กระบวนการ ๘ ขั้นในการสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงองค์กร ของ John P. Kotter ซึ่งกล่าวไว้สรุปได้ ดังนี้
๑. การสร้างความรู้สึกว่าต้องลงมือทำอย่างเร่งด่วน : ดูตัวอย่างการตลาด จากตัวอย่างจริง การจำแนกแยกแยะ คัดสรร ความเป็นไปได้ ทั้งวิกฤตและโอกาส
๒. การสร้างสรรค์ความร่วมมือ หรือทีมผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง : การทำงานกลุ่ม และให้มีพลังอำนาจพอที่จะนำคนอื่นๆ ในองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลง ให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม
๓. พัฒนาวิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ : สร้างสรรค์วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในอันที่จะนำไปสู่ความพยายามเปลี่ยนแปลง พัฒนากลยุทธ์เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์
๔. สื่อสารสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ : ใช้เครื่องมือทุกชนิดที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ในสิ่งที่เป็นไปได้ถึงความสัมพันธ์มั่นคงระหว่างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ใหม่ ๆ มีความร่วมมือในการออกแบบจำลองสถานการณ์
๕. การให้พลังอำนาจของผู้นำพื้นฐานความคล่องแคล่วที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง : ขจัดอุปสรรค เปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้างขององค์กร รวมทั้งกิจกรรม หรือวิธีการ จิตใต้สำนึกของการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ ให้กำลังใจและธรรมเนียมในการคิดอย่างคล่องแคล่ว
๖. การสร้างชัยชนะด้วยเวลาอันสั้น : การวางแผนที่เป็นรูปธรรม ทำให้ดีขึ้นในการกระทำ หรือชัยชนะ สร้างสรรค์ชัยชนะนั้น เห็นได้ จำได้ และประชาชน รวมทั้งให้รางวัลเพราะมีชัยชนะ สร้างแรงจูงใจที่เป็นไปได้
๗. การได้มาซึ่งความเข้มแข็ง หรือ การรักษาและการสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ดีกว่า : เพิ่มความน่าเชื่อถือในการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ โครงสร้างและนโยบาย โดยไม่จำกัด และวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน เช่า ประชาสัมพันธ์ พัฒนาประชาชน ผู้ซึ่งมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ ควบคุมกระบวนการด้วยโครงการใหม่ ๆ ระรอกแล้วระรอกเล่า อย่างไม่ขาดสาย
๘. วางรากฐานการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร : สร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า ผลผลิตที่ดีกว่า พฤติกรรม มากและดีกว่าผู้นำ มากกว่าการจัดการ สร้างวัฒนธรรมในองค์กร การติดต่อสื่อสารระหว่างพฤติกรรมและหน่วยงาน องค์กรสู่ความสำเร็จ การพัฒนาความหมายความเป็นผู้นำและ ความสำเร็จขององค์กร
อย่าให้ข้ามขั้น เพราะจะทำให้เกิดปัญหา เพราะการเปลี่ยนแปลงองค์กรต้องมีโครงสร้างย่อย ๆ เพื่อเกิดผลหรือความสำเร็จระยะสั้น ๆ เป็นระยะ ๆ
สรุป
๑. มีความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลง
๒. สร้างทีมผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง
๓. พัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร
๔. ประชาสัมพันธ์ให้รู้และเข้าใจร่วมกันของคนในองค์กร
๕. กระจายอำนาจสู่การจัดการให้มากที่สุด
๖. สร้างเป้าหมายระยะสั้น ๆ
๗. เมื่อได้ผลสำเร็จให้ขยายผลอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง
๘. ปลูกฝังวัฒนธรรมขององค์กรในการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
โดย สมปอง จันทคง นศ. ปริญญาเอก การบริหารการศึกษา ม.ราชธานี