ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การปฏิรูปการเรียนรู้


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,309 ครั้ง
Advertisement

การปฏิรูปการเรียนรู้

Advertisement

 

บทความเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้

โดย  สมปอง  จันทคง

นักศึกษาปริญญาเอก  รหัส  5251023

----------------

 

สภาพปัจจุบันและปัญหา

 

                                ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยได้บังคับใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  ตั้งแต่วันที่  20  สิงหาคม  2543  และแก้ไขเพิ่มเติม  พ.ศ.  2545  ผลจากการใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  ได้เกิดปัญหาในการพัฒนาการศึกษาของชาติจนในปัจจุบันต้องเร่งหาทางปฏิรูปการศึกษาในหลายด้าน  เช่น  การปฏิรูประบบบริหารการศึกษา                     การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารการศึกษา  การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา  การปฏิรูปสถานศึกษา  และการปฏิรูปการเรียนรู้  

                                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  เป็นกฎหมายรับรองผู้มีความเกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภายใน  3  ปี  แต่ปรากฏว่าระยะเวลาล่วงเลยมาเป็นปีที่  10  แห่งการใช้พระราชบัญญัตินี้กลับล้มเหลวเกือบจะสิ้นเชิง  ทั้ง ๆ ที่นโยบายในระดับสูงมุ่งมั่นที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ             ผู้ปฏิบัติ  เช่น  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครูและบุคลากรทางการศึกษา  และผู้เรียน       

                                ครูถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการเรียนรู้  ครูต้องปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนจากเดิมที่สอนหนังสือ  ต้องเปลี่ยนเป็นการสอนคน  เพราะปัจจุบันนี้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อต่าง ๆ ทั้งทางวิทยุ  โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์  หนังสือตำราเรียน  และรวมทั้งความรู้ทางอินเตอร์เน็ต  นักเรียนเขาพัฒนาตนเองแต่ครูบางส่วนยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้  อย่างปฏิเสธไม่ได้  ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทุกฝ่ายจะต้องปฏิรูปการศึกษาไทย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปการเรียนรู้

                                ปัญหาการปฏิรูปการเรียนรู้  สิ่งที่บ่งชี้ว่าต้องปฏิรูปการเรียนรู้  คือ

1.       ห้องเรียน  (Class Room)  เพราะห้องเรียนเป็นกรอบในการปกครอง

ควบคุมดูแลนักเรียน  ให้อยู่ในระเบียบวินัย  เพื่อจะได้เรียนวิชาความรู้  ทั้ง ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยให้เขาเกิดการเรียนรู้  เพราะบรรยากาศการเรียนรู้ที่อึดอัด  ห้องเรียนที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรเลย  กี่ปีผ่านไปห้องเรียนก็ยังอยู่ในสภาพเก่า ๆ เดิม ๆ ไม่ได้เอื้อให้เกิดการใฝ่เรียนใฝ่รู้  หรือส่งเสริมให้คิดกว้าง  คิดไกล  ใฝ่รู้  อยู่อย่างเป็นสุข  ได้อย่างเหมาะสม

 

 

2

 

2.       สื่อนวัตกรรม  (Innovation)  ที่ผ่านมาการผลิตสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา

ได้รับความเอาใจใส่  แต่บางครั้งยังใช้สื่อไม่หลากหลาย  ไม่ทันสมัย  ไม่น่าสนใจ  ไม่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้  เช่น  หนังสือหรือตำราเก่า ๆ สื่อเทคโนโลยีที่ล้าสมัย  ใช้ยาก   

3.       วิธีสอน  (Method)  ปัญหาอยู่ที่กระบวนการที่จัดให้แก่ผู้เรียนที่ไม่ได้เน้นให้

