กองบรรณาธิการนิตยสาร BBC Wildlife ของประเทศอังกฤษได้จัดอันดับสุดยอดของผีเสื้อไว้สิบอันดับด้วยกัน ตีพิมพ์ฉบับเดือน ก.ค.ปีที่แล้ว จะตรงใจพวกเราชาวไทยหรือเปล่าลองดูกันนะคะ
อันดับ 10 “อยู่ในความเย็นได้นานที่สุด” คือ ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ Brimstone (Gonepteryx rhamni)
สามารถอยู่ในน้ำแข็งหรือหิมะที่ลบถึง20 องศา C ได้ และอยู่ได้นานถึง 12 เดือน ภายในตัวของผีเสื้อหนอนกะหล่ำชนิดนี้ มีสาร ป้องกันการแข็งตัวของของเหลวภายใน ช่วยให้มันไม่แข็งตายในช่วงฤดูหนาวจัด บ้านเราไม่มีผีเสื้อชนิดนี้ค่ะ
อันดับที่ 9 “ขนยาวที่สุด” มอธเสือ (Arctia caja)
เป็นขนของหนอนมอธเสือ ที่ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร บ้านเราก็มีหนอนมอธหลายชนิดที่มีขนยาวๆ แบบนี้ แต่ไม่เคยวัดว่า มันยาวถึง 2 เซนติเมตร
อันดับที่ 8 “หางยาวที่สุด” มอธพระจันทร์มาดากัสการ์ (Madagascan Moon)
“หางยาวที่สุด” เป็นมอธพระจันทร์มาดากัสการ์ (Madagascan Moon) หรือมอธตาเคียว ที่พบบ้านเราได้หลายชนิด แต่ชนิดในภาพนี้บ้านเราไม่มี ขาบอกว่าหางของตัวผู้ยาวถึง 20 เซนติเมตร คราวหน้าถ้าเจอมอธในกลุ่มนี้จะลองวัดขนาดดูเผื่อว่าจ ะยาวกว่าของมาดากัสการ์ก็ได้
อันดับ 7 “สุดยอดนักเลียนแบบ” คือ Hornet Moth (Sesia apiformis)
บ้าน เรามีหลายชนิด เช่น มอธเหยี่ยวปีกใส (Cephonodes picus) มอธหญ้า (Syntomoides sp.) ภาพนี้เห็นตัวไม่ชัดก็เลยบอกไม่ได้ว่ามอธที่พบในบ้านเรานั้นเลียนแบบได้เนียนกว่าหรือเปล่า
อันดับ 6 “สุดยอดหัวโขมย” คือมอธเหยี่ยวหัวกะโหลก Death’s head Hawkmoth (Acherontia atropos)
อันดับ 5 “เล็กที่สุด” คือ มอธ Ectoedemia groschkei
ปีกสองข้างรวมกันกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตรเท่านั้น หนอนอาศัยและกินอาหารอยู่ในใบไม้ เมล็ดพืช และตามเปลือกไม้
อันดับ 4 “พิษร้ายที่สุด” คือ มอธ Bernet ในวงศ์มอธรมควัน (Zygaenidae)
ซึ่ง เป็นสารจำพวกไซยาไนด์ ถึงจะมีพิษแต่มันก็ยังกลัวจะถูกสัตว์ผู้ล่ากินอยู่ดี จึงต้องแต้มสีแดงบนสีดำ เป็นสัญญาณเตือนให้พวกผู้ล่าได้เห็นกันชัดๆ จะได้ไม่หลงเข้ามากิน ดูแล้วก็คล้ายๆ กับพวกผีเสื้อหนอนใบรักที่พบในบ้านเรา (รวมทั้งผีเสื้อโมนาร์ค) ที่มีพิษในตัว แต่ก็ไม่ได้รุนแรงอะไร กิ้งก่า