ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ความรู้เรื่องเมืองสยาม


สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เปิดอ่าน : 18,718 ครั้ง
Advertisement

ความรู้เรื่องเมืองสยาม

Advertisement

ความรู้เรื่องเมืองสยาม
จากจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์

            เป็นจดหมายเหตุพงศาวดาร ราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๒๓๐ ลา ลูแบร์ เป็นอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง ๓ เดือน ๖ วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมากรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง
            หนังสือที่ ลา ลูแบร์ เขียนถึงเสนาบดีมีความว่า ตามที่ได้สั่งการให้เขาไปกรุงสยาม แล้วสังเกตุเรื่องราวนานาประการที่แปลก ๆ เกี่ยวกับประเทศนั้น บรรดาที่เขาได้พบเห็นมาให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความมุ่งหมายของจดหมายเหตุ

            เขาได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๒๙) มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๓๐) เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๐) ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑)
            ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย เขาได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย เขาแถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกตุ และรู้จักประเทศสยามดีเท่านี้


ตอนที่หนึ่งราชอาณาจักรสยาม

            ๑. เหตุใดราชอาณาจักรนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก   การเดินเรือได้ช่วยให้เรารู้จักตำบลชายฝั่งของอาณาจักรนี้บ้าง และมีผู้เขียนไว้บ้างแล้ว แต่ในส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน แทบจะไม่รู้เรื่องราวกันเลย เพราะชาวสยามไม่ได้ทำแผนที่ขึ้นไว้ หรือหากทำไว้ก็คงปกปิดไว้เป็นความลับ แผนที่ที่เขานำมาแสดง เป็นงานของชาวยุโรปผู้หนึ่งทำไว้ โดยได้ทวนแม่น้ำไปถึงอาณาเขต
            ๒. พรมแดนด้านเหนือ  ไปถึงองศาที่ ๒๒ และโดยที่อ่าวสยามอยู่ที่ ๑๓ องศา ดังนั้ขนาดของพื้นที่จะตกประมาณ ๑๗๐ ลี้ ตามวัดขึ้นไปเป็นเส้นตรง โดยคิด ๒๐ ลี้ต่อองศาละติจูด (ลี้กิโลเมตริก ๔ กิโลเมตร ลี้บก  ๔,๔๔๔ กิโลเมตร ลี้ทะเล  ๕,๕๕๖ กิโลเมตร)
            ๓. เชียงใหม่ และทะเลสาบ  ชาวสยามกล่าวว่าเชียงใหม่อยู่ห่างจากพรมแดนราชอาณาจักรขึ้นไป ระยะเดินทาง ๑๕ วัน (๖๐ - ๗๐ ลี้) การนับวันคือ การเดินเรือทวนน้ำ มีผู้เล่าว่าเมื่อ ๓๐ ปีที่ผ่านมา พระเจ้าอยู่หัวได้ยกทัพไปตีเมืองนั้นแล้วทิ้งให้ร้าง โดยกวาดต้อนคนมาหมด ต่อจากนั้นว่าพระเจ้าอังวะ ซึ่งเมืองพะโค เป็นเมืองขึ้นได้มาส้องสุมผู้คนขึ้นใหม่ แต่ชาวสยามที่ขึ้นไปในกองทัพครั้งนั้น ไม่มีใครได้เห็น หรือรู้ว่ามีทะเลสาบลือนาม ซึ่งนักภูมิศาสตร์ของเราระบุว่าเป็นต้นแม่น้ำ (เจ้าพระยา) เมื่อทวนน้ำขึ้นไปต้นน้ำประมาณ ๕๐ ลี้ ก็มีลำน้ำพอที่เรือขนาดย่อม ๆ จะผ่านขึ้นไปได้เท่านั้น
            ๔. ประเทศสยามเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา  มีอาณาเขตกันด้วยภูเขาสูง ตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกจรดทิศเหนือ แบ่งเขตกับราชอาณาจักรลาว ทางทิศเหนือกับทิศตะวันตกก็มีภูเขากั้น แบ่งเขตกับราชอาณาจักรพะโคและอังวะ ระหว่างเทือกเขาทั้งสอง (มีคนอาศัยอยู่น้อย เป็นคนป่าและยากจนแต่เป็นอิสระไม่ขึ้นกับใคร) เป็นที่ราบใหญ่ บางตอนกว้าง ๕๐ - ๑๐๐ ลี้ มีแม่น้ำไหลผ่านไหลลงอ่าวสยาม แยกออกเป็นสามแคว

            ๕. เมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายนี้  ลึกจากปากน้ำ ๗ ลี้ เป็นเมืองบางกอก ชาวสยามไม่นิยมปลูกเรือนอยู่ตามชายฝั่งทะเลนัก มักชอบอยู่ตามริมแม่น้ำ ที่ขึ้นล่องสะดวกแก่การค้าทางทะเล ชื่อตำบลมักขึ้นต้นด้วยบ้าน
            ๖. สวนผลไม้บางกอก  มีอาณาบริเวณยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำ ถึง ๔ ลี้ จรดตลาดขวัญ
            ๗. เมืองอื่น ๆ บนฝั่งแม่น้ำ  ตำบลสำคัญคือ แม่ตาก เป็นเมืองเอก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหนพายัพ ถัดไปเป็นเมืองเทียนทอง (เชียงทอง) กำแพงเพชร (กำแปง) แล้วถึงเมืองนครสวรรค์ ชัยนาท ตลาดขวัญ ตลาดแก้ว และบางกอก ถึงทางชัยนาทกับสยามค่อนไปทางตะวันออกเป็นเมืองละโว้ ตรงละติจูด ๑๔  ๔๒  ๓๒ ตามที่บาทหลวงเยซูฮิตได้คำนวณไว้ พระเจ้ากรุงสยาม โปรดไปอยู่เมืองนั้นเกือบตลอดปี เมืองเทียนทองร้างไปคงเนื่องจากสงครามเก่าแก่กับพระโค
            ๘. ลำน้ำที่เรียกแม่น้ำเหมือนกัน  ที่เมืองนครสวรรค์ เป็นแควร่วมของแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเหนือ นักภูมิศาสตร์ฝรั่งเศสบอกว่าไหลจากทะเลสาบเชียงใหม่ แต่ยืนยันว่าต้นน้ำมาจากเทือกเขา ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองขึ้นไปไม่ไกลนัก ไหลผ่านเมืองฝาง พิชัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และบรรจบกับแม่น้ำสายอื่น
                เมืองพิษณุโลก  มีเจ้าสืบวงศ์เช่นเมืองตากมีการค้าขายมาก มีหอรบ ๑๔ แห่งอยู่ละติจูด ๑๙
                เมืองนครสวรรค์  อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองพิษณุโลกกับเมืองสยาม (อยุธยา) ระยะทางขาขึ้น ๒๕ วัน โดยทางเรือ แต่อาจร่นมาเป็น ๑๒ วัน ถ้ามีฝีพาย และพายอย่างรีบเร่ง
            ๙. เมืองไม้  เมืองเหล่านี้ไม่ผิดกับเมืองอื่น ๆ ในสยามคือเป็นหมู่เรือนจำพวกกระท่อม ล้อมรอบด้วยรั้วไม้เสา บางทีมีกำแพงหินและอิฐ แต่มีน้อย
            ๑๐. ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมืองฝาง  เพราะเมืองนั้นเป็นที่เก็บพระทันตธาตุ ชาวสยามจึงสร้างวิหารเจดีย์ไว้เพื่อบูชา บางคนเรียกเมืองพัน ทำให้มีชาวพะโค (มอญ) และชาวลาว นอกจากชาวสยามมาชุมนุมนมัสการด้วย
            ๑๑. ความเชื่อที่พระบาท  อยู่ห่างเมืองละโว้ไปทางตะวันออก ๕ - ๖ ลี้
            ๑๒. พระบาทคืออะไร  คือพิมพ์เท้ามนุษย์ โดยฝีมือช่างสลักอย่างหยาบ ๆ ลงในหิน ลึก ๑๓ - ๑๔ นิ้ว ยาวกว่าเท้าคนทั่วไป ๕ - ๖ เท่า  กว้างทำนองเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปนมัสการเป็นประจำทุกปี โดยขบวนพยุหยาตราเป็นพระราชพิธีใหญ่ พระพุทธบาทหุ้มด้วยแผ่นทองคำ  อยู่ในมหามณฑปที่สร้างสวมไว้  ตามคำให้การของผู้เฒ่าผู้แก่ พระบาทนี้เพิ่งมีตำนานมาได้ไม่เกิน ๙๐ ปี
            ๑๓.  มูลเหตุความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้  คนสยามเป็นเพียงนักลอกแบบที่หยาบ ๆ พงศาวดารอินเดียได้บันทึกเรื่องพระเจ้ากรุงสิงหฬ (ซีลอน)  องค์หนึ่งได้สงวนเขี้ยวลิงตัวหนึ่งไว้ด้วยความนับถือยิ่งยวด ซึ่งชาวอินเดียถือว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง พระองค์พยายามไถ่คืนจากอุปราชแห่งอินเดียว ซึ่งยึดเขี้ยวนั้นมาจากชาวอินเดีย แต่ไม่เป็นผล อุปราชอินเดียได้เผาเขี้ยวนั้นแล้วทิ้งแม่น้ำไป
            ๑๔.  อะไรคือรอยเท้าอาดัมในลังกา  ชาวปอร์ตุเกศเรียกรอยเท้าในสิงหลว่า เท้าอาดัม และพวกเขาเชื่อว่าลังกานั้นคือ สวนสวรรค์ในไบเบิล
บทที่สอง ลักษณะทางภูมิศาสตร์ แห่งราชอาณาจักรสยามต่อจากที่ว่าด้วยเมืองหลวง
            ๑.  เมืองอื่น ๆ   ติดเส้นแบ่งพรมแดนกับประเทศพะโค  เป็นที่ตั้งของเมืองกาญจนบุรี  ติดกับพรมแดนลาว มีเมืองโคราชเสมา และเมืองที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสองสายเหนือนครสวรรค์คือ สุโขทัย  ซึ่งอยู่ในระดับพื้นที่สูงเกือบเท่าเมืองพิจิตร กับเมืองสังคโลก  ซึ่งตั้งอยู่คล้อยทางด้านทิศเหนือไปเล็กน้อย
            ๒.  บ้านเมืองที่มีลำคลองตัดกันมากมาย   ชาวสยามขุดคลองเป็นอันมาก ถ้าจดจำไม่ดี จะนับบรรดาเมืองที่ตั้งอยู่ตามริมน้ำได้ไม่ถ้วน

