ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ตำราฝนหลวง"THE RAINMAKING STORY พระราชบันทึกที่มาโครงการฝนหลวง


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,473 ครั้ง
"ตำราฝนหลวง"THE RAINMAKING STORY พระราชบันทึกที่มาโครงการฝนหลวง

Advertisement

THE RAINMAKING STORY พระราชบันทึกที่มาโครงการฝนหลวง




"ตำราฝนหลวง" พระราชทาน
ในปี พ.ศ.2543 "สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร" ได้รับพระราชทานพระราชบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง "THE RAINMAKING STORY" ซึ่งบอกเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ที่มาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง คำแปลเป็นภาษาไทยบางส่วน มีดังนี้

ชื่อเรื่อง : การดัดแปรสภาพอากาศสำหรับการทำฝน

ชื่อผู้ประดิษฐ์คิดค้น : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ

เรื่องการทำฝน (THE RAINMAKING STORY)

จากวันที่ 2 ถึง 20 พฤศจิกายน 1955 (2498) เราได้เยี่ยมเยียน 15 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน เราเดินทางโดยรถยนต์ (เดลาเฮย์ ซีดาน สีเขียว) จากนครพนมไปกาฬสินธุ์, ผ่านสกลนครและเทือกเขาภูพาน เราหยุดโดยไม่มีหมายกำหนดการ เมื่อเราพบราษฎรกลุ่มเล็กๆ : ชายคนหนึ่งพูดว่า พวกเขาได้เดินมา 20 กิโลเมตร จากกุชินารายณ์ เพียงเพื่อมาดูเราขับรถผ่านไป เมื่อรู้ว่าเรากำลังจะไปกาฬสินธุ์, ซึ่งเป็นระยะทางอีกไกลที่จะต้องไป, เขาได้บอกให้เราเดินทางต่อไปแม้ว่าเขาอยากจะให้เราพักอยู่ เขากล่าวว่าพวกเรายังต้องไปอีกไกล ดังนั้น เขาจึงได้ให้อาหารห่อเล็กๆ แก่ข้าพเจ้า เมื่อเขาเห็นข้าพเจ้ามองอย่างห่วงใย, เขาจึงยืนยันกับข้าพเจ้าว่า เขายังมีอีกห่อหนึ่งสำหรับตัวเขาเอง นี่เป็นการต้อนรับด้วยความจริงใจที่แท้จริง ครั้งต่อไปเราได้หยุดอย่างเป็นทางการที่ทางแยกกุชินารายณ์และสหัสขันธ์

ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้สอบถามราษฎรเกี่ยวกับผลิตผลข้าว ข้าพเจ้าคิดว่าความแห้งแล้ง ต้องทำลายผลิตผลของพวกเขา แต่ข้าพเจ้าต้องประหลาดใจ เมื่อราษฎรเหล่านั้น กลับรายงานว่า พวกเขาเดือดร้อนเพราะน้ำท่วม สำหรับข้าพเจ้าเป็นการแปลก เพราะพื้นที่แถบนั้นมองดูคล้ายทะเลทรายซึ่งมีฝุ่นดินฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไป แท้จริงแล้วพวกเขามีทั้งน้ำท่วมและฝนแล้ง นั่นคือ ทำไมประชาชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงยากจนนัก

จากนั้นเป็นต้นมา, ข้าพเจ้าครุ่นคิดถึงปัญหาที่ดูเหมือนว่าแก้ไม่ตกและขัดแย้งกันเองอยู่ในตัว เมื่อเวลามีน้ำ, น้ำก็มากเกินไป, ทำให้น้ำท่วมพื้นที่ เมื่อน้ำลดก็แห้งแล้ง เมื่อฝนตก, น้ำท่วมบ่าลงมาจากภูเขาเพราะไม่มีสิ่งใดหยุดน้ำเอาไว้ วิธีแก้คือต้องสร้างเขื่อนเล็กๆ (Check dams) จำนวนมาก ตามลำธารที่ไหลลงมาจากภูเขาต่างๆ จะช่วยให้กระแสน้ำค่อยๆ ไหลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำเล็กๆ จำนวนมาก สิ่งนี้จะแก้ไขปัญหาแห้งแล้งได้ ในฤดูฝนน้ำที่ถูกเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเหล่านั้น และนำมาจัดสรรน้ำให้ในฤดูแล้ง ยังคงมีอีกปัญหาหนึ่ง คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาคมีชื่อเสียงว่าเป็นภาคที่แห้งแล้ง ขณะนั้นข้าพเจ้าได้แหงนดูท้องฟ้า และเห็นว่ามีเมฆจำนวน, แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร จึงจะทำให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครง การทำฝนเทียม ซึ่งประสบความสำเร็จในอีก 2-3 ปีต่อมาในภายหลัง

เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร ข้าพเจ้าได้เรียกหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งเป็นวิศวกรและนักประดิษฐ์ควายเหล็กที่มีชื่อเสียงมาพบ เขาให้สัญญากับข้าพเจ้าว่าเขาจะศึกษาปัญหาดังกล่าว สองปีต่อมาเขากลับมาพร้อมความคิดเริ่มแรก

หลักการแรก คือ ให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล) จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ แล้วใช้สารเย็นจัด (น้ำแข็งแห้ง) เพื่อให้ความชื้นกลั่นตัว และรวมตัวเป็นเมฆ การทดลองครั้งแรกๆ ยังไม่สามารถสรุปผลได้มากนัก ไม่มีฝนตก แต่เมฆก่อตัวในท้องฟ้าโปร่ง แต่น้ำแข็งแห้งที่ใช้ไม่เพียงพอ เมฆจึงสลายตัวกลับคืนสู่ท้องฟ้าใส เมื่อเพิ่มปริมาณน้ำแข็งแห้งมากขึ้น เมฆ "ระเบิด" และถูกทำลาย แม้จะเพิ่มน้ำทะเลก็ช่วยไม่ได้ จึงต้องกลับมาวางแผนกันใหม่

หลักการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง : ฝนเกิดขึ้นจากความชื้นและอุณหภูมิ ปัจจัยอื่น คือ ความเร็ว และทิศทางลม ต้องศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของเมฆ (Cloud Phy sics) ให้มากขึ้น แต่หลักการและองค์ประกอบพื้นฐานยังอยู่ตรงนั้น เกลือทะเลเป็นสูตรแรก, น้ำทะเลเป็นสูตรที่สอง, น้ำแข็งแห้งเป็นสูตรที่สาม

สูตร 1 และสูตร 3 ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน สูตร 2 ไม่ใช้ต่อไป สูตรอื่นๆ ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น คือ สูตร 4 ยูเรีย (สูตรเย็นปานกลาง), สูตร 6 แคลเซียมคลอไรด์ (ร้อน), สูตร 9 แคลเซียมคาร์ไบด์ (ร้อนมาก) สูตรหลังนี้ขณะนี้เลิกใช้แล้ว เพราะค่อนข้างอันตราย

แคลเซียมคลอไรด์ ถูกใช้ครั้งแรกใกล้กับบรบือ, มหาสารคาม ที่นั่นข้าพเจ้าคาดว่า หลังจากการก่อเมฆ ด้วยสูตร 1 (เกลือทะเล) ถ้าสูตร 6 (แคลเซียมคลอไรด์) ถูกใส่เข้าไปในเมฆ, เมฆนั้นจะก่อยอดถึงระดับที่สูงขึ้น, คล้ายรูปดอกเห็ดของระเบิดปรมาณู ผลที่ได้คือ ฝนตกวัดได้ 40 ม.ม. แม้ว่าเมฆไม่ได้ก่อยอดสูงขึ้นในรูปดอกเห็ด แต่ก่อยอดสูงขึ้นคล้ายต้นคริสมาส

