บุษบา เจ้าหญิงผู้เลอโฉมแห่งเมืองดาหา ความงามของนางถูกบรรยายไว้หลายตอน เช่น
จึงประสูติพระธิดายาใจ
งามวิไลล้ำเลิศเพริศพราย
อันอัศจรรย์ที่บันดาด
ก็อันตรธานสูญหาย
ยังกลิ่นหอมรวยชวยชาย
จึงถวายพระนามตามเหตุนั้น
ชื่อระเด่นบุษบาหนึ่งหรัด
ลออเอี่ยมเทียมทัดนางสวรรค์
นางในธรณีไม่มีทัน
ผิวพรรณผุดผ่องดังทองทา
ความงามของนางถึงขั้นน่าอัศจรรย์ เพราะผู้ที่ได้เห็น จะตะลึงจนลืมตัวหรือถึงกลับสลบสิ้นสติไปเลย แต่ชีวิตของนางก็ไม่ราบรื่นเท่าไรนัก เริ่มจากถูกอิเหนาที่เป็นคู่หมั้นถูกปฏิเสธที่จะแต่งงานด้วย ท้าวดาหา(พระบิดาของบุษบา)โกรธมาก ประกาศจะยกนางให้ใครก็ได้ที่มาสู่ขอเป็นรายแรก จรการะตูเมืองเล็ก ทั้งรูปร่างหน้าตาก็แสนอัปลักษณ์ ซึ่งยังเป็นโสด ได้ใช้ช่างวาดรูปหญิงงาม เพื่อไว้ประกอบการคัดเลือกประไหมสุหรี ช่างวาดได้แอบวาดภาพบุษบาไปสองภาพ ก็รีบนำภาพกลับไปให้จรกาดู แต่องค์ปะตาระกาหลา เทวดาที่เป็นต้นวงศ์เทวา ได้ลักภาพไปแผ่นนึง แล้วหลอกล่อให้วิยาสะกำ โอรสท้าวกะมังกุหนิงไปพบเข้า แค่เห็นรูป วิหยาสะกำก็ถึงกลับสลบหลงรักบุษบาอย่างถอนใจไม่ขึ้น จรกาก็มีอาการดุจเดียวกัน เพราะพอช่างภาพถวายรูปบุษบา ก็ตื่นเต้นจนสิ้นสติ
ท้าวดาหาจนใจจำต้องยกบุษบาให้แก่จรกา เมื่อท้าวล่าสำส่งสาสน์มาสู่ขอให้น้อง เพราะวาจาที่ท้าวดาหาเคยลั่นไว้เองเป็นเหตุ ดังนั้น พอท้าวกะมังกุหนิงส่งทูตมาขอบุษบา ในเวลาต่อมา ท้าวดาหาจึงปฏิเสธ ทำให้ท้าวกะมังกุหนิงยกทัพมาล้อมเมืองดาหา ก่อสงครามชิงนางบุษบาขึ้น ท้าวดาหาให้ทูตไปส่งข่าวสงครามกับเมืองพี่เมืองน้องและจรกาด้วย ท้าวกุเรปันจึงมีสาส์นไปสั่งอิเหนาที่อยู่เมืองหมันยา ให้รีบยกทัพไปช่วยดาหารบ ไม่อย่างนั้นจะตัดพ่อตัดลูกกัน อิเหนาหมดโอกาสบ่ายเบี่ยง ต้องไปช่วยเมืองดาหารบจนชนะศึก และอยากกลับเมืองหมันหยาเพราะคิดถึงจินตะหรา แต่ความตั้งใจต้องมีอันเปลี่ยนไปเมื่อได้เห็นบุษบา อิเหนาตะลึงต่อความงามของนางจนสติไม่อยู่กับตัว เผลอร้องเพลงเกี้ยวพาราสีนางต่อหน้าใครๆ สังคามาระตาที่คอยเสด็จต้องสะกิดเตือน หลังจากได้พบบุษบา อิเหนาก็มีอาการคลั่งรักขึ้นสมอง คิดหาวิธีที่จะได้บุษบามาครอบครอง จนกระทั่งงานอภิเษกของบุษบา อิเหนาก็ขออนุยาตท้าวกุเรปันกับท้าวดาหาออกไปประทับแรมในป่า อิเหนายกทัพออกป่า ทำทีว่าเที่ยวล่าสัตว์อยู่ในป่า แล้ววกเข้าเมืองดาหาพร้อมทั้งจุดไฟเผาโรงมโหรสพต่างๆที่กำลังเล่นฉลองพิธีอภิเษก เพื่อความสนใจของทุกคน อิเหนาได้ฉวยโอกาสที่ชุลมุนปลอมตัวเป็นจรกาอ้างว่าท้าวดาหาให้มารับบุษบา ลักพาตัวนางออกจากเมืองดาหา แต่เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกสงสัยอิเหนาจึงเข้าเมืองดาหาอีกครั้ง เพื่อเข้าเฝ้าท้าวกุเรปันและท้าวดาหา ทำเป็นว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับการหายไปของบุษบา ทั้งยังอาสาออกติดตามด้วย ท้าวดาหานั้นแทบมั่นพระทัยเลยว่า คนทำเรื่องคืออิเหนา