ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ทัศนียภาพจากหุ่นนิ่งและธรรมชาติ


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,504 ครั้ง
ทัศนียภาพจากหุ่นนิ่งและธรรมชาติ

Advertisement

 การวาดเส้นภาพหุ่นนิ่ง 

 

    1. ความหมายของภาพหุ่นนิ่ง

        ภาพหุ่นนิ่ง (Still Life) เป็นการวาดภาพวัตถุสิ่งของที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ผู้วาดจะต้อง

นำหุ่นมาจัดวางให้ได้มุมมองที่เหมาะสม  องค์ประกอบ และน้ำหนักแสงเงาที่สวยงาม  การเขียนภาพหุ่นนิ่งเหมาะสำหรับผู้ฝึกหัดใหม่ เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องหุ่นจะขยับเขยื้อน หรือเปลี่ยนท่าทาง

สามารถจัดหาหุ่นได้ง่ายทั้งจากธรรมชาติ และวัตถุสิ่งของที่คนสร้างขึ้น และยังเป็นการทำความเข้าใจกับรูปทรงต่าง ๆ ในการลงน้ำหนักแสงเงาขั้นพื้นฐาน เพราะโครงสร้างของหุ่นนิ่งส่วนมาก

มาจากรูปทรงเรขาคณิต ประกอบเข้าด้วยกันเสียเป็นส่วนใหญ่ การฝึกวาดภาพหุ่นนิ่งจะทำให้เข้าใจเรื่องของการร่างภาพ การจัดภาพ ขนาดสัดส่วน และน้ำหนักแสงเงาได้เป็นอย่างดี

 

 

  2. ประเภทของภาพหุ่นนิ่ง

          หุ่นนิ่งมีมากมายหลายชนิด ไม่สามารถแบ่งประเภทได้แน่นอนว่ามีกี่ประเภท แต่สามารถ

จัดหมวดหมู่ตามลักษณะความคล้ายคลึงกันได้ เช่น

               2.1 หุ่นนิ่งจากธรรมชาติ  เช่น  ผัก  ผลไม้  ดอกไม้ ฯลฯ  รูปร่างรูปทรง  และลักษณะ

พื้นผิวของหุ่นนิ่งประเภทนี้จะให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ และมีชีวิตชีวามาก

               2.2. หุ่นนิ่งที่เป็นวัตถุสิ่งของเครื่องใช้   เช่น  แจกัน  หม้อ  ไห  แก้ว  ขวด  รวมถึง

ภาชนะใช้สอยอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน  ทั้งที่เป็นงานหัตถกรรม และงานอุตสาหกรรม        หุ่นนิ่งประเภทนี้จะให้ความรู้สึกในความเป็นวัตถุ   ความมีเหตุผล   สีสันและน้ำหนักจะมีหลากหลายลักษณะ  

เช่น    ขวดจะลื่นใส โลหะจะมีความวาว เป็นต้น

 

               2.3. หุ่นนิ่งประเภทงานประติมากรรม เช่น   หุ่นปูนปลาสเตอร์รูปคนเหมือน

รูปคนเต็มตัว   รูปหน้าพระ   หรืองานประติมากรรมอื่น ๆ   ผู้เรียนศิลปะ  นิยมใช้เป็นแบบฝึกความชำนาญในการวาดเส้นมาก เพราะหุ่นประเภทนี้จะมีสีเดียว สังเกตน้ำหนักแสงเงาได้ง่า               

 

            ตัวอย่างการแบ่งหุ่นนิ่งเป็น 3 ประเภทนี้ ไม่ได้หมายความว่าเวลาจัดหุ่นเพื่อวาด จะต้อง

จัดเฉพาะกลุ่มแต่อย่างใด   เมื่อผู้เรียนมีความสามารถในการวาดหุ่นแต่ละประเภทแล้ว   สามารถเลือกจัดหุ่นโดยการผสมผสานเรื่องราวได้ตามต้องการ                                  

               

 3. ขั้นตอนในการฝึกวาดเส้นภาพหุ่นนิ่ง

            การฝึกวาดเส้นหุ่นนิ่ง ผู้เรียนควรฝึกวาด  วัตถุที่ละชิ้นก่อน เพื่อศึกษาโครงสร้าง   ขนาด

สัดส่วน ขั้นตอนวิธีการร่างภาพและการลงน้ำหนักแสงเงา โดยฝึกวาดจากหุ่นที่มีรูปทรงง่าย ๆ ไปหารูปทรงที่ยากขึ้น เมือมีความรู้และทักษะความสามารถในการวาดภาพแต่ละชิ้นได้แล้ว     

