Advertisement
เตือน "ยาคุมฉุกเฉิน" เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก
|
|
|
นักวิจัยเภสัช มช. เผยผลวิจัย เรื่องความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด พบวัยรุ่นใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินกันอย่างแพร่หลาย มีการใช้บ่อยครั้งและมีการใช้อย่างไม่ถูกต้อง เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก อาจส่งผลให้ตกเลือดและแท้งเป็นอันตรายได้ แนะสถานศึกษาสร้างความรู้เพศศึกษาและการใช้ยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง เตือนวัยรุ่นละเลิกความเสี่ยงจากพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีความพร้อม รวมทั้งเรียกร้องร้านขายยาเป็นจุดบริการให้ความรู้ก่อนตัดสินใจใช้ยา
ภญ.รศ.ชบาไพร โพธิ์สุยะ นักวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบันความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาคุมฉุกเฉินมีน้อยมาก ในขณะที่พฤติกรรมความเสี่ยงของวัยรุ่นในการมีเพศสัมพันธ์ หรือภัยทางเพศเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้เด็กวัยรุ่นหันมาใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน โดยขาดความเข้าใจ ทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก และความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่น่าเป็นห่วงคือ มีการใช้แทนยาคุมกำเนิดตามปกติ ทั้งๆที่ประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินน้อยกว่า และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ได้
“การคุมกำเนิดด้วยยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน เป็นการป้องกันการตั้งครรภ์เฉพาะฉุกเฉินเช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้การป้องกันวิธีอื่นมาก่อน ใช้ถุงยางอนามัยแล้วแต่ไม่แน่ใจว่ารั่วหรือแตก ลืมกินยาแบบประจำวันติดต่อกันสองวัน ใส่ห่วงอนามัยแต่ห่วงหลุด มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไม่ปลอดภัย กรณีถูกข่มขืน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ให้การรับรองว่าการกินยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็นวิธีที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ระดับหนึ่ง แต่ในทุกปีปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ยังคงเกิดขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทั้งด้านระบบสุขภาพและสังคม"
"สำหรับในประเทศไทย มีแนวโน้มการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกในการซื้อ การพกพา วิธีการกินไม่ยุ่งยากเหมือนยาคุมทั่วไป แต่ยาเม็ดคุมกำเนิดมีประโยชน์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์เท่านั้นไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้”
ทั้งนี้ นักวิจัย ได้ทำการศึกษากลุ่มร้านยาในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเพิ่มขึ้น และมีการใช้อย่างไม่เหมาะสมในกลุ่มวัยรุ่น และปัญหาการทำแท้งส่วนใหญ่เกิดจากวัยรุ่นและหนุ่มสาว ที่มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน หรือไม่มีความพร้อมในการมีบุตร
กลไกการออกฤทธิ์ของเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ชนิด levonorgertrel หรือชนิดฮอร์โมนระหว่าง estrogen และ progestogen จะออกฤทธิ์ต่อสภาพแวดล้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก มีผลต่อภาวะฮอร์โมน และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะที่เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ อีกทั้งประสิทธิภาพไม่เทียบเท่ายาคุมปกติและยิ่งเสี่ยงหากใช้บ่อยครั้ง
จากผลการศึกษากลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา หรือมหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2551 จำนวน 12 สถาบัน ในช่วงเดือนธันวาคม 2551 –มกราคม 2552 เป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาในช่วงอายุ 13-25 ปี จำนวน 418 คน พบว่ากลุ่มนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีการคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 80.0 และใช้ยาคุมฉุกเฉินร้อยละ 29.7 โดยมีร้านขายยาเป็นสถานที่ที่กลุ่มตัวอย่างได้รับยาและข้อมูล
จากการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน พบว่า ร้อยละ 87.1 มีความรู้ในระดับน้อย ในส่วนทัศนคตินั้น พบว่า โดยภาพรวม กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ซึ่งอาจทำให้มีการใช้แทนยาคุมกำเนิดที่เป็นยาหลัก นับเป็นเรื่องที่ควรปรับความรู้และทัศนคติ เมื่อได้รวบรวมข้อมูลในการคุมกำเนิดฉุกเฉิน ก็พบว่ามีการใช้ไม่ถูกต้อง คือ มีการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดผิดกลุ่มเป้าหมาย ผิดวัตถุประสงค์ ผิดขนาดและผิดวิธี ส่งผลถึงปัญหาเกี่ยวโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ และก่อปัญหาการทำแท้งตามมา
ทีมวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบว่า กลุ่มวัยรุ่นที่มีความเสี่ยง คือกลุ่มที่ค่อนข้างอิสระ หรือกลุ่มที่มีแนวโน้ม sexually active พบว่า การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมักไม่มีความพร้อม จึงอาจทำให้ต้องใช้ยาเม็ดคุมกำเนินฉุกเฉิน ซึ่งมีความเสี่ยงเนื่องจากวัยรุ่นยังขาดความเข้าใจที่ถูกวิธี
“ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพสูงก็ต่อเมื่อ มีการนำมาใช้ตามข้อบ่งใช้ที่กำหนดไว้ และใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น สำหรับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อยคือ การมีรอบระดูผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียน แต่หากใช้บ่อยและต่อเนื่อง มีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ ไม่เพียงแต่การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดไม่ถูกต้องเท่านั้น หากผลการศึกษายังพบว่า แม้จะมีการใช้ถุงยางอนามัยถึงร้อยละ 75.1 แต่ยังพบว่าวิธีการคุมกำเนิดที่รองลงมา คือ การหลั่งภายนอก ซึ่งมีเปอร์เซ็นสูงถึงร้อยละ 35.5 นับเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงทั้งการตั้งครรภ์และการติดโรค”
ท้ายนี้ ทีมนักวิจัยได้ให้คำแนะนำกับวัยรุ่นเกี่ยวกับกี่ใช้ยาคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีว่า
กลุ่มวัยรุ่นส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินในระดับต่ำซึ่งไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนินฉุกเฉินอย่างถูกต้องเหมาะสม จึงควรให้ข้อมูลความรู้ที่ครอบคลุมถูกต้องทุกด้าน ทั้งด้านบ่งใช้ วิธีการใช้ ประสิทธิภาพของยา และระยะเวลาที่ต้องรับประทานยา รวมทั้งข้อมูลการใช้ถุงยางอนามัยในแง่ของการป้องกันการตั้งครรภ์และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย
"เราควรจัดบริการเกี่ยวกับยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้โดยง่ายสะดวกรวดเร็ว สามารถให้ข้อมูลและคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม ในส่วนร้านยาเป็นสถานบริการสุขภาพ ที่กลุ่มนักเรียนนักศึกษามาใช้บริการกรณีต้องการยาเม็ดคุมกำเนินฉุกเฉิน เภสัชกรประจำร้านยาจึงควรมีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม และให้ข้อมูลที่ถูกต้องในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินต่อผู้รับบริการทุกครั้ง” |
|
ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ ขอบคุณ http://blog.eduzones.com/jipatar/30115
วันที่ 20 ส.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 22,983 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,301 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,283 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,984 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,529 ครั้ง |
|
|