การปฏิรูปการศึกษาพัฒนาบุคลากรครู
สุวิมล สมไชย
วิทยากร เชียงกูล (2551 : 55) ได้สรุปปัญหาการศึกษาขั้นพื้นฐานจากการประเมินคุณภาพภายนอกของการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบแรก (พ.ศ. 2544 – 2548)โดย สมศ.สะท้อนวิกฤตทางการ ศึกษาไทยในระดับขั้นพื้นฐานว่ามีสถานศึกษาที่จัดการศึกษาได้มาตรฐานขั้นต่ำประมาณ1ใน 3 และอีกประมาณ 2 ใน 3 (มากกว่า 20,000 แห่ง)ไม่ได้มาตรฐาน ผู้เรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ขาดความคิดสร้างสรรค์และขาดนิสัยการใฝ่รู้ใฝ่เรียนซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียน ผู้ เรียนมีแนวโน้มที่จะเป็นเด็กดีและมีความสุขแต่ไม่เก่งเท่าที่ควรขาดแคลนครูทั้งปริมาณและคุณภาพ ครูได้มาตรฐานเฉพาะวุฒิการศึกษาแต่วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญยังไม่ได้มาตรฐาน ส่วนผู้ บริหารก็ด้อยฝีมือทางการบริหารด้านวิชาการ แต่ภาวะผู้นำและการบริหารทั่วไปพอได้มาตรฐาน
ทิศทางของการปฏิรูปการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับครู จะเห็นได้ว่า “ครู” เป็นบุคคลที่ได้รับความสำคัญว่าเป็นปัจจัยผลักดันสำคัญปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา ครูผู้ ทำหน้าที่จัดสภาพการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในตัวผู้เรียนและครูมีภาระอื่นๆอีกมากมายที่จะต้องช่วยกันทำเพื่อความก้าวหน้าของโรงเรียน ครูที่จะต้องก้าวทันกับสภาพความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ครู จำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 เป็นกรอบนโยบายแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2542จนถึงปัจจุบัน นับเวลาได้ประมาณ 9-10 ปี
ทำไม ยิ่งปฏิรูปการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนยิ่งต่ำลง หลายฝ่ายต่างก็มองว่ามีปัญหาที่หมักหมมมานานหลายปัญหา เช่น ปัญหาขาดครู ปัญหาครูไม่ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถอย่างทั่วถึง ปัญหาการปรับเปลี่ยนนโยบายบ่อยครั้งเกินไปจนทำให้ครูขาดกำลังใจขาดแรงจูงใจในการทำงาน เรื่องนี้มีส่วนเป็นปัญหาที่มาจากครูผู้มีหน้าที่ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ วิกฤตของวิชาชีพครูเป็นปัญหาใหญ่และซับซ้อนเพราะครูเป็นกลุ่มของคนทำงานที่มีจำนวนมากที่สุด (รุ่ง แก้วแดง 2547 : 57) ได้กล่าวถึงวิกฤตของวิชาชีพครูไว้ สรุปได้ดังนี้
1. เรื่องที่คนอยากมาเป็นครู ปัจจุบันไม่มีคนอยากเข้ามาเรียนครู คนที่เรียนครูก็มักจะมีคนพูดเสมอว่าคือคนที่ไปไหนไม่ได้แล้วจึงมาเลือกเรียนครู ซึ่งถ้าเราไม่สามารถเลือกคนเก่ง คนดีมาเป็นครูได้ ก็ยากที่จะมีความหวังได้ครูดี ครูเก่ง
2. ด้านการสอน การสอนตามแนวการปฏิรูปการศึกษา ครูต้องสอนตามวิธีการใหม่เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขเต็มตามศักยภาพ ซึ่งเป็นปัญหาและภาระต่อครูเป็นอย่างยิ่ง เพราะครูส่วนใหญ่คุ้นเคยกับวิธีการสอนแบบเก่า ยืนหน้ากระดาน อธิบายหน้าห้องเรียน ผู้เรียนฟังและจด การเปลี่ยนรูปแบบการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญถือว่าเป็นวิกฤตที่สำคัญมากประการหนึ่งของวงการครู
