Advertisement
❝ ค้นพบพืชสกุล "โฮย่า" ชนิดใหม่ในโลก อาศัยตามซอกหินที่ป่าอุ้มผาง จ.ตาก อยู่ระหว่างตั้งชื่อและเตรียมตีพิมพ์เผยแพร่ปลายปีนี้ นักวิจัยพรรณไม้เผยต้องเร่งเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ เพราะมีจำนวนน้อยและอยู่ในสภาพแวดล้อมเปราะบางจนใกล้สูญพันธุ์เต็มที ❞
ดร.มานิต คิดอยู่ อาจารย์ประจำหน่วยปฏิบัติการวิจัยพรรณไม้ประเทศไทย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการศึกษาวิจัยและรวบรวมพืชสกุลโฮย่า (Hoya) พบว่า ในประเทศไทยมีพืชสกุลโฮย่าอย่างน้อย 45 ชนิด ซึ่งในจำนวนนี้มีพืชชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบเป็นครั้งแรกในโลกคือ Hoya sp. อุ้มผาง เป็นโฮย่าที่พบในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ซึ่งได้รับการตรวจสอบและยืนยันจากต่างประเทศแล้ว ขณะนี้กำลังตั้งชื่อวิทยาศาสตร์และเตรียมตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการใน ปลายปีนี้
"โฮย่า ชนิดใหม่นี้มีจุดเด่นคือ เป็นพืชที่พบเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก และถือว่าเป็นพืชหายาก ใกล้สูญพันธุ์ เพราะตอนที่ไปสำรวจพบโฮย่าชนิดนี้มีจำนวนน้อยเพียง 2-3 กอ ขึ้นอยู่ตรงหน้าผาหินที่มีการพังทลายของหินลงมาตลอด และที่สำคัญคือพบแค่ตรงจุดนี้เท่านั้น" ดร.มานิต เผย
ดร.มานิต กล่าวว่า พืชโฮย่าชนิดนี้มีลักษณะเป็นต้นสั้น มีรากยึดเกาะตรงบริเวณซอกหิน ไม่เลื้อยพันเหมือนกับโฮย่าส่วนใหญ่ใบมีขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด จำนวน 4-7 ดอก แต่ดอกมีขนาดใหญ่ เมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีขาว กระบังรอบสีชมพูอมม่วง เป็นรูปดาว 5 แฉก ส่วนแหล่งอาศัยค่อนข้างแปลกคือ ขึ้นตามซอกหินที่แตก ลำต้น และกิ่งทอดแนบกับหินทนต่อความแห้งแล้งได้ดี
การค้นพบพืชชนิดใหม่นี้ บ่งชี้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพและความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย ซึ่งตนและคณะนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยพรรณไม้ประเทศไทย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมมือทำงานมาตลอด โดย รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง ศึกษาพืชสกุลโฮย่าในไทยมีจำนวน 32 ชนิด และได้นำไปจัดทำหนังสือพรรณพฤกษชาติของไทย (Flora of Thailand) เป็นหนังสือรวบรวมรายชื่อพืชทุกชนิดในประเทศไทย พร้อมรายละเอียดลักษณะสัณฐานวิทยา นิเวศวิทยา และการกระจายพันธุ์ของพืช โดยใช้ระยะเวลาดำเนินงานมานานหลายปี จนกระทั่งล่าสุดตนและคณะได้สำรวจพบโฮย่าชนิดนี้
"ผม เจอต้นโฮย่านี้ด้วยความบังเอิญ และรู้สึกทึ่งที่เห็นมันขึ้นเจริญเติบโตอยู่ในซอกหิน ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ผันแปรตลอดเวลา หากไม่ค้นพบก็อาจจะทำให้สูญพันธุ์ไปตามกาลเวลา เพราะมีจำนวนน้อยมากและไม่มีแมลงช่วยผสมพันธุ์ ผมไปดูถึง 3 ครั้งก็ไม่พบการขยายพันธุ์ ดังนั้น ทางภาครัฐโดยเฉพาะจังหวัดตาก ควรจะเร่งเพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ให้ได้มาก ที่สุด เพราะจะเกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์พรรณไม้หายาก และเป็นไม้ประดับที่สร้าง รายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย" ดร.มานิต กล่าว
สำหรับแนวทางการศึกษาวิจัยต้นโฮย่าชนิดใหม่นี้ คาดว่าเมื่อได้ตีพิมพ์ลงเผยแพร่อย่างเป็นทางการแล้ว จะดำเนินการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อในห้องทดลองปฏิบัติการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างคิดค้นสูตรอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ให้เป็น ที่รู้จักแพร่หลายต่อไป
ทั้งนี้ พืชสกุลโฮย่า ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์เดียวกับต้นดอกรัก (Asclepiadaceae) ทั่วโลกมีจำนวนประมาณ 200 ชนิด ประเทศไทยเรียกขานพืชสกุลโฮย่าว่า "นมตำเลีย" โดยโฮย่าที่คนไทยนิยมเพาะเลี้ยงคือ หัวใจทศกัณฑ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ เหมาะแก่การเป็นไม้ประดับ
ข้อมูลจาก ไทยโพสต์
Advertisement
เปิดอ่าน 4,493 ครั้ง เปิดอ่าน 11,390 ครั้ง เปิดอ่าน 23,598 ครั้ง เปิดอ่าน 26,564 ครั้ง เปิดอ่าน 17,736 ครั้ง เปิดอ่าน 26,723 ครั้ง เปิดอ่าน 15,633 ครั้ง เปิดอ่าน 16,446 ครั้ง เปิดอ่าน 16,400 ครั้ง เปิดอ่าน 5,876 ครั้ง เปิดอ่าน 14,170 ครั้ง เปิดอ่าน 11,361 ครั้ง เปิดอ่าน 9,771 ครั้ง เปิดอ่าน 2,257 ครั้ง เปิดอ่าน 10,157 ครั้ง เปิดอ่าน 16,333 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 15,267 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,075 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,634 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,786 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 61,524 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,283 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,230 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,455 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,800 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,831 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,825 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,845 ครั้ง |
|
|