Advertisement
เปิดรอยแผลใหม่ "ดาวพฤหัสบดี" ยังเป็นปริศนาคาใจอะไรพุ่งชน |
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ |
17 สิงหาคม 2552 14:54 น. |
|
ร่องรอยพื้นผิวบนดาวพฤหัสบดีที่คล้ายถูกวัตถุขนาดใหญ ่พุ่งชนบริเวณใกล้กับขั้วโลกใต้ของดาว บันทึกภาพไว้โดยกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 52 (นาซา) |
|
|
|
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น |
|
|
|
|
ผ่านไปเกือบเดือนนักดาราศาสตร์ทั่วโลกยังไม่หายฉงน สิ่งใดกันแน่ที่พุ่งชนดาวพฤหัสบดี หลังนักดูดาวสมัครเล่นชาวออสซี่ตรวจพบคล้ายรอยไหม้บน พื้นผิวดาวเมื่อกลางเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา เหมือนกับร่องรอยถูกดาวหางพุ่งชนเมื่อ 15 ปีก่อน แต่คาดว่าวัตถุปริศนาน่าจะมีขนาดราว 300 เมตร ส่วนร่องรอยถูกชนล่าสุดค่อยๆ ใหญ่ขึ้นและจางลง อาจเลือนหายไปในอีกไม่เกินครึ่งเดือน
สมาคมดาราศาสตร์ไทย จัดกิจกรรมรวมพลคนรักดาวเมื่อวันที่ 15 ส.ค.52 ณ บริเวณด้านหน้าที่ทำการสมาคมดาราศาสตร์ไทย ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (อาคาร 4) เอกมัย โดยมีการบรรยายพิเศษเรื่อง "ดาวพฤหัสบดีถูกชน" เป็นหนึ่งในกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งมีเยาวชนและประชาชนที่สนใจดาราศาสตร์เข้าร่วมฟัง จำนวนมาก และทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ได้ร่วมสังเกตการณ์ด้วย โดยหลังการบรรยายพิเศษ มีการตั้งกล้องโทรทรรศน์ เพื่อสังเกตร่องรอยดาวพฤหัสบดีถูกชนด้วย แต่น่าเสียดายที่ท้องฟ้าปิดจึงไม่สามารถมองเห็นดาวพฤ หัสบดีได้
นายปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช หนึ่งในสมาชิกของสมาคมดาราศาสตร์ไทย ให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ค. ที่ผ่านมา นายแอนโทนี วีสลีย์ (Anthony Wesley) นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวออสเตรเลีย ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูดาวพฤหัสบดี และตรวจพบร่องรอยสีดำบริเวณใกลักับขั้วโลกใต้ของดาวพ ฤหัสบดี ที่ดูคล้ายกับมีวัตถุขนาดใหญ่บางอย่างพุ่งเข้าชนพื้น ผิว เพราะร่องรอยดังกล่าว มีลักษณะคล้ายกับร่องรอยที่เกิดจากดาวหางชูเมคเกอร์-เลวี่ 9 (Shoemaker-Levy 9) พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีเมื่อ 15 ปีที่แล้ว
ทันทีที่นายวีสลีย์ตรวจพบร่องรอยคล้ายดาวหางพุ่งชนดา วพฤหัสบดี เขาก็บันทึกภาพดังกล่าวไว้ แล้วติดต่อไปยังนักดาราศาสตร์สหรัฐฯ ซึ่งต่อมาในวันที่ 20 ก.ค. นักดาราศาสตร์สหรัฐฯ ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อินฟาเรดบันทึกภาพดาวพฤหัสบดี ทำให้ได้ภาพพื้นผิวของดาวพฤหัสบดี ที่มีบริเวณต้องสงสัยเป็นบริเวณที่สว่างจ้ามากกว่าบร ิเวณอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าบริเวณนั้นมีความร้อนสูงมากกว่าบริเวณ อื่น จึงยืนยันได้ว่าดาวพฤหัสบดีน่าจะถูกวัตถุบางอย่างพุ่ งชนจริงดังที่สงสัยกัน ซึ่งวัตถุที่ว่านั้นอาจเป็นได้ทั้งดาวหางหรือดาวเครา ะห์น้อย
นักดาราศาสตร์ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวพฤหัสบดีจากกล้องโท รทรรศน์อินฟาเรดมาคำนวณกลับ เพื่อหาขนาดของวัตถุปริศนาที่ทำให้เกิดร่องรอยดังกล่ าว ได้ผลออกมาว่าวัตถุปริศนาที่พุ่งชนดาวพฤหัสบดีในครั้ งนี้น่าจะเป็นดาวหางที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมา ณ 300 เมตร ซึ่งหากดาวหางขนาดนี้พุ่งชนโลก จะก่อให้เกิดหลุมอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของป ากหลุมประมาณ 3 กิโลเมตรเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม จนบัดนี้ผ่านมาแล้วเกือบเดือน นักดาราศาสตร์ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัดว่าอะไรคือวัต ถุปริศนาที่พุ่งชนพื้นผิวดาวพฤหัสบดีโดยที่ไม่มีใครค ำนวณล่วงหน้าได้ และเกิดขึ้นเมื่อใดกันแน่ อีกทั้งขณะนี้ร่องรอยที่หลงเหลือจากการเผาไหม้ดังกล่ าวก็ค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้น และมีสีจางลงเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าร่องรอยนี้จะสลายกลมกลืนไปกับชั้นบรรยากาศ ของดาวพฤหัสบดีในอีกประมาณครึ่งเดือนข้างหน้า
กรณีที่ดาวหางพุ่งชนดาวพฤหัสบดี นับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งที่ผ่านมามีเพียงดาวหางชูเมคเกอร์-เลวี่ 9 (Shoemaker-Levy 9) พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีเมื่อเดือน ก.ค. 2537 โดยดาวหางได้แตกกระจายออกเป็น 21 ชิ้น ก่อนพุ่งเข้าชนดาวพฤหัสดี แต่นักดาราศาสตร์สามารถบันทึกร่องรอยการชนได้เพียงสิ บกว่ารอยเท่านั้น และนักดาราศาสตร์ได้คำนวณไว้ว่าโอกาสที่จะเกิดเหตุวั ตถุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 300 เมตร พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 1 ครั้ง ในรอบ 500 ปี
ทั้งนี้ ผลสรุปของเหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นอย่างไร สมาคมดาราศาสตร์ไทยจะติดตามความคืบหน้าต่อไป และหากมีข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ จะนำมารายงานต่อทันที.
|
|
|
|
|
|
|
_________________
วันที่ 17 ส.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,258 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,506 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,869 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,639 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,382 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,446 ครั้ง |
|
|