Advertisement
ในทศวรรษที่ผ่านมามี เหตุการณ์ร้ายๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับโลกทั้ง ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ อย่างเช่น แผ่นดินไหวที่ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ คร่าชีวิตมนุษย์หลายแสนคนในเอเชีย และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยฝีมือของมนุษย์อย่างการก่อการร้ายด้วยการจี้เครื่องบินโดยสารพุ่งชนตึกเวิลด์เทรดในนิวยอร์กส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์หลายพันคนเสียชีวิต
วันสิ้นโลก โลกจะอวสานอย่างไร บ้างเชื่อว่าโลกจะถึงกาลอวสานแบบไม่ทันตั้งตัว บ้างทำนายว่าชีวิตบนโลกจะ ตายอย่างช้าๆ ขณะที่พวกมองโลกแง่ดีหน่อยเชื่อว่า ถึงอย่างไรก็คงหาทางเอาชนะปัญหาได้โดยวิวัฒนาการไปสู่สายพันธุ์อื่นๆ ถ้าเป็นเช่นนั้น ภัยร้ายแรงที่สุดที่คุกคามมนุษยชาติคืออะไร แล้วเราจะรับมือได้หรือไม่ ต่อไปนี้เป็นการสอบถามความคิดเห็นของ 10 นักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอันตรายที่น่ากลัวที่สุดเขาคิดว่าจะเกิดขึ้นกับโลกและสังคมจะได้รับผลกระทบอย่างไร ต่อมาจะเป็นการประเมินภัยคุกคามเป็นสองแนวทาง
อันดับแรกเป็นโอกาสที่จะเกิดภัยคุกคามในช่วงอายุขัยของเรา (ในช่วง 70 ปีข้างหน้า) และประการที่สองเป็นระดับอันตรายที่จะมีผลต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์หากเกิดหายนะภัยขึ้นมา (คะแนนเต็ม 10 หมายถึงระดับที่ทำให้มนุษย์สูญพันธุ์ ลงมาจนถึงระดับ 1 หมายถึงแทบจะไม่มีผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์เลย
10. โลกจะถูกหลุมดำดูด
ริชาร์ด วิลสัน ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์จากศูนย์วิจัยมัลลินก์ครอดต์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า ประมาณ 7 ปีก่อน ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ
บรูคเฮฟเวนในนิวยอร์กได้สร้างเครื่องชนไอออนหนักที่เรียกว่า Relativistic Heavy Ion Collider ขึ้นมาเนื่องจากมีความกังวลว่า สสารที่มี
ความหนาแน่นอาจก่อรูปขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในสมัยนั้นจัดว่าเป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างขึ้นมา เพื่อให้ไอออนทองคำชนกันด้วยแรงมหาศาล ซึ่งอาจทำให้เกิดความหนาแน่นพอที่จะทำให้เกิดหลุมดำขึ้นมาได้จากพลังที่ดูดสสารข้างนอก ห้องแล็บบรูคทำให้เกิดความหวั่นเกรงว่า เครื่องเร่งปฏิกิริยาตัวใหม่นี้จะทำให้เกิดหลุมดำขึ้นและทำให้โลกอวสานได้หรือไม่ "เมื่อดูจากข้อมูลที่เราได้ศึกษาจากหลุมดำที่อยู่นอกอวกาศ เราได้ทำการคำนวณเพื่อศึกษาว่าเครื่องเร่งอนุภาคของบรูคเฮฟเวนจะสามารถทำให้เกิดหลุมดำได้หรือไม่ ซึ่งเราค่อนข้างแน่ใจว่า การทดลองในห้องแล็บจะไม่ทำให้เกิดหลุมดำ และโลกจะไม่ถูกกลืนหายไปจากการชนของอนุภาคเหล่านี้
