ เขาขุดหลุมเป็นรางเพลิง แล้วโหมไฟพูนหลุมนั้นขึ้นมา แล้วทุบปราบให้ถ่านไฟแดง เรียบเสมอปากหลุม หลุมยาว ๕ วา กว้าง ๑ วา คู่ความทั้งสองฝ่ายเดินลุยไฟ ด้วยเท้าเปล่า จากด้านหนึ่งไปสุดอีกด้านหนึ่ง ฝ่ายใดที่ฝ่าเท้าไม่พอง จะเป็นฝ่ายชนะคดี ธรรมดาจะมีผู้กำกับข้างสองคน เดินขนาบผู้ลุยไฟ และใช้มือกดไหล่ผู้ลุยไฟไว้อย่างแรง
๑๒. การพิสูจน์ด้วยไฟอีกวิธีหนึ่ง บางทีการพิสูจน์ด้วยไฟก็กระทำกันด้วยน้ำมัน หรือสารอย่างอื่น ที่เดือดพล่าน ซึ่งคู่ความต้องเอามืออุ้มลงไป
๑๓. การพิสูจน์ด้วยน้ำ ให้คู่ความดำน้ำพร้อม ๆ กัน โดยเกาะหลักรูด ลงดำลงไปคนละหลัก ใครดำได้นานกว่าก็เป็นผู้ดำรงสัตย์
๑๔. การพิสูจน์ด้วยยาทำให้อาเจียน โดยใช้ยาลูกกลอนบางชนิด ที่พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ปรุงขึ้น พร้อมกัยเสกสาปแช่งไว้ให้คู่ความกลืนเข้าไป ถ้าไม่อาเจียนออกมาก็เป็นผู้ดำรงสัตย์ เพราะเป็นยาที่ทำให้อาเจียน
๑๕. ผลสำเร็จของการพิสูจน์ การพิสูจน์ทำต่อหน้าธารกำนัล ถ้าคู่ความผ่านการพิสูจน์โดยไม่เป็นอันตรายเสมอกัน หรือว่าเป็นอันตรายด้วยกัน ก็จะให้ไปพิสูจน์ด้วยวิธีอื่น
๑๖. ลักษณะอุทธรณ์ตามลำดับชั้น ทำได้ทุกคดี
๑๗. การพิพากษาประหารชีวิตสงวนเป็นสิทธิสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือข้าหลวงพิเศษเท่านั้น บรรดาผู้ทำความผิด จะถูกคุมขังไว้ในคุกจนกว่าข้าหลวงพิเศษจะไปถึง พระเจ้าอยู่หัวจะโปรดเกล้า ฯ ให้ข้าหลวงพิเศษออกไปยังหัวเมือง เพื่อชำระความพิเศษบางเรื่อง
๑๘. การลงโทษฐานลักทรัพย์กินความไปถึงกองมรดกด้วย การลงโทษอย่างสามัญฐานลักทรัพย์ มักจะเพิ่มโทษเป็นทวีคูณ และบางทีถึงตรีคูณ ตุลาการกับเจ้าทรัพย์มักได้เท่ากัน (ทำนองเป็นสินไหมกึ่งพินัยกึ่ง) ชาวสยามขยายความโทษลักทรัพย์ครอบคลุมไปถึงบุคคล ที่ได้ทรัพย์นั้นมาโดยมิชอบอีกด้วย ผู้ใดที่ต้องคำพิพากษาให้คืนมรดก เขายังต้องชำระค่าปรับเท่าจำนวนทรัพย์นั้น ด้วยเป็นเจ้าของทรัพย์กึ่งหนึ่ง และเป็นของตุลาการอีกกึ่งหนึ่ง
ถ้าโดยพระบรมราชานุญาตให้ตุลาการคนใดพิพากษาลงโทษคนร้ายที่ลักทรัพย์ ให้ถึงตายได้แล้ว ก็มีอำนาจที่จะสั่งการได้ตามใจชอบ คือจะให้ฆ่าเสีย หรือจะให้ปรับไหมไถ่โทษแทนก็ได้ แต่มิใช่ทั้งฆ่าและปรับ ทั้งสองสถาน
บทที่หก หน้าที่เจ้าเมืองและตุลาการในพระนครหลวง
๑. พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าเมืองของพระมหานคร ตำแหน่งหน้าที่ฝ่ายบริหาร กับฝ่ายตุลาการแยกกันอยู่ เป็นสองตำแหน่ง
๒. ตำแหน่งยมราช ผู้เป็นประธาน ณ ศาลหลวงแห่งพระมหานครสยาม ซึ่งรับคดีอุทธรณ์ทั้งปวงในราชอาณาจักรชื่อว่า ยมราช ปกติมีบรรดาศักดิ์เป็น ออกญา ศาลหรือที่ประชุมลูกขุนของยมราชอยู่ในวังหลวง ท่านจะออกนั่งชำระความ ณ หอแห่งหนึ่งในพระนคร แต่อยู่ภายนอกกำแพงวังหลวง ท่านเป็นผู้ชี้ขาดการวินิจฉัยคดีเพียงผู้เดียว แต่ยังอาจยื่นถวายฎีกาไปยัง พระเจ้าอยู่หัวได้อีก ถ้าผู้ยื่นฎีกาทนค่าใช้จ่ายได้
๓. วิธีการที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย จะต้องส่งสำนวนคดีไปตรวจพิจารณาในที่ประชุมราชมนตรี พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จมาประทับ ก็เมื่อถึงคราวจะมีพระบรมราชวินิจฉัยเท่านั้น ตามแบบแผนที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในราชอาณาจักร
๔. ตำแหน่งพระเสด็จ เป็นผู้ว่าราชการพระมหานครสยาม โดยธรรมดามีบรรดาศักดิ์เป็น ออกญา
๕. การรับรองคณะฑูตผู้แทนพิเศษพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส โดยเจ้าเมืองต่าง ๆ ในเขตปกครองของตน ลำน้ำจากปากอ่าวเข้าไปถึงพระนครนั้น แบ่งออกเป็นเขตปกครองหลายเมืองด้วยกัน เมืองแรกคือ พิบพลี (เพชรบุรี) เมืองที่สอง พระประแดง เมืองที่สาม บางกอก เมืองที่สี่ ตลาดขวัญ และเมืองที่ห้า สยาม (พระนครศรีอยุธยา) บรรดาขุนนางในเขตปกครองเหล่านี้ได้ออกมาต้อนรับคณะฑูตที่ต้นทาง และไม่จากไปจนกว่าบรรดาเจ้าพนักงานต่อไปจะมารับช่วง และแสดงความเคารพต่อกันแล้ว บรรดาขุนนางของแต่ละเขตปกครอง ก็รับหน้าที่เป็นผู้นำขบวนต่อไป นอกจากนี้ยังมีขุนนางผู้ใหญ่อีกบางท่าน นำเรือยาวของพระเจ้ากรุงสยาม ไปรับคณะผู้แทนพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสถึงปากน้ำ และมีขุนนางหน้าใหม่ ๆ ไปสมทบ เพื่อนำคำอำนวยพรแห่งพระเจ้ากรุงสยาม มาแสดงต่อคณะผู้แทนเพิ่มขึ้นทุกวัน และเมื่อได้เข้าขบวนแล้วก็ไม่ละไปอีกเลย
๖. สถานที่ซึ่งคณะผู้แทนพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสคอยวันเข้าสู่พระนคร คณะผู้แทนพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสไปถึงสถานที่แห่งหนึ่ง อยู่ห่างเมืองสยาม ๒ ลี้ เรียก ตาบังก์ (ด่านภาษี) และรออยู่ที่นั่น ๘-๑๐ วัน จนถึงวันกำหนดเข้าสู่พระนคร เรือนพักด่านภาษีที่ปากน้ำ สร้างด้วยไม่ไผ่เหมือนบ้านเรือนราษฎรทั่วไป
๗. ผู้ว่าราชการพระนครสยามเป็นผู้มารับ และปราศรัยอำนวยพรคณะผู้แทน ฯ ณ ตาบังก์ หลังที่พักอยู่นั้น
บทที่เจ็ด เสนาบดี เบื้องต้นทีเดียวก็ จักรี กลาโหม และเจ้ากรมคชบาล
บทที่แปด ตำราพิชัยสงครามของชาวสยาม และการทหารเรือกับทหารบก
๑. ชาวสยามไม่เหมาะที่จะเป็นนักรบ ตำราพิชัยสงครามดูไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันในเมืองสยาม และชาวสยามดูไม่ค่อยเหมาะกับงานประเภทนี้ คนควงดาบมาคนเดียวก็พอที่จะทำให้ชาวสยาม ตั้งร้อยวิ่งหนีได้
๒. ผู้ที่เกิดในชมพูทวีปได้รับการดูหมิ่นในเรื่องความกล้าหาญเพียงใด
๓. ชาวสยามตื่นเลือด ความคิดในเรื่องเวียนว่ายตายเกิด ทำให้เกิดความสะอิดสะเอียนต่อการเลือดตกยางออก สิดรอบความเหี้ยมหาญที่จะทำศึก ตัวอย่าง เมื่อชาวพะโคยกทัพมาย่ำยีดินแดนสยามทางด้านหนึ่ง ชาวสยามก็ยกทัพไปในดินแดนชาวพะโคอีกด้านหนึ่ง แล้วทั้งสองฝ่ายก็กวาดต้อนครอบครัว พลเมืองของฝ่ายตรงข้ามไปเป็นทาสเชลย
๔. เขาแฝงเจตนาในการรบเพื่อพิฆาตข้าศึกอย่างไร เมื่อกองทัพทั้งสองฝ่ายมาประจันหน้ากัน ต่างฝ่ายต่างไม่ยิงใส่กัน จงอย่าฆ่าเป็นพระบรมราชโองการของพระเจ้ากรุงสยาม เมื่อทหารเข้าสู่สนามรบ แต่ทั้งนี้ไม่ได้มิให้ฆ่าเสียเลย เพียงแต่ว่าอย่ายิงสาดเข้าไปในหมู่ข้าศึกตรง ๆ เท่านั้น