จึงฝึกทักษะการวาดหุ่นนิ่งที่มีส่วนประกอบมากขึ้น

             ขั้นตอนในการวาดภาพหุ่นนิ่งมีดังนี้

                      1. กำหนดพื้นที่ทั้งหมดของหุ่นนิ่งให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ

   2. กำหนดตำแหน่งของวัตถุในพื้นที่ โดยวิธีแบ่งซอยออกเป็นส่วนๆ

   3. ร่างภาพอย่างคร่าวๆ

   4. ตรวจสอบขนาด สัดส่วน และตำแหน่งของวัตถุให้ถูกต้องพร้อมปรับปรุงแก้ไข    รูปร่างรูปทรง

   5. ลงแสงเงารวม ๆ

   6. เพิ่มรายละเอียดของแสงเงา และรายละเอียดของวัตถุ

      7. ตกแต่ง ปรับปรุงแก้ไขจนภาพสมบูรณ์

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                             

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                        

                                                                                                   

                                            

                                                     

                                                                                                                                                                            วาดโดย นายวรรณะ โพธิ์ชอุ่ม 

   

                                                 

                                                                                                                                                                              ขั้นตอนการวาดรูปทรงไห

 

 

 

 

 

 

 

       

 

 

 

 

 

 

                                                      

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                                

 

                                                                                                        
                                                                                                           วาดโดย นายวรรณะ โพธิ์ชะอุ่ม

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการวาดภาพหุ่นนิ่ง

       ระยะ ของภาพช่วยทำให้ภาพวาดมีมิติ เกิดระยะใกล้ไกลในภาพ และทำให้ภาพที่วาดมีอากาศดูแล้วไม่ตัน

       ระยะในการวาดภาพ นิยมวาดอยู่ด้วยกัน   3   ระยะ   เป็นอย่างน้อย  คือ ระยะหน้า ระยะกลาง และระยะไกล

                 ระยะของภาพ มีหลักในการวาด คือ วัตถุที่อยู่ใกล้ตา จะมีความคมชัดและมี

รายละเอียดต่าง ๆ  ที่ชัดเจนกว่า  วัตถุที่อยู่ไกลตา เพราะเมื่อมองไปยังวัตถุ ตาจะถูกบดบังด้วยชั้นบรรยากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัว  ดังนั้น วัตถุที่อยู่ใกล้ตา จะถูกบดบังโดยชั้นบรรยากาศที่น้อยกว่าวัตถุ

ที่อยู่ไกลตา กล่าวคือ ยิ่งวัตถุที่อยู่ไกลตามากเท่าไหร่    จะถูกบดบังโดยชั้นบรรยากาศมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ความคมชัด และรายละเอียดต่างๆของภาพลดลงตามลำดับ

                   พื้นผิว วัตถุแต่ละชนิดจะมีลักษณะพื้นผิวที่มีความแตกต่างกันไป มีทั้งลักษณะผิวมัน เรียบ

มัน  หยาบ  ด้าน  ขรุขระ ฯลฯ  ในการวาดภาพ       ผู้วาดจะต้องวาดให้เห็นถึงลักษณะความแตกต่างระหว่างพื้นผิวของวัตถุ แต่ละชนิดให้เกิดความชัดเจน   เช่น    วัตถุผิวมัน

ควรเว้นขาวในส่วนที่ถูกแสงจัดหรือเป็นแสงสะท้อน และวาดให้ตัดกันอย่างชัดเจนของน้ำหนักตามที่เป็นจริง

     วัตถุผิวหยาบ ให้ใช้วิธีการกดดินสอ   ขูด  ขีด  จุด  หรือวิธีการอื่น  ๆ    นอกเหนือไปจากการเรียงเส้นธรรมดา เพื่อสร้างลักษณะผิวให้สมจริง  

                      สีของวัตถุ การกำหนดสีของวัตถุ เราควรเปรียบเทียบสีของวัตถุให้ได้ว่าสีใดมีค่าน้ำหนักเช่นไรเมื่อถ่ายทอดออกมาเป็นขาวดำ  เช่น สีแดง ม่วง น้ำเงิน

จัดเป็นสีที่มีค่าน้ำหนักเข้ม  สีเหลือง ส้ม ชมพู ครีม    เขียวอ่อน   จัดเป็นสีที่มีค่าน้ำหนักอ่อน      ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของแสง และเงาที่จะเป็นตัวกำหนดค่าน้ำหนักอีกปัจจัยหนึ่งด้วย        

         พื้นหลัง (Background) พื้นหลังของภาพมีความสำคัญ ช่วยเน้นให้หุ่นที่วาดมีความชัดเจนดูมีมิติ และอากาศ

