ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,638 ครั้ง
เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน

Advertisement

 

๑.  ชื่อเรื่องวิจัย  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ที่ใช้การสอนรูปแบบโครงงาน

๒.    ชื่อผู้วิจัย  นายทองใบ  ปัดทำ

๓.     ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดขึ้นมากมาย การเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน หลั่งไหลเข้าสู่ครัวเรือนจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ก่อให้เกิดผลกระทบและปัญหาต่าง ๆ เศรษฐกิจอยู่ในสภาพวิกฤติ เกิดความผันผวนทางการเมือง ความเสื่อมของวัฒนธรรมและศีลธรรม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๔๗)

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ มาตรา ๒๓ ที่กำหนดว่าการจัดการศึกษาทั้งในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ในเรื่อง ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก  รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และมาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเรื่อง จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒,

๒๕๔๒)

       

                การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ด้วยการให้นักเรียนรวมกลุ่มกันร่วมกันทำงาน ดำเนินกิจกรรมการเรียนร่วมกัน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา และทำกิจกรรมร่วมกันตามความเชื่อพื้นฐานที่ว่า บุคคลแต่ละคนมีความสามารถในตนเอง ประสบการณ์ที่สมาชิกได้รับ บุคคลมีอิทธิต่อกลุ่มและกลุ่มช่วยส่งเสริมให้สมาชิกแต่ละคน มีการพัฒนาทัศนคติทางสังคมในทางที่ดีขึ้น(กาญจนา ไชยพันธ์, ๒๕๔๗)

                การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบมาผสมผสานกัน ได้แก่ กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ การสอนแบบร่วมกันคิด เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจ โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ลงมือปฏิบัติและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๐) วิธีการสอนแบบโครงงาน เพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันเรียนรู้ ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินผล อันจะทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จได้

๔.     คำถามของการวิจัย

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ที่ใช้การสอนรูปแบบโครงงาน อยู่ในระดับใด

๕.    วัตถุประสงค์ของการวิจัย

๕.๑ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ที่ได้รับการสอนโดยรูปแบบโครงงาน

๖.      ขอบเขตและข้อจำกัดของการวิจัย

๖.๑ ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนโรงเรียนซำสูงพิทยาคม ที่เรียนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ จำนวน ๖๓๐ คน

๖.๒ กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนซำสูงพิทยาคม ที่เรียนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ จำนวน ๓ ห้องเรียน ที่สุ่มมาโดยการเฉพาะเจาะจง

๖.๓ ตัวแปรในการวิจัย

        ๖.๓.๑ ตัวแปรต้น มี ๑ ตัว คือ การจัดการเรียนการสอนโดยรูปแบบโครงงาน

๖.๓.๒ ตัวแปรตาม มี ๑ ตัว คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

       ๖.๔ เนื้อหาวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชื่อหน่วย โครงงานอาชีพ

       ๖.๕ ระยะเวลาทำการศึกษาวิจัย เดือนมกราคม ถึง มีนาคม ๒๕๕๒

๗.    คำจำกัดความ หรือนิยามศัพท์เฉพาะ

๗.๑  โครงงาน หมายถึง โครงงานที่นักเรียนโรงเรียนซำสูงพิทยาคม ร่วมกันจัดทำขึ้น

๗.๒  นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนซำสูงพิทยาคม จำนวน ๓

ห้องเรียน ที่เรียนในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๑

๗.๓ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและ

เทคโนโลยี  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

๘.    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๘.๑ ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานไป

ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและรายวิชาอื่นอื่น ๆ

๘.๒ นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม และมีประสบการณ์ในการร่วมกิจกรรมโครงงาน

๙.      วรรณกรรม/เอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

๙.๑ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔)

                แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) กล่าวถึงการเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในบริบทสังคมไทย ทุนทางสังคมถือเป็นทุนสำคัญที่เสริมสร้างวิถีชีวิตที่ดีงามของคนในสังคม ทุนทางสังคมเกิดจาก การรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยความผูกพัน และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลักได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม และองค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังในชุมชนและสังคม โดยเฉพาะคนเป็นบทบาทหลักในการพัฒนาประเทศ ที่ต้องได้รับการพัฒนาในทุกมิติทั้งด้านสุขภาพ ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญา ให้มีศักยภาพและมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างต่อเนื่อง จนมีนิสัยใฝ่รู้ไปตลอดชีวิต และพร้อมปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งมีความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพที่สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อมารวมตัวร่วมคิดร่วมทำในกิจกรรมต่าง ๆ นำความรู้ที่ตนเองมีอยู่มาแลกเปลี่ยน เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางขึ้น

