Advertisement
พรุ่งนี้ ครบรอบวันเสียชีวิตของสุรพล สมบัติเจริญ "ราชาเพลงลูกทุ่ง" จึงนำเสนอเรื่องราวชีวิตของครูเพลงผุ้ยิ่งใหญ่คนนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึง
16 สิงหาคม พ.ศ. 2511 สุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งของไทย ถูกยิงเสียชีวิต หลังจากการแสดงบนเวทีที่นครปฐม ชื่อเดิมของสุรพลคือ ลำดวน สมบัติเจริญ เกิดที่ จ. สุพรรณบุรีเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2473 เขาเริ่มหลงใหลการร้องเพลงมาตั้งแต่วัยรุ่น ตอนที่เป็นทหารอยู่ที่โรงเรียนนักเรียนจ่าทหารเรือ เขามักจะร้องเพลงให้เพื่อน ๆ ทหารฟัง เมื่อมีงานสังสรรค์เขาก็จะขึ้นร้องเพลงอยู่เสมอ จนที่สุดเขาก็ได้ย้ายเข้าไปประจำกองดุริยางค์ทหารอากาศ และเพลง "น้ำตาสาวเวียง" เพลงแรกของเขาได้รับการบันทึกเสียงเป็นครั้งแรกในปี 2496 เขามักจะมีเทคนิคในการดึงดูดใจผู้ชมคือ ทั้งร้อง ทั้งเล่นตลก เพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชม เพลงที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักคือเพลง "ลืมไม่ลง" แม้ชีวิตนักร้องเพลงลูกทุ่งของเขาจะมีอายุเพียง 15 ปี แต่ผลงานของเขาได้ทำให้เพลงลูกทุ่งกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ประวัติ
25 กันยายน พ.ศ. 2473 วันเกิด สุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งของเมืองไทย เดิมชื่อลำดวน สมบัติเจริญ เกิดที่สุพรรณบุรี เริ่มหลงใหลการร้องเพลงมาตั้งแต่วัยรุ่น ตอนที่เป็นทหารอยู่ที่โรงเรียนนักเรียนจ่าทหารเรือ เขามักจะร้องเพลงให้เพื่อน ๆ ทหารฟัง เมื่อมีงานสังสรรค์เขาก็จะขึ้นร้องเพลงอยู่เสมอ จนที่สุดเขาก็ได้ย้ายเข้าไปประจำกองดุริยางค์ทหารอากาศ และเพลง "น้ำตาสาวเวียง" เพลงแรกของเขาได้รับการบันทึกเสียงเป็นครั้งแรกในปี 2496 เขามักจะมีเทคนิคในการดึงดูดใจผู้ชมคือ ทั้งร้อง ทั้งเล่นตลก เพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชม เพลงที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักคือเพลง "ลืมไม่ลง" แม้ชีวิตนักร้องเพลงลูกทุ่งของเขาจะมีอายุเพียง 15 ปี แต่ผลงานของเขาได้ทำให้เพลงลูกทุ่งกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
สุรพล เรียนจบ ม.6 ที่โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย สุรพล สมบัติจริญ เริ่มต้นฝึกฝนตนเองทั้งการร้องและการแต่งเพลงมาก่อนแต่เพิ่งได้เรียนรู้หลักการและฝึกฝนอย่างถูกวิธีการเมื่อได้มาอยู่กองดุริยางค์กองทัพอากาศ เริ่มต้นชีวิตนักร้องเป็นครั้งแรกด้วยการร้องเพลงเชียร์รำวง ได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรก(เมื่อปี ๒๔๙๖) คือเพลง น้ำตาลาวเวียง แต่คนยังไม่รู้จัก คนมารู้จักและเริ่มมีชื่อเสียงในเพลง ชูชกสองกุมาร(บันทึกปี ๒๔๙๖ เช่นกัน) จากนั้นก็เริ่มมีเพลงทยอยออกมา เช่นเพลงโดดร่ม เพลงนี้ดังมากในหมู่ทหาร แต่เพลงแรกที่ดังสนั่นทั่วไทยก็คือเพลง ลืมไม่ลง (ปี 2502) และเพลงดังๆอีกมากมายที่แฟนเพลงร้องกันได้ทุกคน เช่น เพลงสาวสวนแตง น้ำตาจ่าโท แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ็กนั้ง เดือนหงายที่ริมโขง สนุกเกอร์ หัวใจผมว่าง จนถึงเพลงสุดท้ายที่บันทึกล่าสุดในปี 2511 คือเพลง 16 ปีแห่งความหลัง รวมผลงานที่ร้องเอง แต่งเอง และแต่งให้ลูกศิษย์ประมาณ 300 เพลง (บ้างว่ามีถึง 400 เพลง)