            ๓. ลักษณะเมืองสยาม (อยุธยา)  คลองทำให้เมืองสยามกลายเป็นเกาะ แต่ว่าอยู่ท่ามกลางเกาะหลายเกาะด้วยกัน อยุธยาอยู่ที่ละติจูด ๑๔ ํ ๒๐" ๔๐"  ลองติจูด ๑๒๐ํ ๓๐'  รูปร่างคล้ายถุงย่าม ปากถุงอยู่ทางทิศตะวันตก แม่น้ำใหญ่บรรจบกับลำคลองหลายสาย ซึ่งแล่นวงรอบกรุงตรงด้านเหนือ แล้วแยกลงด้านใต้เป็นหลายแพรกด้วยกัน  พระบรมมหาราชวังอยู่ทางด้านทิศเหนือ พบลำคลองที่เป็นคูเมืองด้านตะวันออก มีทางเดินข้ามอยู่แห่งเดียว คล้ายคอคอด จะออกพระนครได้โดยไม่ต้องข้ามลำน้ำ
            ตัวพระนครกว้างขวางมาก มีกำแพงล้อมตัวเกาะ ในกำแพงเมืองมีคนอยู่ประมาณ ๑ ใน ๖ หมายถึงพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นอกนั้นรกเป็นป่ามีแต่วัดเท่านั้น เขตชานพระนครซึ่งมีชาวต่างประเทศอยู่ทำให้ เพิ่มจำนวนพลเมืองขึ้นอีกมาก ถนนในหมู่บ้านชาวต่างประเทศกว้างและเป็นเส้นตรง บางแห่งปลูกต้นไม้ และปูถนนด้วยแผ่นอิฐตะแคง บ้านชาวพื้นเมืองโดยมากเป็นเรือนต่ำสร้างด้วยไม้  ถนนส่วนใหญ่มักมีลำคลองขนานเป็นแนวตรงไปด้วย  ทำให้เปรียบเมืองสยามได้กับเมืองเวนิช  ตามคลองหลอดมีสะพานเชือกเล็ก ๆ ไม่มั่นคงนัก ทอดข้ามเป็นอันมาก บางแห่งมีสะพานก่ออิฐถือปูนสูงมาก และฝีมือหยาบเต็มที
            ๔. นามของสยาม  คำว่า สยามไม่เป็นที่รู้จักของชนชาวสยามเอง เป็นคำที่พวกปอร์ตุเกศ ซึ่งอยู่ในชมพูทวีปใช้เรียก เป็นนามประชาชาติ ไม่ใช่นามแห่งราชอาณาจักร และคำนามว่า พะโค ลาว มะหง่ล  (Mogol)  กับชื่ออื่น ๆ เป็นอันมาก ซึ่งพวกเราใช้เรียกอาณาจักรต่าง ๆ ในชมพูทวีป ก็เป็นคำที่ใช้เรียกประชาชาติ
            ๕. นามอันแท้ของชาวสยามก็คือ ฟรังซ์ นั่นเอง  ชาวสยามเรียกตนเองว่า ไทย แปลว่า อิสระ  ผู้ที่รู้ภาษาพะโคยืนยันว่า สยาม แปลว่า อิสระ ในภาษานั้น  คำว่า ฟรังซ์ เป็นนามที่บรรพบุรุษฝรั่งเศส ใช้เมื่อสลัดแอกชาติโกลออกจาก อำนาจปกครองของจักรวรรดิ์โรมัน
            ส่วนเมืองสยาม   ชาวสยามเรียกว่า ศรีอโยธยา  บางทีก็เรียกว่า กรุงเทพพระมหานคร
            ๖. ชนต่างจำพวกสองชาติเรียกตนเองว่าสยาม  ชาวสยามที่กล่าวถึง เรียกตนเองว่า ไทยน้อย ยังมีชนอีกพวกหนึ่ง ยังป่าเถื่อนอยู่มาก เรียกกันว่า ไทยใหญ่  อยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือ
            ๗. ภูเขาอื่น ๆ และเขตแคว้นอื่น ๆ   เทือกเขาอันเป็นพรมแดนระหว่างอังวะ พะโค และสยาม นั้น ค่อยราบลงทีละน้อย เมื่อแผ่ลงมาทางตอนใต้ กลายเป็นคาบสมุทรอินเดียน  นับแต่ปากน้ำคงคาออกมา และสิ่นสุดลงที่เมืองสิงคะปุระ คั่นอ่าวสยามกับอ่าวเบ็งกะหล่า ให้เแยกจากกัน  ซึ่งเมื่อรวมกับเกาะสุมาตรา เข้าด้วยแล้วก็เกิดเป็นช่องแคบมะละกา  หรือช่องแคบสิงคะปุระ  อันลือชื่อ มีลำน้ำหลายสายจากภูเขาต่าง ๆ ในคาบสมุทรนี้ หลั่งลงในอ่าว ภูเขาลูกอื่น ๆ อันเป็นพรมแดนสยามกับลาว ก็ยื่นลงมาทางใต้เหมือนกัน ค่อยเตี้ยลงทีละน้อยจนสิ้นสุดลงที่ แหลมกัมโพชา  ซึ่งตั้งอยู่ตะวันออกสุดของทวีปเอเซีย  อ่าวสยามเริ่มต้นตรงระดับเดียวกับแหลมจะงอยนี้ และอาณาจักรสยามก็แผ่ออกไปมากทางด้านใต้ ทั้งสองฟากอ่าวเป็นรูปเกือกม้าคือ  ตามอ่าวทางตะวันออกถึงแม่น้ำจันทบูร  อันเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรกัมโพชา  ทางตะวันตกของอ่าวสยาม อาณาเขตสยามแผ่ลงมาถึงเมืองเกคะ และเมืองปัตตานี อันเป็นดินแดนแคว้นของชาวมลายู ซึ่งแต่ก่อนนี้ เมืองมะละกา เป็นเมืองหลวง
            ๘. ฝ่ายชายทะเลสยาม  ชายทะเลสยามยาวประมาณ ๑๐๐ ลี้  และทางอ่าวเบ็งกะหล่า อีกประมาณ ๑๘๐ ลี้
            ๙. เกาะของสยามในอ่าวเบ็งกะหล่า  มีเกาะใหญ่น้อยเป็นอันมาก  เรียงรายอยู่หนาแน่น เกาะเหล่านี้ส่วนใหญ่มีท่าเรืออย่างดี สมบูรณ์ด้วยน้ำจืดและป่าไม้ เป็นเครื่องล่อให้ชวนกันมาตั้งอาณานิคมใหม่อย่างยิ่ง พระเจ้ากรุงสยามถือว่าพระองค์เป็นใหญ่เหนือแผ่นดินเหล่านี้  แม้ชาวสยามน้อยนัก จะอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยุ่ในแหลมมลายา ทั้งพระองค์เองก็ไม่มีกำลังทางทะเลเพียงพอที่จะแผ่อำนาจ เพื่อกีดกันมิให้ชาวต่างประเทศอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน เอาตามอำเภอใจได้
            ๑๐.   เมืองมะริด  ตั้งอยู่ที่แง่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่  ที่มีผู้คนมากเกาะหนึ่ง มีปลายแม่น้ำสวยงามสายหนึ่งล้อมรอบเป็นขอบคู  ท่าเรือเมืองมะริด กล่าวกันว่า สวยงามที่สุดแห่งชมพูทวีป
บทที่สาม ประวัติศาสตร์และต้นกำเนิดของชนชาวสยาม
            ๑. ชาวสยามไม่ค่อยสนใจในประวัติศาสตร์ของตนนัก  ประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยนิยาย หนังสือก็มีน้อย  เพราะชาวสยามยังไม่รู้จักใช้เครื่องตีพิมพ์ มีผู้กล่าวว่าชาวสยาม แสร้งปกปิดประวัติศาสตร์ของตนไว้  และยืนยันว่าชาวสยามมีประวัติย้อนขึ้นไปไม่ไกลเท่าใดเลย
            ๒. ศักราชสยาม  ชาวสยามเริ่มศกใหม่ในเดือนธันวาคม การเริ่มศักราชนับจากวันปรินิพพานของสมเด็จพระสมณโคดม