กิจกรรมอื่นๆ ที่ใช้เทคนิคการทำฝน เช่น, การทำลายเมฆสำหรับสนามบิน ซึ่งกลายมาเป็นการศึกษาถึงประโยชน์ของการใช้แคลเซียมคลอไรด์และน้ำแข็งแห้ง ครั้งแรกที่ถูกใช้ เมื่อข้าพเจ้าเดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ ไปอำเภอบ้านโป่งเพื่อพิธีการทางศาสนา ในการเดินทางกลับ เมฆหนาทึบจำนวนมากมีท่าทีว่าจะคุกคามและขัดขวางการบินของเรา ม.ร.ว.เทพฤทธิ์จึงบินด้วยเครื่องบินปีก นำหน้าเส้นทางบินของเรา, โปรยแคลเซียมคลอไรด์ตลอดทางจนถึงพระตำหนักจิตรลดาพระราชวังดุสิต ผลก็คือ เมฆเหล่านั้นแยกออกเป็นเส้นทางโล่ง ทั้งสองด้านของเมฆแยกออกมองดูคล้ายกำแพงยักษ์สองข้าง เมื่อเรามาถึงตำหนักจิตรลดา กำแพงทั้งสองเริ่มปิดเข้าหากันและมีกระแสลมแรง ทำให้เฮลิคอปเตอร์เกือบบินกลับฐานที่ตั้งไม่ได้ และไม่ช้าก็เกิดฝนตกหนักมาก

ดังนั้น แม้ว่าประสบการณ์ดังกล่าวจะประสบความสำเร็จในการทำลายเมฆ, แต่ขณะเดียวกัน, เป็นความสำเร็จ ในการปฏิบัติการทำฝนด้วย.

ตำราฝนหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ภาพ "ตำราฝนหลวง" ด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงขั้นตอน และกรรมวิธีการดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดฝนจากเมฆอุ่น และเมฆเย็น และพระราชทานแก่ นักวิชาการฝนหลวง ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2542

 

แถวบนสุด (แถวแรก) ของตำราฝนหลวงพระราชทาน

  • ช่องที่ 1. "นางมณีเมฆขลา" เป็นเครื่องหมายหรือสัญญลักษณ์ของโครงการ เป็นหัวหน้าสำนักงานอุตุนิยมวิทยา แห่งเขาไกรลาศ หรือเขาพระสุเมรุ วิเทศะสันนิษฐานว่าอยู่ในทะเล
  • ช่องที่ 2. "พระอินทร์ทรงเกวียน" พระอินทร์เป็นพระสักกะเทวราช เป็นราชาของเทวดา ที่ทรงมาช่วยทำฝน
  • ช่องที่ 3. "21 มกราคม 2542" เป็นวันที่ทรงประทับบนเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จไปประกอบพระราชกรณียกิจที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเส้นทางพระราชดำเนินกลับ ทรงสังเกตเห็นกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างที่น่าจะทำฝนได้ทรงบันทึกภาพเมฆเหล่านั้นพระราชทานลงมา และมีพระราชกระแสรับสั่งให้ส่งคณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษออกไปปฏิบัติการกู้ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และภาคเหนือตอนล่าง โดยเร่งด่วน
  • ช่องที่ 4. "เครื่องบิน 3 เครื่อง" เป็นตัวอย่างของเครื่องบินที่เหมาะสมกับการปฏิบัติการตามตำราฝนหลวงพระราชทานตามขั้นตอนที่ 1 - 6 ประกอบด้วย
    • เครื่องบินเมฆเย็น (BEECHCRAFT KING AIR)
    • เครื่องบินเมฆอุ่น (CASA)
    • เครื่องบินเมฆอุ่น (CARAVAN)

แถวที่ 1 ช่องที่ 1-4 เป็นขั้นตอนที่ 1

เป็นการเร่งให้เกิดเมฆโดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น 1 เครื่อง โปรย สารเคมีผงเกลือ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ระดับความสูง 7,000 ฟุต ในขณะที่ท้องฟ้าโปร่งหรือมีเมฆเดิมก่อตัว อยู่บ้าง ความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ให้เป็นแกนกลั่นตัว (Cloud Condensation Nuclei เรียกย่อว่า CCN) ความชื้นหรือไอน้ำจะถูกดูดซับเข้าไปเกาะรอบแกนเกลือแล้วรวมตัวกันเกิดเป็นเมฆ ซึ่งเมฆเหล่านี้จะพัฒนาเจริญขึ้นเป็นเมฆก้อนใหญ่ อาจก่อยอดถึงระดับ 10,000 ฟุต ได้