         

 การวาดภาพพื้นหลังมีอยู่   2   ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่

1 .พื้นหลังแบบเรียบ  คือ  การลงน้ำหนักพื้นหลังให้มีค่าน้ำหนักเข้มอ่อนอยู่ด้านหลังของหุ่น 

หรือวาดพื้นหลังของภาพแบบสลับฝั่งน้ำหนัก

วิธีวาดภาพพื้นหลังแบบสลับฝั่งน้ำหนัก ให้วาดน้ำหนักพื้นหลังเข้มในด้านแสงของหุ่น

และวาดน้ำหนักพื้นหลังอ่อนในด้านเงาของหุ่น วิธีการนี้จะช่วยคัดหุ่นให้เด่นขึ้นมาจากพื้นหลัง

2. พื้นหลังแบบมีทัศนียภาพอยู่ด้านหลัง คือการวาดพื้นหลังเป็นทัศนียภาพข้างหลังหุ่น

วิธีการวาด คือ ผู้วาดจะต้องวาดทัศนียภาพข้างหลังหุ่น ให้มีความชัดเจนน้อยกว่าหุ่น

เพราะหากวาดให้มีความชัดเจนเท่ากับหุ่นหรือมากกว่าหุ่น จะทำให้ภาพพื้นหลังแข่งกับหุ่นทำให้ขาดจุดเด่น และรายละเอียดของภาพ                                                         

เทคนิคการแรเงา  การกำหนดแสงและเงาลงบนวัตถุ สามารถลำดับขั้นตอนให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้

-                   หรี่ตาดูวัตถุ แบ่งส่วนที่เป็นแสงกับเงาออกจากกันด้วยเส้นร่างเบา ๆ  บนวัตถุแต่ละชิ้นที่วาด โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนหยาบๆ ก่อน คือแสงและเงา

-                   ลงน้ำหนักในส่วนที่เป็นเงาทั้งหมดด้วยน้ำหนักที่เบาที่สุดก่อน และแรเงาเพิ่มน้ำหนักในส่วน

ของเงาที่เข้มขึ้น โดยเปรียบเทียบน้ำหนักของเงาที่ลงใหม่กับเงาอ่อนและแสงที่เว้นไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ได้น้ำหนักที่ใกล้เคียงความเป็นจริง การลงน้ำหนักแสงเงาควรลงรวม ๆ

ไปที่ละน้ำหนักทั้งภาพ ไม่ควรลงส่วนใดส่วนหนึ่งจนเสร็จ เพราะจะทำให้คุมน้ำหนักทั้งภาพได้ยาก

-                   ควรมีการเน้นน้ำหนักในส่วนที่เข้มจัด เช่น ในส่วนของเงาตามขอบวัตถุที่วางติดอยู่กับพื้น และในบริเวณที่เป็นซอกลึก การเน้นเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวาด       

เพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพให้สมบูรณ์

-                   ในการวาดภาพหุ่นนิ่งผู้วาดอาจจะเพิ่มเติมหรือตัดทอนรูปจากหุ่นที่จัดได้ตามความเหมาะสม เช่น   ถ้าหุ่นที่จัดมีมากเกินไปก็สามารถเลือกวาดเฉพาะส่วนที่เราต้องการได้

สิ่งสำคัญคือภาพที่วาดจะต้องมีความสมบูรณ์ ทั้งในด้านการจัดภาพ และความเหมือนจริงของน้ำหนักแสงเงา

 

 

                                                                                                                                         
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
การระบายสีภาพหุ่นนิ่ง

 

Homeผู้จัดทำการเขียนภาพหุ่นนิ่งการเขียนภาพดอกไม้การเขียนภาพผลไม้การเขียนภาพทิวทัศน์
การเลือกมุม 
การร่างภาพ 
การจัดองค์ประกอบของภาพ 
การกำหนดแสงเงา 
การระบายสี 
การระบายสีภาพหุ่นนิ่ง 
การเน้นภาพและเก็บรายละเอียด 