            ๓. พระมหากษัตริย์สยาม  ปฐมกษัตริย์สยาม พระนามว่า พระปฐมสุริยเทพนรไทยสุวรรณบพิตร พระนครแห่งแรกคือ ไชยบุรีมหานคร  เมื่อปี พ.ศ.๑๓๐๐  ได้สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีกสิบชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายมีพระนามว่า พญาสุนทรเทศมหาเทพราช ได้ย้ายพระนครมาสร้างราชธานีใหม่ที่เมืองธาตุนครหลวง ในปี พ.ศ.๑๗๓๑  พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๒  พระนามว่า พระพนมไชยศิริ ได้ให้ราษฎรอพยพตามไปยังเมืองนครไทย ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำที่ไหลมาจากภูเขาแดนลาว และไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตอนเหนือเมืองพิษณุโลก ขึ้นไปเล็กน้อยไกลกัน ๔๐ - ๕๐ ลี้  แต่พระมหากษัตริย์องค์นี้มิได้อยู่ที่เมืองนครไทยตลอดมา แต่ได้ไปสร้างและประทับอยู่ ณ เมืองพิบพลี บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ห่างจากปากน้ำราว ๑ ลี้ ทางทิศตะวันตกของปากน้ำเจ้าพระยา  มีพระมหากษัตริย์สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีกสี่ชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายมีพระนามว่า รามาธิบดี ได้ทรงสร้างเมืองสยามขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๔ และขึ้นครองราชย์ ณ ที่นั้น
            ๔. พระชาติของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน  วัน วลิต ได้ทำให้เราได้รู้เหตุการณ์ชัดแจ้งขึ้น
            ๕. ตัวอย่างการกบฎจลาจลในกรุงสยาม
            ๖. ข้อสงสัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดของชาวสยาม   ยากที่จะวินิจฉัยลงไปได้ว่า เป็นชนชาติที่สืบพงศ์พันธุ์แต่ดึกดำบรรพ์ในประเทศสยาม  ที่อยู่ในดินแดนสยามเอง หรือว่าสืบเผ่าพันธุ์มาจากมนุษย์ชาติอื่น แล้วอพยพย้ายมาตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคส่วนนี้  แม้จะมีมีเจ้าของถิ่นดั้งเดิมตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้ว
            ๗. ในสยามมีภาษาสองอย่าง   ชาวสยามรู้จักใช้ภาษาสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นภาษาพื้นเมือง เป็นภาษาง่าย ๆ และเกือบจะเป็นคำโดด ไม่มีการกระจายคำกริยา หรือการเปลี่ยนตามการก  กับอีกภาษาหนึ่งคือ ภาษาบาลี ซึ่งในทรรศนะของพวกเขาว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว  เป็นที่รู้จักกันในหมู่ปวงปราชญ์ราชบัณฑิต ใช้ในการพระศาสนา ในตัวบทพระธรรมศาสตร์ ชื่อตำแหน่งหน้าที่ ใช้ในคำประพันธ์
            ๘. ชาวสยามบอกถึงมูลเดิมแห่งกฎหมายและศาสนา  ชาวสยามยืนยันว่า กฎหมายของพวกเขาเป็นกฎหมายต่างประเทศ มาสู่สยามจากเมืองลาว ทั้งสยามและลาวมีศาสนาเดียวกัน และยังเหมือนกับชาวพะโค และตำนานหรือประเพณีดั้งเดิม ก็กล่าวว่ากฎหมายและแม้แต่พระมหากษัตริย์ของพวกเขา ก็มาจากเมืองลาว และทางลาวก็ว่าพระมหากษัตริย์ของพวกเขา และกฎหมายของลาว โดยมากก็ไปจากสยามเช่นเดียวกัน
            ๙. ภาษาบาลี  ชาวสยามเชื่อว่า ตัวอักษรภาษาบาลี มีผู้รู้เฉพาะชาวสยามเท่านั้น แต่พวกนักสอนศาสนาคริสต์เชื่อว่า ภาษาบาลียังไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว เพราะพวกเขาได้พบผู้ที่มาจากแหลมโกโมแร็ง (Comorin)  พูดภาษาบาลีปนมาในคำพูดของเขา และยืนยันว่าเป็นภาษาที่พูดกันในบ้านเมืองของเขาตามปกติ
            ๑๐. ชาวสยามคล้ายคลึงกับชาวประเทศเพื่อนบ้าน  ชาวสยามมีรูปพรรณทางใบหน้าแบบชาวชมพูทวีป ผิวผสมแดงกับน้ำตาลไหม้  ซึ่งไม่เหมือนกับชาวต่างชาติข้างเหนือของทวีปอาเซีย  และยังมีจมูกสั้น ตอนปลายจมูกมีลักษณะมนเหมือนชาวประเทศเพื่อนบ้าน กระดูกโหนกแก้มโปน และยื่น หางตาเชิดชัน ใบหูใหญ่กว่าชาวยุโรป ท่าทางมีลักษณะห่อตัวเหมือนลิงทะโมน และยังมีอิริยาบทอีกหลายอย่าง ที่คล้ายสัตว์จำพวกนี้
            ๑๑. พระเจ้ากรุงสยามโปรดเด็ก จน ๗ หรือ ๘ ขวบ  เมื่อพ้นจากการเป็นทารกแล้ว ก็ไม่โปรดอีกต่อไป
            ๑๒. ชาวสยามมิได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศนี้จากที่ไกลนัก  ทุกปีจะมีน้ำท่วมอยู่หลายเดือน เต็มไปด้วยเหลือบยุง บุ้ง ร่าน ริ้น ตัวแมลงต่างๆ  นับไม่ถ้วนชนิด อยู่ในเขตอากาศร้อนอบอ้าว เป็นการยากที่มนุษย์จากถิ่นไกลจะปลงใจอพยพมาตั้งถิ่นฐานได้  นอกจากหมู่ชนในดินแดนใกล้เคียง และเชื่อว่าเพิ่งเข้ามาอยู่ เมื่อไม่กี่ศตวรรษมานี้ โดยอาศัยอายุต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุเป็นพันปีมีอยู่น้อยมาก จึงน่าจะสันนิษฐานว่า ชนชาติสยามน้อย (ไทยน้อย) น่าจะสืบตระกูลมาจากชนชาติสยามใหญ่ (ไทยใหญ่) และพวกสยามใหญ่ก็ถอยมาจากถิ่นเกิดขึ้นไปอยู่ตามภูเขา เพื่อหนีภัยการรุกรานของประเทศเพื่อนบ้าน
            ๑๓. คนต่างด้าวที่เข้าไปยังประเทศสยาม  เลือดชาวสยามระคนปนกับเลือดต่างด้าวอยู่มาก โดยไม่ต้องนับพวกมอญ หรือลาว ซึ่งเกือบจะเป็นชนชาติเดียวกับสยาม  กล่าวกันว่ามีชนต่างชาติเข้ามาพึ่งสยามอยู่ถึง ๔๐ ชาติ  ความปั่นป่วนในด้านการค้า ของเมืองสยามในระยะหลัง ทำให้ชาวต่างชาติที่เคยตั้งหลักแหล่งอยู่ได้ถอนตัวออกไปมาก ปัจจุบันพวกที่อพยพมาจากเบ็งกะหล่า พวกญวนสักสองสามครอบครัว เฉพาะพวกมัวร์ ก็แบ่งออกเป็นตั้ง ๑๐ ชาติแล้ว  พวกมัวร์เป็นแขกชาติอาหรับ นับถือศาสนามะหะหมัด เป็นบรรพบุรุษของพวกแขกสาระเซ็น  แขกชาตินี้แผ่ซ่านอยู่ในที่ต่าง ๆ เกือบทั่วทวีปยุโรป
            ๑๔. ประชากรแห่งราชอาณาจักรสยามมีไม่มากนัก  แยกอยู่ตามเขตแขวงต่าง ๆ ในตัวเมือง หรือตามหัวเมืองต่าง ๆ น่าจะอนุมานว่ารัฐบาลสยามไม่ปรารถนาที่จะให้พลเมืองเพิ่มขึ้นกว่านี้อีก เพราะได้มีการสำรวจสำมะโนประชากรทุกปี รัฐบาลสยามได้ทำทะเบียนคนชายหญิง และเด็กไว้อย่างครบถ้วน จากการสำรวจครั้งล่าสุดมีเพียง ๑.๙ ล้านคน

