การประเมินผลการเรียนรู้โดยการสังเกตการณ์
รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด
การเรียนรู้ของมนุษย์อาศัยการสังเกตการณ์ (Observation) เป็นอันมาก มนุษย์ใช้การ สังเกตการณ์ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างมากมาย การสังเกตการณ์ช่วยให้ได้พบความจริงได้ความรู้ เกิด ความเข้าใจเกิดความกระจ่างแจ้ง ช่วยให้สามารถพัฒนาความรู้วิชาการต่าง ๆ ผู้ประสบความสำเร็จ ในชีวิตจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสังเกต เรียนรู้ และใช้ประโยชน์จากการสังเกตการณ์ ทั้ง ในขณะดำเนินชีวิตครอบครัวในขณะปฏิบัติหน้าที่การงาน
การสังเกตการณ์เป็นเทคนิคหนึ่งของการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน สามารถทำได้ทุก เวลา ทุกสถานที่ อาจไม่มีรูปแบบที่ตายตัว อาจเป็นแบบมีโครงสร้างหรือไม่มีโครงสร้างก็ได้ จึงจัด ว่า เป็นการประเมินผลอย่างไม่เป็นทางการ (Informal) การสังเกตการณ์ช่วยให้ทราบผลของการ เรียนการสอนในทันที และมีจุดเด่นที่สำคัญ คือช่วยให้ผู้สอนได้แก้ไขสถานการณ์ ปรับปรุงกิจกรรม วิธีสอนได้อย่างทันการช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น เป็นการเสริมสานการวัดผล กับการเรียนการสอนตามแนวคิดที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ผู้สอนจะสามารถทราบผลการเรียน การสอนโดยสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนรู้ การปฏิบัติ (วิธีการ) และผลงาน เป็นสำคัญ ดังจะ กล่าวแต่ละด้านตามลำดับ
การสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน อยู่ตลอดเวลา โดยสังเกตการณ์ฟังคำบรรยาย อธิบาย สาธิต การทำกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ ความ ร่วมมือกับคนอื่น ๆ นิสัย ค่านิยม ฯลฯ ในการสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น เมื่อ ผู้สอนสอนนักเรียนเป็นชั้น (สอนทั้งห้อง) อย่างต่อเนื่องก็ต้องสังเกตให้ครบคน ไม่ได้สังเกตเฉพาะ คนใดคนหนึ่งหรือเพียงสองสามคน ขณะที่พูดก็ใช้สายตามองไปขังผู้เรียน ถ้าพบพฤติกรรมต่อไปนี้ บ่งชี้ถึงว่าการสอนครั้งนั้นไม่ได้ผล ผู้เรียนนั่งหลับ คุยกัน เหม่อลอยหรือคิดในเรื่องอื่น การทำ กิจกรรมอื่น ฯลฯ
การที่ผู้เรียนนั่งหลับ แสดงว่าเขาไม่มีความสนใจในการเรียน แต่จะพักผ่อน ไม่รับรู้การ เรียนการสอนใด ๆ การสอนครั้งนั้นไม่บังเกิดผลสำหรับนักเรียนคนนั้น ถ้ามีหลายคนชี้ถึงว่าการ สอนขาดคุณภาพมาก ควรใช้วิธีป้องกัน เช่น สอนโดยใช้เทคนิคการสอนหลาย ๆ วิธี ใช้อารมณ์ขัน ช่วย ใช้สื่อการสอนและอุปกรณ์ที่ดึงดูดความสนใจ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ผู้สอนควรใช้สายตามองให้ผู้ที่จะหลับรู้สึกว่าอยู่ในสายตาของผู้สอน ใช้คำถามเพื่อให้เขา ได้คิดตอบ
การคุยกัน จะต้องเพ่งความคิดไปยังเรื่องที่พูดคุย จึงสามารถรู้เรื่องกันได้ เมื่อเพ่งความคิด ไปยังเรื่องที่คุยกันก็จะไม่รับรู้เรื่องที่ผู้สอนกำลังสอน ซึ่งนอกจากชี้ถึงว่าการสอนไม่น่าได้ผลแล้ว ถ้า คุยกันด้วยเสียงดังจะรบกวนสมาธิของคนอื่น ถ้าคุยกันนานผู้สอนจะสอนลำบาก ถ้าสังเกตว่ามีการ คุยกันหลาย ๆ คู่ ผู้สอนต้องรีบแก้ไขโดยด่วน อย่างไรก็ตามถ้าคุยกันเบา ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ และเป็นเรื่องที่อยู่ในเนื้อหาสาระที่กำลังเรียนหรือเกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นเรื่องปกติ กวรป้องกันไม่ให้มี การคุยกันนอกเรื่องโดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่นเดียวกับกรณีป้องกันผู้เรียนนั่งหลับ
การเหม่อลอยหรือคิดในเรื่องอื่น แสดงว่าผู้เรียนสนใจในเรื่องอื่นมากกว่าหรือให้ ความสำคัญแก่เรื่องอื่นมากกว่า ซึ่งชี้ถึงว่าการเรียนการสอนในขณะนั้นไม่บรรอุผล ทั้งนี้อาจ เนื่องมาจากเป็นเนื้อหาและ/หรือวิธีการสอนที่น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ ผู้เรียนรู้เรื่องนั้นมาแล้ว และอาจมี เรื่องที่สนใจมากกว่าหรือจำเป็นต่อการคิดหาคำตอบ คิดแก้ปัญหา ฯลฯ มากกว่า ถ้าพบพฤติกรรม ดังกล่าว ผู้สอนควรใช้วิธีป้องกันเช่นเดียวกับกรณีป้องกันผู้เรียนนั่งหลับ