แถวที่ 2 ช่องที่ 1-4 เป็นขั้นตอนที่ 2

เป็นการเร่งการเจริญเติบโตของเมฆที่ก่อขึ้นหรือเมฆเดิมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และก่อยอดขึ้นถึงระดับ 10,000 ฟุต ฐานเมฆสูงไม่เกิน 7,000 ฟุต ใช้เครื่องบินแบบเมฆอุ่นอีกหนึ่งเครื่อง โปรยสารเคมีผงแคลเซี่ยมคลอไรด์ (CaCl2) เข้าไปในกลุ่มเมฆที่ระดับ 8,000 ฟุต (หรือสูงกว่าฐานเมฆ 1,000 ฟุต) ทำให้เกิดความร้อนอันเนื่องมาจากการคายความร้อนแฝง จากการกลั่นตัวรอบ CCN รวมกับความร้อน ที่เกิดจากปฏิกิริยาของไอน้ำกับสารเคมี CaCl2 โดยตรง และพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติ จะเร่งหรือเสริมแรงยกตัวของมวลอากาศภายในเมฆยกตัวขึ้นและเร่งกิจกรรมการกลั่นตัวของไอน้ำและการรวมตัวกัน ของเม็ดน้ำภายในเมฆ ทวีความหนาแน่นจนขนาดของเมฆใหญ่ก่อยอดขึ้นถึงระดับ 15,000 ฟุต ได้เร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งยังเป็นส่วนของเมฆอุ่น จนถึงระดับนี้ การยกตัวขึ้นลงของมวลอากาศ การกลั่น และการรวมตัวของเม็ดน้ำยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องแบบปฏิกิริยาลูกโซ่แต่บางครั้งอาจมีแรงยกตัวเหลือพอที่ยอดเมฆพัฒนาขึ้นถึงระดับ 20,000 ฟุต ซึ่งเป็นระดับเมฆเย็น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ระดับประมาณ 18,000 ฟุตขึ้นไป (อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส)

แถวที่ 3 ช่องที่ 1-4 เป็นขั้นตอนที่ 3

เป็นการเร่งหรือบังคับให้เกิดฝนเมื่อเมฆอุ่นเจริญเติบโตขึ้นจนเริ่ม แก่ตัวจัด ฐานเมฆลดระดับต่ำลงประมาณ 1,000 ฟุต และเคลื่อนตัวใกล้เข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย ทำการบังคับให้ฝนตกโดยใช้เทคนิคการโจมตี แบบ Sandwich โดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ทับยอดเมฆหรือไหล่เมฆที่ระดับ 9,000 ฟุต หรือไม่เกิน 10,000 ฟุต ทางด้านเหนือลม อีกเครื่องหนึ่ง โปรยผงยูเรีย (Urea) ที่ระดับฐานเมฆด้านใต้ลม ให้แนวโปรยทั้งสองทำมุมเยื้องกัน 45 องศา (ดังในแผนภาพ) เมฆจะทวีความหนาแน่นของเม็ดน้ำขนาดใหญ่และปริมาณมากขึ้น ตกลงสู่ฐานเมฆทำให้ฐานเมฆหนาแน่นจนฝน ใกล้ตกเป็นฝนหรือเริ่มตกเป็นฝนแต่ยังไม่ถึงพื้นดิน หรือตกถึงพื้นดินแต่ปริมาณยังเบาบาง