บทที่สี่  ผลผลิตของเมืองสยาม ข้อแรกคือ ป่าไม้

            ๑. ต้นไผ่  เมืองสยามเต็มไปด้วยป่าไม้  ในสยามใช้ไม้ไผ่มาสีกันให้เกิดเป็นไฟได้
            ๒. ต้นไทรย้อย หรือต้นไม้แห่งราก  เนื้อไม้มีสรรพคุณสามารถกำจัดยุงได้
            ๓. ฝ้าย และนุ่น  คล้ายสำลีอย่าละเอียดมาก แต่ไใยสั้นไม่สามารถปั่นเป็นเส้นด้ายได้ จึงใช้ยัดหมอน เบาะที่นอน
            ๔. ต้นไม้ที่ให้น้ำมันและยาง  ชาวสยามใช้น้ำมันชนิดต่าง ๆ จากต้นไม้บางชนิดใช้ปนกับซีเมนต์ ทำให้มีความเหนียวยิ่งขึ้น ผนังที่ใช้ถมด้วยน้ำมันอย่างนี้ จะผ่องดีและเกลี้ยงเกลา เป็นมันราวกับหินอ่อน ใช้ทำปูนสออิฐได้มีคุณภาพดีกว่าปูนขาวของเรา
            ๕. ต้นไม้ที่ใช้เปลือกต่างกระดาษหรือทำเป็นกระดาษ  ชาวสยามทำกระดาษจากผ้าฝ้ายเก่า ๆ และยังทำจากเปลือกไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นข่อย  ต้องนำมาบดย่อยให้ละเอียด แต่กระดาษเหล่านี้มีความหนาไม่สม่ำเสมอ ความขาวก็หย่อนกว่าของเรา ดังนั้นชาวสยามจึงไม่ใช้หมึกจีนเขียน ส่วนมากชุบหมึกให้ดำ ซึ่งทำให้เนื้อกระดาษแน่นขึ้น แล้วเขียนด้วยดินสอ (สอ แปลว่า ขาว) หนังสือของพวกเขาไม่เย็บเล่มสัน หากทำเป็นแผ่นยาวเหยียด แลไม่ใช้วิธีม้วนเก็บ หากพับทบไปมา และทางที่ดีเส้นบันทัดเขียนตัวอักษรนั้น เป็นไปตามรอยพับไม่เขียนทางขวาง นอกจากสมุดกระดาษแล้ว ชาวสยามยังจารอักษรด้วยเหล็ก ลงบนใบไม้ชนิดหนึ่งจำพวกต้นปาล์ม เรียกใบลาน  ตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวมาก กว้างน้อย บนใบลานนี้ใช้เขียนชาดก และมนตร์ ซึ่งพระภิกษุใช้สวดในวัด
            ๖. ไม้ที่ใช้ต่อเรือกำปั่น   ชาวสยามมีไม้คุณภาพดี สำหรับต่อเรือและทำเสากระโดงเรือ  แต่ไม่มีต้นปอใช้ฟั่นเชือก เชือกจึงทำด้วยใยกาบมะพร้าว ใบเรือทำด้วยเสื่อกกผืนใหญ่ ซึ่งเบาและอุ้มลมได้ดีกว่า
            ๗. ไม้ที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่น  ชาวสยามมีไม้เหมาะในการสร้างเรือน ทำตัวไม้ หรือใช้ในการแกะสลัก มีทั้งไม้เบาและหนักที่สุด  ทั้งที่ผ่าง่าย และผ่าไม่เข้า ไม้ชนิดนี้ใช้ทำกงเรือได้ดีกว่าไม้ชนิดอื่น
            ๘. ไม้ที่ใช้ต่อเรือยาว  สยามมีต้นไม้สูง  ลำต้นตรงท่อนเดียว ยางตั้งแต่ ๑๖ - ๒๐ วา  ใช้วิธีขุดลงในท่อนซุงนั้น ใช้ความร้อนเบิกปากเรือให้ผายออก แล้วเลือกไม้ท่อนยาวเท่ากันมาเสริมเป็นกราบ  เอาไม้ต่อโขนหัวเรือ และท้ายเรือ โขนหัวเรือสู งเชิด ทางท้ายค่อนข้างยื่นออกไปทางเบื้องหลัง มักประดับด้วยจิตรกรรมจำหลัก และปิดทอง ลางลำก็ประดับด้วยสิ่งคล้ายมุก
            ๙.  ชาวสยามไม่มีไม้อย่างที่เรามี
            ๑๐. ชาวสยามไม่มีไหมและป่านลินิน  ชาวสยามไม่ได้ปลูกต้นหม่อน จึงไม่มีตัวไหม ต้นป่านลินินก็ไม่มี หรือมีก็ไม่มีผู้ใดพูดถึง  ต้นฝ้ายสำลีมีอุดมสมบูรณ์ ผ้าที่ทอด้วยฝ้ายสำลีน่าใช้ ไม่เย็นชื้น เหมือนลินิน
            ๑๑. อบเชยและฝาง  อบเชยมีคุณภาพด้อยกว่าของเกาะสิงหฬ  มีไม้ฝาง กับไม้อื่น ๆ ใช้ย้อมผ้า
            ๑๒. ไม้ขอนดอก หรือไม้กฤษณา  แต่ก่อนที่ปารีสราคาแพงมาก  แต่ปัจจุบันราคาถูกลงมาก
บทที่ห้า  เหมืองแร่ในเมืองสยาม
            ๑. ชื่อเสียงของเหมืองแร่ในสยาม  ไม่มีประเทศใดมีชื่อเสียงโด่งดังว่ามั่งคั่งด้วยเหมืองแร่เท่าสยาม มีพระพุทธรูปเป็นอันมาก กับวัตถุหล่อด้วยโลหะอยู่มากมาย เห็นได้ว่าชาวสยามสมัยก่อนชำนาญในการถลุงแร่ กว่าคนในปัจจุบันนัก มิใช่จะใช้ทองคำประดับพระพุทธรูปมากมายเท่านั้น ช่อฟ้า ใบระกา และเพดานในโบสถ์ วิหาร ก็ยังประดับด้วยทองคำ มีผู้พบเหมืองร้างอยู่ทุกวัน พร้อมทั้งเตาถลุงอีกเป็นอันมาก  เข้าใจว่าได้ถูกละทิ้งไป ในสมัยทำสงครามกับชาวพะโค
            ๒. สถานภาพของเหมืองแร่ในปัจจุบัน   แม้พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน จะทรงใช้ชาวยุโรปมาค้นหาบ่อแร่ แต่พบเพียงบ่อแร่ทองแดง ที่มีเนื้อโลหะอยู่เพียงเล็กน้อย
            ๓. ตัมบาค  เพื่อให้เนื้อโลหะมีคุณค่าขึ้น จึงให้เจือเนื้อแร่ทองคำเข้าไปด้วย ที่เรียกว่า ตัมบาค ชาวพะโคใช้วิธีผสมตะกั่ว เข้ากับทองแดง ใช้หล่อรูปประติมากร และทำเป็นเหรียญกษาปน์
            ๔. แพทย์ชาวเมืองโปรวังซ์  ซึ่งพระเจ้ากรุงสยามเอาตัวไว้ให้ทำเหมืองแร่
            ๕. คำบอกเล่าของแพทย์ขางเมืองโปรวัง เกี่ยวกับเหมืองแร่ในสยาม
            ๖. ดีบุกและตะกั่ว   ชาวสยามได้พบและรู้จักถลุงให้ได้เนื้อโลหะมานานแล้ว
            ๗. เหมืองแร่แม่เหล็ก  บริเวณใกล้เมืองละโว้  มีภูเขาหินแม่เหล็กลูกหนึ่ง  และอีกลูกอยู่ใกล้ ๆ กัน
            ๘. บ่อพลอย  ตามภูเขามีผู้พบโมราชนิดนี้
            ๙. เหล็กกล้า   เมืองกำแพงเพชร ชึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีบ่อแร่เหล็กกล้าชั้นดี ชาวเมืองขุดเอามาทำสาตราวุธ ตามความนิยม ส่วนมีดที่เรียกว่า มีดเหน็บ  ใช้กันทั้งบ้านทั้งเมือง และไม่ถือว่าเป็นสาตราวุธ ใบมีดกว้าง ๓ - ๔ นิ้ว ยาว ๑ ฟุต พระมหากษัตริย์พระราชทานดาบและมีดพกให้แก่ขุนนาง ขุนนางสยามเหน็บมีดพกไว้ที่เอวเบื้องซ้าย คล้อยมาข้างหน้าเล็กน้อย ชาวปอร์ตุเกศเรียกว่า คริสต์  เสื่อมจากคำว่า กริช  คำนี้ยืมมาจากภาษามลายู เป็นที่นิยมกันตลอดทั่วภาคบูรพาทิศ  กริชจากเมือง อะแจ (Achem)  ในเกาะสุมาตรา นับว่าเยี่ยมกว่าที่อื่น  สำหรับดาบ ปกติแล้ว ทาสผู้หนึ่งจะเชิญนำหน้าเจ้านายของตนไป โดยแบกไว้บนบ่าขวา
            ๑๐. เหล็ก  ชาวสยามมีบ่อแร่เหล็ก และรู้จักวิธีถลุงนำมาใช้ประโยชน์ มีคนบอกว่าในกรุงสยามไม่มีแร่เหล็ก และเป็นช่างเหล็กที่หย่อนความชำนาญ พวกเขาจึงมีแต่สมอไม้ ต้องใช้ก้อนหินผูกถ่วงให้จมน้ำ ชาวสยามไม่มีเข็มกลัด เข็มเย็บผ้า ตะปู กรรไกร หรือกุญแจเหล็ก การสร้างเรือนไม่ใช้ตาปู ใช้หนามไผ่ต่างเข็มกลัด
            ๑๑. ดินประสิวและดินปืน  ชาวสยามทำดินปืนได้เลวมาก
บทที่หก  การกสิกรรมและอู่ข้าวอู่น้ำของสยาม
            ๑. เมืองสยามเป็นดินโคลน   เมืองสยามน่าจะเป็นเหมือนที่เมืองอียิปต์ ว่าพื้นดินเกิดจากดินโคลนที่น้ำฝนชะลงมาจากภูเขา  ที่ตรงปากน้ำ (เจ้าพระยา)  มีสันดอนโคลนอยู่แห่งหนึ่ง สกัดกั้นเรือกำปั่นขนาดใหญ่ไว้
            ๒. การมีน้ำท่วมทุกปี ทำให้พื้นดินสยามอุดมขึ้น  ทำให้ราชอาณาจักรนี้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ  ของหลายประเทศ
            ๓. น้ำท่วมทำลายตัวแมลงต่าง ๆ
            ๔. ปลวกในสยาม
            ๕. บึ้ง  เหมือนตัวริ้น
            ๖. ตะขาบ
            ๗. ความเขลาของชาวสยามในสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เรื่องตุ๊กแก  เป็นความหลงเชื่อที่ประหลาดยิ่ง ที่รู้สึกว่าตับมันโต ก็จะส่งเสียงร้องเพื่อเรียกแมลงไปกินตับ
            ๘. หิ่งห้อย  คล้ายแมลงภู่ คือ มีสี่ปีก  เราไม่มีโอกาสเห็นมันเมื่อขึ้นบก มันมีแสงไฟอยู่ในลูกตา แต่แสงสว่างนั้นออกมาจากใต้ปีก
            ๙. ตัวแมลงในน้ำ  แมลงบางชนิดในแม่น้ำมีพิษสงน่ากลัว
บทที่เจ็ด เมล็ดพืชของประเทศสยาม
            ๑. ข้าว  เป็นพืชผลอันสำคัญของชาวสยาม  เป็นอาหารอันดีที่สุด
            ๒. วิธีหุงข้าวด้วยน้ำบริสุทธิ์  ชาวสยามไม่ได้กินข้าวสุก ปนไปกับอาหารคาวอย่างอื่น เมื่อเขากินเนื้อหรือปลา เขาก็จะกินกับสิ่งนั้นเปล่า ๆ โดยไม่มีข้าวปน เขาเอาปลายนิ้วขยุ้มข้าวให้เป็นคำแล้วเปิบเข้าปาก
            ๓. การหุงข้าวด้วยน้ำกะทิ
            ๔. ข้าวสาลี ข้าวสาลีมีในประเทศสยาม ตามที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง  ในเมืองสยามมีแต่พระเจ้าแผ่นดินองค์เดียวที่มีไร่ข้าวสาลีอยู่  ชาวสยามเรียก ข้าวโพดสาลี  คำว่า ข้าว หมายถึง ข้าวเจ้า  มีคำบอกเล่าว่าชาวมัวร์เป็นผู้นำพันธุ์ข้าวสาลี ไปสู่เมืองสยาม ชาวฝรั่งเศสในเมืองสยาม สั่งแป้งสาลีมาจากเมืองสุรัต ทั้งที่ใกล้ ๆ กรุงสยาม (อยุธยา)  ก็มีโรงสีลม สำหรับบดข้าวสาลีอยู่แห่งหนึ่ง ใกล้เมืองละโว้ ก็มีอีกแห่งหนึ่ง
            ๕. ขนมปังสดที่ทำด้วยแป้งข้าวสาลีในสยามนั้นผากเกินไป
            ๖. เมล็ดพืชอย่างอื่น   ได้เห็นถั่วพรรณต่าง ๆ  ชาวสยามเช่นเดียวกับพวกเรา คือปลูกต้นไม้ล้มลุกไว้หลาย ๆ พรรณด้วยกัน
บทที่แปด การทำนา และฤดูกาลต่าง ๆ
            ๑. วัวและควายในการไถนา  เขาจูงมันไปด้วยเชือกเส้นหนึ่ง ที่ร้อยสนตะพายเข้าไปในกระดูกอ่อนที่แยกช่องจมูก และเพื่อมิให้เชือกนั้นเลื่อนไหลขณะดึง เขาจึงขอดปลายเชือกให้เป็นปมทั้งสองข้าง เชือกเส้นเดียวกันนี้ยังล่ามเข้าไปในรูพังงา ที่เจาะไว้ที่คานของคันไถ