 การระบายสีภาพหุ่นนิ่งควรปฏิบัติดังนี้

          ระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ ต้องควบคุมปริมาณของสีและน้ำให้พอเหมาะ ค่อยเพิ่มน้ำหนักสีไปเรื่อยๆในขณะที่ภาพยังเปียกหรือหมาดอยู่จนกว่าน้ำหนักของสีจะได้ตามต้องการจึงหยุด แล้วปล่อยให้แห้งไปเลย ให้ระบายวัตถุไปที่ละอย่างให้เสร็จเรียบร้อยโดยใช้สีบริเวณจุดเด่นของภาพให้สดใสชัดเจน ส่วนอื่นๆให้เบาสีลงหรือผสมให้มีค่าสีหม่นแล้วแต่ระยะของวัตถุที่อยู่ใกล้ไกลตามความเป็นจริง จากนั้นค่อยระบายส่วนที่เป็นพื้นและฉากหลัง (BACKGROUND) ต่อไป การให้สีฉากหลังนั้นไม่ควรใช้สีสดใสเพราะจะทำให้ระยะดูใกล้เข้ามา ควรใช้สีที่ผสมมีค่าหม่นแล้วจะทำให้ระยะดูไกลออกไป

     -ข้อควรระวัง การระบายสีน้ำอย่ารีบร้อน ควรรอจังหวะการไหลซึมและการแห้งของสีด้วย

 

                     จักรกฤษณ์    ปานวงษ์

 christmas.gif

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


              

  แสดงขั้นตอนการวาดเส้นภาพหุ่นนิ่ง ประเภทหุ่นจากงานประติมากรรมที่หล่อด้วยปูปลาสเตอร์

1.             กำหนดโครงร่างของภาพให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ และแบ่งรายละเอียดส่วนรวมของหุ่น

2.             แบ่งระยะของแสงเงาและลงน้ำหนักส่วนรวม

3.             เพิ่มความเข้มของน้ำหนักแต่ละส่วน

4.             เน้นรายละเอียดและตกแต่งจนเสร็จสมบูรณ์

       ทีมงาน ศ.ก. แสงเงาฉบับพิเศษ หุ่นนิ่ง 1 กรุงเทพมหานคร :  สุขภาพใจ. ม.ป.ป, หน้า. 4-5

 

 

 
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


  

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3113 วันที่ 20 ส.ค. 2552


ทัศนียภาพจากหุ่นนิ่งและธรรมชาติ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ


เปิดอ่าน 6,383 ครั้ง
วิถี...คนม้ง

วิถี...คนม้ง


เปิดอ่าน 6,391 ครั้ง
 
 

:: เรื่องปักหมุด ::

หลายสิ่งหลายอย่าง

หลายสิ่งหลายอย่าง

เปิดอ่าน 6,389 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก
ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก
เปิดอ่าน 6,395 ☕ คลิกอ่านเลย

พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพฯ
พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพฯ
เปิดอ่าน 6,394 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาพปริศนา : อักษรกล
ภาพปริศนา : อักษรกล
เปิดอ่าน 6,459 ☕ คลิกอ่านเลย

- - ->>4 วิธีเที่ยวไทย หัวใจประหยัดพลังงาน!!!!
- - ->>4 วิธีเที่ยวไทย หัวใจประหยัดพลังงาน!!!!
เปิดอ่าน 6,389 ☕ คลิกอ่านเลย

+++@คำคมจากขงเบ้ง@+++(ตอน 3)
+++@คำคมจากขงเบ้ง@+++(ตอน 3)
เปิดอ่าน 6,388 ☕ คลิกอ่านเลย

***ร่วมส่งโปสการ์ด อวยพรปีใหม่ ทหาร 3 จังหวัดใต้***
***ร่วมส่งโปสการ์ด อวยพรปีใหม่ ทหาร 3 จังหวัดใต้***
เปิดอ่าน 6,391 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

9 เคล็ดกับการใช้เงิน สำหรับคนอายุเริ่มต้นด้วยเลข 2
9 เคล็ดกับการใช้เงิน สำหรับคนอายุเริ่มต้นด้วยเลข 2
เปิดอ่าน 7,954 ครั้ง

เผยเคล็ดลับ อ่านหนังสือแล้วทำอย่างไร ให้จำได้ดี
เผยเคล็ดลับ อ่านหนังสือแล้วทำอย่างไร ให้จำได้ดี
เปิดอ่าน 25,614 ครั้ง

ทาครีมบำรุงอย่างไร ให้ถูกวิธี
ทาครีมบำรุงอย่างไร ให้ถูกวิธี
เปิดอ่าน 14,213 ครั้ง

9 วิธีทำดีได้บุญแบบไม่เสียเงิน
9 วิธีทำดีได้บุญแบบไม่เสียเงิน
เปิดอ่าน 12,154 ครั้ง

ENNXO ชวนอ่านหนังสือพัฒนาตนเอง ปี 2024 ที่ต้องอ่านสักครั้งในชีวิต
ENNXO ชวนอ่านหนังสือพัฒนาตนเอง ปี 2024 ที่ต้องอ่านสักครั้งในชีวิต
เปิดอ่าน 1,306 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