การทำกิจกรรมอื่นในเวลาเรียน เป็นการใช้เวลาไม่เหมาะสม แสดงว่านอกจากผู้เรียนไม่ สนใจในการเรียนเรื่องนั้นแล้ว ยังเห็นว่าควรใช้เวลานั้นทำกิจกรรมอื่นที่สำคัญและจำเป็นมากกว่า นับเป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ไม่เกิดผลดีต่อตนเองและเพื่อนร่วมชั้น เวลาในการทำ กิจกรรมต่าง ๆ นอกเหนือจากเรื่องที่เรียน ควรทำในเวลาว่างเช่น เลิกเรียน ก่อนเรียน หรือทำ กิจกรรมนั้นในวันอื่นหรือในเวลาที่กำหนดไว้สำหรับกิจกรรมนั้น ๆ เป็นต้น ควรหาวิธีป้องกัน เช่นเดียวกับกรณีป้องกันผู้เรียนนั่งหลับ และสร้างบทเรียนให้น่าสนใจและสอดคล้องกับธรรมชาติ และแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) ของผู้เรียน
การสังเกตการปฏิบัติ ในการคำเนินกิจกรรมใด ๆ อย่างมีคุณภาพย่อมมีเทคนิคหรือวิธีการ ปฏิบัติโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้สามารถคำเนินการได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพตาม ต้องการ ถ้าปฏิบัติไม่ถูกวิธีหรือไม่เหมาะสมตามลักษณะเฉพาะของกิจกรรมนั้นก็จะทำให้ได้ผลที่ ด้อยกว่า ขาดความสมบูรณ์ไป การประเมินผลโดยการสังเกตการปฏิบัติเฉพาะอย่างว่าใช้วิธีใดจึงจะ เหมาะสม ถูกต้อง และได้ผลดีมากกว่า จะช่วยให้สามารถรีบแก้ไขปรับปรุงจุดบกพร่องหรือความ ผิดพลาดต่าง ๆ แต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะปล่อยให้กระทำนั้น ๆ ติดเป็นนิสัยที่ยากแก่การแก้ไข ทั้งนี้ก่อน การปฏิบัติจะต้องให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างแจ่มชัดถึงวิธีการที่ถูกต้อง โดยอาจใช้การสาธิตให้ดู แล้วให้ ปฏิบัติตาม มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Fcedback) จนสังเกตพบว่าผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง เหมาะสม ถ้ามีทักษะด้วยก็ยิ่งดี ดังจะเห็นได้ชัดจากนักกีฬาทุกประเภท นักดนตรีทุกประเภท ฯลฯ ที่มีความสามารถสูง นักวัดผลบางคนให้ความสำคัญกับวิธีการมาก เพราะเชื่อว่าการใช้วิธีการที่ดี ที่ เหมาะสม ย่อมนำไปสู่ผลที่ต้องการ
ในด้านวิธีการซึ่งควรส่งเสริมสนับสนุนก็คือ การริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เรียน ผู้เรียนที่ คิดค้นวิธีการใหม่ซึ่งสามารถให้ผลที่ดีเท่าหรือดีกว่าวิธีการเดิมได้ หรือคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็น ประโยชน์ได้ ควรได้รับการยกย่อง ชมเชย จากทั้งครูผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน และชุมชน
การสังเกตผลงาน ผลงานหรือผลผลิต (Product) เป็นเป้าหมายปลายทางที่สำคัญของการ เรียนการสอนเท่า ๆ กับวิธีการหรือสำคัญยิ่งกว่า บางคนเห็นว่าจะใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ที่เป็นวิธีการ ทางบวก วิธีการที่สร้างสรรค์ขอให้ได้ผลที่ปรารถนา ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการที่สั่งสอน ที่นิยมใช้กัน ทั่วไปการสังเกตผลงานเป็นการพิจารณา ประเมินผลงานที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องอาศัยเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยนำผลงานไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ซึ่งอาจพิจารณาภาพรวมให้คะแนนหรือจัดอันดับความสำคัญ จากภาพรวมทั้งหมด หรือพิจารณาในมิติหรือด้านต่าง ๆ เช่น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความ ประณีต ความคงทน ความกลมกลืน ความเป็นเอกภาพ ความสมดุลย์ วิสัยทัศน์กว้างไกล ความ เที่ยงตรง ฯลฯ
ผู้สอนควรตระหนักว่า ถ้าผู้เรียนได้ทำกิจกรรมการเรียนอย่างจริงจัง และต่อเนื่องก็ย่อมเอื้อ ต่อการบรรลุผลในการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนมีมากมายหลายกิจกรรม ที่สำคัญได้แก่
1. การพูด อ่าน เขียน ท่องจำในเรื่องที่เรียน
2. การซักถาม การตอบคำถาม
3. การอภิปราย ออกความเห็น
4. การทำแบบฝึกหัด
5. การผลิตผลงานต่าง ๆ เช่น วาดภาพ ขึ้น แกะสลัก ประดิษฐ์ แต่งโดลง กลอน เขียนบทความ ฯลฯ
6. การฝึกปฏิบัติ เช่น นั่งสมาธิ ปลูกต้นไม้ เล่นกีฬา เล่นคนตรี ฯลฯ ฯลฯ
ดังนั้นควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมการเรียนที่กล่าวมา และใช้การสังเกตการณ์ให้ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของครู