Advertisement
หลายคนคงเคยอ่านหนังสือแบบวางไม่ลงแม้จะอยู่ในที่ที่มีแสงน้อยหรือในที่มืดกันนะคะ และแน่นอนว่าคุณต้องเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า "อ่านในที่มืดๆ ระวังสายตาเสียนะ"
ว่าแต่...มันเป็นเรื่องจริงไหมหนอ?
คำตอบก็คือการอ่านหนังสือในที่มืดนั้นมีผลไม่มากต่อสายตา แพทย์หลายคนพยายามหาคำตอบในเรื่องนี้มานาน แต่ก็นักวิทย์บางคนเชื่อว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมในวัยเยาว์อาจเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของสายตาสั้น (myopia)
เมื่อที่ดวงตาปรับให้เข้ากับระดับแสงต่ำ มีหลายสิ่งที่เกิดย้อนกลับไปมาได้เกิดขึ้น กล้ามเนื้อรอบม่านตา (iris) จะคลายและปล่อยให้ลูกตาดำ (pupil) เปิดกว้างเพื่อให้แสงผ่านไปยังด้านหลังตามากขึ้น ส่วนหลังตานี้เองที่มีตัวรับแสง (photoreceptor) ที่เรียกว่า เซลล์รูปกรวย (cone) และเซลล์รูปแท่ง (rod) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแสงให้เป็นข้อมูลสำหรับสมอง เมื่อแสงลดต่ำลง เซลล์รูปกรวยและแท่งจะเพิ่มความสามารถในการแปลงแสงให้เป็นข้อมูล(กระแสประสาท) การปรับลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณเปลี่ยนจากที่มืดไปนยังที่สว่างหรือตรงข้ามกันนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การอ่านหนังสือหรือเพ่งมองวัตถุที่อยู่ใกล้ในที่มืดทำให้ตาคุณล้าได้ ในที่ที่มีแสงน้อย ระดับความเปรียบต่าง (contrast) จะลดลงระหว่างตัวอักษรสีดำที่อยู่บนหน้ากระดาษสีขาว และเพื่อทำให้คุณอ่านได้ชัด คุณอาจจะต้องเขยิบหนังสือเข้าใกล้ตาของคุณ ขณะที่คุณทำเช่นนี้ กล้ามเนื้อตา (ciliary muscles) รอบเลนส์ตาจะหดตัวทำให้เลนส์เปลี่ยนรูปร่างไปส่งผลให้เข้าไปยังจุดโฟกัสมาก(ในทางอ้อม) ที่อยู่ด้านหลังตา ขณะที่ลูกตาทำการปรับด้วยกระบวนการเหล่านี้นั้น คนหลายรายรายงานว่าตนเองมีอาการปวดหัวรวมถึงคลื่นไส้ แต่เหตุผลที่จริงของอาการปวดหัวนั้นมักมาจากการเกร็งของกล้ามเนื้อจากการทำงานหักโหมมากกว่าจากการใช้สายตา สาเหตุของอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดมาจากการระดับความมืดที่เราจ้องวัตถุอย่างใกล้ๆ แต่อย่างใด
แพทย์ส่วนใหญ่กล่าวว่าอาการดังกล่าวไม่มีอันตรายแต่อย่างใด มีเพียงแพทย์บางคนเท่านั้นที่กล่าวว่ามันอาจจะไปเพิ่มโอกาสสายตาสั้นในเด็กเล็กได้ถ้ากล้ามเนื้อตาของพวกเขาทำงานหนักเกินไป พวกเขาชี้ไปยังการศึกษาต่างๆ ที่เชื่อมโยงโอกาสการเกิดสายตาสั้นที่สูงกับวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการอ่านและการศึกษาในตอนเด็ก
การศึกษาหนึ่งกล่าวว่าความล้า(ของตา)ในการอ่านหนังสือโดยเฉพาะการอ่านในที่มืดอาจจะทำให้ตามีการเจริญที่ผิดปกติไป การพัฒนารูปร่างตามีความสำคัญมากเนื่องจากสายตาสั้นเกิดขึ้นเมื่อตาขยายยาวมากเกินไป เดกทารกแทบทุกคนเกิดมามีสายตายาวเนื่องจากตาของพวกเขายังไม่มีการพัฒนาในมีรูปร่างเหมาะสม ในช่วงสิบปีแรกของชีวิต ดวงตามีการเปลี่ยนขนาดและรูปร่างเพียงเล็กน้อย ซึ่งส่งผลอย่างมาจากต่อการปรับโฟกัสของตา
สิ่งที่นักวิทย์ยังไม่ทราบในตอนนี้คือปัจจัยใดที่ส่งผลโดยตรงกับตาในช่วงเจริญที่สำคัญนี้ ข้อมูลส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าพันธุกรรมมีบทบาทอย่างมาก ซึ่งคล้ายกับว่าโอกาสการมีสายตาสั้นจะเพิ่มมากขึ้นถ้าพ่อแม่ของเด็กสายตาสั้น
แต่งานวิจัยในสัตว์เบื้องต้นบ่งชี้ว่าอาจจะปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน มันเป็นไปได้ที่ว่าขณะที่ดวงจากำลังเจริญอยู่นั้น มันกำลังทดลองปรับโฟกัสให้ถูกต้อง แพทย์หลายคนตั้งทฤษฎีที่ว่าถ้าคุณทำให้ตาเกิดอาการล้าในช่วงนี้โดยการเพ่งมองวัตถุที่อยู่ใกล้ๆ แล้ว กระบวนการเจริญอาจจะผิดพลาดได้
ถึงแม้ว่าการอ่านหนังสือในที่มืดจะส่งผลต่อสายตาไม่มาก อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณอยากอ่าน...คุณก็ควรจะเปิดไฟอ่านอย่างสบายใจดีกว่าค่ะ
|
|
|
วันที่ 2 ก.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,722 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,189 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,058 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,664 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,234 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,021 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,693 ครั้ง |
|
|