- โอกาสที่โลกจะถูกหลุมดำกลืนใน 70 ปีข้างหน้า : เป็นไปได้น้อยอย่างยิ่ง
- ระดับอันตราย : 10
9. ภูเขาไฟระเบิด
ศาสตราจารย์ บิล แมคกุยรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติเบนฟิลด์จากมหาวิทยาลัย คอลเลจลอนดอน และยังเป็นสมาชิกคณะทำงานศึกษาภัยธรรมชาติของโทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ พูดถึงเรื่องนี้ว่า "โดยเฉลี่ยแล้วทุก 50,000 ปี โลกจะเกิดภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งซึ่งจะส่งเถ้าถ่านภูเขาไฟที่ถูกพ่นออกมาจะปกคลุมพื้นที่ราว 1,000 ตารางกิโลเมตร ทวีปที่อยู่ใกล้เคียง จะเต็มไปด้วยเถ้าถ่าน และก๊าซซัลเฟอร์จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ เกิดเป็นม่านกรดซัลฟูริกคลุมรอบโลก ทำให้แสงแดดไม่สามารถส่องลงมายังพื้นโลกได้ กลางวันจะดูไม่ต่างไปจากกลางคืนวันเพ็ญ
ทว่าความเสียหายครั้งสำคัญจากภูเขาไฟระเบิดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ คือภูเขาไฟ โทบา บนเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย เมื่อ 74,000 ปีก่อน เนื่องจากเกิดระเบิดใกล้กับเส้นศูนย์สูตรทำให้ก๊าซกระจายไปยังซีกโลกเหนือและใต้อย่างรวดเร็ว เมื่อศึกษาแกนน้ำแข็งทำให้รู้ว่า เหตุการณ์
ครั้งนั้นส่งผลให้อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว 5-6 ปีหลังจากนั้น โดยพื้นที่แถบเส้นทรอปิคมีสภาพเย็นเป็นน้ำแข็ง "โอกาสที่จะเกิดภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่เป็นไปได้มากกว่าอุกกาบาตขนาดใหญ่ชนโลก 12 เท่า แต่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในชั่วอายุคนปัจจุบันนี้มีเพียง 0.15% ส่วนสถานที่ที่ควรจับตาดูคือ บริเวณที่เคยเกิดระเบิดในอดีต เช่น เยลโล่สโตน ในสหรัฐ และโทบา แต่พื้นที่บริเวณอื่นในโลกที่น่ากังวลมากกว่าคือ อาจเกิดภูเขาไฟระเบิดรุนแรงในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างเช่นบริเวณป่าฝนอะเมซอน"
- ความเป็นไปได้ที่จะเกิดภูเขาไฟระเบิดรุนแรงใน 70 ปีข้างหน้า : เป็นไปได้สูงมาก
- ระดับอันตราย : 7
8. แรงระเบิดจากรังสีคอสมิกจากการระเบิดของดาว
เนียร์ ชาวีฟ อาจารย์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยฮิบรู ในเยรูซาเล็ม อิสราเอล กล่าวว่า ทุกสองสามทศวรรษ ดาวขนาดใหญ่ที่อยู่ในจักรวาลทางช้างเผือกจะหมดพลังงานและเกิดระเบิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า ซูเปอรโนวา รังสีคอสมิก (อนุภาคพลังงานระดับสูงอย่าง รังสีแกมมา) จะแผ่รังสีออกไปทุกทิศทางและถ้าโลกอยู่ในวิถีของรังสี จะทำให้เกิดยุคน้ำแข็งขึ้น ถ้าโลกมีอากาศที่หนาวเย็นอยู่แล้ว รังสีคอสมิกจากการระเบิดของดาวอาจทำให้โลกกลายเป็นไอติม และอาจทำให้สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ สูญพันธุ์ โลกมีความเสี่ยงสูงเมื่อโคจรผ่านเกลียวของดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดซูเปอร์โนวามากที่สุด การระเบิดซูเปอร์โนวาจะเกิดขึ้นทุก 150 ล้านปี