๙.๒ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕

มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

                ๙.๓  การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student-centered Instruction)

                ทิศนา แขมณี (๒๕๕๐) กล่าวว่าการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรได้รับ และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ อันจะนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ที่แท้จริง ควรเป็นการตื่นตัวที่เป็นอย่างรอบด้านทั้งทางด้านกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์ เพราะพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน และส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

                รุ่ง แก้วแดง(อ้างในทิศนา แขมณี, ๒๕๕๐) วิเคราะห์ว่าที่ผ่านมาโรงเรียนส่วนใหญ่ยังจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยไม่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นเหตุให้ผู้เรียนขาดความสามารถในการคิดและการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สร้างความเครียดและความทุกข์ให้แก่เด็ก ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้ ขาดความใฝ่รู้ การเรียนรู้ที่แท้จริงนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในห้องเรียนเสมอไป ครูควรเปิดโอกาสและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

๙.๔ การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

แนวคิดสำคัญของการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของบลูม (Bloom) ทั้ง ๖ ขั้น ได้แก่ ความรู้ ความจำ(Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การนำไปใช้  (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis)  การประมาณค่า(Evaluation) และยังเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทุกขั้นตอน ของกระบวนการเรียนรู้(กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๐) การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานในปัจจุบัน เป็นรูปแบบการศึกษาที่พัฒนาขึ้นด้วยการสอนเเบบเเก้ปัญหา เน้นหลักการเรียนรู้และปฏิบัติจริง ตามความสนใจของเด็กที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ นำเด็กไปสู่การทำงานในโครงงานร่วมกัน และเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มร่วมกันอย่างมีความสุข เช่นเดียวกับที่เคยนำมาปฏิบัติในการศึกษาที่ผ่านมาและประสบผลสำเร็จ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน ยังคงเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับเด็กทุกวัย

ความหมายการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

โครงงาน ไม่มีปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. ๒๕๒๕ เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน มาจากแนวคิดและทฤษฏีตะวันตก แต่มีนักการศึกษาและนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้

ทิศนา แขมมณี (๒๕๕๐) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันเลือกทำโครงงานที่ตนสนใจโดยร่วมกันสำรวจ สังเกต และกำหนดเรื่องที่ตนสนใจ วางแผนในการทำโครงงานร่วมกัน ศึกษาหาข้อมูลที่จำเป็นและลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่แล้ว จึงเขียนรายงานและนำเสนอต่อสาธารณะชน เก็บข้อมูล แล้วนำผลงานและประสบการณ์ทั้งหมดมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดค้น และสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้จากประสบการณ์ที่ได้รับทั้งหมด

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ (๒๕๔๕) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติกิจกรรม ตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของตนเอง ซึ่งอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่น ๆ ที่เป็นระบบ ไปใช้ในการศึกษาค้นหาคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ภายใต้คำแนะนำ ปรึกษา และความช่วยเหลือจากผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญ เริ่มตั้งแต่การเลือกเรื่องหรือหัวข้อที่จะศึกษา การวางแผน การดำเนินงานตามขั้นตอนที่กำหนด ตลอดจนการนำเสนอผลงาน ซึ่งในการจัดทำโครงงานนั้นสามารถทำได้ในทุกระดับชั้น อาจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม จะกระทำในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๒) ให้ความหมาย โครงงานหมายถึง กระบวนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการทำโครงการเล็ก ๆ ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ ระเบียบวิธีดำเนินการเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์   จุดประสงค์หลักของการสอนแบบโครงงานต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักสังเกต รู้จักตั้งคำถาม รู้จักตั้งสมมุติฐานรู้จักวิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเพื่อตอบคำถามที่ตนอยากรู้ สามารถสรุปและทำความเข้าใจกับสิ่งที่ค้นพบ โครงงานอาจจะทำในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ การเรียนการสอนแบบโครงงาน (Project Approach)  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกสิ่งที่จะศึกษาหรือโครงการที่สนใจจะทำ

โครงงาน หมายถึง ระบบโครงสร้างและองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดของกิจการ หรือชิ้นงานต่าง ๆ ที่เราจะต้องดำเนินการ หรือผลิตให้สำเร็จลุล่วงไปตามจุดประสงค์ทากำหนดไว้(จุลจักร โนพันธุ์ และพึงพิศ  สาลีผล, ๒๕๔๐)

