นำข้อสอบมาให้ลองทำ.....จะได้ช่วยพัฒนาสมองซีกซ้ายค่ะ.....
ตอนที่ ๑
คำชี้แจง จงขีดเส้นใต้คำเอก และวงกลมคำโท ในโคลงต่อไปนี้ให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของโคลง
ชนิดนั้น ๆ
โคลงสองสุภาพ พันลึกล่มลั่นฟ้า เฉกอสุนีผ่าหล้า
แหล่งเพี้ยงพกพัง แลนา
โคลงสามสุภาพ สองนายเกลี้ยงกล่าวทูล ว่านรสูรท่านได้
ใครจะเอื้อมมติได้ เท่าเผ้าฤๅมี พระเอย
โคลงสี่สุภาพ เสียงไห้ทุกราษฏร์ไห้ ทุกเรือน
อกแผ่นดินดูเหมือน จักขว้ำ
บ่เห็นตะวันเดือน ดาวมืด มัวนา
แลแห่งใดเห็นน้ำ ย่อมน้ำตาคน
ตอนที่ ๒
คำชี้แจง จงเติมคำลงในช่องว่างให้ได้ความและถูกต้องตามลักษณะบังคับของโคลงชนิดนั้น ๆ
โคลงสองสุภาพ มิตรดีมีแต่.... แม้....ใช่ญาติเกื้อ
.... ....สัมพันธ์ แลนา
โคลงสามสุภาพ ยามใดใจเบิกบาน ทำกิจการ.... ....
ลุ....ดวงจิต.... .... ....พาเกษม สุขแล
โคลงสี่สุภาพ มะลิหอมอะคร้าว ยวนใจ จริงแฮ
กลิ่นตลบอบอวล ทั่วหล้า
นารีก็มีหทัย งาม.... นี้นา
ชื่ออยู่คู่.... .... .... ....มาลี
ตอนที่ ๓
คำชี้แจง จงใช้ข้อความต่อไปนี้ฝึกแต่งโคลงตามที่กำหนดให้
ถึงร่างกายร้อนผ่าว เพียงใด
อาบน้ำพียงหนเดียว ดับร้อนได้
แต่ความเดือดร้อนใจ ระงับยาก
เพราะแฝงอยู่ลึก ยากที่จะขจัดไป
๑. จงปรับปรุงข้อความข้างต้นให้เป็นโคลงสี่สุภาพที่ถูกต้องตามลักษณะบังคับ
.......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
๒. จงแต่งโคลงสามสุภาพ ๑ บท ให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับและมีเนื้อหาเช่นเดียวกับ
โคลงสี่สุภาพที่แต่งในข้อ ๑
.....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
๓. จงแต่งโคลงสองสุภาพ ๑ บท ให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับและมีเนื้อหาเช่นเดียวกับ
โคลงสี่สุภาพที่แต่งในข้อ ๑
.....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................