Advertisement
มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลายดังนี้
พจน์ สะเพียรชัย กล่าวว่า "การวิจัยคือวิธีแก้ปัญหาที่มีระบบแบบแผนเชื่อถือได้ เพื่อให้เกิดความรู้ที่เชื่อถือได้"
อนันต์ ศรีโสภา กล่าวว่า "การวิจัยเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้น ๆ เพื่อนำไปพยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อควบคุมสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้คงที่"
เบส (Best) ให้ความหมายไว้ว่า "การวิจัยเป็นแบบแผนหรือกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นปรนัย มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ มีการจดบันทึกรายงาน และสรุปผลเป็นกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีขึ้น เพื่อนำไปอธิบาย ทำนาย หรือควบคุมปรากฎการณ์ต่าง ๆ"
เคอร์ลิงเจอร์ (Kerlinger) ให้ความหมายว่า "เป็นการใช้ข้อมูลในการตรวจสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์ธรรมชาติ โดยมีการควบคุมอย่างเป็นระบบสม่ำเสมอ
ในที่ประชุม Pan Pacific Science Congress ค.ศ.1961 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แยกความหมายของ RESEARCH ไว้ดังนี้ R - Recruitment and Relationship หมายถึง การฝึกคนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้มีความรู้และปฏิบัติงานร่วมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน E - Education and Efficiency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และสมรรถภาพสูงในการวิจัย S - Sciences and Stimulation เป็นศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์เพื่อค้นคว้าหาความจริงและผู้วิจัยจะต้องมีพลังกระตุ้นให้เกิดความริเริ่ม กระตือรือร้นที่จะวิจัยต่อไป E - Evaluation and Environment ผู้วิจัยจะต้องรู้จักการประเมินผลดูว่างานวิจัยที่ทำอยู่มีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่ และต้องรู้ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัย A - Aim and Attitude มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอนและมีเจตคติที่ดีต่อผลของการวิจัย R - Result ผลของการวิจัยที่ได้มาจะเป็นทางบวกหรือลบก็ตาม จะต้องยอมรับผลของการวิจัยนั้น เพราะเป็นผลที่ได้มาจากการค้นคว้าอย่างระบบและเชื่อถือได้ C - Curiosity ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและขวนขวายในงานวิจัยอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าความอยากรู้นั้นจะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม H - Horizon เมื่อผลการวิจัยปรากฏขึ้นแล้ว ย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้ เหมือนกับเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่าง ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง ซึ่งก็คือผลของการวิจัยจะต้องก่อให้เกิดสันติสุขแก่สังคม
โดยสรุปแล้ว การวิจัย คือ กระบวนการที่เป็นระบบน่าเชื่อถือ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่สนใจ
ขอบคุณข้อมูลของอาจารย์ ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. เมษายน ๒๕๔๔ที่มา http://www.watpon.com/Elearning/res1.htm
Advertisement
เปิดอ่าน 18,458 ครั้ง เปิดอ่าน 21,300 ครั้ง เปิดอ่าน 23,746 ครั้ง เปิดอ่าน 96,043 ครั้ง เปิดอ่าน 35,101 ครั้ง เปิดอ่าน 37,095 ครั้ง เปิดอ่าน 42,698 ครั้ง เปิดอ่าน 21,995 ครั้ง เปิดอ่าน 22,409 ครั้ง เปิดอ่าน 65,785 ครั้ง เปิดอ่าน 52,697 ครั้ง เปิดอ่าน 21,447 ครั้ง เปิดอ่าน 22,212 ครั้ง เปิดอ่าน 32,933 ครั้ง เปิดอ่าน 39,823 ครั้ง เปิดอ่าน 32,520 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 42,484 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 35,101 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 23,746 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 42,484 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,426 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 32,520 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 21,510 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,438 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,133 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,563 ครั้ง |
เปิดอ่าน 47,973 ครั้ง |
|
|