            ๒.  คันไถแบบสยาม  ทำอย่างง่าย ๆ ไม่มีล้อเลื่อน ประกอบด้วยคานไม้ยาวท่อนหนึ่ง อันเป็นดูก อีกท่อนหนึ่งปลายงอนอันเป็นคันถือ อีกท่อนหนึ่งสั้นกว่าและใช้ไม้เนื้อแข็งกว่า ผูกขวางไว้เกือบจะทะแยงกันตรงใต้คันดูก  และไม้ท่อนที่สามนี้เอง ที่ติดหัวผาน มิได้ใช้ตาปูตรึงไม้ทั้งสี่ท่อนให้ติดกัน  หากใช้เชือกหนัวมัดให้ติดกันเข้าไว้
            ๓.  วิธีนวดข้าว   ใช้วัวควาย ย่ำให้เมล็ดข้าวหลุดออกจากรวง เมื่อเมล็ดข้าวเปลือกร่วงออกหมดแล้ว ก็ใช้วิธีกอบขึ้นโรยจากที่สูง  เพื่อให้ลมพัดเอาข้าวลีบ และกากออกไป เอาข้าวเปลือกไปตำในครกไม้กระเดื่อง หรือขัดในเครื่องสีมือที่ทำด้วยไม้
            ๔.  มีสามฤดู มีปีสองประเภท  ฤดูหนาวเรียก หน้าหนาว อากาศเริ่มเย็น ฤดูร้อนน้อยเรียก หน้าร้อน คือเริ่มร้อน และฤดูร้อนใหญ่ เรียกหน้าร้อนใหญ่ คือ เริ่มร้อนมาก  ปีมีอยู่สองประเภท ปีละ ๑๒ เดือน  ติดต่ออยู่สองปี และปีที่สาม มี ๑๓ เดือน
            ๕.  วันสยามนับตามดาวเคราะห์  ไม่มีคำเรียกสัปดาห์ แต่เรียกวันทั้งเจ็ดตามชื่อ ดาวเคราะห์ อย่างเราและวันก็ตรงกัน แต่วันที่นี่เริ่มก่อนที่ยุโรปราว ๖ ชั่วโมง
            ๖.  สยามขึ้นศกใหม่เมื่อไร  เริ่มศกใหม่ วันขึ้นหนึ่งค่ำทางจันทรคติ ในเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคม ชาวสยามหาได้นับปีตามศักราชที่ล่วงไปเสมอไปไม่  หากนับตามจำนวนรอบหกสิบปี ตามแบบชาวตะวันออกทั่วไป
            ๗.  รอบหกสิบปี (มหาจักร)  ชาวสยามมีนามประจำปีนักษัตร
            ๘.  เดือนของชาวสยาม  นับหยาบ ๆ มี ๓๐ วัน  ใช้วิธีนับเดือนตามลำดับเป็นเดือนอ้าย เดือนยี่ และต่อ ๆ ไป
            ๙.  ฤดูกาลของสยามที่แผกกัน  สองเดือนแรกตรงกับเดือนธันวาคม เป็นฤดูหนาว เดือน ๓.๔.๕ เป็นฤดูร้อนน้อย อีก ๗ เดือน เป็นฤดูร้อนใหญ่
            ๑๐.  มรสุม  ฤดูหนาวเป็นหน้าแล้ง อากาศแห้ง ฤดูร้อนฝนชุก อาการที่ลมประจำโลกตามฤดูกาล ชาวปอร์ตุเกศเรียก มองเซาส์  ฝรั่งเศสเรียก มูซอง  เป็นสาเหตุให้เรือกำปั่นเข้าถึงสันดอนปากน้ำได้โดยยาก ในระยะหกเดือนที่มีมรสุมพัดจากทิศเหนือ และยากที่จะออกจากปากแม่น้ำในระยะหกเดือน ที่มีมรสุมพัดจากทิศใต้
            ๑๑.  เวลาทำนา และเวลาเก็บเกี่ยว  จะไถและหว่านเมื่อฝนตกชุ่มพอให้ดินอ่อนลง  ว่ากันว่ารวงข้าวนั้น ย่อมหนีพ้นน้ำเสมอ
            ๑๒.  ข้าวชนิดอื่น  ชาวสยามปลูกข้าวในที่ซึ่งน้ำท่วมไม่ถึงตามหัวเมืองต่าง ๆ  ข้างชนิดนี้เป็นข้าวพันธุ์ดี (ข้าวนาดำ) เมื่อข้าวที่เพาะเป็นกล้าไว้ในดินงอกงามตามสมควร  ก็ย้ายไปปลูกในที่แห่งอื่น ซึ่งได้ไถคราดไว้แล้ว แล้วไขน้ำเข้าเช่นเดียวกับที่เราทำนาเกลือ  ต้องกักน้ำฝนไว้โดยยกคันนารอบ ๆ  แล้วนำข้าวกล้ามาดำรากมิดลงไปในดิน ที่สะกอรายเรียงกันไปโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไป
            ๑๓.  มูลเหตุที่ชาวสยามหันมาประกอบกสิกรรม  เห็นคล้อยที่เชื่อว่า คนสยามครั้งโบราณเลี้ยงชีวิต ด้วยการกินผลไม้จับปลามาเป็นอาหาร  ต่อมาชาวจีนมาสอนให้รู้จักทำไร่ไถนา
            ๑๔.  พิธีแรกนาขวัญในสยาม  สมัยก่อนพระเจ้ากรุงสยาม เสด็จ ฯ แรกนาขวัญจรดพระนังคัล ด้วยพระองค์เอง ในวันฤกษ์ดีวันหนึ่งในรอบปี  เป็นเวลาติดต่อกันมาเกือบศตวรรษแล้ว  แต่แล้วเมื่อดูทางไสยศาสตร์เห็นว่า เป็นลางไม่ดีจึงไม่แรกนาด้วยพระองค์เองอีกต่อไป  แต่ได้มอบหมายให้พิธีสำคัญนี้ ให้สมมติกษัตริย์ที่พอแต่งตั้งขึ้น
            ๑๕.  การแรกนานั้นเป็นรัฐประศาสโนบาย และการถือทางไสยศาสตร์   เรื่องแรกนา น่าจะเป็นเครื่องจูงใจให้ประชาชนมีความศรัทธาในการทำไร่ทำนา ตามแบบพระมหากษัตริย์
บทที่เก้า การสวนของชาวสยามและเครื่องดื่มเป็นครั้งคราว
            ๑. ผักและไม้เหง้า หัวมัน ฯลฯ   มันเทศ ควรจะได้รับการกล่าวขวัญถึงเป็นพิเศษ
            ๒. แตงกวา หอมหัวเล็ก กระเทียม หัวไชเท้า   ชาวสยามกินแตงกวาทั้งดิบ ๆ ทำนองเดียวกับชาวตะวันออก
            ๓. ดอกไม้
            ๔. เหตุไรจึงไม่มีผลองุ่นมุสกาต์ที่เปอร์เซีย และเมืองสุรัต
            ๕. ในสยามก็ไม่มีผลองุ่นดี
            ๖. เครื่องดื่มสามัญของชาวสยามคือ น้ำบริสุทธิ์  เขาชอบดื่มเฉพาะที่อบมันให้หอม