- โอกาสที่โลกจะเผชิญกับซูเปอร์โนวาใน 70 ปีข้างหน้า : เป็นไปได้น้อย
- ระดับอันตราย : 4
7. หุ่นยนต์ครองโลก
ฮันส์ โมราเวก ศาสตราจารย์จากสถาบันหุ่นยนต์ มหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ในเมืองพิตต์สเบิร์ก กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "ระบบการควบคุมด้วยหุ่นยนต์มีความสลับซับซ้อนในการประมวลผลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกปี หรือทุกสองปี แต่ความซับซ้อนของมันตอนนี้ยังอยู่ในระดับแค่สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ แต่ในอีก 50 ปีข้างหน้าความสามารถในการคิดซับซ้อนของหุ่นยนต์จะไล่ตามทันมนุษย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 ผมทำนายว่า จะมีหุ่นยนต์ที่มีพลังสมองทัดเทียมมนุษย์ โดยจะสามารถคิดในเชิงนามธรรม และแสดงความเห็นได้
- โอกาสที่จะมีหุ่นยนต์ที่มีความสามารถทางปัญญาเป็นเลิศใน 70 ปีข้างหน้า : เป็นไปได้สูง
- ระดับอันตราย : 8
6. อุกกาบาตชนโลก
โดนัลด์ เยาแมนส์ ผู้จัดการสำนักงานโครงการวัตถุใกล้โลกของนาซา จากห้องปฏิบัติการระบบขับเคลื่อนไอพ่นในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ มีความเห็นว่า "ความเสี่ยงที่เราจะตายจากอุกกาบาตพุ่งชนเปรียบคร่าวๆ เหมือนกับโอกาสที่เราจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก อุกกาบาตที่จะทำให้ความรุ่งเรืองของมนุษย์ต้องสูญสิ้นนั้นต้องเป็นอุกกาบาตที่มีขนาดกว้าง หรือยาวประมาณ 1.5 กม. เราคาดกันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกล้านปีโดยเฉลี่ย อันตรายที่เกี่ยวข้องกับอุกกาบาตชนโลกนั้นรวมถึงปริมาณฝุ่นจำนวนมหาศาลที่ลอยขึ้นไปในอวกาศจนปิดกั้นไม่ให้แสงแดดส่องลงมาบนพื้นโลกนานหลายสัปดาห์ ซึ่งจะมีผลต่อต้นไม้และพืชไร่ ที่ค้ำจุนสิ่งมีชีวิต อาจจะเกิดไฟไหม้ทั่วโลกอันเป็นผลมาจากความร้อนพุ่งออกมาจากใต้พื้นโลก และยังเกิดฝนกรดที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก ผลกระทบดังที่เอ่ยมานี้แม้ จะเกิดในช่วงระยะเวลาสั้น ดังนั้น สิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวเองได้ดีที่สุดอย่างแมลงสาป และมนุษย์ เป็นต้น ยังมีชีวิตอยู่รอดได้"
- โอกาสที่โลกจะถูกอุกกาบาตพุ่งชนใน 70 ปีข้างหน้า : เป็นไปได้ปานกลาง
- ระดับอันตราย : 5
5. สงครามนิวเคลียร์
พลอากาศเอกลอร์ด การ์เดน โฆษกกระทรวงกลาโหมประจำพรรคเสรีประชาธิปไตยแห่งสหราชอาณาจักร และผู้แต่งหนังสือเรื่อง Can Deterrence Last ?