3. การพัฒนาครู ในเรื่องของโอกาสและความก้าวหน้าทางวิชาชีพโดยการทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งนั้นเป็นเรื่องที่ทำให้ครูยุ่งยากลำบากมาก เป็นปัญหาภาระและความกังวลใจของครูเป็นอย่างยิ่ง
4. รายได้ของครูถึงแม้ว่าในชนบทครูยังได้รับการนับถืออยู่แต่รายได้นั้นถือว่าต่ำมาก เพราะเหตุนี้จึงทำให้ครูมีหนี้สินเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกำลังใจของครู ครูต้องหารายได้เพิ่มจากการทำอาชีพเสริม ทำให้เวลาที่จะอุทิศให้การเรียนการสอนพร่องไป
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างลักษณะของครูที่มีปัญหา ที่ชอบพูดจาเสียดสีล้อเลียนกันในวงวิชาชีพครู ซึ่งถ้าจะพิจารณาอย่างมีวิจารณญาณ คำเสียดสีล้อเลียนเหล่านี้บางครั้งสำหรับครูบางคนก็มีมูลความจริง เป็นปัญหาที่น่านำมาขบคิดเพื่อพัฒนา ไม่ควรที่จะข้ามไป ได้แก่ครูอะไรบ้าง
1. ครูมาสาย คติประจำใจ คือ สอนน้อยหน่อย สายมากหน่อย อร่อยกำลังเหมาะ
2. ครูค้าขาย คติประจำใจ คือ ครูที่มีความเพียร ต้องทำโรงเรียนให้เป็นตลาด ครูที่มีความสามารถ ต้องทำตลาดให้เป็นโรงเรียน
3. ครูคุณนาย คติประจำใจ คือ อยู่อย่างคุณนาย สบายทุกอย่าง หนทางสะดวก พรรคมากมี
4. ครูสุราบาล คติประจำใจ ศุกร์เมา เสาร์นอน อาทิตย์ถอน จันทร์เกียจคร้าน อังคารหยุด พุธลา พฤหัสมาก้มหน้าไม่สู้คน
5. ครูเกียจคร้าน คติประจำใจ สอนมั่ง ไม่สอนมั่ง สตางค์เท่าเดิม
6. ครูหัวโบราณ คติประจำใจ คิดเป็นก็คิดไป แก้ปัญหาเป็นก็แก้ปัญหาไป แต่ฉันจะสอนอย่างไร ใครอย่ามายุ่งกับฉัน
7. ครูปากม้า คติประจำใจ นินทาวันละมาก ๆ ปากผ่องใส
8. ครูหน้าใหญ่ คติประจำใจ ใหญ่ที่โรงเรียน ไปเป็นเสมียนที่อำเภอ เห่อเจ้านายได้สองขั้น
9.ครูไร้อาย ทำงานชอบเกี่ยงงอน สอนไม่เต็มหลักสูตร
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้สรุปผลของการดำเนินงาน 9 ปีของการปฏิรูปการ ศึกษา (พ.ศ.2542-2551) (2552 : 15) ได้นำเสนอปัญหาการดำเนินการพอสรุปได้ดังนี้
1. นโยบายจำกัดอัตรากำลังคนภาครัฐกับมาตรการจูงใจให้ครูออกก่อนเกษียณ ทำให้หลายโรงเรียนสูญเสียอัตรากำลังครูไปจำนวนมาก อีกทั้งบัณฑิตคุรุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ทั้งหลายเมื่อจบการศึกษาแล้วก็ไม่อยากเป็นครู ทำให้ขาดแคลนครูทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเฉพาะโรงเรียนในชนบทจะขาดครูเฉพาะวิชา
2. หลักสูตรการผลิตครูไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง คุณภาพบัณฑิตยังไม่เป็นที่พึงพอใจ
3. ขาดการประสานแผนในการพัฒนาครูจากหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนสิ้นเปลืองทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณและเวลาของครูที่ขาดไปในการปฏิบัติภารกิจหลักคือการสอนเพื่อเข้ารับการพัฒนา