สุรพล สมบัติเจริญ ยึดแบบอย่างเบญจมินทร์ ในการร้องเพลง จนเกิดความขัดแย้งกันและทำให้มีผลงานเกี่ยวกับความขัดแย้งดังกล่าวร้องเป็นเพลงด้วย ผู้ที่ชักนำและสนับสนุนเข้าเป็นนักร้องคือเรืออากาศตรีปราโมทย์ อรรณพงษ์ ผู้ที่สนับสนุนให้อัดแผ่นเสียงเป็นครั้งแรกคือ นายเอกพล บุตรชายคนโต ของนายห้าง ต.เง็กชวน และผู้ที่ให้คำปรึกษาชี้แนะให้ตั้งวงดนตรีเป็นของตนเองคือครูพยงค์ มุกดา โดยมีนายห้างอารยะโอสถตรามือสนับสนุนเงินทุน
ผลงานที่น่าประทับใจคือชนะการประชันวงดนตรีลูกทุ่งครั้งแรกของเมืองไทยที่วัดสนามชัย(ไม่ใช่ที่สุพรรณ)อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 250 9 ครั้งนั้นมีวงดนตรีชั้นนำของเมืองไทยประชันกัน 4 วง รางวัลที่ได้คือขันน้ำพานรอง พระยอดธงรุ่นแรก พร้อมเงินรางวัล เหตุการณ์ครั้งนี้ สุรพล สมบัติเจริญ ประทับใจและตื้นตันใจมากถึงกับหลั่งน้ำตา ด้วยความปลาบปลื้ม ดังเนื้อเพลงที่เขาว่า “วัดสนามชัยดินแดนครั้งก่อน ผมยังไม่ลืม ผมหลั่งน้ำตาอุราแสนปลื้ม” นอกจากรางวัลดังกล่าว วงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ ยังได้รับถ้วยรางวัลเกียรติยศในฐานะวงดนตรีที่ทำเงินยอดเยี่ยมอีกหลายใบ
คุณเจนภพ จบกระบวนวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงลูกทุ่ง ได้กล่าวถึงสุรพล สมบัติเจริญ ว่า “ สุรพล สมบัติเจริญ จึงเป็นคนสุพรรณที่ได้รับการยกเป็นตัวอย่างแทบจะทุกครัวเรือน...เพราะสุรพลทำสำเร็จเป็นคนแรก ตัวอย่างแห่งชื่อเสียงและความสำเร็จของสุรพลนี่เองเป็นประกายไฟจุดลุกไล่ให้หนุ่มสุพรรณสาวสุพรรณทั้งหลายอยากจะเป็นนักร้องเหมือนอย่างสุรพล บ้างเพราะมองเห็นหนทางข้างหน้าอยู่ชัดแจ้งแล้ว สุรพลจึงเปรียบเสมือนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเพลงเมืองสุพรรณ ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเดินตามรอยจนโด่งดังคับฟ้าเมืองไทยมากมายจนนับไม่ถ้วน”
จากหนังสือ "วิวัฒนาการเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย" ของศิริพร กรอบทอง เขียนบอกเอาไว้ว่า ครูสุรพล สมบัติเจริญ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ครั้งหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องความรัก ความชอบ ในการแต่งเพลงของตนว่า
"...ผมน่ะ มันชอบมาตั้งแต่ชั้นประถมแล้ว พูดแล้วเหมือนโม้ คุณ หัดแต่งตั้งแต่อยู่โรงเรียนประสาทวิทย์แล้ว ก็นึกๆ หาทำนองมาใส่ ร้องกันให้ฟังในชั้น...
สมัครเป็นคนงานของกองทัพเรืออยู่พักหนึ่ง ระหว่างนั้นใครมีงานรำวงที่ไหนผมต้องไปช่วย รู้จักไม่รู้จักไม่สำคัญ ขอให้ได้ร้องเป็นใช้ได้ ว่างก็หัดแต่งเพลงดูเพราะรู้สึกว่าไม่ยากเย็นเข็นใจอะไรเลย.."
