Advertisement
|
ภาพประกอบเนื้อหาข่าวอินเตอร์เน็ต |
|
|
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการออกแบบและพัฒนาต้นไม้ปลอมขึ้นมา
เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับและช่วยเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยมาสู่อากาศจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ งานประดิษฐ์ชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอกไดออกไซด์ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในอากาศและค่อนข้างรวดเร็วในแต่ละวัน และต้นไม้จริงที่มีอยู่ในปัจจุบันก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการช่วยบรรเทามลพิษเนื่องจากมลพิษเหล่านี้มีปริมาณมากและถูกปล่อยออกมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ต้นไม้ปลอมนี้มีความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เร็วกว่าต้นไม้จริงประมาณ 1000 เท่า และต้นไม้ปลอม 1 ต้นจะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 1 ตันต่อวัน ซึ่งปริมาณที่ต้นไม้ปลอมเก็บกักได้นี้จะเทียบเท่ากับปริมาณมลพิษที่เกิดจากรถยนต์จำนวน 20 คันโดยเฉลี่ย
และเมื่อต้นไม้ปลอมทำการดูดซับเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากอากาศแล้ว ภายในต้นไม้ก็จะมีระบบในการเก็บกักก๊าซคาร์บอน โดยจะมีขั้นตอนการอัดแรงดันก๊าซและเก็บให้อยู่ในรูปของของเหลวเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆต่อไป ซึ่งจะช่วยลดปริมาณของก๊าซคาร์บอนที่จะปล่อยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศได้
ศาสตราจารย์ Klaus Lackner จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้ทำการค้นคว้า
ออกแบบและเริ่มพัฒนาต้นไม้ปลอมมาตั้งแต่ปี 1998 และได้รับการสนับสนุนจากสถาบันทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศสหรัฐอเมริกาอย่าง U.S. Energy Secretary Steven Chu ที่เข้ามาช่วยในโครงงานการพัฒนาต้นไม้ปลอมด้วย ซึ่งในขณะนี้ทางทีมนักประดิษฐ์ได้สร้างต้นไม้ตัวต้นแบบขึ้นมาและจะทำการทดลองในส่วนของการทำงานภายในสามปีนี้ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ต้นไม้ปลอมสามารถทำงานได้สมบูรณ์แบบที่สุดก่อนที่จะผลิตในปริมาณมากและนำออกไปใช้งานจริงในสถานที่ต่างๆ
Lackner อธิบายว่า
หลักการทำงานของต้นไม้ปลอมนี้จะใช้เทคโนโลยีหลักคล้ายกับการทำงานของระบบดูดซับและเก็บกักคาร์บอนของโรงงานถ่านหินทั่วไป ซึ่งคาร์บอนที่เก็บกักนั้นจะเก็บได้จากควันที่เกิดจากการเผาถ่านหิน Lackner ได้พยายามนำเอาหลักการทำงานลักษณะนี้มาประยุกต์ใช้ในต้นไม้ปลอมที่ดูจากลักษณะภายนอกจะคล้ายกับตึกขนาดเล็กๆมากกว่ารูปร่างต้นไม้ ต้นไม้ปลอมมีค่าใช้จ่ายในการสร้างอยู่ที่ประมาณ 30000 ดอลล่าร์สหรัฐ และในทุกๆ 1000 กิโลกรัมของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต้นไม้ปลอมเก็บกักได้จริงๆ 800 กิโลกรัม เนื่องจากในการทำงานของต้นไม้ปลอมนั้นก็ยังมีการใช้พลังงานเป็นตัวขับเคลื่อนจึงทำให้ยังมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมาด้วยประมาณ 200 กิโลกรัม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วในการดูดซับและอัตราในการเก็บกักก๊าซคาร์บอนก็จะเห็นว่าต้นไม้ปลอมชิ้นนี้จะสามารถช่วยลดมลพิษให้ได้มาก โดยทางผู้ผลิตมีแผนที่จะสร้างต้นไม้ปลอมลักษณะนี้ให้ได้ใช้งานทั่วไปตามสถานที่ต่างๆ
|
|
ขอขอบคุณที่มา : วิชาการดอทคอม
|
|
วันที่ 28 ส.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,458 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,645 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,158 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,939 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,470 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,423 ครั้ง |
|
|