เกิดการเรียนรู้  การคิดวิเคราะห์  แสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์  เช่น  เป็นคนช่างสังเกต  ช่างสงสัย  ใฝ่หาคำตอบ  เพราะวิธีการสอนที่ใช้ยังเป็นการสอนหนังสือมากกว่าการสอนคน  และขาดความเชื่อมโยงจากภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีทางการศึกษา 

4.       ครู  (Teacher)  การปฏิรูปการเรียนรู้จะเกิดขึ้นหรือไม่   ครูถือเป็นผู้มีบทบาท

สำคัญมากที่สุด  เพราะครูยังยึดมั่นตนเองว่าเป็นผู้มีความรู้มากที่สุด  ถูกที่สุด  ไม่ยอมปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน ยังใช้วิธีถ่ายทอดความรู้แบบเดิม ๆ  ล้าสมัย  ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น  และไม่สนใจที่จะพัฒนาตนเอง  ครูแบบนี้ยังมีอยู่จำนวนมากในระบบโรงเรียน

5.       กระบวนการเรียนรู้  (Process  Learning)  ไม่น่าสนใจ  น่าเบื่อหน่าย 

เพราะครูยังยึดเกณฑ์เนื้อหา  ความรู้  การสอบ  คะแนน  เป็นตัวกำหนดหรือตัดสินความสำเร็จของผู้เรียน  จึงทำให้เกิดความเครียด  ไม่มีความสุขในการเรียน  ไม่เป็นที่พอใจของผู้ปกครอง  กระบวนการเรียนการสอนยังเป็นพฤติกรรมถ่ายทอดมากกว่าการปฏิบัติ  การฝึกหัด  การอบรมบ่มนิสัย  ผู้เรียนเคยชินกับการนั่งนิ่ง  เงียบ  ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น  ไม่กล้าแสดงออก  ขาดความคล่องตัวในการที่จะฝึกคิดวิเคราะห์  คิดแบบวิทยาศาสตร์  ไม่รับรู้การปลูกฝังความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ  แต่ไวต่อการรับวัฒนธรรมของต่างชาติ      

6.       โรงเรียน  (School)  เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในระบบ  ข้อบังคับ  มีระเบียบ

แบบแผน  มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย  มีการบังคับบัญชาหลายระดับ  บางครั้งงานพิเศษมีมากมาย  ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องทำ  จนทำให้เสียหายต่อกิจกรรมการเรียนรู้  โรงเรียนจะติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ สักฉบับ  ต้องเสียครูหรือครูต้องทิ้งห้องเรียนไปเกือบตลอดวัน  แล้วอย่างนี้เด็กนักเรียนจะเรียนเก่งได้อย่างไร

7.       ผู้บริหารสถานศึกษา  (Head of school)  ในสถานศึกษาบางแห่งผู้บริหารจะ

เป็นตัวปัญหาที่ทำให้การปฏิรูปการเรียนรู้ไม่ประสบผลสำเร็จ  เพราะผู้บริหารขาดภาวะผู้นำ  ขาดความสามารถในการบริหารจัดการ  ขาดประสบการณ์  หรืออาจเป็นเพราะมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง  ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา  ไม่สามารถครองตน  ครองคน  ครองงานได้  จึงทำให้เกิดความล้มเหลวในการบริหารและปฏิรูปการเรียนรู้   

 

3

 

                                ปัญหาเหล่านี้มีแนวทางในการแก้ไข  แต่ต้องอาศัยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนที่จะร่วมมือร่วมใจกันหาแนวทางในการช่วยปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน  ช่วยลูกหลานเยาวชนซึ่งเป็นผู้เรียนได้เป็นคนโดยสมบูรณ์ทั้งทางความคิด  สติปัญญา  สังคม  อารมณ์และจิตใจ  หาทาง

ช่วยเหลือปลดปล่อยความทุกข์ของผู้เรียนจากการเรียนรู้  ให้เขาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  ภายใต้ความคิดความเชื่อที่ว่า  นักเรียนสำคัญที่สุด  หรือ  ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพราะเขาเหล่านี้คือผู้ที่จะพัฒนาชาติให้เจริญก้าวหน้าในอนาคต  ในโลกยุคโลกาภิวัตน์และไร้พรมแดน

