Advertisement
|
|
|
|
|
|
|
-
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
10 จุดบ้านทรงไทยเสียทรง |
|
ฉบับนี้เราจะพาคุณไปชำแหละบ้านทรงไทยกันดูว่า เพราะสาเหตุใดกันแน่ที่ทำให้บ้านทรงไทยบางหลังไม่สวยงามอย่างที่ควรจะเป็น และจะมีวิธีจัดการแก้ไขได้อย่างไร
1. ผิดตำแหน่ง
เรือนไทยกับการจัดวางผังแบบเรือนหมู่เป็นของคู่กัน หากวางตัวเรือนเพียงหลังเดียวไว้โดดๆ หรือถึงแม้จะมีหลายหลัง แต่นำมาจัดวางเรียงต่อกันเป็นแถว ก็จะทำให้ความสวยงามดูลดลงไปมาก เนื่องจากขาด "ชานบ้าน" ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เป็นส่วนเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างเรือนแต่ละหลังแล้ว การจัดวางตำแหน่งของผังเรือนที่ดียังช่วยสร้างมิติและระยะ จากการเว้นระยะห่าง การลดหลั่นของระดับสูงต่ำ และการซ้อนบังกันของตัวเรือน ซึ่งทำให้ภาพรวมและมุมมองของเรือนไทยดูสวยงามขึ้น
2. ไม่เข้าที่เข้าทาง
เสน่ห์อย่างหนึ่งของบ้านทรงไทยคือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ภายในกับสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้นการจัดพื้นที่รอบข้างให้มีความต่อเนื่องสอดคล้องกับตัวบ้านจึงมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการเลือกพรรณไม้ให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของบ้านเรา รวมทั้งการจัดสวนแบบไทย เช่น ปลูกไม้ดัด ไม้กระถางบนชานบ้าน หรือปลูกไม้หอมไว้รอบบริเวณบ้าน เพื่อช่วยเสริมบรรยากาศอีกทางหนึ่ง
3. ผสมผิดสูตร
ลักษณะของบ้านทรงไทยแต่ละรูปแบบ แต่ละยุคสมัย แต่ละภาค ต่างก็มีรายละเอียดเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป แต่ยังมีคนจำนวนมากคิดว่าบ้านทรงไทยแบบไหนๆก็เป็นบ้านไทยเหมือนกัน จึงนำสไตล์ของบ้านทรงไทยแบบต่างๆมาผสมรวมกันในบ้านหลังเดียว เช่น ทำบ้านทรงสูงมีช่องลมแบบบ้านภาคใต้ แต่บนยอดจั่วติดกาแลแบบบ้านภาคเหนือ แล้วทำผนังฝาปะกนแบบบ้านภาคกลาง โดยเข้าใจว่าเป็นการทำบ้านในแบบประยุกต์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การนำรูปแบบต่างๆมาผสมกันแบบผิดๆกลับยิ่งเป็นการทำลายเอกลักษณ์และคุณค่าของบ้านให้หมดลงเสียไปมากกว่า
4. มากเกินไป
ในทุกความงามต้องมีความพอเหมาะพอดี บ้านทรงไทยก็เช่นเดียวกัน รายละเอียดและองค์ประกอบต่างๆในบ้านทรงไทยล้วนมีแบบแผนที่มา การตกแต่งที่มากจนเกินไปโดยหวังจะเพิ่มความสวยงาม เช่น นำลายฉลุแบบโคโลเนียลมาประดับที่ชายคาและราวระเบียง หรือบางแห่งถึงขนาดนำช่อฟ้า ใบระกาจากวัดมาติดบนหลังคาบ้าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่องค์ประกอบจริงๆของบ้านทรงไทย จึงทำให้บ้านดูรกรุงรังจนเกินงาม แถมยังอาจทำให้ผิดกาลเทศะอีกด้วย
5. ซ่อนไม่เนียน
การจะนำบ้านทรงไทยมาใช้อยู่อาศัยจริงๆในปัจจุบัน อาจต้องติดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆเพิ่มเติม เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา และเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจำเป็นต้องหาวิธีปกปิดอำพรางความไม่เข้ากันให้ดูกลมกลืน โดยอาจใช้วิธีสร้างผนังหรือตีระแนงไม้ขึ้นมาปิดทับอีกชั้น ออกแบบตู้สำหรับเก็บซ่อน หรือใช้การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่เพื่อมาบัง เพราะหากเห็นสิ่งแปลกปลอมเพียงนิดเดียว ก็อาจทำให้บรรยากาศความงดงามของบ้านทรงไทยที่อุตส่าห์พยายามสร้างมา ดูสูญเปล่า
6. ต่อเติมจนเพี้ยน
