ชวา-มลายูในภาษาไทย
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายภาษาที่เข้ามาปะปนกับภาษาไทย เช่น ภาษาชวา – มลายู เข้ามาสู่ภาษาไทยเพราะการมีสัมพันธไมตรีต่อกัน มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณี การค้าขาย และงานทางด้าน วรรณคดี ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาชวา – มลายู เช่น
ฆ้อง ประทัด (ม) Petas ลองกอง ลางสาด ละไม (มะไฟ) ละมุด จำปาดะ (ขนุน) ทุเรียน เงาะ โกดัง กาหยู (มะม่วงหิมพานต์) น้อยหน่า มังคุด ลูกสละ ล้าต้า (คนถือบัญชีเรือสำเภา) ลาไล (ไลลา ไปมา เยื้องกราย) ปาเต๊ะ กาหลา (เหมือนดอกไม้) พันตู (สู้รบ) หลุมพี (ระกำ) สตูล (กระท้อน) สลาตัน แบหลา (การฆ่าตัวตายตามสามี) แดหวา (เทวา) บุหงา (ดอกไม้) สังคาตา (พ่อ) กิดาหยัน (มหาดเล็ก) สะตาหมัน (สวนดอกไม้)
โนรี (นกแก้ว) สะการะตาหรา (ดอกกรรณิการ์) กระหนุง (ภูเขาสูง)
บุหงารำไป โสร่ง (ม) Sarong Sorung สะการะ (ดอกไม้)
บุหรง (นก) ยิหวา (ดวงใจ) ระเด่น (โอรส ธิดาของกษัตริย์เมืองใหญ่)
บุหลัน (พระจันทร์) อิเหนา (ชายหนุ่ม, พระยุพราช)
กะหลาป๋า (ชื่อเมืองในเกาะชวา) ระตู (เจ้าเมืองน้อย) ยาหยัง (ชนะศัตรู)
ละงิด (ฟ้า, ชั้นเทวดา) ละลัด (แมลงวัน) ลุสา (วันมะรืน)
ซ่าหริ่ม (ขนม) ตุนาหงัน (คู่หมั้น) ยาหยี (น้อง, ที่รัก)
ยาหัด (ชั่ว, ไม่ดี, หยาบ) สาหรี (น่ารัก, ดี) วินันตู (น้องเขย)
กอและ, โกและ เรือประมง