"ในเชิงทฤษฎีแล้ว สงครามนิวเคลียร์อาจทำลายความรุ่งเรืองของมนุษย์ แต่ในทางปฏิบัติ ผมคิดว่าอันตรายดังกล่าวอาจผ่านพ้นไปแล้ว ปัจจุบัน มีจุดที่อาจก่อให้เกิดสงครามนิวเคลียร์อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ตะวันออกกลาง อินเดีย-ปากีสถาน และเกาหลีเหนือ แน่นอนว่าเกาหลีเหนือเป็นจุด
ที่น่าวิตกมากที่สุด
เนื่องจากมีกองทัพรูปแบบเก่าพร้อมจะลั่นไกก่อสงครามได้โดยไม่ตั้งใจ แต่ผมอยากที่จะเชื่อว่ายังมีอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์
อยู่ เนื่องจากเราได้พัฒนาระบบระหว่างประเทศที่ยับยั้งการใช้อาวุธนิวเคลียร์
"ความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์ในระดับโลกนั้นต่ำมาก แม้ว่ายังมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีประเทศนอกคอก หรือพวกหัวรุนแรงอยู่ก็ตาม"
- โอกาสที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์ใน 70 ปีข้างหน้า : เป็นไปได้ต่ำ
- ระดับอันตราย : 8
4. การก่อการร้าย
ศาสตราจารย์พอล วิลคินสัน ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาประจำศูนย์ศึกษาการก่อการร้าย และความรุนแรงด้านการเมือง มหาวิทยาลัย
เซนต์แอนดรูว์ สหราชอาณาจักร ให้ทัศนะว่า "สังคมทุกวันนี้มีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายมากยิ่งขึ้น เพราะกลุ่มที่อาฆาตมาดร้ายสามารถหาวัสดุที่จะนำมาใช้ก่อการได้ง่ายขึ้น รวมทั้ง
เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในการสร้างอาวุธทำลายสูง การก่อการร้ายที่ส่งผลให้เกิดการล้มตายเป็นจำนวนมากในปัจจุบันคืออาวุธชีวภาพ และอาวุธเคมี การปล่อยเชื้อบางอย่างเป็นจำนวนมากๆ อย่างเช่น แอนแทรกซ์ ไวรัสฝีดาษ อาจส่งผลกระทบอย่างมหาศาล และการติดต่อสื่อสารระหว่างพรมแดนในยุคใหม่ จะทำให้กลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว ในสังคมเปิด ซึ่งเราสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ เราไม่สามารถจะหยุดยั้งการจู่โจมได้เลย และมีความเป็นไปได้สูงมากว่า จะเกิดการโจมตีขึ้นสักแห่งในโลกในชั่วอายุของเรานี้"
- โอกาสที่จะเกิดการโจมตีด้วยการก่อการร้ายครั้งใหญ่ในช่วง 70 ปีหน้า : เป็นไปได้สูงมาก
- ระดับอันตราย : 2
3. การระบาดของเชื้อไวรัส
ศาสตราจารย์มาเรีย แซมบอน นักไวรัสวิทยาและหัวหน้าห้องปฏิบัติการเชื้อไข้หวัดใหญ่ของสำนักงานป้องกันสุขภาพแห่งราชอาณาจักรอังกฤษมองว่า "เมื่อปลายศตวรรษก่อน เกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรง 4 รอบ พร้อมกับการระบาดของเชื้อเอชไอวีและซาร์ส การระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลกจะเกิดขึ้นทุกรอบร้อยปี และคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดอย่างน้อยอีกครั้งในอนาคต ณ ขณะนี้เชื้อที่สร้างความหวาดวิตกมากที่สุดคือเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 ที่ระบาดในไก่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าไวรัสตัวนี้เรียนรู้วิธีการส่ง เชื้อจากคนสู่คนแล้ว การระบาดจะแพร่ลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว การระบาดของไข้หวัดใหญ่ในปี ค.ศ. 1918 ได้คร่าชีวิตประชากรโลกไปแล้ว 20 ล้านคน ภายในปีเดียว มากกว่าคนที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งด้วยซ้ำไป หากเกิดการระบาดอีกครั้งตอนนี้ก็คงส่งผลกระทบรุนแรงยิ่งกว่า"
- โอกาสที่จะเกิดการระบาดของไวรัสในอีก 70 ปีข้างหน้า : เป็นไปได้สูง
- ระดับอันตราย :3
2. การเสื่อมสภาพของเทโลเมียร์