"บ้านไทยประยุกต์" กับ"บ้านไทยต่อเติม" นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การต่อเติมบ้านทรงไทยแบบเอาสะดวกไว้ก่อนอาจทำให้ของดีที่มีอยู่เสียไปได้ เช่น อยากได้ที่พักผ่อนแบบไทยๆ ก็นำศาลาไทยไปไว้บนยอดตึก หรืออยากต่อเติมห้องก็ก่อผนังคอนกรีตหรือทำกันสาดยื่นออกมาจากตรงไหนก็ได้ตามใจชอบ เพราะจริงๆแล้วการต่อเติมให้เข้ากันนั้นยากกว่าการสร้างใหม่ให้สวยงามเสียอีก หากจำเป็นต้องทำก็ควรเพิ่มเทคนิคและความพิถีพิถันให้มากกว่าปกติ
7. หุ่นไม่ดี
ทุกองค์ประกอบในบ้านทรงไทยล้วนมีการกำหนดไว้อย่างมีแบบแผนตามหลักวิชาช่างที่สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้ว่าจะไม่มีการระบุเป็นตัวเลขตายตัว แต่ก็มีการแบ่งสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อใช้อ้างอิงกับขนาดและระยะขององค์ประกอบทุกส่วนในบ้าน เมื่อนำส่วนต่างๆมาประกอบกันก็จะได้ "บ้านทรงไทย"ที่มีความสมส่วนสวยงาม สามารถรับรู้ได้จากสายตา คล้ายกับรูปร่างของคนที่เมื่อมีสัดส่วนผิดเพี้ยนก็จะเห็นได้ชัดเจน
8. ขาดความเข้าใจ
การสร้างบ้านไทยในสมัยก่อน ช่างผู้ก่อสร้างบ้านแต่ละหลังคือศิลปินผู้ออกแบบบ้านหลังนั้นๆ แต่ปัจจุบันช่างผู้ปรุงบ้านไทยมาในรูปแบบของผู้รับเหมา รูปแบบและกระบวนการต่างๆที่ผ่านการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลและแฝงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านอาจตกหล่นไป ด้วยฝีมือและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงมักจะทำให้รูปทรงและรูปแบบขององค์ประกอบต่างๆเกิดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ง่าย
9. เฟอร์นิเจอร์ไม่เข้ากัน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าเราไม่มีเฟอร์นิเจอร์ทรงไทย เพราะวิถีชีวิตของคนไทยแต่เดิมคือนั่ง-นอนกับพื้น การเลือกเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งจึงควรเลือกของที่มีอารมณ์เข้ากับตัวบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ผสมผสานงานช่างแบบช่างไทย หรืองานหัตถกรรมแบบพื้นบ้าน รวมถึงงานที่มีกลิ่นอายความเป็นตะวันออกอย่าง เฟอร์นิเจอร์สไตล์โคโลเนียล หรืองานไม้แบบจีน ก็พอจะปรับให้กลมกลืนไปด้วยกันได้
10. ที่ดินไม่เหมาะสม
บ้านทรงไทย ซึ่งได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าเปรียบเหมือนงานประติมากรรมชิ้นหนึ่ง ซึ่งควรจะจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้โดยรอบ ฉะนั้นที่ดินที่ใช้ในการปลูกสร้างจึงควรมีความกว้างขวางพอสมควร เพื่อเว้นให้มีพื้นที่ว่างโดยรอบเพียงพอ เมื่อมองเข้าสู่ตัวบ้านแล้วเห็นตัวเรือนชัดเจน เพราะหากไม่มีพื้นที่ให้สามารถมองบ้านในมุมมองที่ดีได้ จะสร้างบ้านออกมาสวยเพียงใดก็คงจะไร้ประโยชน์
เรื่อง : "ดำรง ลี้ไวโรจน์"
ภาพประกอบ : มาโนช กิตติชีวัน
|
|
|
วันที่ 18 ส.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 9,787 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง เปิดอ่าน 7,193 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,417 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,208 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,180 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 17,704 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,528 ครั้ง |
เปิดอ่าน 86,794 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,842 ครั้ง |
เปิดอ่าน 80,523 ครั้ง |
|
|