การทำโครงงาน คือ การค้นหาความรู้จากข้อสงสัยของนักเรียน ดังนั้น นักเรียนจึงเป็นผู้วางแผนการทำงาน ศึกษาข้อมูลความรู้เพื่อประกอบการทำงาน ออกแบบการทดลอง ศึกษาค้นคว้า และรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล เป็นผลงานออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จึงถือว่าทำงานสำเร็จ ๑ โครงงาน ในการทำโครงงาน นักเรียนจะทำเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน ๕ คน ต่อ ๑ โครงงาน ซึ่งควรจะเป็น ๓ คน จะเหมาะสมที่สุด

จากที่นักวิชาการให้ความหมายของโครงงานพบว่า  โครงงาน  คือ  กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจโดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่นใดไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้น ๆโดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด  จัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  อาจเป็นโครงงานเล็ก ๆ ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน  หรือเป็นโครงงานใหญ่ที่มีความยากและซับซ้อนหลายขั้นตอนก็ได้  ตามความเหมาะสม  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

๑๐.  วิธีดำเนินการวิจัย

๑๐.๑ ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบตัวแปรเดียว (Pre-experimental

designs) รูปแบบการศึกษาเฉพาะกรณีโดยให้การทดลองหนึ่งครั้ง(One-shot case designs) โดยเขียนแผนภูมิได้ ดังนี้

 

       X                O

 

 

 

 

 


สัญลักษณ์ที่ใช้ในการทดลอง

X   คือ วิธีสอนแบบโครงงาน

O   คือ ความรู้เกี่ยวกับการทำโครงงานอาชีพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

๑๐.๒ ประชากร/กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนโรงเรียนซำสูงพิทยาคม ที่เรียนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ จำนวน ๖๓๐ คน

๑๐.๓ กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนซำสูงพิทยาคม ที่เรียนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ จำนวน ๓ ห้องเรียน ที่สุ่มมาโดยการเฉพาะเจาะจง

๑๐.๔ ตัวแปรที่ทำการวิจัย

ตัวแปรต้น ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน

ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

๑๐.๕ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          ๑)  แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ง ๔๐๑๐๒ จำนวน ๕ แผน

                ๒) แบบประเมินผลการทำโครงงานอาชีพของนักเรียนกลุ่มต่าง ๆ

                ๓) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ ๕  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  ๔ ตัวเลือก จำนวน ๒๐ ข้อ

                ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ

โครงงาน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า    ระดับ  จำนวน ๒๐ ข้อ

๑๐.๖ การสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือวิจัย

๑๐.๖.๑ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี

๑) จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบโครงงาน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

๒)  ศึกษาหลักสูตร เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา  จุดประสงค์ และกิจกรรมการเรียนรู้วิชาการ

งานอาชีพและเทคโนโลยี

๓)    กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  ศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล

รายละเอียดเนื้อหา เพื่อที่จะนำมาสร้างแบบฝึกโครงงาน

๔)    สร้างแบบฝึกการเรียนรู้โครงงาน จำนวน    แบบฝึก ดังนี้

แบบฝึกที่ ๑  เรื่อง หลักการเกี่ยวกับโครงงานอาชีพ                    เวลา    ชั่วโมง

แบบฝึกที่ ๒  เรื่อง ประเภทและขั้นตอนการทำโครงงานอาชีพ  เวลา    ชั่วโมง

แบบฝึกที่ ๓ เรื่อง  การเขียนโครงงานอาชีพ                                 เวลา    ชั่วโมง

แบบฝึกที่ ๔  เรื่อง  การปฏิบัติงานโครงงานอาชีพ                       เวลา  ๒ ชั่วโมง

แบบฝึกที่ ๕  เรื่อง  การประเมินการปฏิบัติงานโครงงานอาชีพ   เวลา    ชั่วโมง

    ๕) นำแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจและนำมาปรับปรุงแก้ไข

  ๖) จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ฉบับจริง

๑๐.๖.๒ แบบประเมินผลการทำโครงงานอาชีพของนักเรียนกลุ่มต่าง ๆ

๑๐.๖.๓ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดย

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล ที่วัดพฤติกรรมตามพัฒนาการคิดของบลูม (Bloom) ทั้ง ๖ ขั้น ได้แก่ ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประมาณค่า สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เสนอต่อไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความสอดคล้อง จุดประสงค์การเรียนรู้การเรียนรู้  การใช้คำถาม ตัวเลือก พฤติกรรมที่ต้องการวัด การใช้ภาษา พร้อมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข จากนั้นนำ ไปทดลองใช้ (Try  Out) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แต่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน  ๑๐  คน นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความยาก (P) และค่าอำนาจจำแนก (B) โดยใช้สูตรของ Brennan (บุญชม  ศรีสะอาด, ๒๕๔๓) การทดสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับสมบูรณ์ จำนวน ๒๐ ข้อ ไปทดสอบกับนักเรียน ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕  ภาคเรียนที่  ๒ ปีการ ศึกษา  ๒๕๕๑ โรงเรียนซำสูงพิทยาคม  จำนวน  ๗๖  คน

