บทความรายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อบทความ : ผลการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบดนตรีพื้นเมืองที่มีต่อ
ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกวน อำเภอหางดง
จังหวัดเชียงใหม่
THE EFFECTS OF MOVEMENT AND RHYTHMIC ACTIVITIFS BY FOLK MUSIC ON CREATIVE THINKING OF PRESCHOOL CHILDREN AT BANKAWN SCHOOL HANGDONG CHAINGMAI
ผู้เขียน : นางนวนัฏ อินปั๋น ครูชำนาญการ โรงเรียนวัดทากาศ สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาลำพูน เขต 1 ช่วยราชการโรงเรียนบ้านกวน อำเภอหางดง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 4
ผลการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบดนตรีพื้นเมืองที่มีต่อ
ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกวน อำเภอหางดง
จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านกวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบดนตรีพื้นเมือง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยที่กำลังเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านกวน อำเภอหางดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 จำนวน12 คน ผู้วิจัยดำ เนินการทดลองในช่วงกิจกรรม การเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบดนตรีพื้นเมือง ประกอบด้วย (1) แผ่นบันทึกเสียงดนตรีพื้นเมือง จำนวน 1 แผ่น บันทึกเพลงดนตรีพื้นเมืองวงสะล้อ-ซึง ประเภทบรรเลง 8 เพลง (2) คู่มือการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบดนตรีพื้นเมือง จำนวน 1 เล่ม ประกอบด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบดนตรีพื้นเมือง 8 ชุด ชุดละ 3 กิจกรรม รวม 24 กิจกรรม และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่แสดงออกโดยท่าทางและการเคลื่อนไหวของทอแรนซ์ (Torrance) มีค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกตเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบดนตรีพื้นเมือง มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นทั้งความคิดสร้างสรรค์แยกตามองค์ประกอบ และความคิดสร้างสรรค์โดยรวม