แถวที่ 4 ช่องที่ 1-3 เป็นขั้นตอนที่ 4

เป็นการเสริมการโจมตีเพื่อเพิ่มปริมาณฝนให้สูงขึ้นเมื่อกลุ่มเมฆฝนตามขั้นตอนที่ 3 ยังไม่เคลื่อนตัวเข้าสู่เป้าหมายทำการเสริมการโจมตีเมฆอุ่นด้วยสารเคมีสูตรเย็นจัด คือ น้ำแข็งแห้ง (Dry ice) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำระดับ -78 องศาเซลเซียส ที่ใต้ฐานเมฆ 1,000 ฟุต จะทำให้อุณหภูมิของมวลอากาศ ใต้ฐานเมฆลดต่ำลง และความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้น และจะยิ่งทำให้ฐานเมฆยิ่งลดระดับต่ำลง ปริมาณฝนตกหนาแน่น ยิ่งขึ้น และชักนำให้กลุ่มฝนเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลได้แน่นอนและเร็วยิ่งขึ้น (หากกลุ่มเมฆฝนปกคลุม ภูเขาก็จะเป็นวิธีชักนำให้กลุ่มฝนพ้นจากบริเวณภูเขาเข้าสู่พื้นที่ราบ)

แถวที่ 5 ช่องที่ 1-3 เป็นขั้นตอนที่ 5

เป็นการโจมตีเมฆเย็นด้วย Agl ขณะที่เมฆพัฒนายอดสูงขึ้นในขั้นที่ 2 ถึงระดับเมฆเย็น และมีแค่เครื่องบินเมฆเย็นเพียงเครื่องเดียว ทำการโจมตีเมฆเย็น โดยการยิงพลุสารเคมีซิลเวอร์ ไอโอไดด์ (AgI) ที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ซึ่งมีอุณหภูมิระดับ -8 ถึง -12 องศาเซลเซียส มีกระแส มวลอากาศลอยขึ้นกว่า 1,000 ฟุตต่อนาที และมีปริมาณน้ำเย็นจัดไม่ต่ำกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นเงื่อนไขเหมาะสมที่จะทำให้ไอน้ำระเหยจากเม็ดน้ำเย็นยิ่งยวด (Super cooled vapour) มาเกาะตัวรอบแกน Agl กลายเป็น ผลึกน้ำแข็งได้ด้วยประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ไอน้ำที่แปรสภาพเป็นผลึกน้ำแข็งจะทวีขนาดใหญ่ขึ้นจนร่วงหล่นลงมา และละลายเป็นเม็ดน้ำเมื่อเข้าสู่ระดับเมฆอุ่น และจะทำให้ไอน้ำและเม็ดน้ำในเมฆอุ่นเข้ามาเกาะรวมตัวกันเป็นเม็ดใหญ่ขึ้น ทะลุฐานเมฆเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน

แถวที่ 6 ช่องที่ 1-3 เป็นขั้นตอนที่ 6

เป็นการโจมตีแบบ SUPER SANDWICH จะทำได้ต่อเมื่อมีเครื่องบินปฏิบัติการทั้งเมฆอุ่นและเมฆเย็นสามารถใช้ปฏิบัติการได้ครบ ขณะที่ทำการโจมตีเมฆอุ่นตามขั้นตอนที่ 3 และ 4 ทำการโจมตีเมฆเย็นตามขั้นตอนที่ 5 ควบคู่ไปในขณะเดียวกัน เครื่องบินเมฆอุ่นอีกเครื่องหนึ่งโปรยสารเคมีผงโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับไหล่เมฆจะทำให้ฝนตกหนักและต่อเนื่องนานให้ปริมาณน้ำฝนสูงยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการประสานประสิทธิภาพของการโจมตีเมฆอุ่นในขั้นตอนที่ 3 และ 4 และโจมตีเมฆเย็นในขั้นตอนที่ 5 ควบคู่กันไปในระดับเดียวกัน
เทคนิคการโจมตีนี้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า SUPER SANDWICH เป็นเทคนิคที่ทรงคิดค้นขึ้นมาปฏิบัติการในประเทศไทยเป็นประเทศแรก ยังไม่มีประเทศใดในโลกเคยถือปฏิบัติมาก่อนอย่างแน่นอน

แถวล่างสุด (แถวสุดท้ายของตำราฝนหลวงพระราชทาน)