๑๐.๗ การเก็บรวบรวมข้อมูล

                ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ดังนี้

                                ๑๐.๗.๑ การดำเนินการเก็บข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

                                ๑๐.๗.๒ ปฐมนิเทศนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยรูปแบบโครงงาน บทบาทครู บทบาทของนักเรียน วิธีการวัดผลและประเมินผล ร่วมกันกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน

                                ๑๐.๗.๓ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โดยใช้รูปแบบการสอนโครงงาน จำนวน ๕ แผน ใช้เวลา ๑๐ ชั่วโมง

                                ๑๐.๗.๔ เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน มีการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

๑๐.๘ การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากสิ้นสุดการวิจัย โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้

                                ๑๐.๘.๑ ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐานที่ ศักรินทร์ สุวรรณโรจน์ และคณะ(๒๕๓๘) คือ ค่าเฉลี่ย หรือ ( )  ค่าร้อยละ(%) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.)                

                                ๑๐.๘.๒ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้จากการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อประเมินสภาพว่าดีขึ้นหรือไม่อย่างไร และใช้เป็นแนวทางการปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น โดยนำเสนอในรูปแบบความเรียง&

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1740 วันที่ 24 ส.ค. 2552


เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

]ลองครับ

]ลองครับ


เปิดอ่าน 6,416 ครั้ง
ยาเสียสาว..สาวๆควรรู้..

ยาเสียสาว..สาวๆควรรู้..


เปิดอ่าน 6,402 ครั้ง
23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช


เปิดอ่าน 6,427 ครั้ง
อาหารอะไร...ทำให้ปวดหัว

อาหารอะไร...ทำให้ปวดหัว


เปิดอ่าน 6,414 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เพลง...หยาดน้ำฝนหยดน้ำตา

เพลง...หยาดน้ำฝนหยดน้ำตา

เปิดอ่าน 6,423 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
จะล่มจมเพราะไล่ล่ากันเองนี่แหล่ะ 2
จะล่มจมเพราะไล่ล่ากันเองนี่แหล่ะ 2
เปิดอ่าน 6,408 ☕ คลิกอ่านเลย

13 มิถุนายน คิดถึงผึ้ง
13 มิถุนายน คิดถึงผึ้ง
เปิดอ่าน 6,418 ☕ คลิกอ่านเลย

น้ำกะทิ.....ช่วยรักษาผมร่วง
น้ำกะทิ.....ช่วยรักษาผมร่วง
เปิดอ่าน 6,460 ☕ คลิกอ่านเลย

เขียนถึงสาริกา กิ่งทอง
เขียนถึงสาริกา กิ่งทอง
เปิดอ่าน 6,435 ☕ คลิกอ่านเลย

บร๊อคโคลี่..
บร๊อคโคลี่..
เปิดอ่าน 6,408 ☕ คลิกอ่านเลย

เลขมหัศจรรย์....คำนวณสนุกๆ ...แต่แม่นจริงๆ
เลขมหัศจรรย์....คำนวณสนุกๆ ...แต่แม่นจริงๆ
เปิดอ่าน 6,483 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รวมข้อมูลหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
รวมข้อมูลหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
เปิดอ่าน 92,113 ครั้ง

วิธีแก้เมื่อลืมกินยาตามเวลา
วิธีแก้เมื่อลืมกินยาตามเวลา
เปิดอ่าน 11,268 ครั้ง

ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?
ปรับระบบสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2561"เคลียริ่งเฮาส์" สะเทือนสังคมไทย : ใครได้-ใครเสีย...?
เปิดอ่าน 12,033 ครั้ง

ไข้เลือดออก ฉบับการ์ตูนเข้าใจง่าย สไตล์หมอหมึกดุ๋ย
ไข้เลือดออก ฉบับการ์ตูนเข้าใจง่าย สไตล์หมอหมึกดุ๋ย
เปิดอ่าน 23,128 ครั้ง

หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ. 2560
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ. 2560
เปิดอ่าน 116,040 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