ส่วนท้าวกุเรปันก็พลอยเห็นชอบกับการกระทำของโอรส หลังจากบุษบาเป็นชายาของอิเหนาโดยพฤตินัยแล้วนางก็มีความจงรักพักดีต่ออิเหนาอย่างจริงจัง ทั้งที่ก่อนหน้านี้แม้แต่หน้าของเขาแทบจะไม่มองด้วยซ้ำ นางรอคอยอิเหนาอยู่ที่ถ้ำอย่างกระวนกระวายใจ พอตกเย็นก็ขึ้นรถไปคอยอิเหนาที่สวน ตอนนี้องค์ปะตาระกาหลาซึ่งอยู่บนสวรรค์เกิดนึกไม่พอพระทัยความโอหังของอิเหนา ต้องการจะทรมานอิเหนาให้อิเหนารู้สึกเสียใจ จึงทำให้เกิดพายุใหญ่ พัดเอารถทรงของบุษบาไปจนถึงป่าใกล้เมืองประมอตัน พออิเหนารู้ว่าบุษบาหาย จึงเสียอกเสียใจคร่ำครวญอยู่ยกใหญ่ แล้วรีบออกติดตามหาในคราบโจรป่าปันหยี ส่วนบุษบาที่ถูกลมหอบไปนั้น องค์ปะตาระกาหลาทรงปรากฎให้เห็น แล้วสั่งให้นางปลอมตัวเป็นชาย ให้ชื่อใหม่ว่า อุณากรรณ ได้เป็นบุตรบุญธรรมของท้าวประมอตัน อยู่ในเมืองประมอตันพักหนึ่งก่อนที่จะเร่ร่อนตามหาอิเหนา แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามนางก็มีจิตใจอ่อนไหวของผู้หญิงอย่างเต็มเปี่ยม หลักชัยของนางคือการฝากอนาคตไว้กลับอิเหนา และก็เป็นคำสาบขององค์ปะตาระกาหลาทำให้นางแม้พบกลับอิเหนาหลายหนแต่จำกันไม่ได้ จนในที่สุดนางต้องหนีไปบวชชี ต่อมาประสันตาพี่เลี้ยงของอิเหนามาพบเข้า ได้กลับมาบอกต่ออิเหนาว่านางชีสวยงามมาก ทำให้อิเหนาไปหลอกนางมาเมืองกาหลังอีกครั้งและสงสัยว่านางคือ บุษบา จึงออกอุบายตั้งโรงหนังตะลุงตรงกับหน้าต่างตำหนักนาง เล่นเรื่องตั้งแต่อิเหนาไปช่วยดาหารบจนถึงบุษบาถูกลมหอบพัดไป บุษบาสะเทือนใจมาก เพราะถูกสะกิดเตือนความหลัง จึงร้องไห้บอกให้เลิกเล่นเสียกลางคัน เป็นเหตุให้จดจำกันได้ และนับแต่นั้นมานางก็พ้นทุกข์ทรมานแห่งการพลัดพราก ได้พบวงศาคณาญาติอีกครั้ง และเข้าพิธีอภิเษกเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้ายของอิเหนาอย่างเป็นกิจจะลักษณะเสียที หลังจากต้องพรากจากการเข้าพิธีมาแล้วสองครั้ง แต่ถึงแม้นางจะเป็นเพียงฝ่ายซ้ายนางก็ไม่รู้สึกเดือดร้อนนัก ในเมื่อรู้ว่าใจของอิเหนามีบุษบาเข้ามาแทนที่จินตะหราเสียแล้ว
นางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหากับประไหมสุหรี มีอนุชาร่วมบิดามารดาชื่อสียะตรา มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับอิเหนาในฐานะญาติสนิท นางเป็นคู่หมั้นของอิเหนา
ลักษณะนิสัย
1.บุษบาเป็นหญิงที่มาแบบฉบับของลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้ว่านางจะไม่พอใจในรูปร่างของ
จรกา แต่นางก็ยอมที่จะไม่ทำตามใจตนเองเพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล
2. เป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่างหรือถือว่าตนสูงศักดิ์กว่านางจินตะหรา เห็นได้จากตอนที่จินตะหราได้ให้
นางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีมาเฝ้า บุษบาก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