 

แนวคิดในการปฏิรูปการเรียนรู้

 

                                การปฏิรูปการเรียนรู้  ได้มีผู้เสนอแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ไว้  ดังนี้

                                รุ่ง  แก้วแดง  นักการศึกษาที่มีความสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา  ได้นำเสนอแนวคิดในการปฏิรูปการเรียนรู้ไว้  5  ประการ  กล่าวคือ

1.       ให้สถานศึกษาและชุมชนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการวางแผน  กำหนดนโยบาย 

กำหนดเป้าหมาย  จัดทำหลักสูตร  โดยเฉพาะหลักสูตรท้องถิ่น  กำกับดูแล  ควบคุมตรวจสอบคุณภาพ  และสนับสนุนทรัพยากรในด้านภูมิปัญญา  องค์ความรู้  การเงิน  เพื่อให้การศึกษาของเด็กและเยาวชนเป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

2.       การระดมความร่วมมือภาคเอกชนเพื่อจัดการศึกษาด้านอาชีพโดยอาศัยความ

ร่วมมือจากสถานประกอบการ

3.       การปรับรื้อระบบอุดมศึกษาให้เน้นหนักการสอน  การวิจัย  และการบริการ

แบบอิสระเบ็ดเสร็จมากขึ้น

4.       ตรวจสอบและประกันคุณภาพการศึกษา

5.       การระดมทรัพยากรและสรรพกำลัง

 

สิปนนท์  เกตุทัต  (2545  :  18-19)  กล่าวถึงหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา  คือ

1.       ด้านบุคคล  ซึ่งทุกคนมีสิทธิและโอกาสที่มีคุณภาพเสมอกันตลอดชีวิต

2.       ด้านรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ให้รู้วิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม

3.       ด้านทรัพยากร  การจัดการศึกษาต้องกว้างขวางทั่วถึงและเป็นธรรม

 

4

 

เกษม  วัฒนชัย  (2545  :  18-20)  กล่าวว่าการเรียนรู้คือหัวใจของการปฏิรูป 

มุ่งเน้นกระบวนการปลูกฝัง  ถ่ายทอด  ฝึกอบรม  ให้เกิดความรู้  เจตคติ  ความเข้าใจ  ความเชื่อศรัทธา  ระบบคุณค่า  ระบบคุณธรรม  การควบคุมและการดูแลตนเอง  ทักษะและการทำงานให้แก่ผู้เรียน  เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผผู้เรียน  ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้  ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด  สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  มุ่งเสริมสร้างแหล่งเรียนรู้  เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง  (ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา.  2544  :  80)

 

เสกสรร  แย้มพินิจ  (ออนไลน์)  ได้เสนอแนวคิดในการปฏิรูปการเรียนรู้  ไว้  3 

ประการ  ดังนี้

1.       ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการจัดการศึกษาอย่างเต็ม

ศักยภาพ  ทั้งภาครัฐและเอกชน  ชุมชน  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  ครู  และโรงเรียน

2.       รัฐและส่วนกลางต้องกระจายอำนาจลงสู่ระดับภูมิภาคและท้องถิ่นให้เป็นผู้

ตัดสินใจตามภารกิจและความรับผิดชอบ

3.       ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพเพื่อให้มั่นใจแน่ใจเชื่อใจได้ว่ามีคุณภาพในการ

จัดการเรียนรู้

 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้เสนอแนวคิดในการปฏิรูป

การเรียนรู้  ดังนี้

1.       ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้เรียนส่วนใหญ่มีจุดอ่อนในด้านทักษะการคิด 