  • ช่องที่ 1. "แห่นางแมว" (CAT PROCESSION) เป็นการรวมผลหรือประชาสัมพันธ์ (บำรุงขวัญ) แมวเกลียดน้ำ (The cat hates water) เป็นพิธีกรรมขอฝนที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล เป็นพิธีกรรมด้านจิตวิทยา เมื่อฝนแล้งเกิดความเดือดร้อน ปั่นป่วน วุ่นวาย จึงต้องมีจิตวิทยา บำรุงขวัญให้ประชาชน และเจ้าหน้ามีกำลังใจ
  • ช่องที่ 2. "เครื่องบินทำฝน" เครื่องบินปฏิบัติการ (เป็นพาหะในการประยุกต์เทคโนโลยีฝนหลวง) เครื่องบินต้องกล้าบินเข้าเมฆฝน เพื่อสำรวจและติดตามผล นักบินและนักวิชาการฝนหลวงต้องร่วมมือกัน (The pilot and the rainmakers must cooperate)
  • ช่องที่ 3. "กบ" เลือกนาย หรือขอฝน และเลือกฝน กบร้องแทนอุตุนิยม ถ้าไม่มีความชื้นกบเดือดร้อนและกบเตือนให้มีความพยายาม มิฉะนั้นกบตาย ไม่มีฝนเกษตรกรตาย ท่านต้องจูบกบหลายตัว ก่อนที่จะพบเจ้าชายเพียงหนึ่งองค์ (You have kiss to a lot of frogs before you meet a prince) หมายความว่า ต้องมีความพยายามทำซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้เกิดฝนได้สักครั้ง
  • ช่องที่ 4. "บ้องไฟ" แทนเครื่องบิน (ทำหน้าที่เสมือนเครื่องบินที่เป็นพาหะนำเทคโนโลยีฝนหลวงขึ้นไปประยุกต์ในท้องฟ้า เป็นประเพณีเรียกฝน ไม่ใช่ของเล่น แต่เป็นของจริง ทำฝนด้วยการยิงบ้องไฟ บ้องไฟขึ้นสูงปล่อยควันเป็นแกน ความชื้นเข้ามาเกาะแกนควัน ทำให้เกิดเมฆเกิดฝน บ้องไฟจึงเป็นพิธีการอย่างหนึ่ง เป็นวิทยาศาสตร์

 

 

 

สายฝน

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ





ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ "กลางสายฝน"


เมื่อลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว
ต้นไม้พลิ้วลู่กิ่งใบ
เหมือนจะเอนรากคลอนถอนไป
แต่เหล่าไม้ยิ่งกลับงาม

พระพรหมท่านบันดาลให้ฝนหลั่ง
เพื่อประทังชีวิตมิทราม
น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม
ทั่วเขตคามชุ่มธารา

สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวทุ่ง
แดดทอรุ้งอร่ามตา
รุ้งเลื่อมลายพร่างพรายนภา
ยามเมื่อฝนมาแต่ไกล

พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ
เพื่อจะนำดับความร้อนใจ
น้ำฝนหลั่งลงมาจากฟ้าแดนไกล
พืชพรรณไม้ชื่นยืนยง



Falling Rain

Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: Prof. Thanpuying Nopakhun Thongyai Na Ayudhya


Rain winds sweep across the plain.
Thunder rumbles on high.
Lightning flashes ; bows the grain.
Birds in fright nestward fly.
But the rain pours down in blessing;
Filled with cheer our hearts expand.
As the woods with notes of pleasure ring,
Sunlight streams o’er the land.

Bright the rainbow comes in view.
All the world’s cool and clean.
Angel’s tears the flowers renew.
Nature glistens in green.
Rain beads sparkle in your hair, love.
Rainbows glitter when you smile.
Thus we soon forget the clouds above
Beauty so does beguile.

