จาก...'กาย' สู่....'ใจ'
'กาย' และ 'ใจ'...ต่างก็เป็นคนละส่วนกัน แต่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
อันเนื่องมาจาก...'ใจ' ดั่งที่มีประโยคหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า...ใจ..เป็นนาย กาย...เป็นบ่าว
ถ้านายดี บ่าวก็ดี..แต่ถ้านายไม่ดี บ่าวก็ไม่ดีเช่นกันเพราะ..บ่าว..ต้องปฏิบัติตามที่
นายสั่ง...ฉันใด กายและใจ ก็เป็นฉันนั้น...
ถ้าได้ศึกษาปฏิบัติธรรมแล้ว จะเห็นได้ว่า..ร่างกาย..เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากอาหารที่
ได้รับประทานเข้าไป อาหารนี้ก็มาจากธาตุทั้งสี่คือ ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ แล้วจะแปลง
สภาพกลายเป็นอาการ 32 มีผม-ขน-เล็บ-ฟัน-หนัง-เนื้อ-เอ็น-กระดูก ต่างๆเหล่า
นี้เป็นต้น และรูปร่างกายเมื่อเติบโตเจริญไปถึงที่สุด ก็จะเสื่อมลงตามสภาพเป็นธรรมดา
นี่คือ..ธรรมชาติของร่างกาย..พระพุทธองค์ท่านจึงทรงให้พิจารณาอยู่เนืองๆ ตาม
แนวทางที่ท่านสอนไว้ แล้วจะได้เกิดปัญญา จะเริ่มเห็นว่า....
"ผู้ที่พิจารณาคือ...'ใจ' และผู้ถูกพิจารณาคือ...'กาย'" ใจเป็นผู้รู้ ใจรู้กายและยังต้อง
รู่จิตของใจด้วยเช่นกัน แต่...ใจมีความหลงหรืออวิชชา ครอบงำอยู่ เลยรู้ผิดเห็นผิด
แทนที่จะรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน...กลับไปเห็นว่าเป็นตัวตน..จึงทำให้เกิดการยึดถือ หมายมั่น
'ใจนี้เป็นธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่ตาย มีแต่รู้อยู่อย่างนั้น'
เมื่อร่างกายดับสลายไป ใจก็ต้องแยกออกจากร่างกาย ร่างกายก็เปรียบเหมือน
กับบ้าน..ถ้าบ้านพังขึ้นมา ไฟไหม้บ้าน ก็ต้องย้ายบ้าน หาบ้านใหม่อยู่
การจะไปหาบ้านใหม่อยู่..ก็ต้องมีเงิน เงินที่สะสมเก็บเอาไว้ เปรียบเสมือนบุญกุศล
นั่นเอง ถ้ามีเงินมากก็สามารถหาบ้านหลังใหม่ที่ดีพร้อมได้
เช่นนี้...ตราบใดที่เรายังต้องเวียนว่ายในวัฏฏะ หลายต่อหลายภพจนนับประมาณ
ไม่ได้ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้กี่ภพกี่จบกี่สิ้น ในขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่
ก็อย่าอยู่อย่างประมาท สร้างบุญสร้างกุศล..ให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนา
เพื่อเป็นการเตรียมเสบียงบุญ เตรียมทรัพย์สิน ไว้ในภพต่อๆไป...
อย่าให้กิเลส ตัณหา โมหะ อวิชชา ที่มีอยู่ภายในใจพยายามกีดกั้น ขัดขวาง
ไม่ให้เราสร้างกุศล...เพื่อความเห็นถูก เพื่อความเห็นธรรม ควรน้อมนำใน
หลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงบอก นำมาปฏิบัติบ่อยๆเนืองๆ จนเป็นปกติ
ที่มีความสัมพันธ์ ไปในทางที่เจริญ ทางที่ถูก 'จาก...กาย...สู่...ใจ'...ฯ
บทความจากที่นี่ดอทคอม