ทักษะการค้นคว้า  รวมทั้งความรู้พื้นฐาน  5  สาระหลัก  สถานศึกษาต้องประเมินผู้เรียนอย่างหลากหลายไม่ใช่เฉพาะการทดสอบเพียงอย่างเดียว  และพบว่าครูต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมในด้านความรู้และแนวทางปฏิบัติในการวัดผลประเมินผลผู้เรียนมากขึ้น

2.       ระดับอุดมศึกษา  การดำเนินการปฏิรูปการศึกษา  มีการส่งเสริมและพัฒนา

หลักสูตรให้หลากหลาย  เรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง  คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เปลี่ยนไป 

 

 

 

 

5

 

จากการนำเสนอแนวคิดในการปฏิรูปการเรียนรู้ทุกท่านที่กล่าวมาข้างต้น 

สรุปได้ว่า  หน่วยงาน  หรือบุคคลที่จะต้องมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเรียนรู้  สรุปได้ดังนี้

1.       รัฐบาล  ต้องให้การสนับสนุนทั้งงบประมาณและอัตรากำลังให้กับ

สถานศึกษาอย่างเพียงพอ  ต้องกระจายอำนาจลงสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล

2.       ภาคเอกชน  ต้องมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรเพื่อให้การพัฒนาคุณภาพ

และช่วยเหลือผู้เรียนในด้านต่าง ๆ อย่างทันท่วงที

3.       สถานศึกษา  ต้องมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นไปตามนโยบาย 

เป้าหมาย  เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

4.       ชุมชน  ต้องสนับสนุนส่งเสริมด้านทรัพยากร  เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

คุณภาพการศึกษาต้องสามารถตรวจสอบได้  มีการประกันคุณภาพการศึกษา

ทั้งจากองค์กรภายในและองค์กรภายนอกที่น่าเชื่อถือ

 

กรอบการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

 

                                                                                      Plan

 

 

 

                   Action                                          กรอบการปกิรูปการเรียนรู้                         Do

       
 
   
 
 

 


                                                                                       Check

 

 

 

6

 

                มีขั้นตอน  ดังนี้

                1.  ขั้นวางแผน

                      P   (Plan)  คือ  การร่วมมือศึกษาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้  ร่วมกำหนดแผนการสอนและร่วมวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                2.  ขั้นเรียนรู้

                     D  (Do)  คือ  สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้  และเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ควบคู่กับผลงานและข้อความรู้  และทำการวิจัยเพื่อการเรียนรู้

                3.  ขั้นตรวจสอบ                   C  (Check)  ประเมินผลการเรียนรู้  บันทึกผลการเรียนรู้  และสรุปผลการเรียนรู้

                4.  ขั้นปรับปรุงพัฒนา                      A  (Act)  นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

การดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้

                จากการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา  เมื่อปี  2548  พบว่า  กระบวนการจัดการเรียนรู้มีหลากหลาย  ครูยังไม่มั่นใจในหลักสูตร  สาระหลักสูตรมากเกินไป  ครูให้การบ้านเด็กมากเกินไป  มีการใช้กระบวนการเรียนรู้ไม่เหมาะสม  มีการนำสื่อเทคโนโลยีไปใช้บ้าง  ในการจัดการเรียนเรียนรู้  ครูยังไม่สามารถนำการวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอนได้

                ในปี  2549  กระทรวงศึกษาธิการจัดให้เป็นปีแห่งการปฏิรูปเรียนการสอน  โดยมุ่งให้ผู้สอนและผู้เรียน  ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเรียน  สอนให้รู้จักคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์องค์ความรู้ด้วยตนเอง  จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในปี  2551

                หลังจากมีการปฏิรูปการเรียนรู้ปี  2549  ผ่านไป  ได้มีการจัดการศึกษาตามแนวการจัดจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา  (Constructionism)   มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้วิธีการเรียนรู้            การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  สามารถใช้เทคโนโลยีแสวงหาความรู้ได้อย่างคล่องแคล่ว  จัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษเกิดโรงเรียนในฝันหลายรุ่น  เกิดโรงเรียนวิถีพุทธ  รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  ภาษาจีน โดยเน้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์  อ่าน  เขียนเพื่อสื่อสารและศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น