เรนฮาร์ด สตินด์ล แพทย์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา บอกว่าสิ่งมีชีวิตทุกสายพันธุ์มี "นาฬิกาแห่งวิวัฒนาการ" อยู่ในตัวเวลาของนาฬิกาชีวภาพนี้ จะเดินผ่านจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง เป็นการเดินถอยหลังจนถึงเวลาที่นำไปสู่ยุคสูญพันธุ์อย่างเลี่ยงไม่ได้ "เทโลเมียร์สเป็นส่วนปลายที่ปิดโครโมโซมมีอยู่ในสัตว์ทุกตัว ถ้าไม่มีเทโลเมียร์สแล้ว โครโมโซมอาจไม่มั่นคง แต่ละครั้งที่เซลล์แบ่งตัวมันจะไม่ก๊อบปี้เทโลเมียร์สอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และตลอดชั่วอายุของเราเทโลเมียร์สจะหดสั้นลง สั้นลง เนื่องจากเซลล์เพิ่มจำนวนตัวเอง ในที่สุดแล้ว เมื่อมันหดสั้นจู๋ เราก็เริ่มมีโรคที่เกี่ยวกับชราภาพมาคุกคาม อย่างเช่น มะเร็ง อัลไซเมอร์ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตีบ สะท้อนถึงกระบวนการชราภาพของแต่ละคน และเมื่อเทโลเมียร์สถูกส่งผ่านมาเป็นพันรุ่นมันจะเริ่มกร่อนจนถึงระดับวิกฤติ เมื่อถึงวันนั้นเราจะพบว่าโรคที่เกี่ยวกับคนชราจะระบาดไปทั่วตั้งแต่อายุยังน้อย จนสุดท้ายจะทำให้เกิดภาวะประชากรขาดแคลน การกร่อนของเทโลเมียร์สอาจใช้อธิบายการสูญพันธุ์ของมนุษย์บางสายพันธุ์ได้ อาทิ นีแอนเดอร์ธัล โดยไม่ต้องเอาปัจจัยภายนอกอย่างการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมาพิจารณา"
- โอกาสที่จะเกิดภาวะประชากรลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 70 ปีข้างหน้า : เป็นไปได้น้อย
- ระดับอันตราย : 8
1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
นิค บรูค ผู้ช่วยวิจัยอาวุโสจากศูนย์วิจัยสภาพเปลี่ยนแปลงของอากาศไทนดัล ซึ่งตั้งอยู่ในมหา วิทยาลัยอีสต์แองเจียล สหราชอาณาจักรอังกฤษให้ความเห็นว่า
"ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ปัญหาภาวะเรือนกระจกจะทวีความรุนแรงขึ้น และอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 องศาเซลเซียส อากาศร้อนระดับนี้ถือว่าสูงกว่าที่โลกเคยเผชิญเมื่อหนึ่งล้านห้าแสนปีก่อน สิ่งเลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นอาจทำให้อากาศในหลายภูมิภาคของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งอาจส่งผลต่อการผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรโลก และทำให้ระบบสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันพังทลายไปทั่ว ตามมาด้วยการอพยพของผู้คนจำนวนมหาศาล และเกิดปัญหาขัดแย้งจากการแย่งชิงทรัพยากร เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะกับการดำรงชีวิตของมนุษย์จะเริ่มเหลือน้อยลง ผมไม่คิดว่า อากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้มนุษย์สูญพันธุ์ไปหรอกนะ แต่แน่นอนว่ามันจะทำให้เกิดการสูญเสียอย่างหนัก"
- โอกาสที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียสในอีก 70 ปี (เป็นระดับที่พิจารณาว่าเป็นอันตรายต่อสหภาพยุโรป) : เป็นไปได้สูง
- ระดับอันตราย : 6
ที่มา ss
วันที่ 30 ส.ค. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,193 ครั้ง เปิดอ่าน 7,179 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,618 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,188 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,167 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,173 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 44,920 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,941 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,448 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,049 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,891 ครั้ง |
|
|