ที่มา: http://202.44.204.117/index.html

 

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=samsian&date=13-08-2006&group=1&gblog=3

http://www.charyen.com/jukebox/play.php?id=7587


 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 923 วันที่ 25 ส.ค. 2552


"ตำราฝนหลวง"THE RAINMAKING STORY พระราชบันทึกที่มาโครงการฝนหลวง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

นิทาน

นิทาน


เปิดอ่าน 6,431 ครั้ง
3 D .....คนนอกกรอบ

3 D .....คนนอกกรอบ


เปิดอ่าน 6,462 ครั้ง
กินเพื่อสุขภาพ

กินเพื่อสุขภาพ


เปิดอ่าน 6,462 ครั้ง
เทคนิคการเตรียมสอบ

เทคนิคการเตรียมสอบ


เปิดอ่าน 6,433 ครั้ง
10 อันดับ... มหานครของโลก

10 อันดับ... มหานครของโลก


เปิดอ่าน 7,612 ครั้ง
กรุ๊ปเลือด.......บอกสไตล์รัก

กรุ๊ปเลือด.......บอกสไตล์รัก


เปิดอ่าน 6,898 ครั้ง
ดูสบายตา อ่านแล้วสบายใจ (4)

ดูสบายตา อ่านแล้วสบายใจ (4)


เปิดอ่าน 6,423 ครั้ง
หาได้ไหม?

หาได้ไหม?


เปิดอ่าน 6,467 ครั้ง
physicsmatayom

physicsmatayom


เปิดอ่าน 6,459 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

วิทย์ป5ข   ฝากให้ดู

วิทย์ป5ข ฝากให้ดู

เปิดอ่าน 6,428 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
"ปกร้อนแรงแห่งปี!!"
"ปกร้อนแรงแห่งปี!!"
เปิดอ่าน 6,438 ☕ คลิกอ่านเลย

ขำขัน : บาร์ทอง
ขำขัน : บาร์ทอง
เปิดอ่าน 6,437 ☕ คลิกอ่านเลย

วันนี้คุณกินข้าวเช้าหรือยัง
วันนี้คุณกินข้าวเช้าหรือยัง
เปิดอ่าน 6,431 ☕ คลิกอ่านเลย

อาการที่น่าเป็นห่วง...ระหว่างโรคจิตกับโรคประสาท...!!
อาการที่น่าเป็นห่วง...ระหว่างโรคจิตกับโรคประสาท...!!
เปิดอ่าน 6,698 ☕ คลิกอ่านเลย

ตัวอยู่กับตัว แต่ไม่รู้จักตัว
ตัวอยู่กับตัว แต่ไม่รู้จักตัว
เปิดอ่าน 6,428 ☕ คลิกอ่านเลย

เพิ่มพูนความรู้ เอิ๊กอ๊ากตัวงอ ชะลอความแก่..ฮ่าๆๆๆ
เพิ่มพูนความรู้ เอิ๊กอ๊ากตัวงอ ชะลอความแก่..ฮ่าๆๆๆ
เปิดอ่าน 6,429 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กระบวนการในการใช้หนังสือเพื่อการพัฒนาเด็กวัย 0-3 ปี
กระบวนการในการใช้หนังสือเพื่อการพัฒนาเด็กวัย 0-3 ปี
เปิดอ่าน 11,807 ครั้ง

ซุปเปอร์บอร์ดจะเป็นอัศวินม้าขาว ทางการศึกษาไทยได้หรือ
ซุปเปอร์บอร์ดจะเป็นอัศวินม้าขาว ทางการศึกษาไทยได้หรือ
เปิดอ่าน 10,742 ครั้ง

9 หนทางสู่การลดน้ำหนักแบบทันใจ
9 หนทางสู่การลดน้ำหนักแบบทันใจ
เปิดอ่าน 12,528 ครั้ง

ประเพณีแห่เทียนพรรษา ปี 52 จังหวัดอุบลราชธานี
ประเพณีแห่เทียนพรรษา ปี 52 จังหวัดอุบลราชธานี
เปิดอ่าน 21,116 ครั้ง

จะให้ลูกเก่งเลข ต้องออกกำลัง
จะให้ลูกเก่งเลข ต้องออกกำลัง
เปิดอ่าน 13,040 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