4. ความศรัทธาต่อวิชาชีพครูมีน้อย ทำให้คนดี คนเก่ง ไม่อยากเป็นครูทำให้ขาดครูที่มีคุณภาพ ครูบางส่วนยังขาดจิตสำนึกจิตวิญญาณความเป็นครู ครูบางส่วนใช้เวลาราชการไปทำผล งานเพื่อประเมินเลื่อนวิทยฐานะ ดังข่าวที่นักศึกษาฝึกสอนร้องเรียนไปที่หนังสือพิมพ์ครูที่เป็นครู พี่เลี้ยงเอาเวลาราชการไปทำผลงานครู คศ.3 โดยให้นักศึกษาทำหน้าที่แทน เป็นสาเหตุให้มาตรฐานการเรียนรู้ของเด็กไทยต่ำลงทุกวัน
5. การพัฒนาครูเกิดความซ้ำซ้อนไม่มีกระบวนการพัฒนาที่ต่อเนื่องขาดการติดตามประเมิน ผลการพัฒนาครู รวมทั้งขาดแผนและกระบวนการพัฒนาที่ต่อเนื่องตามระดับสมรรถนะของครู
6. การได้วิทยฐานะของครูยังไม่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ดังนั้นการประเมินผลงานของครูเพื่อเลื่อนวิทยฐานะควรพิจารณาจากคุณภาพของผู้เรียน ที่ครูสอนด้วย
7. การบริหารงานบุคคลและความก้าวหน้าในวิชาชีพขาดความสมดุลระหว่างอัตรากำลังครูกับภาระงาน วุฒิการศึกษา ความรู้ของครูไม่ตรงกับวิชาที่สอน
8. ระบบการสรรหาบุคคลเป็นครูยังไม่มีคุณภาพและการจัดสรรครูเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆยังขาดหลักธรรมาภิบาล
ลองมาพิจารณาคำกล่าว ที่ผู้เขียนก็ไม่ทราบว่าเป็นคำกล่าวของใคร แต่ก็น่าสนใจน่าคิดว่าเคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในอดีต หรือปัจจุบัน หรือจะเกิดต่อไปจนถึงอนาคต หรือไม่
“ มือซ้ายจับหนังสือ มือขวาจับชอล์ก
ถ้าไม่เขียนตามคำบอก ก็ให้ลอกจากกระดานดำ”
จากการปฏิรูปครูตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้น ให้ความสำคัญกับการสร้างวิถีชีวิตใหม่ของครูเป็นอย่างยิ่ง โดยแยกเรื่องของครูออกมาเป็นหมวดหนึ่งโดยเฉพาะ และจะพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ เมื่อแนวคิดกระบวนการจัดการศึกษาเปลี่ยนไปเช่นนี้ การผลิตและการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาก็จำเป็นต้องเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน สังคมเรียกร้องและตั้งความหวังไว้กับครูสูงมากเพราะครูต้องรับภาระหน้าที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการพัฒนารับมือกับกระแสโลกาภิวัตน์ได้ รวมทั้งพัฒนาเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้ ครูต้องสามารถเร่งเร้าให้เด็กมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน กระตุ้นให้มีอิสระเสรีทางความคิด ส่งเสริมให้มีสติปัญญาให้เฉียบแหลมและสร้างเสริมให้การจัดการศึกษาในโรงเรียนดำเนินไปอย่างสัมฤทธิ์ผล ครูจึงเป็นผู้ที่ต้องมีความรับผิด ชอบต่อการปฏิรูปการศึกษาในการเป็นผู้หล่อหลอมกล่อมเกลาเยาวชนคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง หากจะให้ครูสามารถตอบสนองความคาดหวังจากสังคม ครูจะต้องมีความรู้และทักษะอันเหมาะสม มีลักษณะนิสัยส่วนตัวที่เหมาะจะเป็นครู มีโอกาสที่จะก้าวหน้าทางวิชาชีพและมีแรงจูงใจ อะไร บ้างที่เป็นความต้องการของสังคมอย่างสมเหตุสมผลที่ครูควรจะทำหรือตอบสนอง และครูควรจะได้รับสิ่งใดบ้างเป็นการตอบแทนในแง่ของสภาพการทำงาน ทั้งสิทธิและฐานะ จะสรรหาและฝึกหัดครูได้อย่างไรและทำอย่างไรจึงจะรักษาแรงจูงใจให้ครูสามารถสอนได้อย่างดีมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดไป
รองศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ( 2544 : 7) กล่าวว่า ครูต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอและนำเสนอแผนภูมิเปรียบ เทียบบทบาทของครูระหว่างบทบาทเดิมและบทบาทใหม่ ดังนี้
บทบาทเดิม บทบาทใหม่
- สอนแต่ความรู้ที่ตัวเองมี ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
- ใช้แต่ความรู้ของคนอื่น สร้างองค์ความรู้ขึ้นมาด้วยตัวเอง
- สอน/อบรมเด็กชนชั้นกลาง/เมือง สอนเด็กทุกกลุ่มทุกระดับทุกประเภท
- ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
- เกี่ยวข้องเฉพาะในโรงเรียน เกี่ยวข้องกับสังคมภายนอก
- ทำตามส่วนกลาง ทำเองในท้องถิ่น/โรงเรียน
- การพัฒนาตัวเองมีน้อย ต้องพัฒนาตัวเองอย่างมาก
อิซาโอะ อมากิ (2551 : 257) นักการศึกษา ที่ปรึกษาพิเศษของรัฐมนตรีศึกษาธิการของญี่ปุ่นเสนอแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยการยกระดับคุณภาพครูในโรงเรียน ดังนี้
1. ยกระดับการฝึกอบรมครูก่อนประจำการโดยสถาบันผลิตครู
2. การผลิตและการบรรจุครูจะต้องสะท้อนดุลยภาพระหว่างครูในแต่ละรายวิชา ระหว่างครูที่มีประสบการณ์ / ด้อยประสบการณ์ และครูในชนบท/ครูในเมือง
3. ฝึกอบรมครูประจำการอย่างต่อเนื่อง เท่ากับเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีพให้กับทุกคนที่อยู่ในอาชีพครู ทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสอนของครูทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
4. ควรมีการพิจารณาสภาพการทำงานของครูในด้านต่างๆเช่น จำนวนนักเรียนในชั้นเรียน เวลาที่สอนต่อวัน และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
5. ค่าตอบแทนครูควรจะสูงพอที่จะดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถสูงเข้ามาสู่วิชาชีพครู เงินเดือนครูควรจะอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเงินเดือนของข้าราชการใน กลุ่มอื่นๆ
ความยากจน ความหิวโหย ความรุนแรง ยาเสพติดและสารพันปัญหาย่างก้าวเข้ามาภายในโรงเรียนพร้อมกับเด็กๆ ครูต้องใช้ปัญหาและความรู้ซึ่งเด็กนำติดตัวมาโรงเรียนด้วยนั้นเป็นจุดเริ่ม ต้นในการวางแผนช่วยให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกันครูต้องมีความมั่นคงในเรื่องค่านิยมพื้นฐาน เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องความอยากรู้อยากเห็นใฝ่รู้ใฝ่เรียน
บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) (2551 : 14) ได้เขียนหนังสือ The Road Ahead เป็นหนังสือที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเกี่ยวกับปฏิวัติระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เขาได้เสนอความคิดเห็นที่มีส่วนสอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนการสอนของครูได้น่าสนใจ และสอด คล้องกับความเห็นของนักการศึกษาสำคัญๆ หลายคน พอสรุปได้ดังนี้
1. การเรียนไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียนและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของครูเท่านั้นผู้เรียนสามารถที่จะเรียนได้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายได้ โดยเฉพาะทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway) ซึ่งมีบทบาทและความสำคัญต่อการจัดการศึกษา
2. ผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงจำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเด็กแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์และการมองโลกแตกต่างกันออกไป
3. การเรียนที่ตอบสนองความต้องการรายบุคคล ในกรณีที่จัดการศึกษาที่สอนเด็กจำนวนมากสามารถที่จะเป็นจริงได้ โดยพลังอำนาจและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และมีครูเป็นผู้คอยดูแลให้ความช่วยเหลือแนะนำ
4. การเรียนโดยใช้สื่อประสม เขาฝันไว้ว่า ในอนาคตห้องเรียนทุกห้องจะมีสื่อประสม (Multimedia)ที่เด็กสามารถเลือกเรียนเรื่องต่างๆได้ตามความต้องการซึ่งในปัจจุบันได้มีบริษัทธุรกิจ ผลิตสื่อประสมที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนมากมาย ซึ่งจะเข้ามาในรูปแบบของ ซีดีรอม (CD-Rom) บนทางด่วนข้อมูลต่อเชื่อมโยงเข้ากับ Internet เด็กสามารถเห็นภาพ ฟังเสียง ดูการเคลื่อนไหว และมีสถานการณ์สมมุติต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
5. บทบาทของทางด่วนข้อมูลกับการสอนของครู ปัจจุบันครูทำงานหนักเพื่อเตรียมการสอน แต่ด้วยระบบทางด่วนข้อมูลจะทำให้ครูที่สอนเก่งจากที่ต่างๆมากมายมาเป็นต้นแบบ และสิ่งที่ครูสอนนั้น แทนที่จะใช้กับนักเรียนที่สอนเพียงกลุ่มเดียวก็สามารถสร้าง Web Site ของตนขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ให้ครูคนอื่นใช้ได้ด้วย
6. บทบาทของครูที่เปลี่ยนไป ครูจะมีหลายบทบาทหน้าที่ คือ
บทบาทที่1 ทำหน้าที่เหมือนกับผู้ฝึก (Coach) ของนักกีฬา คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ
บทบาทที่ 2 เป็นเพื่อน (Partner) ของผู้เรียน
บทบาทที่ 3 เป็นทางออกที่สร้างสรรค์ (Creative Outlet) ให้กับเด็ก
บทบาทที่ 4 เป็นสะพานการสื่อสารที่เชื่อมโยงระหว่างเด็กกับโลก ซึ่งเป็นบทบาทที่ ยิ่งใหญ่ ของครู ถ้าครูแสดงบทบาทได้อย่างนี้ การเรียนการสอนจะมีความสุขสนุกสนานยิ่งขึ้น
7. คอมพิวเตอร์กับความเป็นมนุษย์ หลายคนเป็นห่วงว่าคอมพิวเตอร์จะทำลายความเป็นมนุษย์ไป แต่บิลล์ เกตส์พบว่า ครูและนักเรียนสามารอยู่กับคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ทำลายศักดิ์ศรีหรือความเป็นมนุษย์ เพราะบทบาทครูก็ยังคงอยู่และจะสำคัญยิ่งขึ้นถ้าครูสามารถปรับบทบาทให้เข้าใจในเรื่องนี้อย่างถ่องแท้
8. ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ระบบทางด่วนข้อมูลคอมพิวเตอร์จะช่วยเขื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ครู และผู้ปกครอง เช่น การส่ง E-mail จากครูรายงานผลการเรียนของนักเรียนถึงผู้ปกครอง จะช่วยให้การจัดการศึกษาง่ายและสะดวกมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น
จะเห็นได้ว่า ครูเป็นตัวจักรสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง การปฏิรูปจะไม่มีวันสำเร็จได้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งและเสียสละของครู ในขณะที่โลกภายนอกรุกเร้าเข้ามาในโรงเรียนมากขึ้น บางครั้งครูก็ตกอยู่ในภาวะที่เหมือนกับถูกเรียกร้องมากเกินไป ในการสอนของครูเป็นการปฏิบัติกิจกรรมเดี่ยวของแต่ละคน ซึ่งบางคนก็จะรู้สึกว่าโดดเดี่ยวแก้ปัญหาไม่ว่าหนักหรือเบาอยู่คนเดียวและยังมีความคาดหวังของระบบการศึกษาที่ซ่อนเร้นคำวิพากษ์วิจารณ์ที่มักไม่ค่อยยุติธรรม พุ่งเป้ามาที่ตัวครู จากการเรียกร้องว่าครูจะต้องเป็นผู้มีความ สามารถเป็นครูมืออาชีพและอุทิศตนต่อภาระหน้าที่อย่างเต็มที่จึงเป็นผลให้ครูต้องมีภาระรับผิดชอบมากมาย ยิ่งปริมาณการศึกษาขยายเพิ่มขึ้นมาก นักเรียนในแต่ละชั้นมีจำนวนมากขึ้นจนล้นห้อง ขาดงบประมาณและสื่ออุปกรณ์ที่เหมาะสม โรงเรียนจำนวนหนึ่งขาดแคลนครูบางแห่งไม่มีครูสอนเฉพาะวิชาบรรดาครูจึงต้องเผชิญกับความจริงที่ว่าจะไม่สามารถอาศัยสิ่งที่เรียนมาตั้งแต่ต้นได้ไปจนตลอดชีวิต แต่จะต้องแสวงหาความรู้และเทคนิคต่างๆที่ทันสมัยและต้องปรับ- ปรุงอยู่เสมอ ดังนั้น จึงควรปฏิรูปคุณภาพของครูให้ได้ก่อน เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างได้ผล ซึ่งควรดำเนินการดังต่อไปนี้
1. แก้ปัญหาการขาดแคลนครู โดยการขอคืนอัตราเกษียณและเกษียณก่อนกำหนด (early retire) ยกเลิกระบบครูอัตราจ้างควรมีระบบการคัดสรรครูที่มีคุณภาพอย่างพิถีพิถันในเรื่องของความเก่ง นิสัยใจคอ คุณธรรม ความสามารถในการสอนไม่ใช่เน้นแค่ว่ามีใบปริญญามาแสดง ขยายอายุเกษียณราชการให้ แก่ครูที่เป็นมืออาชีพ ในสาขาที่ขาดแคลน
2. จัดให้มีสถาบันเฉพาะด้านการผลิตและพัฒนาครู ปรับหลักสูตรการผลิตครูเพื่อสนองต่อการใช้งาน ต้องมีปัจจัยในการสร้างแรงจูงใจให้คนดี คนเก่งเข้ามาเรียนครูโดยการให้ทุนเรียน สานต่อโครงการคุรุทายาท
3. พัฒนาครูประจำการให้เพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอน ให้ได้รับการอบรมอยู่บ่อยๆโดยใช้เทคนิคการสอนทางไกลโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานซึ่งจะช่วยประหยัด ค่าใช้จ่ายและครูยังสามารถสอนได้เหมือนเดิม เปิดหลักสูตรพิเศษให้ครูผู้สอนที่ไม่ตรงวุฒิให้ได้รับการพัฒนา
4. สร้างระบบแรงจูงใจให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องโดยจัดให้มีเงินวิทยฐานะสำหรับครูที่พัฒนาตนเองและพัฒนาระบบการประเมินสมรรถนะวิชาชีพ เน้นความสามารถและผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนการสอน
5. ปรับระบบการโยกย้ายแต่งตั้ง โดยเน้นการพิจารณาผลการปฏิบัติงาน สร้างขวัญกำลังใจยกย่องให้รางวัลครูที่มีผลงานดีเด่น
6. ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู ให้เป็นที่ยอมรับ พัฒนาระบบเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ให้จูงใจ
สิ่งที่ผู้เขียนอยากฝากครูทุกคน คือ ครูเป็นผู้ที่มีอิทธิพลเหนือความรู้ ความรู้เป็นเพียงกรอบแนวคิดช่วยในการตัดสินใจครูเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ความรู้มีอยู่ในตัวครูแล้วมีองค์ความรู้อยู่ภายใน
ครูที่ดีต้องมี 3 สุ
1. สุวิชาโน มีความรู้ดี
2. สุสาสโน สอนดี มีเทคนิค ตั้งใจสอน
3. สุปฏิปันโน มีความประพฤติดี
ครูดีต้องมี 4 เต็ม
1. สอนให้เต็มหลักสูตร
2. สอนให้เต็มเวลา
3. สอนด้วยความเต็มใจ
4. สอนเต็มความสามารถ
สรุป
ครู เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ กระทรวงศึกษาธิการต้องใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการพัฒนาหลักสูตรให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ แม้กระทั่งการพัฒนาบุคลากรครูให้มีความรู้ในระดับมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ จะเห็นได้ว่าโรงเรียนในเมืองใหญ่นั้น นักเรียนมีศักยภาพดีกว่านักเรียนในเมืองเล็กๆ นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวก็บีบรัดให้ต้องจนมุมและยกปัญหากลับคืนไปยังโรงเรียนอีก การเรียนรู้ของเด็กก็มีทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนควบคู่กันไป มันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากและต้องแก้ไขอย่างมาก ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญคือครู พ่อและแม่ ต้องเรียนรู้ไปด้วยพร้อมกับเด็ก เด็กจึงจะไปสู่เส้นชัยได้โดยมั่นใจ Motivate นักเรียนให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน ดูได้จากโรงเรียนกวดวิชาต่างๆ ครูที่สอน จะมีเทคนิค หรือวิธีการสอนที่เร้าใจน่าสนใจทำให้นักเรียนอยากไปเรียนซึ่งต่างจากครูตามโรงเรียนจะมีแค่ส่วนน้อยที่ สอนแล้วทำให้เด็กนักเรียนมีความอยากเรียน มีการพลิกแพลงแนวการสอนให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อเพิ่มความสนใจให้กับนักเรียน แม้จะมีความพยายามในการพัฒนากลไกวิชาชีพครูให้เข้มแข็งขึ้น เช่นการปรับปรุงระบบการให้ค่าตอบแทนวิทยฐานะครู แต่ระบบการพิจารณาวิทยฐานะยังมีจุดอ่อน ในการทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะของครูมีปัญหาคือไม่มีความรู้ความสามารถพอที่จะพัฒนาตนเองได้จึงมีการว่าจ้างกลุ่มรับจ้างมืออาชีพ ที่จัดทำอย่างเป็นระบบครบวงจร คือทั้งรับจ้างทำและติดต่อภายในกับผู้ประเมินแบบเป็นกระบวนการรับจ้างครบวงจรเลยทีเดียวราคาค่า จ้างเป็นแสนๆบาทอีกหนึ่งปัญหาคือการคัดลอกผลงานซึ่งก็ยิ่งซ้ำเติมทั้งปัญหาคุณภาพและคุณธรรม จริยธรรมของครู เงินวิทยฐานะที่ครูได้รับ ไม่ได้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้น ซ้ำคุณภาพนักเรียนกลับตกต่ำลงทุกช่วงชั้น เพราะฉะนั้นควรแก้ไขปัญหาการเพิ่