3. เป็นคนไม่เหลาะแหละ รู้จักโต้เถียงแสดงความฉลาดรู้ทันอิเหนาและรักษาเกียรติของตนเองไม่ยอม หลงเชื่ออย่างง่ายๆ ในตอนที่อิเหนาพูดว่า
" อันนางจินตะหราวาตี ใช่พี่จะมุ่งมาดปรารถนา
หากเขาก่อก่อนอ่อนมา ใจพี่พาลาก็งวยงง……"
จากที่อิเหนาพูดนี้ก็ทำให้นางบุษบารู้ว่าอิเหนาเจรจาเข้าข้างตัวเอง นางก็โต้ตอบว่าอย่ามาแกล้งพูดเลยว่าจะไม่เลี้ยงนางจินตะหราวาตี เพราะมีลายลักษณ์อักษรและใครๆก็รู้กันทั่วว่าอิเหนาไม่ต้องการนาง นางจึงโต้ตอบ เมื่ออิเหนาแก่ตัวว่าที่ลักนางมาก็ด้วยความรักว่า
" จะให้เชื่อพจมานหวานถ้อย จะได้ไปเป็นน้อยชาวหมันหยา
เขาจะเชิดชื่อฤาชา ว่ารักสามีท่านกว่าความอาย
อันความอัปยศอดสู จะติดตัวชั่วอยู่ไม่รู้หาย
ร้อนใจอะไรเล่าเจ้าเป็นชาย ไม่เจ็บอายขายหน้าก็ว่าไป "
และตอนที่ นางบวชเป็นแอหนัง (ชี ) แลัวถูกปันหยีขโมยกริชไป นางก็คร่ำครวญต่อว่าพี่เลี้ยงด้วยความรักเกียรติสตรีว่า
"พี่แกล้งเป็นใจด้วยปันหยี เห็นคนอื่นดียิ่งกว่าข้า
ในถ้อยคำที่ร่ำพรรณนา ว่าแสนเสน่หาอิเหนานัก
เป็นไฉนจึงยกน้องให้ แก่ชาวไพร่ต่ำช้าบรรดาศักดิ์
กระนี้ฤาพี่เรียกว่ารัก พึ่งจะประจักษ์ในน้ำใจ
สู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
ถึงมาตรแม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา"
4.เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านางจะตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับ โดยนางไม่ยอมทำตามผู้ใหญ่ ดังตอนที่ท้าวดาหามีดำรัสให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าอิเหนา นางรู้ว่าจะให้ไปไหว้จึงเข้าไปนอนด้วยความเคืองไม่เข้าเฝ้าตามรับสั่ง จนเดือดร้อนถึงมะเดหวีต้องมาจัดการ แต่นางก็ไม่ออกมาโดยดีๆ ต้องผลักไสกัน
5.มีความซื่อสัตย์ ได้รักษาตัวไว้รอคอยอิเหนา ดังกลอนว่า
"ถึงมาตรสู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
แม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา"
6.ไม่มีจริตแง่งอน เมื่ออิเหนาลักพานางไปไว้ในถ้ำ ก็ยินยอมแต่โดยดี
7.เมื่อเป็นชาย คือมิสาอุณากรรณก็ปฏิบัติตนกับระตูประมอตันอย่างบิดาของตน
8.มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ระตูประมอตัน
9.มีความกล้าหาญจนมีระตูมาขอเป็นเมืองขึ้นหลายเมือง
10.ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ เมื่อมารดาให้ไหว้นางจินตะหรา บุษบาก็ยอมตาม ดังที่นางกล่าวกับอิเหนาว่า
"แม้นน้องรักทักท้วงหวงหึง พระองค์จึงห้ำหั่นเกศา
เป็นถ้อยยำคำมั่นน้องสัญญา เชิญเสด็จเชษฐารีบคลาไคล"
และนางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วยเห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ ข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน นับว่าบุษบาเป็นหญิงไทยในวรรณคดีที่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติคนหนึ่ง
ขอบคุณข้อมูลจาก www.oknation.net/blog/KITBAWORNVIT และ www.geocities.com
เพลง "บุษบาเสี่
|