            ๗. น้ำที่เมืองละโว้และที่ทะเลชุบศร   พระเจ้ากรุงสยามเสวยน้ำที่ตักมาจากอ่างเก็บน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งขุดขึ้นกลางทุ่งนา  มีเจ้าหน้าที่ประจำรักษาอยู่ตลอดปี  ที่ทะเลชุบศร อยู่ห่างเมืองละโว้หนึ่งลี้ อ่างเก็บน้ำนี้ตั้งอยู่ชายที่ลุ่มแห่งหนึ่ง มีพื้นที่ประมาณ ๒ หรือ ๓ ลี้  รับน้ำฝนขังไว้ น้ำในบึงสะอาดและลึกมาก
            ๘. ชา  ชาวสยามดื่มน้ำชา แบบดื่มเล่น ๆ ไม่มีธรรมเนียมดื่มน้ำชาในแห่งอื่นในราชอาณาจักร  แต่ที่พระนครนับสมัยนิยมดื่มน้ำชาได้ลงหลักปักแน่นแล้ว  พวกชาวกรุงถือว่าเป็นมรรยาทผู้ดี อันจำเป็นต้องนำน้ำชามาเลี้ยงแขกที่มาเยี่ยม เรียกว่า ฉ่า (Tcha)   เหมือนคนจีน  ที่เรียกว่า เต (the')  อีกคำเรียกว่า ชา (cha)
            ๙. ชาสามชนิด
            ๑๐. ชาเป็นซับเหงื่อ  ชาวจีนและชาวตะวันออก ใช้น้ำชาเป็นยาแก้ปวดหัว แต่ต้องชงให้แก่มาก ๆ
            ๑๑. วิธีชงชา  มีกาทองแดงข้างในเคลือบตะกั่วเกรียบ เพื่อใช้ต้มน้ำ มีป้านทำด้วยดินแดง ใช้น้ำร้อนรินรดป้านดินเสียก่อน เพื่อให้การ้อนตัว แล้วใส่ชาลงไปหยิบมือหนึ่ง รินน้ำเดือดเติมลงไป เมื่อปิดฝากา แล้วยังใช้น้ำร้อนรินราดข้างนอกอีก ปิดพวยกา เมื่อชาอิ่มตัวพอสมควรคือ เมื่อใบชาหน่ายลงสู่ก้นป้านแล้ว ก็รินน้ำลงในถ้วยกระเบื้อง ในขั้นแรกกะเพียงครึ่งถ้วยก่อน ดูว่าน้ำมันแก่เกินไปหรือมีสีจัดเกินไป อาจทำให้พอดีด้วยการเติมน้ำ ซึ่งต้มให้เดือดในกาทองแดงอยู่เสมอ  เมื่อต้องการน้ำชาเพิ่มก็เติมน้ำเดือดลงในป้านดิน เขาไม่ใส่น้ำตาลลงในถ้วย ใช้วิธีใส่น้ำตาลกรวดก้อนเล็ก ๆ ไว้ในปาก ขบให้แหลกและดื่มน้ำชาไปพร้อม ๆ กัน เมื่อไม่ต้องการดื่มต่อไป ก็คืนถ้วยให้โดยคว่ำปากถ้วยลงในจานรอง
            ๑๒. จำเป็นต้องใช้น้ำดีในการชงชา
            ๑๓. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องดื่มน้ำชาเมื่อยังร้อน   การดื่มเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใดด้วยความร้อนขนาดเดียวกัน บัดนี้ชาวตาร์ตาร์ ได้สอนให้รู้จีกดื่มชนิดใส่น้ำแข็งได้บ้างเป็นครั้งคราว
            ๑๔. การชอบดื่มเหล้าองุ่น   ชาวสยามไม่ยึดเอาการดื่มชาเป็นหลักนัก  ชอบดื่มเหล้าองุ่นมากกว่า ถ้ามีให้ดื่มแม้ว่าเครื่องดองของเมาเป็นสิ่งต้องห้าม ตามทางพระศาสนาก็ตาม ชาวอังกฤษและฮอลันดาบางทีก็นำเหล้าองุ่นมาจากเมืองชีราช ในเปอร์เซียหรือจากยุโรป  เหล้าองุ่นของฝรั่งเศสที่เมืองบองโดซ์ กับที่เมืองกาฮอร์ส มาถึงกรุงสยามในสภาพอันดี  เขาจะไม่กล่าวถึงเหล้าองุ่นของเมืองจีน และเมืองญี่ปุ่น  ซึ่งชั่วแต่เป็นเบียร์ผสมให้มีรสแรงขึ้นเท่านั้น
            ๑๕. เครื่องดื่มอย่างอื่น ตารี เนรี  ทำจากต้นไม้สองชนิดเรียกว่า ปาลมิสต์ (Palmiste)   วิธีทำคือ  ตอนเย็น ๆ เอามีดไปปาดกาบต้นไม้ (ต้นตาล ?)  ที่คอต้นใกล้ยอด เอาขวดผูกรองไว้ รุ่งเช้าขวดนั้นก็เต็ม ขวดดังกล่าวจากกระบอกไผ่ลำเขื่อง ๆ ตารี ทำจากต้นมะพร้าวป่าพันธุ์หนึ่ง  เนรี ทำจากต้นหมากชนิดหนึ่ง
            ๑๖. เหล้าบรั่นดี เป็นเครื่องดื่มที่ชาวสยามชอบมากกว่าเหล้าชนิดอื่น และวิธีทำ  ชาวสยามทำเหล้าบรั่นดีจากข้าวหมักไว้ด้วยน้ำปูนใส  ในขั้นแรกทำเป็นเมรัยก่อน พวกเขาไม่ดื่ม (เบียร์) กันเลย  แต่กลั่นออกมาเป็นบรั่นดี ซึ่งพวกเขาเรียกว่า เหล้า
            ๑๗. บูลปองซ เครื่องดื่มอังกฤษ  เครื่องดื่มอย่างหนึ่งเรียกว่า พั้นซ์ (Punch)  เอาเหล้าบรั่นดีหนึ่งเหยือก ผสมด้วยน้ำมะนาวหนึ่งไปน์ กับผงจันทน์เทศ เอาขนมปังทะเลแห้งปิ้ง และป่นละเอียด คนจนเข้ากันีด
            ๑๘. กาแฟกับโกโก้  แขกมัวร์ในสยามดื่มกาแฟ ซึ่งมาจากเมืองอาหรับ ชาวปอร์ตุเกศดื่มโกโก้ ส่งมาจากมนิลาเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ ซึ่งนำมาจากอินเดียภาคตะวันออกในเขตคุ้มครองของสเปน
            ๑๙. ผลไม้  ชาวสยามนิยมกินผลไม้ยิ่งกว่าอย่างอื่น นอกจาก ส้ม มะกรูด และทับทิมแล้ว ดูจะไม่มีผลไม้อื่นที่เรารู้จักเลย ส้มโอ เป็นมะกรูดพันธุ์เปรี้ยว
            ๒๐. ผลไม้บางชนิดมีทุกฤดูกาล  คือ กล้วย ส่วนผลไม้อย่างอื่นให้ผลเพียงชั่วคราว ต้นอ้อยยาว ๖ - ๑๐ ฟุต ก็มีขึ้นแต่ที่เมืองอะแจ เท่านั้น แต่ข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญมักขาดแคลนบ่อย ๆ จึงหาซื้อกันด้วยราคาราวกับทองคำ ซึ่งมีอยู่มากมาย จนคนเห็นเป็นสิ่งสามัญธรรมดา
            ๒๑. ความแตกต่างระหว่างผลไม้ของสยามกับของเรา   ข้าพเจ้ากล่าวถึงแต่ หมาก (Arek)  และผลไม้ของประเทศอินเดีย โดยทั่ว ๆ ไป