หรือนกที่กินเข้าไปก็แค่ทำให้คลื่นใส้อาเจียนเท่านั้ นเอง และพิษพวกนี้ก็สะสมมาตั้งแต่ที่หนอนกินพืชอาหารที่มี พิษเข้าไปเหมือนกัน ทาง BBC Wildlife ก็ไม่ได้บอกไว้ว่าพิษรุนแรงแค่ไหน ก็เลยไม่แน่ใจว่า ร้ายที่สุดจริงหรือเปล่า หรือพอๆ กับผีเสื้อหนอนใบรัก ชนิด นี้พบได้ในบ้านเราเหมือนกัน ชาวนิตยสาร BBC Wildlife บอกว่ามันคือหัวโขมยน้ำผึ้ง สงสัยใช่มั้ยว่าทำไมผึ้งไม่รู้ว่ามัน แอบเข้ามา มอธชนิดนี้มันใช้เทคนิคการเลียนแบบกลิ่นของผึ้ง ทำให้ผึ้งเข้าใจว่านี่คือสมาชิกตัวหนึ่งของมัน ส่วนหน้าตารูปร่างจะเป็นอย่างไรผึ้งไม่สน เอาแค่กลิ่นเดียวกันเป็นใช้ ได้ แต่ผึ้งก็จะอนุญาตให้มันกินน้ำผึ้งได้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่ถ้าบางครั้งมอธใช้ปากชอนไชเข้าไปในรังมากเกินไป ผึ้งก็จะพากันขับไล่ไป
อันดับ 3 "จมูกดีที่สุด" (ในยุโรป) Giant Peacock หรือ Viennese emperor (Saturnia pyri)
เป็นมอธวงศ์เดียวกับมอธหนอนกระท้อน ทาง BBC Wildlife บอกว่าตัวผู้มีจมูก (หนวด) รับสัญญาณกลิ่น (ฟีโรโมน) ได้ไกลเป็นกิโล ในเมืองไทยก็เคยมีคนทดลอง (อย่างไม่เป็นทางการ) กับผีเสื้อหนอนกระท้อน ซึ่งตัวผู้สามารถได้กลิ่นตัวเมียไกลเป็นกิโลเหมือนกั น สาเหตุหนึ่งก็คือเมื่อมอธ หนอนกระท้อนโตเต็มวัยแล้วไม่มีปากสำหรับกิน อาหารแต่อย่างใด ต้องใช้พลังงานที่สะสมมาในช่วงที่เป็นตัวหนอน ดังนั้นมันจึงต้องหาคู่ให้เร็วที่สุด เพื่อทำหน้าที่สำคัญเพียงอย่างเดียวคือผสมพันธุ์ ถ้าจมูก (หนวด) ไม่ดีก็ไม่สามารถทำหน้าที่ให้ครบถ้วนได้
อันดับ 2 “ใหญ่ที่สุด” คือ มอธหนอนกระท้อน (Attacus atlas)
ตัว เมียมีปีกกว้างถึง 25-30 เซนติเมตร มีเนื้อที่ของปีกราว 400 ตารางเซนติเมตร มีอายุประมาณ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น และไม่มีปากสำหรับกินอาหาร
อันดับ 1 “เดินทางไกลที่สุด” ผีเสื้อโมนาร์ค (Danaus plexippus)
ทุกๆ ปีจะมีผีเสื้อโมนาร์ค ราว 10 ล้านตัว พากันอพยพไป-กลับ จากแคนาดา อเมริกาเหนือ ไปยังอเมริกาใต้และเม็กซิโก เป็นระยะทางกว่า 4 พัน กิโลเมตร แต่ตอนกลับจะเป็นผีเสื้อรุ่นที่สอง-สามแล้ว การเดินทางทั้งไปและกลับจะกินเวลาประมาณ 3 เดือน ผีเสื้อหนอนใบรัก (Danaus sp.)ในบ้านเราที่เป็นญาติของผีเสื้อโมนาร์คไม่บินอพยพค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจากจันทร์เจ้าขาดอทคอม