คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
1 .ความรอบคอบไม่ประมาท ในเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายนี้เราจะเห็นคุณธรรมของพระนเรศวรได้อย่างเด่นชัดและสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถมากที่สุดคือ ความรอบคอบ ไม่ประมาท
ดั่งโคลงสี่สุภาพตอนหนึ่งกล่าวว่า
๖๒(๑๖๔) พระห่วงแต่ศึกเสี้ยน อัสดง
เกรงกระลับก่อรงค์ รั่วหล้า
คือใครจักคุมคง ควรคู่ เข็ญแฮ
อาจประกันกรุงถ้า ทัพข้อยคืนถึง
หลังจากที่พม่ายกกองทัพเข้ามาพระองค์ก็ทรงสั่งให้พ่ายพลทหารไปทำลายสะพานเพื่อว่าเมื่อฝ่ายไทยชนะศึกสงคราม พ่ายพลทหารของฝ่ายพม่าก็จะตกเป็นเชลยของไทยทั้งหมด นั่นแสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีทัศนคติที่กว้างไกล ซึ่งมีผลมาจากความรอบคอบไม่ประมาท
2 .การเป็นคนรู้จักการวางแผน
จากการที่เราได้รับการศึกษาเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเราจะเห็นได้ชัดเจนว่าในช่วงตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเปลี่ยนแผนการรบเป็นรับศึกพม่าแทนไปตีเขมร พระองค์ได้ทรงจัดการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไม่รอช้า ทรงแต่งตั้งให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้าและพระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพหน้าตามด้วยแผนการอื่นๆอีกมากมายเพื่อทำการรับมือ และพร้อมที่จะต่อสู้กับข้าศึกศัตรูทางฝ่ายพม่า ยกตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่แสดงให้เราเห็นถึงการรู้จักการวางแผนของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๖๓(๑๖๕) พระพึงพิเคราะห์ผู้ ภักดี ท่านนา
คือพระยาจักรี กาจแกล้ว
พระตรัสแด่มนตรี มอบมิ่ง เมืองเฮย
กูไกลกรุงแก้ว เกลือกช้าคลาคืน
เมื่อเราเห็นถึงคุณธรรมทางด้านการวางแผนแล้วเราก็ควรเอาเยี่ยงอย่างเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปอย่างมีระเบียบ มีแบบแผน ซึ่งจากคุณธรรมข้อนี้ก็อาจช่วยเปลี่ยนแปลงให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน ให้กลายเป็นบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตทางด้านการวางแผนในการดำเนินชีวิตก็เป็นได้ถ้าเรารู้จักการวางแผนให้กับตัวเราเอง
3. การเป็นคนรู้จกความกตัญญูกตเวที
จากบทการรำพึงของพระมหาอุปราชาถึงพระราชบิดานั้น แสดงให้เราเห็นอย่างเด่นชัดเลยทีเดียวว่าพระมหาอุปราชาทรงมีความห่วงใย อาทร ถึงพระราชบิดาในระหว่างที่ทรงออกรบ ซึ่งแสดงให้เราเห็นถึงความรักของพระองค์ที่มีต่อพระราชบิดา โดยพระองค์ได้ทรงถ่ายทออดความนึกคิด และรำพึงกับตัวเอง ดั่งโคลงสี่สุภาพที่กล่าวไว้ว่า
๕๑(๑๕๒) ณรงค์นเรศด้าว ดัสกร
ใครจักอาจออกรอน รบสู้
เสียดายแผ่นดินมอญ มอด ม้วยแฮ
เหตูบ่มีมือผู้ อื่นต้านทานเข็ญ
ซึ่งเมื่อแปลจะมีความหมายว่า เมื่อยามที่สงครามขึ้นใครเล่าจะออกไปรบแทนท่านพ่อ จากโคลงนี้ไม่ได้แสดงให้เราเห็นถึงความกตัญญูที่มีต่อพระราชบิดาของพระมหาอุปราชาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความกตัญญู ความ
จงรัก ภักดี ต่อชาติบ้านเมืองอีก
4. การเป็นคนช่างสังเกตและมีไหวพริบ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถทางด้านการมีความสติปัญญาและมีไหวพริบเป็นเลิศ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงมีคุณธรรมทางด้านการเป็นคนช่างสังเกตและมีไหวพริบ ด้วยเหตุนี้ทำให้พระองค์ทรงสามารถแก้ไขสถานการณ์อันคับขันในช่วงที่ตกอยู่ในวงล้อมของพม่าได้ ซึ่งฉากที่แสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงมีคุณธรรมทางด้านนี้คือ
๑๓๐(๒๙๖) โดยแขวงขวาทิศท้าว ทฤษฎี แลนา
บัด ธ เห็นขุนกรี หนึ่งไสร้
เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์ เรียงคั่ง ขูเฮย
หนแห่งฉายาไม้ ข่อยชี้เฌอนาม
๑๓๑(๒๙๗) ปิ่นสยามยลแท้ท่าน คะเนนึก อยู่นา
ถวิลว่าขุนศึกสำ- นักโน้น
ทวยทับเทียบพันลึก แลหลาก หลายแฮ
ครบเครื่องอุปโภคโพ้น เพ่งเพี้ยงพิศวง
สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้วิธีการสังเกตหาฉัตร5ชั้นของพระมหาอุปราชา ทำให้พระองค์ทรงทราบว่าใครเป็นพระมหาอุปราชาทั้งๆที่มีทหารฝ่ายข้าศึกร่ายล้อมพระองค์จนรอบ แต่ด้วยความมีไหวพริบพระองค์จึงตรัสท้ารบเสียก่อนเพราะถ้าพระองค์ไม่ทรงตรัสท้ารบเสียก่อนพระองค์อาจทรงถูกฝ่ายข้าศึกรุมโจมตีก็เป็นได้ ดังนั้นเมื่อเราเห็นคุณธรรมของพระองค์ด้านนี้แล้วก็ควรยึดถือและนำไปปฏิบัติตามเพราะสิ่งดีๆเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลดีต่อตนเอง และต่อประเทศชาติได้
5. ความซื่อสัตย์
จากเนื้อเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่าบรรดาขุนกรีและทหารมากมายทั้งฝ่ายพม่าและฝ่ายไทยมีความซื่อสัตย์และความจงรักภักดี ต่อประเทศชาติของตนมากเพราะจากการที่ศึกษาเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเรายังไม่เห็นเลยว่าบรรดาทหารฝ่ายใดจะทรยศต่อชาติบ้านเมืองของตน ซึ่งก็แสดงให้เราเห็นว่าความซื่อสัตย์ในเราองเล็กๆน้อยๆก็ทำให้เราสามารถซื่อสัตย์ในเรื่องใหญ่ๆได้ซึ่งจากเรื่องนี้ความซื่อสัตย์เล็กๆน้อยๆของบรรดาทหารส่งผลให้ชาติบ้านเมืองเกิดความเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้
เราก็เช่นเดียวกัน....ถ้าเรารู้จักมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองดั่งเช่นบรรดาขุนกรี ทหารก็อาจนำมาซึ่งความเจริญและความมั่นคงในชีวิตก็เป็นได้ซึ่งสิ่งนี้อาจส่งผลประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครัวและชาติบ้านเมือง
5. การมีวาทศิลป์ในการพูด
จากเรื่องนี้มีบุคคลถึงสองท่านด้วยกันที่แสดงให้เราเห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านการมีวาทศิลป์ในการพูด ท่านแรกคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในโคลงสี่สุภาพที่ว่า
๑๗๗(๓๐๓) พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุต-ดมเอย
ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้
เชิญการร่วมคชยุทธ์ เผยอเกียรติ ไว้แฮ
สืบว่าสองเราไซร้ สุดสิ้นฤามี
เราจะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้วาจาที่ไพเราะมีความสุภาพน่าฟังต่อพระมหาอุปราชาซึ่งเป็นพี่เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่ทางฝ่ายพม่า
ท่านที่สองคือ สมเด็จพระวันรัต เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงมาขอพระราชทานอภัยโทษจากพระนเรศวร ให้กับบรรดาทหารที่ตามเสด็จพระนเรศวรในการรบไม่ทัน ซึ่งอยู่ในโคลงสี่สุภาพที่ว่า
๑๗๗(๓๕๗) พระตรีโลกนาถแผ้ว เผด็จมาร
เฉกพระราชสมภาร พี่น้อง
เสด็จไร้พิริยะราญ อรินาศ ลงนา
เสนอพระยศยินก้อง เกียรติก้องทุกภาย
การมีวาทศิลป์ในการพูดของสมเด็จพระวันรัตครั้งนี้ทำให้บรรดาขุนกรี ทหารได้รับการพ้นโทษดังนั้นจากคุณธรรมข้อนี้ทำให้เราได้ข้อคิดที่ว่า การพูดดีเป็นศรีแก่ตัวเมื่อเราทราบเช่นนี้แล้วเราทุกคนก่อนที่จะพูดอะไรต้องคิดและไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะพูด
ข้อคิดจากเรื่อง -
1. ลิลิตตะเลงพ่ายสะท้อนให้เห็นความรักชาติ ความเสียสละ ความกล้าหาญ ของบรรพบุรุษ ซึ่งคนไทยควรภาคภูมิใจ
2. แผ่นดินไทยต้องผ่านการทำศึกสงครามอย่างมากมายกว่าที่จะมารวมกันเป็นปึกแผ่นอย่างปัจจุบันนี้
3. พระราชภารกิจของกษัตริย์ไทยในสมัยก่อน คือการปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขและรบเพื่อปกป้องอธิปไตยของไทย
คุณค่าจากเรื่อง
๑. เป็นวรรณคดีชั้นสูงของชาติซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีของวรรณคดีอื่นๆ
๒. ให้คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์หลายประการ เช่น การเล่นคำ
การแทรกบทนิราศคร่ำครวญ การใช้โวหารต่างๆ
การพรรณนาฉากที่ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วม
และเกิดความรู้สึกคล้อยตาม
๓. ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และลักษณะผู้ฟังที่ดี
๔. ปลุกใจให้คนไทยรักและเทิดทูนแผ่นดินไทยจนพร้อมที่
จะเสียสละเพื่อบ้านเมือง
ข้อมูลจากเด็กดีดอทคอม/ www.showded.com