๕. ทำอย่างไรที่ทหารฝรั่งเศสคนหนึ่งจับพระราชาสิงขรได้
๖. ชาวสยามไม่ค่อยกลัวประเทศข้างเคียงนัก
๗. พระเจ้ากรุงสยามไม่มีกองทหารฝึกไว้ประจำการ นอกจากกองทหารรักษาพระองค์ชาวต่างประเทศเท่านั้น ม.เลอ เชอวาลิเอร์ เดอ ฟอร์แบ็ง ได้ฝึกทหารเกณฑ์หัดชาวสยามไว้ ๔๐๐ คน ที่เมืองบางกอก และเมื่อท่านกลับไปแล้ว มีคนอังกฤษซึ่งเคยเป็นสิบเอก อยู่ที่เมืองมัทราสปถัม รับอาสาเป็นครูฝึกต่อได้อีก ๘๐๐ คน ได้จัดให้ทหารเกณฑ์หัด ๔๐๐ คน ได้อยู่ใกล้บ้านเดิมของตน บริเวณเมืองบางกอก และอีก ๘๐๐ คน ไปประจำอยู่ที่เมืองละโว้ ซึ่งทหารเหล่านี้มีบ้านเรือนของตน ในกรุงหรือตำบลแถบนั้น
๘. เมืองสยามมั่นคงพอโดยไม่ต้องมีป้อมปราการ โดยมีป่าไม้เป็นดงรกชัฎ ยากที่จะเข้าถึงได้ง่าย และมีแม่น้ำลำคลองหลายสายตัดกัน และยังมีน้ำท่วมปีละ ๖ เดือนอีกด้วย จึงไม่มีป้อมปราการด้วยเกรงว่า จะเสียป้อมแก่ข้าศึกไป
๙. ชาวสยามไม่รู้จักสร้างป้อมด้วยไม้ เมื่อไม่กี่ปีมานี้ พระเจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์ จะให้สร้างป้อมไม้ขึ้นที่แดนต่อแดนกับแคว้นพะโค แต่ไม่มีใครทำการได้สำเร็จ นอกจากบาทหลวงฝรั่งเศสคนหนึ่งที่จำใจทำ ครั้นสร้างป้อมเสร็จแล้วก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงผู้ว่าราชการเมืองโจสลัม อยู่ ๓ - ๔ ปี
๑๐. การยิงปืนใหญ่ของชาวสยาม ชาวสยามมีปืนใหญ่ไม่มากนัก ชาวปอร์ตุเกศที่เกิดที่เมืองมาเก๊า คนหนึ่งได้หล่อปืนใหญ่ถวายให้ไม่กี่กระบอก แต่กถ้าให้ชาวสยามหล่อเองแล้ว ก็สงสัยว่
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 25,650 ครั้ง เปิดอ่าน 16,779 ครั้ง เปิดอ่าน 30,102 ครั้ง เปิดอ่าน 64,578 ครั้ง เปิดอ่าน 34,101 ครั้ง เปิดอ่าน 22,465 ครั้ง เปิดอ่าน 37,996 ครั้ง เปิดอ่าน 136,030 ครั้ง เปิดอ่าน 18,566 ครั้ง เปิดอ่าน 20,227 ครั้ง เปิดอ่าน 28,949 ครั้ง เปิดอ่าน 30,611 ครั้ง เปิดอ่าน 21,944 ครั้ง เปิดอ่าน 3,362 ครั้ง เปิดอ่าน 20,275 ครั้ง เปิดอ่าน 15,590 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 18,207 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,803 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,920 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,590 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,299 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,852 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 35,482 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 24,414 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,729 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,841 ครั้ง |
เปิดอ่าน 714 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,344 ครั้ง |
|
|