            ๒๒. หมากกับพลู  หมาก (Arek)  ซึ่งชาวสยามเรียกว่า พลู (Plou)  เป็นผลไม้จำพวกโอ๊ก แต่มิใช่มีเปลือกแข็งเหมือนผลโอ๊กของเรา  เมื่อผลแก่จนสุกจะกลายเป็นสีเหลืองและแข็งกระด้างขึ้น เนื่อในก็พลอยแข็งไปด้วย  เมื่อผ่าผลหมากออกเป็นสี่เสี้ยวแล้ว ใช้กินเสี้ยวละคำ ปนไปกับใบไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า หมาก (ความจริงคือ พลู)  เขาจีบใบไม้เข้าเป็นมวนเพื่อสอดเข้าปากได้สะดวก  และใช้ปูนทำจากเปลือกหอยป้ายลงเล็กน้อย ปูนมีสีแดง  พวกอินเดียมีปูนชนิดนี้ในเต้ากระเบื้องพกติดตัว วันหนึ่ง ๆ เขาใช้หมากกับพลู อยู่ไม่ขาดปาก
           ๒๓. ประสิทธิผลของการกินหมาก  ทำให้ผู้กกินต้องบ้วนน้ำลายอยู่บ่อย ๆ  คราบปูนทำให้เหงือกสกปรก ไม่พบคนในสยามมีกลิ่นปาก
            ๒๔. ประสิทธิผลอย่างอื่นของหมากกับพลู  ที่ฟันคราบน้ำหมากจะคอยจับหนาขึ้นทีละน้อย จนกลายเป็นสีดำ
            ๒๕. วิธีย้อมฟันและวิธีย้อมเล็บนิ้วก้อย  การย้อมฟันให้ดำ เขาใช้ซีกมะนาวที่มีรสเปรี้ยวจัดอมไว้ในกระพุ้งแก้ม และที่หน้าฟันราวหนึ่งชั่วโมง หรือนานกว่า เพื่อให้ฟันน่วม และใช้น้ำยางชนิดหนึ่งทำจากรากไม้บางชนิด หรือจาก (กะลา)  มะพร้าวเผาไปถูฟัน เป็นเสร็จพิธี  การย้อมฟันใช้เวลาสามวัน ต้องนอนคว่ำและอดอาหารหนักจนกว่าจะครบกำหนด  ชาวสยามยังนิยมย้อมเล็บมือนิ้วก้อยให้เป็นสีแดง โดยขุดเล็บออกแล้ว ใช้น้ำยางชนิดหนึ่งทา ทำจากข้าวบดในน้ำมะนาว ผสมกับใบไม้ชนิดหนึ่งคล้ายใบทับทิม
            ๒๖. ต้นไม้ จำพวกปาลมิสต์ทั่วไป