ต่อมาจึงตัดสินใจลาออกแล้วไปสมัครเป็นลูกจ้างรายวันที่หมวดคลังสนามบิน แผนกช่างโยธาทหารอากาศ กองทัพอากาศ ดอนเมือง และเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่าสุรพล สมบัติเจริญ แทนลำดวนชื่อเก่า
มาเริ่มชีวิตเป็นนักร้องเมื่อสมัครเป็นนักมวยค่ายเลือดชาวฟ้าของเรืออากาศตร ีปราโมทย์ วรรณพงษ์ และมีโอกาสได้ร้องเพลงในงานสังสรรค์ จึงสนับสนุนให้ไปอยู่เป็นนักร้องที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ ทุ่งมหาเมฆ เพื่อเอาดีในการเป็นนักร้องอย่างที่เจ้าตัวมุ่งมาดปรารถนาและมุ่งหวังตั้งใจ ไว้แต่เดิม โดยได้ย้ายไปเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวกันกับสุเทพ วงศ์กำแหง และครูนคร ถนอมทัรพย์
เจนภพ จบกระบวนวรรณ เขียนเล่าเอาไว้ในหนังสือบางข้อเขียน เกี่ยวกับสุรพล สมบัติเจริญ ถึงเรื่องราวตอนนี้ไว้ว่า
"เพราะหัวหน้าคณะนักมวยเลือดชาวฟ้านี่เองที่ทำให้สุรพลได้ย้ายเข้าไปประจำกอ งดุริยางค์ทหารอากาศ และชีวิตที่สุรพลโปรดปรานที่สุดก็เริ่มต้นที่นี่เอง เขาขยันและฝึกตัวเองอย่างหนัก จนที่สุดก็ได้ออกร้องเพลงประจำวงดุริยางค์บ่อยขึ้น..."
ประชุม พุ่มศริริ นักร้องหญิงของกองดุริยางค์ทหารอากาศเคยให้สัมภาษณ์กับเจนภพ จบกระบวนวรรณ คอลัมนิสต์ชื่อดังซึ่งเป็นเอ็นไซโครมีเดียเรื่องราวของเพลงลูกทุ่งเคลื่อนที ่ ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ของธนาคารกรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งว่า
"...สุรพลเป็นคนมีใจฝักใฝ่ในเรื่องการร้องรำทำเพลงมาก พอว่างจากงานในหน้าที่ก็จะนั่งเขียนเพลง เคาะจังหวะไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จักเบื่อหน่าย ใครมีงานที่ไหน ไม่ว่างานอะไร แกจะต้องเสนอตัวไปช่วยร้องเพลงเป็นคนแรก เป็นที่รักของทุกคนในกรมกอง นิสัยดี คุยสนุกสนาน เหมือนไม่มีความทุกข์อะไรในใจเลย...
ส่วนเรื่องเสียงที่ว่าไปพ้องกับนักร้องรุ่นพี่อย่างเบญจามินทร์นั้น แกก็ไม่ได้ดัด มันบังเอิญ ไปมีส่วนคล้ายกันเอง..
ผลงานเพลงที่เกิดจากความอัจฉริยะของครู "สุรพล สมบัติเจริญ" นั้น "สหะชัย วิวัฒนปฐพี" ได้กล่าวไว้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง "ชีวประวัติและผลงานเพลงของสุรพล สมบัติเจริญ" ไว้ว่า...
"ในเรื่องบทร้องนั้น สุรพลแต่งบทร้องเป็นลักษณะของกลอนเพลงธรรมดา คือเน้นการสัมผัสข้ามวรรคด้วยเสียงสระหรือวรรณยุกต์ต่างๆ ไม่มีบทร้องที่เป็นคำประพันธ์แนวฉันทลักษณ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนเลย"
ส่วนแนวทางหรือความหมายของบทร้องที่ปรากฏอยู่ในบทเพลงก็อาจแบ่งออกได้เป็น 9 แนว ด้วยกัน คือ ปรัชญาชีวิต คติสอนใจ (23)/วัฒนธรรม ประเพณี(9)/สะท้อนสังคม เศรษฐกิจ (39)/ชมโฉม เกี้ยวสาว (88)/ชมธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยว(20)/ชีวิตชาวบ้าน (58)/นิทานพื้นบ้าน (12)ภาษา สำเนียงท้องถิ่น (16)/การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ตนเองและวงดนตรี(4)
"สุรพล สมบัติเจริญ เป็นศิลปินเพลงที่มีความสามารถรอบตัว ทั้งในด้านการประพันธ์บทร้องและทำนองเพลง เป็นนักร้อง เป็นหัวหน้าวงดนตรีและยังเป็นครูเพลง ที่แต่งเพลงที่มีคุณภาพ ให้ศิษย์ได้ขับร้องจนมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับในวงการเพลงลูกทุ่ง ในขณะที่ตัวเองก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชาเพลงลูกทุ่งและเป็นปูชนียบุคคลของวงการเพลงลูกทุ่ง"