                ในช่วงปี  2551  ที่ผ่านมา  การปฏิรูปการศึกษาแทบจะไม่เห็นเป็นรูปธรรมอาจเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลายรัฐบาล  และรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการหลายคน  จนกระทั่งได้รัฐบาลใหม่  โดยรัฐมนตรีจุรินทร์  ลัษณะวิศิษฐ์    ประกาศนโยบายเดินหน้าการปฏิรูปการศึกษารอบที่  2  ในปี  2552  โดยเน้นการปฏิรูปเรื่องด่วน  7  เรื่อง  คือ

7

 

1.       การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.       จัดการศึกษาให้สอดคล้อง  ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่างเหมาะสม

3.       พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

4. 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3792 วันที่ 17 ส.ค. 2552

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


การปฏิรูปการเรียนรู้

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

น่ารักน่าชัง!!

น่ารักน่าชัง!!


เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เด็กปฐมวัยกับพัฒนาการทักษะทางภาษา

เด็กปฐมวัยกับพัฒนาการทักษะทางภาษา

เปิดอ่าน 7,186 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ใกล้จะถึงวันสิ่งแวดล้อมโลก..มีหัวข้อเรื่องป่าไม้และการอนุรักษ์(สนันสนุนการรณรงค์ข้างล่างด้วย)
ใกล้จะถึงวันสิ่งแวดล้อมโลก..มีหัวข้อเรื่องป่าไม้และการอนุรักษ์(สนันสนุนการรณรงค์ข้างล่างด้วย)
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย

งานประดิษฐ์..รังผึ้ง...
งานประดิษฐ์..รังผึ้ง...
เปิดอ่าน 7,215 ☕ คลิกอ่านเลย

รู้ไหม....ดื่มน้ำเปล่าช่วยลดน้ำหนักได้นะ
รู้ไหม....ดื่มน้ำเปล่าช่วยลดน้ำหนักได้นะ
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย

เต้า...ทายนิสัยของสาวๆได้ (อยากทายก็สังเกตเอานะคะ ห้าม....)
เต้า...ทายนิสัยของสาวๆได้ (อยากทายก็สังเกตเอานะคะ ห้าม....)
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย

ขอร่วมยินดี กับ 1 ใน100  โรงเรียน อันดับแนวหน้า ของ ศธ. (ตรวจรายชื่อซิครับ)
ขอร่วมยินดี กับ 1 ใน100 โรงเรียน อันดับแนวหน้า ของ ศธ. (ตรวจรายชื่อซิครับ)
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย

วันนี้เอา....18 เคล็ดลับสุขภาพดี...มาบอกค่ะ
วันนี้เอา....18 เคล็ดลับสุขภาพดี...มาบอกค่ะ
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

9 อาการ ป่วยเพราะน้ำ(ในตัว) ขึ้น-ลง
9 อาการ ป่วยเพราะน้ำ(ในตัว) ขึ้น-ลง
เปิดอ่าน 12,331 ครั้ง

6 เคล็ดลับเด็ด "การลดหน้าท้อง"
6 เคล็ดลับเด็ด "การลดหน้าท้อง"
เปิดอ่าน 16,976 ครั้ง

มหัศจรรย์อาหารไทย
มหัศจรรย์อาหารไทย
เปิดอ่าน 9,482 ครั้ง

"กานพลู" เครื่องเทศ ต่อต้านอนุมูลอิสระ
"กานพลู" เครื่องเทศ ต่อต้านอนุมูลอิสระ
เปิดอ่าน 10,256 ครั้ง

โยคะในรถยามจราจรติดขัด
โยคะในรถยามจราจรติดขัด
เปิดอ่าน 10,708 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