 


ที่มา หอมรดกไทย

บทที่หนึ่ง ลักษณะทางภูมิประเทศ


ความรู้เรื่องเมืองสยาม ความรู้เรื่องเมืองสยาม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

 วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา


เปิดอ่าน 14,324 ครั้ง
บุญบั้งไฟ

บุญบั้งไฟ


เปิดอ่าน 24,451 ครั้ง
งานนมัสการองค์พระธาตุพนม

งานนมัสการองค์พระธาตุพนม


เปิดอ่าน 16,637 ครั้ง
เกร็ดประวัติวัดโพธิ์

เกร็ดประวัติวัดโพธิ์


เปิดอ่าน 24,258 ครั้ง
เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู

เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู


เปิดอ่าน 18,981 ครั้ง
มรดกโลกของไทย

มรดกโลกของไทย


เปิดอ่าน 22,408 ครั้ง
ลี กวน ยู บุรุษผู้ยิ่งใหญ่

ลี กวน ยู บุรุษผู้ยิ่งใหญ่


เปิดอ่าน 14,565 ครั้ง
เผด็จการคืออะไร

เผด็จการคืออะไร


เปิดอ่าน 22,916 ครั้ง
"ประกาศสงกรานต์" ปี 2556

"ประกาศสงกรานต์" ปี 2556


เปิดอ่าน 27,201 ครั้ง
พระกฤษณะ

พระกฤษณะ


เปิดอ่าน 26,810 ครั้ง
พระพิฆเนศ

พระพิฆเนศ


เปิดอ่าน 28,761 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เปิดอ่าน 27,556 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
"เมียนมาร์" "เบอร์มา" ชื่อนั้นสำคัญไฉน
"เมียนมาร์" "เบอร์มา" ชื่อนั้นสำคัญไฉน
เปิดอ่าน 15,001 ☕ คลิกอ่านเลย

พรหมวิหาร 4
พรหมวิหาร 4
เปิดอ่าน 44,871 ☕ คลิกอ่านเลย

เหรียญราชนิยม
เหรียญราชนิยม
เปิดอ่าน 13,792 ☕ คลิกอ่านเลย

พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย
เปิดอ่าน 15,801 ☕ คลิกอ่านเลย

มาตราวัด มาตราชั่ง กับมาตราเงินของสยาม
มาตราวัด มาตราชั่ง กับมาตราเงินของสยาม
เปิดอ่าน 24,860 ☕ คลิกอ่านเลย

วันเข้าพรรษา...สำคัญอย่างไร
วันเข้าพรรษา...สำคัญอย่างไร
เปิดอ่าน 19,021 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ลำดับขั้นในการวิจัย
ลำดับขั้นในการวิจัย
เปิดอ่าน 202,914 ครั้ง

เหมือนอย่างกับแกะ! หุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ตัวล่าสุด (มีคลิป)
เหมือนอย่างกับแกะ! หุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ตัวล่าสุด (มีคลิป)
เปิดอ่าน 20,123 ครั้ง

ดอกดาหลา
ดอกดาหลา
เปิดอ่าน 31,021 ครั้ง

กินแก้โรค ข้าวสมุนไพรหลากสี
กินแก้โรค ข้าวสมุนไพรหลากสี
เปิดอ่าน 19,457 ครั้ง

นวัตกรรมใหม่น่าสนใจของ Power Bank ในรูปแบบเข็มขัด แปลกแค่ไหน
นวัตกรรมใหม่น่าสนใจของ Power Bank ในรูปแบบเข็มขัด แปลกแค่ไหน
เปิดอ่าน 1,063 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