ศิริพร กรอบทอง กล่าวไว้ในหนังสือวิวัฒนาการ เพลงลูกทุ่งในสังคมไทยว่า
"ภายหลังเหตุการณ์การเสียชีวิตของสุรพล สมบัติเจริญ เพลงลูกทุ่งได้เป็นที่สนใจของคนในสังคมไทยขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง สำหรับในวงการเพลงลูกทุ่งนั้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า มีความตื่นตัวอย่างมาก มีศิลปิน นักร้องเกิดใหม่จำนวนมาก และมีบางส่วนที่ร้องเพลงเลียนแบบเขาหลายคน ทั้งนักร้องเก่าและนักร้องใหม่ เช่น กังวาลไพร ลูกเพชร, พรหม ลูกบ้านแพน, สาคร พรเจริญ, พร ไพรสณฑ์, เพชรดำเนิน นพพลนาวี, บรรจบ เจริญพรฯลฯ
ตลอดจนลักษณะการทำงานของเขาที่ได้ทำหลายๆ อย่างจนมีทรัพย์สินมากมาย ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จอย่างสูง ในวงการเพลงลูกทุ่ง ที่ต่างก็อยากจะมีกันขึ้นมาบ้าง
ดังจะเห็นได้ว่า ภายหลังการเสียชีวิตของเขามีนักร้องหลายคนแยกตัวจากวงดนตรีต้นสังกัดออกไปตั้งวงกันเองหลายต่อหลายคน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาการอีกก้าวหนึ่งของวงการเพลงลูกทุ่งที่เข้าสู่สภาวการณ์แข่งขันกันในระบบนายทุน
ซึ่งกล่าวได้ว่า "สุรพล สมบัติจเริญ" นั้น นอกจากจะมีบทบาทต่อวงการเพลงลูกทุ่งในฐานะผู้สร้างและผู้เผยแพร่ผลงานเพลง ให้เป็นที่นิยมสนใจอย่างกว้างขวางแล้ว เขายังมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้วงการเพลงลูกทุ่งได้เติบโตไปในสังคมไทยอีกด้วย"
สุรพล สมบัติเจริญ” ท่านได้รังสรรค์บทเพลงลูกทุ่ง อันทรงคุณค่า ประดับไว้ในวงการเพลงมากมาย และเป็นที่มา ของศิลปินลูกทุ่งคุณภาพระดับแนวหน้าหลาย ๆ ท่าน จากการที่ผลงานเพลงของ สุรพล สมบัติเจริญ มีความเป็นเอกลักษณ์ชัดเจนด้วยสไตล์การประพันธ์ และ การร้องเพลงในลีลาที่ไม่เหมือนใคร ทำให้ผลงานของท่าน ยังคงได้รับความนิยม ในวงกว้างอย่างต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน
ล่าสุดนายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าววันนี้ (15 ส.ค.) ว่า จากการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคัดเลือกปริยศิลปิน และปรมศิลปิน ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) ครั้งที่ 1/2552 ที่ประชุมมีมติประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ นายสุรพล สมบัติเจริญ และ พุ่มพวง ดวงจันทร์ หรือรำพึง จิตรหาญ เป็น "ปริยศิลปิน" ศิลปินอันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน โดยวันพรุ่งนี้ (16 ส.ค.) ซึ่งตรงกับวันเสียชีวิตของนายสุรพล สวช.จะมีพิธีมอบรางวัลยกย่อง อย่างเป็นทางการ ให้แก่ครอบครัวสมบัติเจริญ ที่ศูนย์การค้าอินเดีย เอ็มโพเรียม กรุงเทพฯ หรือ ATM พาหุรัดเดิม ส่วนครอบครัวของพุ่มพวง ดวงจันทร์นั้น สวช.กำลังพิจาณาความเหมาะสมว่า ควรจะจัดพิธีมอบรางวัลยกย่อง อย่างเป็นทางการในวันใด
ด้วยจิตคารวะ
จิราภรณ์ หอมกลิ่น
เพลงสาวสวนแตง สุรพล สมบัติเจริญ
วันที่ 15 ส.ค. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,214 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,200 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,260 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,045 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,577 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,217 ครั้ง |
เปิดอ่าน 134,120 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,589 ครั้ง |
|
|